The Demopædia Encyclopedia on Population is under heavy modernization and maintenance. Outputs could look bizarre, sorry for the temporary inconvenience
พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาษา ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง ภาษาไทย
92
ข้อความปฏิเสธความรับผิดชอบ : ผู้สนับสนุนทั้งหลายของดีโมพีเดียไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับความหมายของศัพท์ต่างๆ ที่อยู่ในพจนานุกรมฉบับปรังปรุงนี้ พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาพ ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง ยังอยู่่ระหว่างการดำเนินงาน หากต้องการเสนอข้อคิดเห็นใดๆ กรุณาใช้พื้นที่อภิปราย |
ไปยัง: คำนำสู่ดีโมพีเดีย | คำแนะนำการใช้ | ดาวน์โหลด |
920
ในการศึกษาจำนวนมากประชากรจะถูกแบ่งเป็น กลุ่มสถานภาพทางสังคม1 หรือแบ่งเป็น กลุ่มทางเศรษฐกิจสังคม1 ตามอาชีพ รายได้ การศึกษา หรือ ตัวชี้วัดสถานภาพทางเศรษฐกิจอย่างอื่น คำว่า ชนชั้นทางสังคม2 มีความหมายทางสังคมวิทยาซึ่งเป็นเพียงการประมาณโดยแบบของการรวมกลุ่มที่ใช้ในงานทางด้านประชากรศาสตร์ทั่วๆ ไป การแบ่งสังคมออกเป็นกลุ่มเช่นนั้น เรียกว่า การแบ่งชั้นทางสังคม3 การเคลื่อนย้ายระหว่างกลุ่มสถานภาพทางสังคมที่ต่างกัน เรียกว่า การเคลื่อนย้ายทางสังคม4 ซึ่งมีความแตกต่างกันระหว่าง การเคลื่อนย้ายขึ้นสูง5 และ การเคลื่อนย้ายลงต่ำ6 ในลำดับชั้นทางสังคม การเคลื่อนย้ายของประชากรเด็กในแง่ของชนชั้นทางสังคมของพ่อแม่เรียกว่า การเคลื่อนย้ายทางสังคมระหว่างรุ่น7
- 3. วรรณะเป็นกลุ่มสังคมปิดซึ่งสถานะและตำแหน่งทางสังคมในลำดับชั้นทางสังคมเป็นไปโดยกำเนิด
- 7. การเคลื่อนย้ายทางสังคมโดยบุคคลหนึ่งในช่วงชีวิตของเขาเรียกว่าการเคลื่อนย้ายทางสังคมภายในชั่วคน (intra-generational social mobility)
921
การเคลื่อนย้ายแรงงาน1 เป็นศัพท์ทั่วไปซึ่งครอบคลุมไม่เพียง การเปลี่ยนอาชีพ2 ของบุคคลหนึ่งภายใต้ชื่อ การเคลื่อนย้ายด้านอาชีพ3 แต่ยังรวมถึง การเคลื่อนย้ายงาน4 หรือการเปลี่ยนแปลงนายจ้าง และ การเคลื่อนย้ายอุตสาหกรรม5 หรือการเปลี่ยนแปลงทางอุตสาหกรรม
922
ความสนใจในปัญหาเกี่ยวกับบุคคลสูงอายุ (324-8) และภาวะสูงวัย (326-3) ทำให้เกิดสาขาวิชาเฉพาะเรียกว่า พฤฒวิทยา1 ซึ่งรวมสาขาทางด้านการแพทย์เฉพาะที่เรียกว่า พฤฒเวชศาสตร์2
* * *
ไปยัง: คำนำสู่ดีโมพีเดีย | คำแนะนำการใช้ | ดาวน์โหลด |