The Demopædia Encyclopedia on Population is under heavy modernization and maintenance. Outputs could look bizarre, sorry for the temporary inconvenience

พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาษา ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง ภาษาไทย

63

จาก Demopædia


ข้อความปฏิเสธความรับผิดชอบ : ผู้สนับสนุนทั้งหลายของดีโมพีเดียไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับความหมายของศัพท์ต่างๆ ที่อยู่ในพจนานุกรมฉบับปรังปรุงนี้

พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาพ ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง ยังอยู่่ระหว่างการดำเนินงาน หากต้องการเสนอข้อคิดเห็นใดๆ กรุณาใช้พื้นที่อภิปราย


ไปยัง: คำนำสู่ดีโมพีเดีย | คำแนะนำการใช้ | ดาวน์โหลด
บทที่: อารัมภบท | 1. แนวคิดทั่วไป | 2. การจัดการและการประมวลผลสถิติประชากร | 3. การกระจายตัวและการจำแนกของประชากร | 4. ภาวะการตายและการเจ็บป่วย | 5. ภาวะสมรส | 6. ภาวะเจริญพันธุ์ | 7. การเพิ่มประชากรและการทดแทน | 8. การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่ | 9. มุมมองด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชากรศาสตร์
หน้าที่: 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 20 | 21 | 22 | 23 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 40 | 41 | 42 | 43 | 50 | 51 | 52 | 60 | 61 | 62 | 63 | 70 | 71 | 72 | 73 | 80 | 81 | 90 | 91 | 92 | 93


632

อัตราเกิด1เป็นศัพท์ทั่วไป หมายถึงอัตราที่คำนวณโดยโยงจำนวนการเกิดมีชีพที่สังเกตได้ในประชากรหรือประชากรกลุ่มย่อยในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ไปยังขนาดของประชากรหรือประชากรกลุ่มย่อยในช่วงเวลาเดียวกันนั้น อัตรานี้ปรกติจะเป็นอัตราต่อ 1,000 และช่วงระยะเวลาที่ใช้กันมากที่สุดคือหนึ่งปี เมื่อใช้ศัพท์คำว่าอัตราเกิดโดยไม่มีการขยายความ ก็จะเป็นที่เข้าใจกันว่าเป็น อัตราเกิดอย่างหยาบ2 และการเกิดมีชีพทั้งหมดจะโยงไปสัมพันธ์กับประชากรทั้งหมด บางครั้งมีการคำนวณ อัตราเกิดรวม3ที่ใช้จำนวนเกิดมีชีพและการตายตัวอ่อนระยะหลัง อัตราเกิดที่ถูกต้องตามกฎหมาย4และ อัตราเกิดที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย5คำนวณได้โดยใช้จำนวนเกิดที่ถูกต้องตามกฎหมายและจำนวนเกิดที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายเป็นตัวตั้ง และจำนวนประชากรที่แต่งงานและไม่แต่งงานในขณะเวลานั้นตามลำดับเป็นตัวหาร อย่างไรก็ตามมีการใช้ อัตราส่วนความไม่ถูกต้องตามกฎหมาย6ซึ่งคือจำนวนเกิดที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายต่อการเกิด 1,000 ราย กันมากกว่า ในการเปรียบเทียบภาวะเจริญพันธุ์ของประชากรต่างกลุ่มกัน อัตราเกิดปรับฐาน7จะใช้เพื่อขจัดอิทธิพลของอัตราเกิดที่เกิดจากความแตกต่างกันบางอย่างในโครงสร้างของประชากร (ส่วนใหญ่เป็นความแตกต่างของโครงสร้างอายุและเพศ) อัตราส่วนเด็ก-สตรี8ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปเป็นจำนวนเด็กอายุ 0 ถึง 4 ปีต่อผู้หญิงในวัยมีบุตร ซึ่งได้แก่ผู้หญิงอายุ 15 ถึง 49 ปี 1,000 คน เป็นดัชนีของภาวะเจริญพันธุ์เมื่อไม่มีสถิติการเกิดที่เชื่อถือได้

