The Demopædia Encyclopedia on Population is under heavy modernization and maintenance. Outputs could look bizarre, sorry for the temporary inconvenience

พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาษา ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง ภาษาไทย

60

จาก Demopædia


ข้อความปฏิเสธความรับผิดชอบ : ผู้สนับสนุนทั้งหลายของดีโมพีเดียไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับความหมายของศัพท์ต่างๆ ที่อยู่ในพจนานุกรมฉบับปรังปรุงนี้

พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาพ ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง ยังอยู่่ระหว่างการดำเนินงาน หากต้องการเสนอข้อคิดเห็นใดๆ กรุณาใช้พื้นที่อภิปราย


ไปยัง: คำนำสู่ดีโมพีเดีย | คำแนะนำการใช้ | ดาวน์โหลด
บทที่: อารัมภบท | 1. แนวคิดทั่วไป | 2. การจัดการและการประมวลผลสถิติประชากร | 3. การกระจายตัวและการจำแนกของประชากร | 4. ภาวะการตายและการเจ็บป่วย | 5. ภาวะสมรส | 6. ภาวะเจริญพันธุ์ | 7. การเพิ่มประชากรและการทดแทน | 8. การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่ | 9. มุมมองด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชากรศาสตร์
หน้าที่: 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 20 | 21 | 22 | 23 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 40 | 41 | 42 | 43 | 50 | 51 | 52 | 60 | 61 | 62 | 63 | 70 | 71 | 72 | 73 | 80 | 81 | 90 | 91 | 92 | 93


601

การศึกษาทางประชากรศาสตร์เรื่อง ภาวะเจริญพันธุ์1เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ที่เชื่อมกับ การมีบุตร2หรือ การสืบทอดพันธุ์2ของมนุษย์ คำว่า ภาวะการเกิด1บางครั้งใช้แทนคำว่าภาวะเจริญพันธุ์ ศัพท์ทั้งสองคำนี้หมายถึงความถี่ของการเกิดขึ้นของ การเกิด3 หรือกล่าวให้เจาะจงลงไปคือ การเกิดมีชีพ4 — ภายในประชากรหรือประชากรกลุ่มย่อย การเกิดเป็นกระบวนการของการคลอดบุตร การเกิดมีชีพหรือการเกิดของ เด็กเกิดมีชีพ5แตกต่างจากการตายตัวอ่อนระยะหลัง (cf. 411-5) โดยหลักฐานของการมีชีวิตอย่างเช่นการหายใจ การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ หรือการเต้นของหัวใจของเด็กหลังจากการคลอดหรือการขับออก ศัพท์คำว่า ภาวะเจริญพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพ6 ซึ่งครั้งหนึ่งเคยใช้เพื่อชี้ว่าการตายตัวอ่อนระยะหลังไม่ได้ถูกนับรวมไว้ในจำนวนรวมของการเกิด หมายถึงการเกิดซึ่งไม่รวมการตายของทารกหรือเด็กเข้าไว้ด้วย คำว่า ภาวะเจริญพันธุ์อย่างหยาบ7ควรหมายถึงการเกิดทั้งหมดที่รวม "ตายคลอด" (411-5) หรือการตายตัวอ่อนเข้าไว้ด้วย คำว่า ภาวะเจริญพันธุ์ที่แตกต่าง8แสดงดึงความแตกต่างของภาวะเจริญพันธุ์ระหว่างกลุ่มย่อยๆ ของประชากร

  • 1. ความหมายของคำว่าภาวะเจริญพันธุ์ในประชากรศาสตร์ ให้ดู § 623
  • 2. บ่อยครั้งที่การสืบทอดพันธุ์หมายถึงความสมดุลย์ของการเกิดและการตาย (เช่นใน § 711) มากกว่าที่จะเป็นกระบวนการของการมีบุตรหรือการให้กำเนิด
  • 3. คำว่าการเกิดปัจจุบันใช้กันโดยทั่วไปว่าหมายถึงการเกิดมีชีพ
  • 4. เกิดมีชีพ ใช้เป็นคำนามเพื่อหมายถึงทารกเกิดมีชีพด้วย

