The Demopædia Encyclopedia on Population is under heavy modernization and maintenance. Outputs could look bizarre, sorry for the temporary inconvenience

พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาษา ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง ภาษาไทย

13

จาก Demopædia


ข้อความปฏิเสธความรับผิดชอบ : ผู้สนับสนุนทั้งหลายของดีโมพีเดียไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับความหมายของศัพท์ต่างๆ ที่อยู่ในพจนานุกรมฉบับปรังปรุงนี้

พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาพ ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง ยังอยู่่ระหว่างการดำเนินงาน หากต้องการเสนอข้อคิดเห็นใดๆ กรุณาใช้พื้นที่อภิปราย


ไปยัง: คำนำสู่ดีโมพีเดีย | คำแนะนำการใช้ | ดาวน์โหลด
บทที่: อารัมภบท | 1. แนวคิดทั่วไป | 2. การจัดการและการประมวลผลสถิติประชากร | 3. การกระจายตัวและการจำแนกของประชากร | 4. ภาวะการตายและการเจ็บป่วย | 5. ภาวะสมรส | 6. ภาวะเจริญพันธุ์ | 7. การเพิ่มประชากรและการทดแทน | 8. การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่ | 9. มุมมองด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชากรศาสตร์
หน้าที่: 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 20 | 21 | 22 | 23 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 40 | 41 | 42 | 43 | 50 | 51 | 52 | 60 | 61 | 62 | 63 | 70 | 71 | 72 | 73 | 80 | 81 | 90 | 91 | 92 | 93


130

ศัพท์คำว่า สถิติประชากร1 หรือ สถิติทางประชากร1หมายถึง ข้อมูลตัวเลข2เกี่ยวกับประชากรซึ่งได้มาจาก การสังเกต3 หลังจากการสังเกตเช่นนั้นได้รับการ รวบรวม4ไว้ในแบบฟอร์ม (206-1) ที่เหมาะสม เอกสารแบบฟอร์มจะถูก บรรณาธิกรณ์5และ ตรวจสอบความถูกต้อง5เพื่อขจัดความไม่แนบนัย ข้อมูลจะถูก ทำตาราง6 แบ่งเป็น กลุ่ม7 หรือ ชั้น8ที่มีลักษณะเหมือนกัน การประมวลผลข้อมูล9จะรวมขั้นตอนทั้งหมดระหว่างการรวบรวมข้อมูลและ การวิเคราะห์ทางสถิติ10 (132-1)

131

ปรกติ ข้อมูลจะหมายถึง ข้อมูลดิบ1 หรือ ข้อมูลหยาบ1 ก่อนที่มีการประมวลผลและการทำตาราง และหมายถึง ข้อมูลเบื้องต้น1 หรือ ข้อมูลปฐมภูมิ1 หลังจากการประมวลผลและการทำตาราง โดยปรกติ ข้อมูลเบื้องต้นประกอบด้วย ชุด2ของ จำนวนสัมบูรณ์3 ซึ่งจะใส่รวมกันไว้ในรูปของ ตารางสถิติ4 ในตารางเหล่านั้น โดยทั่วไปข้อมูลจะถูกจำแนกออกตาม ตัวแปร5 อย่างเช่น อายุ จำนวนลูก ฯลฯ หรือตาม ลักษณะ6 หรือ คุณลักษณะ6 (เช่น เพศ สถานภาพสมรส ฯลฯ) เมื่อข้อมูลถูกจำแนกออกตามตัวแปรหรือลักษณะหลายอย่างพร้อมๆ กัน ตารางจะเรียกว่า ตารางไขว้7 หรือ ตารางการณ์จร7 ตารางสรุป8ให้ข้อมูลที่มีรายละเอียดน้อยกว่า ตารางรายบุคคล9