  • 4. ตัวหารของอัตราเกิด อัตราเกิดที่ถูกต้องตามกฎหมายและอัตราเกิดที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายบางครั้งใช้จำนวนประชากรรวม
  • 5. ดูหมายเหตุ 4

633

ศัพท์คำว่า อัตราเจริญพันธุ์1ใช้เมื่อตัวหารของส่วนหนึ่งของอัตราเกิดจำกัดอยู่ที่กลุ่มของบุคคลเพศเดียวกันในวัยสืบทอดพันธุ์ (620-1) ตัวหารนี้โดยทั่วไปเป็นประชากรกลางปีในระยะเวลาที่ระบุไว้ แต่มันอาจจะเป็นจำนวนปีที่มีชีวิตอยู่ของกลุ่มประชากรนั้นในช่วงเวลานั้นหรือขนาดเฉลี่ยของกลุ่มนั้น นอกจากระบุไว้เป็นอย่างอื่น อัตราเจริญพันธุ์เป็น อัตราเจริญพันธุ์สตรี2 และอัตราที่คำนวณสำหรับกลุ่มของสตรีจะใช้จำนวนปีที่มีชีวิตอยู่โดยจำนวนของสตรีในช่วงเวลาหนึ่งเรียกว่าจำนวนของ ปีสตรี3 อัตราเจริญพันธุ์บุรุษ4คำนวณได้ด้วยวิธีเดียวกันกับของผู้หญิง โดยทั่วไปอัตราเจริญพันธุ์แสดงในรูปจำนวนเกิดต่อพัน (บุคคลในประเภทเหมือนกัน — เพศ อายุ สถานภาพสมรส ฯลฯ — cf. 133-4*) อัตราเจริญพันธุ์สมรส5หรือ อัตราเจริญพันธุ์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย5โยงจำนวนรวมของการเกิดที่ถูกต้องตามกฎหมาย (610-3) ไปยังจำนวนของสตรีที่แต่งงานแล้วในขณะนั้น อัตราเจริญพันธุ์ไม่สมรส6หรือ อัตราเจริญพันธุ์ที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย6โยงจำนวนรวมของการเกิดที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย (610-4) ไปยังจำนวนของสตรีโสด ม่ายหรือหย่าแล้ว อัตราเจริญพันธุ์ทั้งหมด7ไม่แยกความแตกต่างตามความถูกต้องตามกฎหมาย (610-1) ของการเกิดหรือสถานภาพสมรสของพ่อแม่ อัตราเจริญพันธุ์ทั่วไป8โยงจำนวนรวมของการเกิดไปยังผู้หญิงทั้งหมดในวัยมีบุตรโดยไม่คำนึงถึงสถานภาพสมรส อัตราที่ใช้ พิสัยอายุที่แคบลง (ปรกติหนึ่งปีหรือกลุ่มอายุ 5 ปี) เรียกว่า อัตราเจริญพันธุ์รายอายุ9 หรือ อัตราเกิดรายอายุ9

  • 1. ในศัพท์หลายๆ คำที่ใช้ในย่อหน้านี้ และย่อหน้าต่อๆ ไป อัตราเกิดจะใช้ในความหมายเดียวกับอัตราเจริญพันธุ์
  • 5. ภาวะเจริญพันธุ์สมรส หรือภาวะเจริญพันธุ์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย เป็นภาวะเจริญพันธุ์ของผู้ที่แต่งงานแล้ว (ดู 635-1).
  • 6. ภาวะเจริญพันธุ์นอกสมรส หรือภาวะเจริญพันธุ์ไม่ถูกต้องตามกฎหมายเป็นภาวะเจริญพันธุ์ของผู้ที่ไม่ได้แต่งงาน