602

การปฏิสนธิ1เป็นผลจาก การผสมพันธุ์2ของ ไข่3โดย สเปิร์ม4 หรือ เซลล์สเปิร์ม4 และขีดเส้นเริ่มต้นของ การตั้งครรภ์5 หรือ การครองครรภ์5สำหรับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ได้ ในช่วงเวลาของพัฒนาการ ผลิตผลของการปฏิสนธิ6จะเรียกว่า ตัวอ่อน7 แล้วต่อมาเรียก ตัวอ่อนระยะหลัง7 ขณะเวลาที่ตัวอ่อนกลายเป็นตัวอ่อนระยะหลังไม่มีการกำหนดไว้แน่นอนว่าเมื่อไร นักวิทยาศาสตร์บางคนให้ค่าไว้ที่เมื่อสิ้นสุด 12 สัปดาห์ หรือ 3 เดือนของชีวิตในมดลูก แม้ว่าขั้นตอนพัฒนาการต่อมาหลังจากสัปดาห์ที่ 8 ก็มักเรียกว่าตัวอ่อนระยะหลังหลังอยู่บ่อยๆ การฝังตัวของไข่8หมายถึงการฝังตัวของไข่ในผนังของ มดลูก9 หรือ ครรภ์9ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้น 2-3 วันหลังจากการผสมพันธุ์

  • 2. การผสมเทียม: การผสมพันธุ์ซึ่งทำโดยการฉีดเชื้อเทียมด้วยกระบวนการนอกเหนือไปจากการมีเพศสัมพันธุ์ (627-2).
  • 3. ไข่ที่ถูกผสมแล้วเรียกว่าไซโกต
  • 5. นักวิทยาศาสตร์บางคนพิจารณาว่าการตั้งครรภ์เริ่มขึ้นเมื่อเวลาของการฝังตัว (602-8)ของไข่
  • 7. Embryology: ศาสตร์ที่เกี่ยวกับพัฒนาการของตัวอ่อน

603

กล่าวได้ว่าตัวอ่อน ไม่มีชีวิต2ในช่วงแรกๆ ของการตั้งครรภ์และจะ มีชีวิต1หลังจากนั้น การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเมื่อตัวอ่อนเริ่มมีความสามารถที่จะอยู่ได้โดยอิสระนอกครรภ์มารดา ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อ ระยะเวลาการครองครรภ์3 หรือ ช่วงเวลาของการตั้งครรภ์3เกินกว่า 28 สัปดาห์ ถ้าการตั้งครรภ์ยาวนานกว่านี้ การขับตัวอ่อนออก (มีชีพหรือตาย) เกิดขึ้นในช่วงของ การคลอดบุตร4 การขับตัวอ่อนออกก่อนโดยสัมพันธ์กับการตายตัวอ่อนระยะแรกเรียกว่า การแท้ง5 (cf. § 604) ระยะเวลาประมาณ 6 สัปดาห์หลังจากการคลอด (ในช่วงที่มดลูกปรกติจะกลับคืนสู่ขนาดเดิมและเป็นช่วงที่ความน่าจะเป็นของการปฏิสนธิต่ำ) เรียกว่า ช่วงหลังคลอด6

