The Demopædia Encyclopedia on Population is under heavy modernization and maintenance. Outputs could look bizarre, sorry for the temporary inconvenience

พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาษา ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง ภาษาไทย

31

จาก Demopædia


ข้อความปฏิเสธความรับผิดชอบ : ผู้สนับสนุนทั้งหลายของดีโมพีเดียไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับความหมายของศัพท์ต่างๆ ที่อยู่ในพจนานุกรมฉบับปรังปรุงนี้

พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาพ ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง ยังอยู่่ระหว่างการดำเนินงาน หากต้องการเสนอข้อคิดเห็นใดๆ กรุณาใช้พื้นที่อภิปราย


ไปยัง: คำนำสู่ดีโมพีเดีย | คำแนะนำการใช้ | ดาวน์โหลด
บทที่: อารัมภบท | 1. แนวคิดทั่วไป | 2. การจัดการและการประมวลผลสถิติประชากร | 3. การกระจายตัวและการจำแนกของประชากร | 4. ภาวะการตายและการเจ็บป่วย | 5. ภาวะสมรส | 6. ภาวะเจริญพันธุ์ | 7. การเพิ่มประชากรและการทดแทน | 8. การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่ | 9. มุมมองด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชากรศาสตร์
หน้าที่: 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 20 | 21 | 22 | 23 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 40 | 41 | 42 | 43 | 50 | 51 | 52 | 60 | 61 | 62 | 63 | 70 | 71 | 72 | 73 | 80 | 81 | 90 | 91 | 92 | 93


310

ในการทำสำมะโนจะแยกความแตกต่างระหว่าง ประชากรตามที่อยู่อาศัย1หรือ ประชากรตามนิตินัย1ของพื้นที่หนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยผู้คนที่มีที่อยู่อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้น กับ ประชากรที่อยู่จริง2หรือ ประชากรตามพฤตินัย2 ซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในพื้นที่นั้นในวันสำมะโน ในประชากรตามที่อยู่อาศัย ผู้ไม่อยู่ชั่วคราว4จะรวมอยู่ด้วยกันกับ ผู้อยู่อาศัยถาวร3ซึ่งอยู่ในพื้นที่นั้นในวันสำมะโน ประชากรที่อยู่จริงประกอบด้วยผู้อยู่อาศัยรวมกับ ผู้มาเยี่ยม5หรือ ผู้อยู่ชั่วคราว5 การแจงนับประชากรตามนิตินัยและพฤตินัยทั้งสองวิธีนี้ให้ผลแตกต่างกันแม้จะเป็นประชากรรวมของประเทศ สถานที่ซึ่งบุคคลหนึ่งอาศัยอยู่เรียกว่า สถานที่อยู่อาศัย6 เพื่อเหตุผลทางการบริหาร บุคคลผู้อาศัยอยู่รวมกันในชุมชนใหญ่ (อย่างเช่นโรงเรียนประจำ ทหารในค่าย นักโทษ ฯลฯ (cf. 110-5*) มักจะแจงนับแยกต่างหาก บุคคลเหล่านี้ก่อให้เกิด ประชากรเชิงสถาบัน7 สำมะโนจะใช้กฎเกณฑ์พิเศษในการแจงนับ คนเร่ร่อน8หรือ บุคคลที่ไม่มีที่อยู่อาศัยแน่นอน8

  • 6. ศัพท์คำว่าภูมิลำเนาเป็นศัพท์วิชาการเพื่อหมายถึงที่อยู่อาศัยตามกฎหมาย ซึ่งหมายถึงสถานที่ที่บุคคลหนึ่งอาศัยอยู่ตามกฎหมาย ที่อยู่นี้แตกต่างจากที่อยู่อาศัยจริง ในสหรัฐอเมริกา ประชากรนิตินัยเป็นประชากรตามที่อยู่อาศัยปรกติ
  • 7. ในสหรัฐอเมริกา ศัพท์คำว่าผู้ถูกกักในสถาบันสงวนไว้สำหรับบุคคลที่อาศัยอยู่ภายใต้การดูแลหรือการควบคุมในเรือนจำ โรงพยาบาลสำหรับผู้เป็นโรคจิตและวัณโรค บ้านสำหรับผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ต้องพึ่งพิและผู้ถูกทอดทิ้ง รวมทั้งที่อยู่อาศัยสำหรับกลุ่มคนประเภทอื่นๆ อย่างเช่น นักเรียนในหอพัก ทหารในค่าย

