The Demopædia Encyclopedia on Population is under heavy modernization and maintenance. Outputs could look bizarre, sorry for the temporary inconvenience

พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาษา ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง ภาษาไทย

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "91"

จาก Demopædia
(910)
(912)
แถว 17: แถว 17:
 
=== 912 ===
 
=== 912 ===
  
ชุดยีนสองตัวของบุคคลหนึ่งที่อยู่ในโลคัสเดียวกัน เรียกว่า{{TextTerm|ลักษณะทางพันธุกรรม|1|912}}  ลักษณะทางพันธุกรรมจะเรียกว่าเป็น{{TextTerm|พันธุ์แท้|2|912}} ถ้าอัลลีนที่โลคัสหนึ่งเหมือนกัน  และถ้าอัลลีนในโลคัสไม่เหมือนกันจะเรียกว่าเป็น{{TextTerm|พันธุ์ผสม|3|912}}  {{TextTerm|ลักษณะที่ปรากฏ|4|912}} ที่เป็นลักษณะที่เห็นได้จะถูกกำหนดโดยลักษณะทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ถ้าบุคคลพันธุ์ผสม (AA') ไม่สามารถแยกจากบุคคลพันธุ์แท้ (AA) อัลลีน A กล่าวได้ว่าเป็น{{TextTerm|ลักษณะเด่น|5|912}} เหนืออัลลีน A'  และ A' จะกล่าวได้ว่าเป็น{{TextTerm|ลักษณะด้อย|6|912}}  ยีนสามารถที่จะเปลี่ยนไปได้อย่างไม่มีกฎเกณฑ์โดยฉับพลันและชัดเจน ที่เรียกว่า{{TextTerm|การกลายพันธุ์|7|912|IndexEntry=กลายพันธุ์ การ}}  {{TextTerm|การจับคู่แบบเปิดกว้าง|8|912|IndexEntry=จับคู่แบบเปิดกว้าง การ|OtherIndexEntry=แพนซีเมีย}} หรือ{{TextTerm|การจับคู่แบบสุ่ม|8|912|2|IndexEntry=จับคู่แบบสุ่ม การ}} จะช่วยประกันการกระจายตัวของยีนอย่างมีรูปแบบของประชากร
+
ชุดยีนสองตัวของบุคคลหนึ่งที่อยู่ในโลคัสเดียวกัน เรียกว่า{{TextTerm|ลักษณะทางพันธุกรรม|1|912}}  ลักษณะทางพันธุกรรมจะเรียกว่าเป็น{{TextTerm|พันธุ์แท้|2|912}} ถ้าอัลลีนที่โลคัสหนึ่งเหมือนกัน  และถ้าอัลลีนในโลคัสไม่เหมือนกันจะเรียกว่าเป็น{{TextTerm|พันธุ์ผสม|3|912}}  {{TextTerm|ลักษณะที่ปรากฏ|4|912}} ที่เป็นลักษณะที่เห็นได้จะถูกกำหนดโดยลักษณะทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ถ้าบุคคลพันธุ์ผสม (AA') ไม่สามารถแยกจากบุคคลพันธุ์แท้ (AA) อัลลีน A กล่าวได้ว่าเป็น{{TextTerm|ลักษณะเด่น|5|912}} เหนืออัลลีน A'  และ A' จะกล่าวได้ว่าเป็น{{TextTerm|ลักษณะด้อย|6|912}}  ยีนสามารถที่จะเปลี่ยนไปได้อย่างไม่มีกฎเกณฑ์โดยฉับพลันและชัดเจน ที่เรียกว่า{{TextTerm|การกลายพันธุ์|7|912|IndexEntry=การกลายพันธุ์}}  {{TextTerm|การจับคู่แบบเปิดกว้าง|8|912|IndexEntry=การจับคู่แบบเปิดกว้าง|OtherIndexEntry=แพนซีเมีย}} หรือ{{TextTerm|การจับคู่แบบสุ่ม|8|912|2|IndexEntry=การจับคู่แบบสุ่ม}} จะช่วยประกันการกระจายตัวของยีนอย่างมีรูปแบบของประชากร
  
 
=== 913 ===
 
=== 913 ===

รุ่นปรับปรุงเมื่อ 01:27, 16 สิงหาคม 2556


ข้อความปฏิเสธความรับผิดชอบ : ผู้สนับสนุนทั้งหลายของดีโมพีเดียไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับความหมายของศัพท์ต่างๆ ที่อยู่ในพจนานุกรมฉบับปรังปรุงนี้

พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาพ ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง ยังอยู่่ระหว่างการดำเนินงาน หากต้องการเสนอข้อคิดเห็นใดๆ กรุณาใช้พื้นที่อภิปราย