634

อัตราเจริญพันธุ์ตามลำดับบุตร1เกี่ยวโยงการเกิดของลำดับที่เฉพาะลำดับหนึ่งไปยังสตรีจำนวนหนึ่ง หรือโยงไปยังจำนวนการแต่งงาน หรือจำนวนเกิดของลำดับก่อนหน้านั้น อัตราเจริญพันธุ์รายจำนวนบุตร2 หรือ อัตราเกิดรายจำนวนบุตร2ไม่เพียงจำกัดเฉพาะการเกิดของลำดับที่กำหนดซึ่งเป็นตัวตั้ง แต่ยังจำกัดที่ตัวหารซึ่งคือจำนวนสตรีที่เสี่ยง (134-2) ต่อการมีจำนวนบุตร (611-6) นั้นๆ เช่น การเกิดลำดับที่สองต่อสตรีมีบุตรหนึ่งคน อัตราเช่นนี้โดยปรกติเป็นอัตรารายอายุหรือรายระยะเวลา ในเรื่อง ความน่าจะเป็นของการเกิดรายจำนวนบุตร3นั้น ตัวตั้งประกอบด้วยจำนวนการเกิดของลำดับ x + 1 ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง และตัวหารประกอบด้วยจำนวนสตรีที่มีบุตร x เมื่อเวลาเริ่มต้นของช่วงเวลาเดียวกันนั้น

635

ในการศึกษา ภาวะเจริญพันธุ์สมรส1เป็นไปได้ที่จะจัดข้อมูลตามรุ่นแต่งงาน (116-2) ของมารดา และ อัตราเจริญพันธุ์รายระยะเวลาการแต่งงาน2มักจะคำนวณขึ้นเพื่อหา อัตราเจริญพันธุ์สมรสรายอายุ3

636

ศัพท์คำว่า ภาวะเจริญพันธุ์รุ่น1หมายถึงพฤติกรรมการสืบทอดพันธุ์ของเฉพาะรุ่นเกิดหรือรุ่นแต่งงาน (116-2) เมื่ออัตราเจริญพันธุ์รายระยะเวลาการแต่งงานหรืออัตราเจริญพันธุ์รายอายุบวกรวมกันจากเมื่อเริ่มต้นความเสี่ยงของรุ่นจนกระทั่งเวลาหลังจากนั้น เราเรียกว่า ภาวะเจริญพันธุ์สะสม2 ภาวะเจริญพันธุ์สะสมรายอายุ3 หรือ ภาวะเจริญพันธุ์สะสมรายระยะเวลาการแต่งงาน3 เมื่อวันที่สิ้นสุดเป็นวันของสตรีกลุ่มที่เกิดหรือแต่งงาน (501-4) ภาวะเจริญพันธุ์สัมบูรณ์4 หรือ ภาวะเจริญพันธุ์ชั่วชีวิต4 เป็นภาวะเจริญพันธุ์สะสมจนกระทั่งถึงวันเวลาที่สมาชิกทั้งหมดของรุ่นนั้นมีอายุพ้นวัยมีบุตร จำนวนรวมของผลคูณของอัตราเจริญพันธุ์ของรุ่นนั้นด้วยความน่าจะเป็นของการรอดชีพของสตรีไปถึงอายุถัดไปเรียกว่าเป็น ภาวะเจริญพันธุ์สุทธิสะสม5 ภาวะเจริญพันธุ์สะสมสุทธิรายอายุ6หรือ ภาวะเจริญพันธุ์สะสมสุทธิรายระยะเวลาการแต่งงาน6 และ ภาวะเจริญพันธุ์สัมบูรณ์สุทธิ7หรือ ภาวะเจริญพันธุ์ชั่วชีวิตสุทธิ7 ของสตรีรุ่นนั้น