  • 1. ข้อมูลที่โยงถึงบุคคล (110-2) ในฐานะเป็นหน่วยของการวิเคราะห์เรียกว่าเป็นข้อมูลจุลภาค ข้อมูลรวมหรือข้อมูลมหภาคโยงถึงหน่วยของการวิเคราะห์ที่นอกเหนือไปจากบุคคล ตัวอย่างเช่นประเทศหรือหน่วยการปกครองภายในประเทศ ข้อมูลจุลภาคได้มาจากหลายแหล่ง เช่นจากการสำรวจภาคสนาม (203-5) หรือตัวอย่างจากข้อมูลการจดทะเบียนชีพ แหล่งใหม่ของข้อมูลจุลภาคได้แก่ตัวอย่างจากสำมะโนที่ให้สาธารณะใช้ ซึ่งเป็นการสุ่มตัวอย่างอย่างเป็นระบบจากข้อมูลสำมะโนที่อนุญาตให้ใช้ในการวิเคราะห์ตามความสนใจของแต่ละบุคคล
  • 7. ตารางที่นำเสนอการกระจายของตัวแปรหรือลักษณะเดียวภายในประชากรหนึ่งโดยทั่วไปเรียกตารางความถี่

132

โดยทั่วไป การใช้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวข้องกับสองช่วงเวลา การวิเคราะห์1มุ่งไปที่การแยกส่วนประกอบของจำนวนที่สังเกตได้ (ขนาด โครงสร้าง ปัจจัยภายนอก และปรากฏการณ์ภายใต้การตรวจสอบ) การสังเคราะห์2เป็นกระบวนการรวมส่วนประกอบที่แยกกันออกไปในหลายๆ ทาง ไม่ว่าช่วงเวลาที่เกี่ยวข้องกับ การคำนวณ3 หรือ การคิดคำนวณ3ของ ดัชนีต่างๆ4 ซึ่งอาจแสดงด้วยชื่อต่างๆ (cf. § 133) ตรงข้ามกับข้อมูลเบื้องต้น ดัชนีเหล่านี้เรียกได้ว่าเป็น ผลการศึกษา6 หรือ ดัชนีสังเคราะห์5 ในความหมายที่แคบลง ดัชนี7 (ดัชนีต่างๆ) หรือ จำนวนดัชนี7 เป็นอัตราส่วนที่แสดงค่าของปริมาณที่สัมพันธ์ต่อ ฐาน8ซึ่งปรกติใช้จำนวน 100 ดัชนีบางตัวเป็น ตัวชี้วัด9ที่ดีของสถานการณ์ที่ซับซ้อน ดังนั้น บางครั้งอัตราตายทารกจึงใช้เป็นตัวชี้วัดหนึ่งของสถานะสุขภาพอนามัยของประชากร

  • 2. เครื่องคิดเลขเป็นเครื่องจักรกลที่มีความสามารถในการเก็บข้อมูลไม่มากนักที่ช่วยในการคิดคำนวณสถิติและคณิตศาสตร์
    คอมพิวเตอร์เป็นระบบเครื่องจักรกลที่ออกแบบเพื่อให้ทำงานเกี่ยวกับการถ่ายทอด เก็บและคำนวณชุดข้อมูลขนาดใหญ่ เครื่องนี้ช่วยในการคำนวณสถิติและคณิตศาสตร์รวมทั้งการประมวลผลข้อมูล แต่ก่อนศัพท์คำว่า calculator และ computer ใช้เพื่อเรียกคนผู้ทำหน้าที่ในการคิดคำนวณ

133

ขั้นตอนแรกๆ อย่างหนึ่งของการวิเคราะห์ (132-1) ประกอบด้วยการเชื่่อมโยงจำนวรวมประชากรหรือจำนวนเหตุการณ์ไปยังจำนวนหรือหรือจำนวนอื่นๆ ดัชนีที่เป็นผลลัพธ์มีชื่อเรียกหลายอย่าง อัตราส่วน6ที่ใช้เรียกในวัตถุประสงค์ต่าง ๆ กัน เป็นผลที่ได้มาจากการหารปริมาณของชนิดเดียวกัน เมื่อตัวตั้งและตัวหารเป็นชนิดเดียวกันแต่คนละประเภท (ตัวอย่างเช่น ผู้ชายและผู้หญิง เด็กและสตรี กลุ่มอายุต่าง ๆ กัน) อาจเรียกด้วยศัพท์คำอื่นในภาษาที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษโดยโยงปริมาณทั้งสองด้วย อัตราส่วนเฉพาะ1 (เช่นอัตราส่วนเพศ) สัดส่วน2คืออัตราส่วนซึ่งชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ในขนาดของส่วนหนึ่งต่อทั้งหมด อัตราสวนร้อย3คือสัดส่วนแสดงต่อร้อย อัตรา4คือประเภทพิเศษของอัตราส่วนที่ใช้เพื่อชี้ให้เห็น ความถี่สัมพัทธ์5ของการเกิดขึ้นของเหตุการณ์เฉพาะอย่างหนึ่งภายในประชากรกลุ่มหนึ่ง หรือประชากรย่อยกลุ่มหนึ่งในระยะเวลาที่ระบุ ปรกติเป็นเวลาหนึ่งปี ถึงแม้การใช้นี้จะได้รับการแนะนำ คำนี้ยังใช้กันให้มีความหมายกว้างขึ้นและใช้กันผิด ๆ ให้มีความหมายเดียวกับคำว่าอัตราส่วน (ตัวอย่างเช่น อัตราการมีส่วนร่วมในแรงงาน ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นสัดส่วน)