  • 2. ช่วงเวลาขั้นต่ำที่กำหนดการมีชีวิตอยู่นั้นแตกต่างกันระหว่าง 20 และ 28 สัปดาห์ ในแต่ละประเทศ แต่องค์การอนามัยโลกได้แนะนำให้ใช้ 28 สัปดาห์เป็นมาตรฐาน โดยทั่วไป ช่วงเวลาของการตั้งครรภ์คำนวณจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย ช่วงเวลานี้ประกอบขึ้นเป็นช่วงเวลาของการตั้งครรภ์ตามปรกติธรรมดา ซึ่งตรงข้ามกับช่วงเวลาของการตั้งครรภ์ที่แท้จริงที่คำนวณจากระยะเวลาปฏิสนธิ
  • 4. กระบวนการขับตัวอ่อนระยะหลังออกจากครรภ์เรียกว่าการคลอด หรือการให้กำเนิด ซึ่งเป็นการสิ้นสุดของระยะเวลาของการคลอดลูก การคลอดบุตรจะหมายรวมถึงการขับดันหรือเอารก หรือสิ่งหลังคลอดออก
  • 5. คนทำแท้ง คือบุคคลที่ประกอบการทำแท้ง ในภาษาพูดประจำวัน คำว่าการแท้งมักจะหมายถึงการทำแท้ง (604-2) มากกว่าที่หมายความว่าการแท้งเอง (604-1)

604

การแท้งจากการตายภายในมดลูกโดยไม่มีการกระทำให้เกิดขึ้น ซึ่งอาจเกิดขึ้นเมื่อก่อนการขับออกมาก เรียกว่า การแท้งเอง1หรือ การแท้งโดยธรรมชาติ1 ตรงข้ามกับ การแท้งโดยตั้งใจ2 หรือ การทำแท้ง2 การแท้งเพื่อการบำบัดรักษา3เป็นการทำแท้งด้วยเหตุผลทางการแทพย์ กฎหมายของบางประเทศอนุญาตให้ทำแท้งเพื่อเหตุผลด้านสุขภาพหรือเหตุผลอื่น เรียกว่าเป็น การทำแท้งที่ถูกกฎหมาย4 การทำแท้งซึ่งขัดต่อกฎหมายเรียกว่า การทำแท้งที่ผิดกฎหมาย5 หรือ การทำแท้งที่เป็นอาชญากรรม5 ในด้านเทคนิคการทำแท้งที่ใช้ มี การทำแท้งโดยการขูดมดลูก6 การทำแท้งโดยการดูดสุญญากาศ7 การทำแท้งโดยการถ่างและขจัดออก7 การผ่ามดลูก8 (เกี่ยวข้องกับการผ่าตัดเข้าไปในมดลูก) และ การทำแท้งโดยวิธีการใช้ยาขับ9

  • 6. เรียกอีกอย่างว่าเป็นการทำแท้งโดยการถ่างและขูดมดลูก (เขียนย่อๆ เป็น D&C)
  • 7. เรียกอีกอย่างว่าเป็นการทำแท้งโดยการดูด เมื่อขั้นตอนนี้ทำขึ้นโดยเร็วหลังจากเชื่อว่ามีการปฏิสนธิจะเรียกว่าการปรับประจำเดือน
  • 9. ขั้นตอนเช่นนี้เกี่ยวพันกับการแลกเปลี่ยนน้ำคร่ำ เช่นตัวอย่างของการทำแท้งโดยการฉีดน้ำเกลือ หรือการใช้ยาโพรสตาแกลนดินส์

605

การคลอดครบกำหนด1เกิดขึ้นเมื่อการตั้งครรภ์เป็นเวลาอย่างน้อย 37 สัปดาห์ วัดโดยช่วงเวลาของการตั้งครรภ์ตามปรกติ (603-3*) การตั้งครรภ์ที่สิ้นสุดลงก่อนระยะเวลาปรกติเรียกว่า การคลอดก่อนกำหนด2 หรือ การคลอดบุตรก่อนเวลา2 หรือ การเกิดก่อนเวลา2 และผลิตผลของการคลอดเช่นนี้เรียกว่า ทารกก่อนกำหนด4 การเกิดซึ่งไม่ก่อนกำหนดเรียกว่า การเกิดตามกำหนด3 หรือ การเกิดครบกำหนด3 คำว่า ก่อนกำหนด5 ใช้เพื่อหมายถึงปรากฏการณ์ที่เชื่อมโยงกับการคลอดก่อนกำหนด การจำแนกประเภทของการเกิดโดยขั้นตอนของพัฒนาการที่ไม่ขึ้นอยู่กับการประมาณระยะเวลาของการครองครรภ์ใช้อยู่ในหลายประเทศ ในการจำแนกประเภทเช่นนี้ ทารกเกิดมีชีพด้วย น้ำหนักแรกเกิด6 2,500 กรัม (5 1/2 ปอนด์) หรือต่ำกว่านั้นกล่าวว่า ไม่ครบกำหนด8 ภาวะไม่ครบกำหนด7มักจะรวมกับ อาการอ่อนเพลีย9ซึ่งเป็นภาวะผิดปรกติของความอ่อนแอ

