The Demopædia Encyclopedia on Population is under heavy modernization and maintenance. Outputs could look bizarre, sorry for the temporary inconvenience

พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาษา ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง ภาษาไทย

70

จาก Demopædia


ข้อความปฏิเสธความรับผิดชอบ : ผู้สนับสนุนทั้งหลายของดีโมพีเดียไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับความหมายของศัพท์ต่างๆ ที่อยู่ในพจนานุกรมฉบับปรังปรุงนี้

พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาพ ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง ยังอยู่่ระหว่างการดำเนินงาน หากต้องการเสนอข้อคิดเห็นใดๆ กรุณาใช้พื้นที่อภิปราย


ไปยัง: คำนำสู่ดีโมพีเดีย | คำแนะนำการใช้ | ดาวน์โหลด
บทที่: อารัมภบท | 1. แนวคิดทั่วไป | 2. การจัดการและการประมวลผลสถิติประชากร | 3. การกระจายตัวและการจำแนกของประชากร | 4. ภาวะการตายและการเจ็บป่วย | 5. ภาวะสมรส | 6. ภาวะเจริญพันธุ์ | 7. การเพิ่มประชากรและการทดแทน | 8. การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่ | 9. มุมมองด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชากรศาสตร์
หน้าที่: 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 20 | 21 | 22 | 23 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 40 | 41 | 42 | 43 | 50 | 51 | 52 | 60 | 61 | 62 | 63 | 70 | 71 | 72 | 73 | 80 | 81 | 90 | 91 | 92 | 93


701

ปฏิกิริยาของภาวะเจริญพันธุ์ ภาวะการตาย และการย้ายถิ่นนำไปสู่การพิจารณาเรื่อง การเพิ่มประชากร1 การเพิ่มประชากรเป็นศูนย์10หมายถึงประชากรที่มีขนาดไม่เปลี่ยนแปลง เป็นการสะดวกที่จะพูดว่า การลดลงของประชากร2เป็น การเพิ่มเชิงลบ3 อาจแยกความแตกต่างระหว่าง ประชากรปิด4ซึ่งเป็นประชากรที่ไม่มีทั้งการย้ายถิ่นเข้าและการย้ายถิ่นออกและการเพิ่มของประชากรนั้นทั้งหมดขึ้นอยู่กับความแตกต่างระหว่างการเกิดและการตาย กับ ประชากรเปิด5ซึ่งอาจมีการย้ายถิ่น การเพิ่มของประชากรเปิดประกอบด้วย ความสมดุลของการย้ายถิ่น6หรือ การย้ายถิ่นสุทธิ6 และ การเพิ่มตามธรรมชาติ7ซึ่งเป็น ส่วนที่การเกิดมากกว่าการตาย8หรือ ส่วนที่การเกิดน้อยกว่าการตาย9 บางครั้งเรียกว่า ความสมดุลของการเกิดและการตาย8 การเปลี่ยนแปลงใดๆ ในตัวแปรหนึ่งมีผลต่อการเพิ่มทั้งหมดและโครงสร้างของประชากร ในบริบทเช่นนี้เรียกว่าเป็น ผลกระทบทางการเพิ่มประชากร11 และ ผลกระทบทางโครงสร้าง12

702

อัตราส่วนของการเพิ่มทั้งหมดในช่วงเวลาหนึ่งต่อประชากรเฉลี่ยของช่วงเวลานั้นเรียกว่า อัตราเพิ่ม1 ในบางครั้งอัตรานี้คำนวณด้วยประชากรเมื่อเริ่มต้นของช่วงเวลามากกว่าใช้ประชากรเฉลี่ยเป็นตัวหาร เมื่อศึกษาการเพิ่มประชากรนานกว่าหนึ่งปีปฏิทิน อาจคำนวณ อัตราเพิ่มต่อปีเฉลี่ย2 ในการคำนวณอัตรานี้บางครั้งจะสมมุติว่าประชากรเพิ่มขึ้นด้วย การเพิ่มเชิงชี้กำลัง3ในช่วงเวลานั้น และจะถือว่าเวลาเป็นตัวแปรต่อเนื่อง ขนาดของ ประชากรเชิงชี้กำลัง4จะเพิ่มขึ้นเป็นฟังก์ชันเอ๊กซ์โปเนนเชียลของเวลา อัตราเพิ่มเชิงชี้กำลัง5เท่ากับ อัตราฉับพลันของการเพิ่ม5 อัตราส่วนของการเพิ่มตามธรรมชาติ (701-7) ต่อประชากรเฉลี่ยในช่วงระยะเวลาหนึ่งเรียกว่า อัตราอย่างหยาบของการเพิ่มตามธรรมชาติ6 และมีค่าเท่ากับความแตกต่างระหว่างอัตราเกิดอย่างหยาบและอัตราตายอย่างหยาบ ดัชนีชีพ7เป็นอัตราส่วนของจำนวนของการเกิดต่อจำนวนของการตายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง แต่ดัชนีนี้ไม่ค่อยมีการใช้กันแล้ว

  • 3. เมื่อเวลาถูกกระทำให้เป็นตัวแปรไม่ต่อเนื่อง การเพิ่มที่อ้างถึงเป็นการเพิ่มเชิงเรขาคณิต
  • 4. บางครั้งเรียกว่าประชากรแบบมัลทัส แต่คำนี้ยังกำกวมอยู่ในนัยยะทางสังคมวิทยา (ดู 906-1)