  • 4. โดยทั่วไปจะพูดถึงอัตราต่อพัน และเมื่อศัพท์คำว่า "อัตรา" ใช้โดยไม่มีการขยายความต่อไปว่า "ต่อพัน" ก็จะเป็นที่เข้าใจกันทั่วไปว่าเป็นอัตราต่อพัน อย่างไรก็ตาม อัตราบางอย่างคิดเป็นอัตราต่อหมื่น ต่อแสน หรือต่อล้าน ตัวอย่างเช่น อัตราตายรายอายุและสาเหตุ (421-10) บางครั้ง อัตราอาจเป็นต่อคนหรือต่อร้อย บางครั้ง "อัตรา" ถูกละไว้ในฐานที่เข้าใจ เช่นพูดว่า "การตายสิบต่อพัน" แต่เราไม่แนะนำให้พูดเช่นนั้น
  • 6. อัตราเจริญพันธุ์รวม (TFR) (cf 639-4) เป็นผลรวมของอัตราเจริญพันธุ์รายอายุ (cf 633-9) ตลอดช่วงวัยเจริญพันธุ์และดังนั้นจึงสูญเสียมิติในเรื่องช่วงเวลา (ต่อปี) ไป ความแตกต่างมีความสำคัญเปรียบได้กับระหว่างความยาวกับพื้นผิว หรือความเร็วกับความเร่ง ศัพท์คำว่าดัชนีสังเคราะห์ (synthetic index) (cf 132-5) จึงถูกนำมาใช้ในบางภาษาเพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนกับมิติในเรื่องเวลา (ต่อปี) ของอัตรา: จำนวนของเหตุการณ์ทางประชากรศาสตร์หารด้วยระยะเวลาที่เสี่ยงต่อการเกิดเหตุการณ์นั้นหรือปีคน ถ้าใช้คำว่าอัตราในข้อความว่า อัตราเจริญพันธุ์รวม จะหมายถึง ต่อสตรี 1 คน ซึ่งไม่เพียงพอที่จะมีคุณสมบัติเป็นอัตรา หากเป็นเพียงอัตราส่วนที่ไม่มีมิติเรื่องเวลา

134

ความถี่สัมพัทธ์ (133-5) ของเหตุการณ์ที่ไม่สามารถเกิดขึ้นใหม่มักจะถือว่าเป็นมาตรวัดเชิงประจักษ์ของ ความน่าจะเป็น1 ของการเกิดขึ้นของเหตุการณ์นั้น เช่นนี้เท่ากับว่าบุคคลทั้งหมดที่ปรากฏในตัวหาร เปิดตัวต่อความเสี่ยง3 ในบางทาง กล่าวคือต้องมี โอกาส2 หรือ ความเสี่ยง2 ที่เหตุการณ์ที่กำลังศึกษาจะเกิดขึ้นกับพวกเขา การใช้คำว่า "ความเสี่ยง" ไม่ได้หมายความว่าเหตุการณ์ที่กำลังศึกษาเป็นสิ่งไม่พึงปรารถนา ดังนั้น จึงใช้คำว่า "ความเสี่ยงของการแต่งงาน" ประชากรมักจะถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย ซึ่งความเสี่ยงของเหตุการณ์ที่กำลังศึกษาจะผันแปรระหว่างบุคคลในประชากรกลุ่มย่อยนั้นน้อยกว่าในประชากรทั้งหมด กลุ่มย่อยจะ เหมือนกัน4 ในแง่ของความเสี่ยงมากกว่าประชากรทั้งหมดที่ ต่างกัน5 อัตราที่คำนวณสำหรับกลุ่มย่อยเช่นนั้นเรียกว่าเป็น อัตราเฉพาะ6 ตรงข้ามกับอัตราอย่างหยาบ (136-8) ซึ่งคำนวณสำหรับประชากรทั้งหมด บางครั้ง อัตราทั่วไป7 เกี่ยวข้องกับการจำกัดอายุ ดังตัวอย่างของอัตราเจริญพันธุ์ทั่วไป (633-7).