  • 4. ก่อนสิ้นสุดระยะเวลาของการมีบุตร ใช้ศัพท์คำว่าภาวะเจริญพันธุ์ไม่สมบูรณ์หรือภาวะเจริญพันธุ์จนถึงปัจจุบันเพื่อแสดงว่าภาวะเจริญพันธุ์สะสมของคนรุ่นนั้นอาจจะเพิ่มขึ้นได้อีก

637

สำมะโนและการสำรวจอาจให้ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะเจริญพันธุ์เมื่อมีคำถามเกี่ยวกับจำนวนที่เกิดจากสตรีหรือคู่อยู่กินที่แจงนับได้ ไม่ว่าจะเป็นในช่วง การแต่งงานปัจจุบัน1 หรือการแต่งงานทั้งหมด จำนวนเฉลี่ยของบุตรที่เกิดต่อสตรี2 หรือ จำนวนบุตรที่มีเฉลี่ย2 อาจคำนวณได้ จำนวนของบุตรต่อคู่อยู่กินบางครั้งเรียกว่า ขนาดครอบครัวเฉลี่ย3 ทั้งยังเป็นไปได้ที่จะคำนวณ จำนวนเฉลี่ยของการเกิดต่อการแต่งงาน4 มีความสนใจเป็นพิเศษต่อ การแต่งงานของภาวะเจริญพันธุ์สัมบูรณ์5ซึ่งภรรยาอายุพ้นวัยเจริญพันธุ์ก่อนที่การแต่งงานจะสิ้นสลายลง จำนวนบุตรสุดท้าย6 หรือ จำนวนบุตรสัมบูรณ์6 ซึ่งได้แก่จำนวนเฉลี่ยของบุตรต่อสตรีที่ผ่านวัยมีบุตรแล้ว ไม่แตกต่างมากนักจากภาวะเจริญพันธุ์สัมบูรณ์ (636-4) การทำตารางของจำนวนบุตรสุดท้ายหรือภาวะเจริญพันธุ์สัมบูรณ์โดยไขว้กับจำนวนบุตรช่วยให้คำนวณอนุกรมของ อัตราส่วนจำนวนบุตรลำดับถัดไป7 ซึ่งเป็นเศษส่วนที่มีตัวหารเป็นจำนวนของผู้หญิงที่มีลูก n คน และตัวตั้งเป็นจำนวนผู้หญิงที่มีลูก n + 1 คน การศึกษาพิเศษให้ข้อมูลเกี่ยวกับ การก่อรูปครอบครัว8 และ วงจรชีวิตครอบครัว8 ในการศึกษาเหล่านี้ ความถี่ของการปฏิสนธิก่อนแต่งงาน9 ช่วงห่างการเกิด (612-1) และ อายุเมื่อการเกิดของลูกคนสุดท้าย10สำหรับผู้หญิงที่มีภาวะเจริญพันธุ์สัมบูรณ์แล้วมีความน่าสนใจเป็นการเฉพาะ