606

การคลอดบุตรส่วนมากจะเป็น การเกิดเดี่ยว1 หรือ การคลอดเดี่ยว1 แต่บางกรณีเป็น การเกิดมากกว่าหนึ่ง2 หรือ การคลอดมากกว่าหนึ่ง2 เด็กสองคนที่เกิดในช่วงการคลอดบุตรครั้งเดียวกันเรียกว่า แฝด3 และเราอาจแยกความแตกต่างระหว่าง แฝดไข่ใบเดียวกัน4 หรือ แฝดเหมือน4ประเภทหนึ่งกับ แฝดไข่สองใบ5อีกประเภทหนึ่ง การเกิดเป็นเด็กหลายคนด้วยไข่ใบเดียวกันเกิดขึ้นเมื่อไข่แยกตัวหลังจากการผสมพันธุ์ เด็กที่เป็นผลจากการที่ไข่แยกตัวเช่นนั้นต้องเป็นเพศเดียวกันเสมอ การเกิดจากไข่หลายใบเนื่องมาจากการสุกพร้อกันของไข่สองใบหรือมากกว่าให้ผลเป็นเด็กแฝดคลอดออกมาอาจมีเพศที่ต่างกัน

  • 2. ศัพท์ทางการของอังกฤษ คำว่าการเป็นมารดาใช้เพื่อแสดงการคลอดที่มีผลเป็นการเกิดของบุตร 1 คนหรือมากกว่า อาจคำนวณจำนวนของการเกิดต่อการเป็นมารดาได้
  • 3. เมื่อการคลอดครั้งหนึ่งออกมาเป็นบุตร 3 คน เรียกว่าแฝดสาม คลอดออกมา 4 คน เรียกว่าแฝดสี่ 5 คนเรียกว่าแฝดห้า โดยทั่วไป ศัพท์คำว่าฝาแฝด แฝดสาม ฯลฯ เรียกตามจำนวนบุตรที่คลอดออกมาทั้งหมดในระหว่างการคลอดครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ตาม การคลอดบุตรคราวละหลายคนจะแยกประเภทตามจำนวนบุตรที่เกิดมีชีพเท่านั้น

* * *

ไปยัง: คำนำสู่ดีโมพีเดีย | คำแนะนำการใช้ | ดาวน์โหลด
บทที่: อารัมภบท | 1. แนวคิดทั่วไป | 2. การจัดการและการประมวลผลสถิติประชากร | 3. การกระจายตัวและการจำแนกของประชากร | 4. ภาวะการตายและการเจ็บป่วย | 5. ภาวะสมรส | 6. ภาวะเจริญพันธุ์ | 7. การเพิ่มประชากรและการทดแทน | 8. การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่ | 9. มุมมองด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชากรศาสตร์
หน้าที่: 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 20 | 21 | 22 | 23 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 40 | 41 | 42 | 43 | 50 | 51 | 52 | 60 | 61 | 62 | 63 | 70 | 71 | 72 | 73 | 80 | 81 | 90 | 91 | 92 | 93

ดึงข้อมูลจาก "http://th-ii.demopaedia.org/w/index.php?title=60&oldid=762"