135

อัตรารายอายุ1 จะคำนวณสำหรับอายุรายปีหรือกลุ่มอายุ ( อัตรารายกลุ่มอายุ2) อัตรารายช่วงเวลา3 จะนำเอาช่วงเวลาที่ผานไปตั้งแต่ เหตุการณ์เส้นฐาน4 หรือ จุดเริ่มต้นเหตุการณ์4 อย่างเช่น การแต่งงานหรือการเกิดลูกคนก่อน อัตรากึ่งกลาง10 ได้จากการนำจำนวนของเหตุการณ์ในช่วงหนึ่งปี หรือช่วงเวลาอื่น (มักใช้ 5 ปี) หารด้วย ประชากรเฉลี่ย6 หรือ ประชากรกลางปี6 หรือหารด้วยจำนวนของ ปีคน7 ที่เปิดต่อการเกิดเหตุการณ์ที่กำลังศึกษาในช่วงปีหรือระยะเวลานั้น จำนวนของปีคนคือ ผลรวมที่แสดงเป็นปีของเวลาที่เปิดต่อความเสี่ยงสำหรับบุคคลทั้งหมดในกลุ่มที่ศึกษาตลอดปีหรือระยะเวลานั้น คำว่าอัตรามักจะใช้สำหรับมาตรวัดอีกประเภทหนึ่งด้วย โดยได้จากการนำจำนวนเหตุการณ์ที่ไม่สามารถเกิดขึ้นใหม่ในหนึ่งปีหรือในระยะเวลาหลายปี มาหารด้วยขนาดของรุ่นประชากรเมื่อเริ่มต้นของปีหรือระยะเวลา ผลหารที่ได้นี้บางครั้งเรียก ความน่าจะเป็นลดทอน5 (attrition probability) หรือเรียกให้ง่ายกว่านั้นว่า ความน่าจะเป็น5 และตรงข้ามกับอัตรากึ่งกลาง ที่ได้นิยามมาก่อนแล้ว ในย่อหน้านี้ คำว่า"ระยะเวลา" หมายถึงความยาวของเวลา อย่างไรก็ตามในมาตรวัดที่เรียกว่า อัตราช่วงเวลา8 คำนี้ใช้ในความหมายของลำดับเวลา และหมายถึงปีปฏิทินเฉพาะปีหนึ่งหรือกลุ่มของปี ตรงข้ามกับ อัตราตามรุ่น9 หรือ อัตรารุ่นวัย9