638

ประวัติภาวะเจริญพันธุ์1 หรือ ประวัติการสืบทอดพันธุ์1เป็นรายการเหตุการณ์สำคัญในชีวิตการสืบทอดพันธุ์ของผู้หญิงแต่ละคน อย่างเข่นการแต่งงาน การตั้งครรภ์ การเกิด การตายทารก ฯลฯ และวันเวลาที่เกิดเหตุการณ์เหล่านั้น ประวัติภาวะเจริญพันธุ์มักได้รับข้อมูลย้อนเวลาจากการสำรวจ รูปแบบครอบครัว1ใช้ในวิชาประชากรศาสตร์เชิงประวัติศาสตร์ (102-1) ซึ่งกำหนดรูปแบบครอบครัวของคู่อยู่กินและลูกๆ โดย การประกอบสร้างครอบครัวขึ้นใหม่2โดยอาศัยบันทึกเหตุการณ์ชีพ (211-3) ประวัติการตั้งครรภ์3 หรือ บันทึกการตั้งครรภ์3ของผู้หญิงคนหนึ่งมีข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ซึ่งรวมวันเวลาเมื่อแต่ละครรภ์เริ่มต้นและจบลง และผลของการตั้งครรภ์นั้น บันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับวันเวลาของภาวะเจริญพันธุ์เช่นนั้นใช้เพื่อวัตถุประสงค์หลายประการ ตัวอย่างเช่น สามารถใช้เป็นข้อมูลเกี่ยวกับ ภาวะเจริญพันธุ์ธรรมชาติ4 ซึ่งได้แก่ภาวะเจริญพันธุ์ที่ไม่มีการจำกัดขนาดครอบครัว (624-4) ข้อมูลเช่นนั้นสามารถใช้ในการประมาณค่า ภาวะความสามารถในการมีครรภ์5 ซึ่งหมายถึงความน่าจะเป็นของการปฏิสนธิต่อรอบประจำเดือน (622-2) มีความแตกต่างระหว่าง ภาวะความสามารถในการมีครรภ์ตามธรรมชาติ6ในกรณีที่ไม่มีการป้องกันการปฏิสนธิ กับ ภาวะความสามารถในการมีครรภ์ที่เหลือ7ในกรณีตรงกันข้าม ศัพท์คำว่า ภาวะความสามารถในการมีครรภ์ที่มีประสิทธิภาพ8แสดงความหมายถึงความสามารถในการมีครรภ์ที่คำนวณได้ในแง่ของการปฏิสนธิซึ่งมีผลเป็นการเกิดมีชีพเท่านั้น อัตราปฏิสนธิ9ในช่วงระยะเวลาของการเปิดต่อความเสี่ยงที่ประมาณอยู่บ่อยๆ โดยใช้ ดัชนีเพิร์ล10 (613-1) ใช้เพื่อวัดประสิทธิภาพของการป้องกันการปฏิสนธิในช่วงเวลาของการใช้วิธีการคุมกำเนิด

  • 1. โดยปรกติประวัติการเกิดจำกัดอยู่ที่การเกิดมีชีวิต
  • 6. ภาวะความสามารถในการมีครรภ์ เมื่อใช้โดดๆ จะหมายถึงภาวะความสามารถในการมีครรภ์ตามธรรมชาติ

639

ดัชนีสรุปรวมของ ภาวะเจริญพันธุ์ชั่วเวลา1 ซึ่งได้แก่ภาวะเจริญพันธุ์ของเฉพาะปีหนึ่งหรือชั่วเวลาหนึ่ง คำนวณได้โดยการรวมอนุกรมของอัตราเจริญพันธุ์รายอายุที่แสดงถึง การกระจายอัตราเจริญพันธุ์2 และใช้เป็น มาตรวัดสังเคราะห์ของภาวะเจริญพันธุ์3 เรียกว่า อัตราเจริญพันธุ์รวม4 หรือ ภาวะเจริญพันธุ์รวม4 ดัชนีภาวะเจริญพันธุ์ชั่วเวลาสรุปรวมอย่างอื่นอาจคำนวณได้ด้วยวิธีเดียวกัน เช่น อัตราเจริญพันธุ์ที่ถูกต้องตามกฎหมายรวม5ซึ่งก็คือผลรวมของอัตราเจริญพันธุ์รายช่วงเวลาของการแต่งงาน และ อัตราเจริญพันธุ์รวมตามลำดับบุตร6ซึ่งก็คือผลรวมของอัตราเจริญพันธุ์รายอายุตามลำดับที่บุตร อัตราส่วนของการเกิดต่อการสมรส7คำนวณได้โดยการโยงจำนวนของการเกิดในปีหนึ่งไปยังจำนวนการแต่งงานของปีนั้น หรือโยงไปยังจำนวนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของการแต่งงานในปีปัจจุบันและในปีก่อนๆ