ไปยัง: คำนำสู่ดีโมพีเดีย | คำแนะนำการใช้ | ดาวน์โหลด
บทที่: อารัมภบท | 1. แนวคิดทั่วไป | 2. การจัดการและการประมวลผลสถิติประชากร | 3. การกระจายตัวและการจำแนกของประชากร | 4. ภาวะการตายและการเจ็บป่วย | 5. ภาวะสมรส | 6. ภาวะเจริญพันธุ์ | 7. การเพิ่มประชากรและการทดแทน | 8. การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่ | 9. มุมมองด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชากรศาสตร์
หน้าที่: 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 20 | 21 | 22 | 23 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 40 | 41 | 42 | 43 | 50 | 51 | 52 | 60 | 61 | 62 | 63 | 70 | 71 | 72 | 73 | 80 | 81 | 90 | 91 | 92 | 93


910

ใน สุพันธุศาสตร์1 สาขาวิชาซึ่งหาทางปรับปรุงคุณภาพของประชากร จะให้ความสนใจโดยตรงกับบทบาทของ กรรมพันธุ์2 การถ่ายทอด ลักษณะทางกรรมพันธุ์3 อย่างเช่น สีของตาจากคนรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง ลักษณะที่ได้รับมา4 ไม่สามารถถ่ายทอดได้ดังประสงค์ โดยทั่วไป ฆาตลักษณ์5 จะนำไปสู่การตายตั้งแต่ยังเป็นตัวอ่อนในช่วงแรกๆ

911

การถ่ายทอดคุณลักษณะทางกรรมพันธุ์ดำเนินการผ่าน ยีน1 ซึ่งถ่ายจากพ่อแม่ไปสู่ลูก พันธุศาสตร์2 เป็นวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดปัจจัยทางพันธุกรรมและผลที่เกิดขึ้น โครโมโซม3 เป็นเส้นใยยาวของดีเอ็นเอ (DNA deoxyribonucleic acid) ซึ่งอยู่ในนิวเคลียสของเซลล์จะเป็นตัวนำพายีน ตำแหน่งของยีนบนโครโมโซมเรียกว่า โลคัส4 ยีนที่มีโลคัสเหมือนกันมีผลทำให้เกิดคุณลักษณะอย่างเดียวกัน แม้ว่าผลนั้นจะเป็นไปได้ด้วยวิธีต่างๆ ตาม อัลลีน5 ที่แตกต่างกันของยีนในโลคัสเดียวกันนี้ เซลล์ใหม่ซึ่งก่อรูปขึ้นโดยการรวมตัวของ เซลล์สืบพันธุ์6สองเซลล์ในระหว่างกระบวนการของการปฏิสนธิ (602-1) เรียกว่า ตัวอ่อน7

  • 1. ยีนทั้งหมดในตัวบุคคลรวมเรียกว่าสมรรถภาพทางยีนของบุคคลนั้น

912

ชุดยีนสองตัวของบุคคลหนึ่งที่อยู่ในโลคัสเดียวกัน เรียกว่า ลักษณะทางพันธุกรรม1 ลักษณะทางพันธุกรรมจะเรียกว่าเป็น พันธุ์แท้2 ถ้าอัลลีนที่โลคัสหนึ่งเหมือนกัน และถ้าอัลลีนในโลคัสไม่เหมือนกันจะเรียกว่าเป็น พันธุ์ผสม3 ลักษณะที่ปรากฏ4 ที่เป็นลักษณะที่เห็นได้จะถูกกำหนดโดยลักษณะทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ถ้าบุคคลพันธุ์ผสม (AA') ไม่สามารถแยกจากบุคคลพันธุ์แท้ (AA) อัลลีน A กล่าวได้ว่าเป็น ลักษณะเด่น5 เหนืออัลลีน A' และ A' จะกล่าวได้ว่าเป็น ลักษณะด้อย6 ยีนสามารถที่จะเปลี่ยนไปได้อย่างไม่มีกฎเกณฑ์โดยฉับพลันและชัดเจน ที่เรียกว่า การกลายพันธุ์7 การจับคู่แบบเปิดกว้าง8 หรือ การจับคู่แบบสุ่ม8 จะช่วยประกันการกระจายตัวของยีนอย่างมีรูปแบบของประชากร