136

ข้อมูลเรียกว่าเป็น ชั่วคราว1 ถ้ายังได้จากการสังเกตที่ไม่สมบูรณ์หรือไม่ได้ถูกควบคุมอย่างเพียงพอ ข้อมูล สุดท้าย2 จะนำมาแทนเมื่อการสังเกตสมบูรณ์แล้ว อัตราที่คำนวณได้จากข้อมูลเหล่านี้เรียกว่าเป็น อัตราชั่วคราว3 และ อัตราสุดท้าย4 ตามลำดับ เมื่อข้อมูลพร้อมเสนอต่อสาธารณะหลังจากตัวเลขต่างๆ ได้พิมพ์ออกมาแล้ว อาจมีการออก อัตราที่ปรับแก้5 คำว่า อัตราที่แก้ไขแล้ว6 ปรกติสื่อความหมายว่าข้อมูลบกพร่อง หรือวิธีการไม่เหมาะสม ได้ให้ผลลัพธ์ที่ไม่ว่าจะทำให้เข้าใจผิดหรือมีคุณค่าจำกัดสำหรับความต้องการที่มีอยู่ในขณะนั้น และได้มีความพยายามที่จะแก้ไข อย่างเช่นการปรับแก้สำหรับการตกแจงนับ การปรับแก้สำหรับการย้ายถิ่น การปรับแก้สำหรับการเคลื่อนย้ายตามฤดูกาล อัตราปรับฐาน7 หรือ อัตราที่ปรับ7 ออกแบบสำหรับตัวแปรหนึ่งเพื่อให้เปรียบเทียบประชากรต่างกันได้ เช่น ภาวะเจริญพันธุ์ หรือภาวะการตาย เมื่ออิทธิพลของอีกตัวแปรหนึ่ง เช่น อายุถูกจับให้คงที่ คำที่ว่า อัตราที่แก้ไขแล้ว7 ถูกใช้โดยนักประชากรศาสตร์บางคนเพื่อให้มีความหมายเดียวกันกับอัตราปรับฐาน เมื่อข้อมูลไม่สามารถนำมาประมาณทางตรงเพื่อหาอัตรา (เช่น ประชากรขนาดเล็ก) การใช้ อัตรามาตรฐาน9 (เช่น cf. 403-6) ที่คำนวณมาจากข้อมูลที่มีคุณภาพดีและประยุกต์เข้ากับประชากรจริง จะให้ค่าประมาณทางอ้อมของจำนวนเหตุการณ์ที่คาด ซึ่งสามารถนำไปเปรียบเทียบกับจำนวนเหตุการณ์ที่สังเกต อัตราที่ไม่ปรับฐานเรียกว่า อัตราอย่างหยาบ8 ถึงแม้ว่าอัตราอย่างหยาบอาจใช้เพื่อวัดแนวโน้มที่เป็นจริง การตีความที่ผิดพลาดอาจเกิดขึ้นได้จากการใช้ที่ไม่พิจารณาให้รอบคอบเมื่อนำประชากรที่มีโครงสร้าง (144-4) แตกต่างกันมาเปรียบเทียบกัน

137

ดัชนี (132-7) ทางประชากรศาสตร์ส่วนมากจะสัมพันธ์กับ ช่วงเวลาของการสังเกต1 ช่วงหนึ่ง ข้อนี้เป็นจริงโดยเฉพาะกับอัตรา (cf. 133-4) ส่วนมาก อัตราต่อปี2 จะสัมพันธ์กับระยะเวลา 12 เดือน เมื่อข้อมูลจากการสังเกตถูกรวบรวมในช่วงเวลาหลายปีแล้วนำมาเฉลี่ย คำว่า อัตราต่อปีมัชฌิม3 หรือ อัตราต่อปีเฉลี่ย3 มักจะใช้เรียกผลที่ได้นั้น เมื่ออัตราคำนวณสำหรับระยะเวลาที่แตกต่างจากปีหนึ่ง ก็จะ แปลงให้เป็นฐานต่อไป4 โดยการคูณด้วยตัวคูณที่เหมาะสม บางครั้งมีการคำนวณ อัตราฉับพลัน5 อัตราเหล่านี้สัมพันธ์กับระยะเวลาที่ไม่สิ้นสุด ตัวอย่างเช่น อัตราตายฉับพลัน (431-4) หรือ อัตราฉับพลันของการเพิ่มประชากร (702-5)