311

ในหลายประเทศ พื้นที่ชนบท1 นิยามว่าเป็นเขตการปกครองที่มีขนาดประชากรต่ำกว่าระดับหนึ่ง (มักจะใช้จำนวน 2,000 เป็นเกณฑ์) พื้นที่อื่นนอกจากชนบทเรียกว่า พื้นที่เมือง2 ประชากรชนบท3คือประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบท ประชากรเมือง4คือประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เมือง เกณฑ์สำหรับการจัดประชากรว่าอยู่ในพื้นที่ใด ชนบทหรือเมือง แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ คำจำกัดความของประชากรชนบทหรือเมืองอาจนำไปสู่ประชากรที่อยู่ระหว่างกลางอีกประเภทหนึ่งคือ ประชากรกึ่งเมือง5

  • 3. การขยายตัวของชนบท (ruralization) การเพิ่มขึ้นของสัดส่วนของคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบท
    ประชากรชนบท (rural population) ไม่ควรสับสนกับประชากรเกษตร (agricultural population) หรือ เกษตรกร (359-2)
  • 4. นคราภิวัตน์ การเพิ่มขึ้นของสัดส่วนของคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เมือง
    ในประเทศไทย เขตเมืองหมายถึงเทศบาล (municipality) หรือเขตเทศบาล (municipal area)

312

ความหนาแน่นของประชากร1 หรือ ความหนาแน่นประชากร1เป็นดัชนีแสดงความสัมพันธ์ระหว่างประชากรกับพื้นที่ที่ประชากรนั้นอาศัยอยู่ ดัชนีความหนาแน่น2ธรรมดาที่สุดนี้ คำนวณได้ด้วยการหารจำนวนรวมประชากรด้วยพื้นที่ของเขตแดนนั้น และโดยทั่วไปจะเสนอเป็นจำนวนคนต่อเอเคอร์ ต่อตารางกิโลเมตร หรือต่อตารางไมล์ การกระจายของประชากร3ขึ้นอยู่กับประเภทของ การตั้งถิ่นฐาน4 การตั้งถิ่นฐานแบบรวมกลุ่ม5 หรือ การตั้งถิ่นฐานแบบกระจาย6 นักวิชาการบางคนคำนวณ ศูนย์กลางประชากร7ของพื้นที่หนึ่งด้วยวิธีที่ใช้หาศูนย์กลางของแรงโน้มถ่วงในคณิตศาสตร์ประยุกต์ แต่ละคนในประชากรจะได้รับน้ำหนักเท่ากัน

313

เมื่อแบบแผนของการตั้งถิ่นฐานของประชากรต่างกันจะนำมาเปรียบเทียบกัน และจะนำปัจจัยอื่นๆ นอกจากผิวพื้นที่มาพิจารณาด้วย จะมีการคำนวณหา ดัชนีความหนาแน่นเชิงเปรียบเทียบ1 ดัชนีเปรียบเทียบมีมากมาย อย่างเช่น ความหนาแน่นของประชากรต่อหน่วยของพื้นที่เพาะปลูก2 และ ความหนาแน่นของประชากรเกษตรกรต่อหน่วยของพื้นที่เพาะปลูก3 บางครั้ง ดัชนีเหล่านี้จะมีฐานอยู่บน พื้นที่เพาะปลูก4มากกว่า พื้นที่เพาะปลูกได้5 ความหนาแน่นอาจแสดงในรูปความสัมพันธ์ระหว่างประชากรกับทรัพยากรทางเศรษฐกิจรวม ความหนาแน่นศักยภาพสูงสุด6 หรือ ความสามารถในการรองรับประชากร6แสดงความสัมพันธ์ระหว่างทรัพยากรกับจำนวนประชากรสูงสุดที่ทรัพยากรที่มีอยู่เหล่านี้จะรองรับได้ แนวความคิดที่มีการนำไปใช้ในทฤษฎีประชากรได้แก่เรื่อง ความหนาแน่นเหมาะสมที่สุด7 ได้แก่ความหนาแน่นซึ่งจะให้รายได้แท้จริงมากที่สุดต่อหัวตามทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในขณะนั้น

* * *

ไปยัง: คำนำสู่ดีโมพีเดีย | คำแนะนำการใช้ | ดาวน์โหลด
บทที่: อารัมภบท | 1. แนวคิดทั่วไป | 2. การจัดการและการประมวลผลสถิติประชากร | 3. การกระจายตัวและการจำแนกของประชากร | 4. ภาวะการตายและการเจ็บป่วย | 5. ภาวะสมรส | 6. ภาวะเจริญพันธุ์ | 7. การเพิ่มประชากรและการทดแทน | 8. การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่ | 9. มุมมองด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชากรศาสตร์
หน้าที่: 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 20 | 21 | 22 | 23 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 40 | 41 | 42 | 43 | 50 | 51 | 52 | 60 | 61 | 62 | 63 | 70 | 71 | 72 | 73 | 80 | 81 | 90 | 91 | 92 | 93

ดึงข้อมูลจาก "http://th-ii.demopaedia.org/w/index.php?title=31&oldid=574"