913

มักมีการแยกความแตกต่างของนโยบายเกี่ยวกับการคัดเลือกพันธุ์มนุษย์อยู่เสมอระหว่าง สุพันธุกรรมเชิงบวก1 ซึ่งมุ่งเพิ่มจำนวนของคนที่เชื่อว่ามีคุณลักษณะที่ต้องการ และ สุพันธุกรรมเชิงลบ2 ซึ่งมุ่งจำกัดการสืบทอดพันธุ์ของบุคคลที่คาดว่าจะถ่ายทอดลักษณะไม่พึงประสงค์ หรือมี ความบกพร่องทางกรรมพันธุ์3 มีความสนใจอย่างมากในการอภิปรายเกี่ยวกับ การทำหมันเพื่อคัดเลือกพันธุ์4 ได้แก่ การทำหมันบุคคลที่น่าจะถ่ายทอดลักษณะไม่พึงประสงค์ไปสู่ทายาท ข้อคัดค้านต่อวิธีการนี้จะอยู่ที่เหตุผลด้านศีลธรรมและเหตุผลเกี่ยวกับประสิทธิภาพที่ค่อนข้างต่ำในการลดความถี่ของยีนที่มีลักษณะด้อย (912-6) ในวิธีการต่างๆที่เสนอสำหรับการปรับปรุงพันธุ์ การตรวจสอบก่อนสมรส5 เป็นวิธีหนึ่งซึ่งจะให้คู่ที่จะแต่งงานกันได้รับข้อมูลความรู้เกี่ยวกับคุณภาพของลูกที่จะเกิดมา เพื่อให้คู่ที่จะแต่งงานไม่มี การแต่งงานแบบเสื่อมพันธุ์6 กล่าวคือให้มีการเตือนเรื่องผลผลิตจากการแต่งงานที่จะมีข้อบกพร่อง

914

ความน่าจะเป็นซึ่งบุคคลในวัยเจริญพันธุ์คนหนึ่งจะเติบโตจนเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ขึ้นอยู่กับลักษณะทางพันธุกรรม (912-1) ของเขา ความแตกต่างของการสืบทอดพันธุ์เรียกว่า การคัดสรร1 ค่าคัดสรร2 หรือ ค่าสมรรถภาพของร่างกาย2 ของลักษณะทางพันธุกรรม เป็นจำนวนลูกของบุคคลที่มีลักษณะทางพันธุกรรมซึ่งจะรอดชีพไปจนถึงวัยเจริญพันธุ์ ค่าคัดสรรเฉลี่ย3 หรือ ค่าสมรรถภาพของร่างกายเฉลี่ย3 ของประชากรหนึ่งเท่ากับค่าเฉลี่ยของค่าคัดสรรสำหรับลักษณะทางพันธุกรรมของสมาชิกประชากรนั้น น้ำหนักทางพันธุกรรม4 ของประชากรคือการลดลงของค่าเฉลี่ยของสมรรถภาพของร่างกายอันเป็นผลจากการมีลักษณะทางพันธุกรรมที่หลากหลาย การขึ้นๆลงๆ ของความถี่ของยีนเฉพาะประเภทหนึ่งที่พบในคนรุ่นต่างๆกันของประชากร ถือเป็น การกระเพื่อมทางพันธุกรรม5 โครงสร้างยีน6 ของประชากรหนึ่งหมายถึงการกระจายตัวของความถี่ของอัลลีน (911-5) ต่างๆ ในโลคัส (911-4) หนึ่งภายในสมาชิกของประชากร โครงสร้างลักษณะทางพันธุกรรม7 ของประชากร หมายถึง การกระจายตัวของลักษณะพันธุกรรมที่แตกต่างกันในโลคัสเดียวกัน

915

ในกรณีของบุคคลที่มีเลือดชิด ซึ่งได้แก่บุคคล ซึ่งมีพ่อแม่ บรรพบุรุษคนเดียวกัน กล่าวได้ว่ายีนทั้งสองตัวเป็น ยีนที่เหมือนกัน1โดยการสืบสายพันธุ์ ถ้าทั้งสองมาจากบรรพบุรุษคนเดียวกันและอยู่ในโลคัสเดียวกัน ความน่าจะเป็นที่บุคคลคนหนึ่งถูกเลือกอย่างไม่จงใจในประชากรหนึ่งให้นำยีนสองตัวที่เหมือนกันโดยการสืบสายพันธุ์คือ ค่าสัมประสิทธิ์ของการมีเลือดชิด2 ของประชากร ค่าสัมประสิทธิ์ของวงศาคณาญาติ3 ของประชากรคือความน่าจะเป็นที่คนสองคนในประชากรนั้นจะถูกเลือกโดยไม่จงใจให้นำยีนที่เหมือนกันมาอยู่ในโลคัสเดียวกันโดยการสืบพันธุ์

* * *

ไปยัง: คำนำสู่ดีโมพีเดีย | คำแนะนำการใช้ | ดาวน์โหลด
บทที่: อารัมภบท | 1. แนวคิดทั่วไป | 2. การจัดการและการประมวลผลสถิติประชากร | 3. การกระจายตัวและการจำแนกของประชากร | 4. ภาวะการตายและการเจ็บป่วย | 5. ภาวะสมรส | 6. ภาวะเจริญพันธุ์ | 7. การเพิ่มประชากรและการทดแทน | 8. การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่ | 9. มุมมองด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชากรศาสตร์
หน้าที่: 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 20 | 21 | 22 | 23 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 40 | 41 | 42 | 43 | 50 | 51 | 52 | 60 | 61 | 62 | 63 | 70 | 71 | 72 | 73 | 80 | 81 | 90 | 91 | 92 | 93

ดึงข้อมูลจาก "http://th-ii.demopaedia.org/w/index.php?title=91&oldid=695"