703

สามารถแสดงให้เห็นได้ว่าเมื่อประชากรปิด (701-4) มีภาวะเจริญพันธุ์รายอายุ และอัตราการตาย (631-8; 412-1) คงที่เป็นระยะเวลานานเพียงพอ อัตราต่อปีของการเพิ่มจะกลายเป็นอัตราที่คงที่ อัตราของการเพิ่มที่คงที่นี้เรียกว่า อัตราเพิ่มตามธรรมชาติในตัวเอง1 และประชากรที่ถึงขั้นตอนนี้จะเรียกว่า ประชากรคงรูป2 สัดส่วนของคนที่อยู่ในกลุ่มอายุต่างๆ ในประชากรคงรูปจะคงที่ กล่าวคือประชากรจะมี การกระจายอายุคงที่3 การกระจายอายุคงที่นี้เป็นอิสระจาก การกระจายอายุเมื่อเริ่มต้น4 และขึ้นอยู่กับอัตราเจริญพันธุ์และอัตราการตายซึ่งคงที่เท่านั้น ในความเป็นจริง ประชากรมนุษย์ไม่เคยถึงขั้นคงที่อย่างแน่นอนเช่นนั้น เพราะอัตราเจริญพันธุ์และอัตราการตายจะเปลี่ยนไปตลอดเวลา แต่การคำนวณประชากรคงรูปอย่างแบบจำลองและการคำนวณอัตราแท้จริงจะให้ดัชนีของ ศักยภาพการเพิ่ม5ของชุดของอัตราเจริญพันธุ์รายอายุ เกี่ยวโยงกับศักยภาพการเพิ่ม ก็ควรกล่าวถึงแรงเฉื่อยของประชากรชั่วขณะหรือ แรงเหวี่ยงทางประชากรศาสตร์11 คำนี้หมายถึงพลวัตที่ซ่อนอยู่ในโครงสร้างประชากรอันเนื่องมาจากการตอบสนองการเพิ่มประชากรที่ล่าช้า มีสาเหตุโดยความจริงที่ว่านับจากเวลาของการเกิดของรุ่น (116-2) หนึ่งจนถึงเวลาเริ่มต้นภาวะเจริญพันธุ์ (620-1) ของรุ่นนั้น มีจำนวนระยะเวลาหนึ่งผ่านไป ด้วยเหตุผลนี้ ประชากรอาจยังคงเพิ่มขึ้นแม้ว่าอัตราเกิดได้ลดลงมานานแล้วก็ตาม กรณีตรงข้ามก็เป็นไปได้ด้วยเช่นกัน แรงเหวี่ยงถูกเปลี่ยนโดยเฉพาะในกรณีของความไม่ต่อเนื่องในวิวัฒนาการของการเกิด (เช่นระหว่างสงคราม) และการย้อนกลับโดยฉับพลันของแนวโน้ม ประชากรคงรูปซึ่งอัตราแท้จริงของการเพิ่มตามธรรมชาติเป็นศูนย์เรียกว่า ประชากรคงที่6 ในประชากรคงที่ จำนวนในกลุ่มอายุหนึ่งจะเท่ากับค่าอินทีกรัลของฟังก์ชันการรอดชีพ (431-3) ของตารางชีพระหว่างขีดจำกัดอายุข้างบนและข้างล่างของกลุ่มอายุนั้น คูณด้วยแฟคเตอร์ที่เป็นสัดส่วนเหมือนกันในทุกกลุ่มอายุ ประชากรเสมือนคงรูป7เป็นประชากรคงรูปอย่างที่อธิบายมาแล้วที่มีภาวะเจริญพันธุ์คงที่และภาวะการตายค่อยๆ เปลี่ยนไป ลักษณะประชากรประเภทนี้เหมือนกับ ประชากรกึ่งคงรูป8 ซึ่งเป็นประชากรปิดและโครงสร้างอายุคงที่ ประชากรลอจิสติค9เป็นประชากรที่กำลังเพิ่มตาม กฎลอจิสติค10ของการเพิ่ม ได้แก่ประชากรซึ่งอัตราเพิ่มลดลงเป็นฟังก์ชันเชิงเส้นตรงของประชากรที่มีชีวิตอยู่แล้วและจะลู่เข้าสู่ค่าหนึ่งที่เป็นค่าขีดจำกัดข้างบน

  • 1. อัตราในตัวเองซึ่งล็อตก้า (Lotka) ผู้คิดแบบจำลองประชากรคงรูปเรียกว่าอัตราแท้จริงของการเพิ่มตามธรรมชาติ เท่ากับความแตกต่างระหว่างอัตราเกิดแท้จริง (หรือ อัตราเกิดคงที่) กับอัตราตายแท้จริง (หรืออัตราตายคงที่)
  • 2. การวิเคราะห์ประชากรคงรูปใช้คุณสมบัติของประชากรคงรูปเพื่อประมาณลักษณะต่างๆ ของประชากรที่แท้จริง

* * *

ไปยัง: คำนำสู่ดีโมพีเดีย | คำแนะนำการใช้ | ดาวน์โหลด
บทที่: อารัมภบท | 1. แนวคิดทั่วไป | 2. การจัดการและการประมวลผลสถิติประชากร | 3. การกระจายตัวและการจำแนกของประชากร | 4. ภาวะการตายและการเจ็บป่วย | 5. ภาวะสมรส | 6. ภาวะเจริญพันธุ์ | 7. การเพิ่มประชากรและการทดแทน | 8. การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่ | 9. มุมมองด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชากรศาสตร์
หน้าที่: 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 20 | 21 | 22 | 23 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 40 | 41 | 42 | 43 | 50 | 51 | 52 | 60 | 61 | 62 | 63 | 70 | 71 | 72 | 73 | 80 | 81 | 90 | 91 | 92 | 93

ดึงข้อมูลจาก "http://th-ii.demopaedia.org/w/index.php?title=70&oldid=756"