  • 2. หรือฟังก์ชันภาวะเจริญพันธุ์
  • 4. ดัชนีนี้ไม่ใช่อัตราในความหมายของ (133-4) ภาวะเจริญพันธุ์รวมในปีหนึ่งหมายถึงจำนวนเด็กควรเกิดต่อสตรี 1,000 คน ถ้าสตรีเหล่านั้นไม่มีประสบการณ์การตายและมีอัตราเจริญพันธุ์รายอายุเป็นเหมือนที่สังเกตได้ในปีนั้น อัตราสืบทอดพันธุ์รวมชั่วเวลา (ดู 711-4) ซึ่งได้มาจากการคูณอัตราเจริญพันธุ์รวมด้วยสัดส่่วนของการเกิดที่เป็นเพศหญิง มีการใช้อยู่บ่อยๆ ในอตีต แต่ในปัจจุบันนิยมใช้อัตราเจริญพันธุ์รวมเพื่อเป็นดัชนีสรุปรวมของภาวะเจริญพันธุ์ชั่วเวลา
  • 5. หรือภาวะเจริญพันธุ์สมรสรวม คำนี้ใช้เพื่อพรรณนาผลรวมของอัตราเจริญพันธุ์สมรสรายอายุที่อายุมากกว่า 20 ปี

640

เมื่อการทำแท้ง (604-2) ได้ทำให้ถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ก็จะสามารถรวบรวมสถิติเกี่ยวกับการทำแท้งที่ถูกกฎหมาย (604-4) ได้ อัตราการแท้ง1เป็นการวัดความถี่ของการแท้งในประชากรในช่วงเวลาหนึ่ง ปรกติใช้ช่วงเวลาหนึ่งปี การแท้งอาจโยงไปสัมพันธ์กับประชากรรวม หรือกับจำนวนของผู้หญิงในวัยมีบุตร และอาจทำเป็นอัตราเฉพาะอายุ จำนวนบุตร หรือลักษณะอื่นๆ อัตราส่วนการแท้ง2เป็นมาตรวัดความถี่ของการแท้งที่สัมพันธ์กับจำนวนการเกิดมีชีพ (601-4) ในช่วงเวลาเดียวกัน อัตราการแท้งตลอดช่วงชีวิต3เป็นการรวม อัตราการแท้งรายอายุ4 และเป็นมาตรวัดสังเคราะห์ของการแท้งต่อสตรี 1 หรือ 1,000 คน อัตราเหล่านี้เป็นอัตราส่วนของจำนวนการแท้งที่รายงานในแต่ละอายุต่อจำนวนปีที่มีชีวิตอยู่โดยสตรีในกลุ่มอายุเดียวกัน ถ้าสามารถจำแนกสตรีตามสถานภาพสมรส ก็จะได้ อัตราการแท้งตามอายุและสถานภาพสมรส5 และมีอยู่บ่อยๆ ที่หารจำนวนการแท้งด้วยจำนวนการปฏิสนธิเพื่อคำนวณ ความน่าจะเป็นของการแท้งตามอายุและสถานภาพสมรส6

* * *

ไปยัง: คำนำสู่ดีโมพีเดีย | คำแนะนำการใช้ | ดาวน์โหลด
บทที่: อารัมภบท | 1. แนวคิดทั่วไป | 2. การจัดการและการประมวลผลสถิติประชากร | 3. การกระจายตัวและการจำแนกของประชากร | 4. ภาวะการตายและการเจ็บป่วย | 5. ภาวะสมรส | 6. ภาวะเจริญพันธุ์ | 7. การเพิ่มประชากรและการทดแทน | 8. การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่ | 9. มุมมองด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชากรศาสตร์
หน้าที่: 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 20 | 21 | 22 | 23 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 40 | 41 | 42 | 43 | 50 | 51 | 52 | 60 | 61 | 62 | 63 | 70 | 71 | 72 | 73 | 80 | 81 | 90 | 91 | 92 | 93

ดึงข้อมูลจาก "http://th-ii.demopaedia.org/w/index.php?title=63&oldid=755"