138

วัตถุประสงค์เบื้องต้นของการวิเคราะห์ตามรุ่น (103-4) คือการศึกษา ความเข้มข้น1 และ จังหวะ2 หรือ เวลา2ของปรากฏการณ์ทางประชากร ความเข้มข้นของปรากฏการณ์ที่เริ่มจากเหตุการณ์ที่ไม่สามารถเกิดขึ้นใหม่ (201-4) อย่างหนึ่ง อาจวัดโดย ความถี่สูงสุด3ของการเกิดขึ้นสำหรับเหตุการณ์อย่างหนึ่ง หรือโดยผลข้างเคียง ความถี่สูงสุดสะท้อนสัดส่วนของบุคคลซึ่งได้ประสบกับเหตุการณ์นั้นเมื่อไม่มีอิทธิพลจากภายนอก ในระหว่างการคงอยู่ของคนรุ่น (116-2) นั้น ความเข้มข้นของปรากฏการณ์ที่เริ่มโดยเหตุการณ์ที่สามารถเกิดขึ้นใหม่ได้ (201-5) อย่างเช่น การเกิด การย้ายถิ่น สามารถวัดได้ด้วย จำนวนเฉลี่ยของเหตุการณ์4ต่อคนในรุ่นนั้นเมื่อไม่มีอิทธิพลจากภายนอก จังหวะหรือเวลาอาจนิยามว่าเป็นการกระจายของเหตุการณ์ทางประชากรตามปรากฏการณ์ที่ศึกษาตลอดเวลาภายในรุ่นนั้น ผลของการวิเคราะห์แบบตัดขวาง หรือการวิเคราะห์ตามช่วงเวลา (103-5) สรุปได้โดย มาตรวัดตามช่วงเวลา5 — ซึ่งตรงข้ามกับ มาตรวัดตามรุ่น6 — ซึ่งอาจสร้างขึ้นในรูปแบบต่าง ๆ เทคนิควิธีที่ใช้กันทั่วไปประกอบด้วยการคิดอัตราจากข้อมูลที่สังเกตุได้ของกลุ่มอายุ หรือระยะเวลาต่าง ๆ กับ รุ่นสมมุติ7 หรือ รุ่นเทียม7

  • 3. ความถี่ หรือผลที่เกิดขึ้น มีชื่อเรียกต่าง ๆ กันขึ้นอยู่กับปรากฎการณ์ที่ศึกษา เช่น อัตราส่วนจำนวนบุตรลำดับถัดไป (637-7) ความถี่ของการครองโสดที่แน่นอนแล้ว (521-1) ... เราไม่ควรใช้คำว่าสัดส่วนในชื่อเหล่านี้ คำว่าสัดส่วนควรสงวนไว้ใช้กับสัดส่วนที่สังเกตได้ ตัวอย่างเช่น ความถี่ของของการครองโสดที่แน่นอนแล้วต้องให้แตกต่างจากสัดส่วนคนโสดในแต่ละกลุ่มอายุที่เป็นข้อมูลในสำมะโน
  • 4. ไม่ผิดปรกติแต่อย่างใดที่จะให้ชื่อเหมือนกันแก่จำนวนเฉลี่ยของเหตุการณ์ต่อคนที่เกิดขึ้น และแก่จำนวนที่ควรจะเกิดขึ้นถ้าไม่มีอิทธิพลภายนอกอย่างเช่นภาวะการตาย ศัพท์ต่างกันที่ควรใช้ เช่น จำนวนของบุตรเกิดรอด (637-2) สามารถแยกความแตกต่างจากภาวะเจริญพันธุ์สะสม (636-2)
  • 5. เพราะว่าการวิเคราะห์แบบตัดขวางและรุ่นวัยสมมุติถูกใช้มาก่อนการวิเคราะห์ตามรุ่นที่แท้จริง ชื่อของดัชนีขณะเวลามักจะมีนัยว่าเป็นดัชนีของรุ่นวัยหนึ่ง การใช้คำเช่นนี้อาจนำไปสู่ความขัดแย้ง ตัวอย่างเช่น ความน่าจะเป็นของการเกิดเฉพาะลำดับที่เกิดอาจเกินกว่าหนึ่งสำหรับบางปีเมื่อการเกิดที่เลื่อนไปจำนวนจำนวนมากเข้ามารวมอยู่ที่อายุนั้น

* * *

ไปยัง: คำนำสู่ดีโมพีเดีย | คำแนะนำการใช้ | ดาวน์โหลด
บทที่: อารัมภบท | 1. แนวคิดทั่วไป | 2. การจัดการและการประมวลผลสถิติประชากร | 3. การกระจายตัวและการจำแนกของประชากร | 4. ภาวะการตายและการเจ็บป่วย | 5. ภาวะสมรส | 6. ภาวะเจริญพันธุ์ | 7. การเพิ่มประชากรและการทดแทน | 8. การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่ | 9. มุมมองด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชากรศาสตร์
หน้าที่: 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 20 | 21 | 22 | 23 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 40 | 41 | 42 | 43 | 50 | 51 | 52 | 60 | 61 | 62 | 63 | 70 | 71 | 72 | 73 | 80 | 81 | 90 | 91 | 92 | 93

ดึงข้อมูลจาก "http://th-ii.demopaedia.org/w/index.php?title=13&oldid=768"