The Demopædia Encyclopedia on Population is under heavy modernization and maintenance. Outputs could look bizarre, sorry for the temporary inconvenience

พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาษา ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง ภาษาไทย

90

จาก Demopædia


ข้อความปฏิเสธความรับผิดชอบ : ผู้สนับสนุนทั้งหลายของดีโมพีเดียไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับความหมายของศัพท์ต่างๆ ที่อยู่ในพจนานุกรมฉบับปรังปรุงนี้

พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาพ ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง ยังอยู่่ระหว่างการดำเนินงาน หากต้องการเสนอข้อคิดเห็นใดๆ กรุณาใช้พื้นที่อภิปราย


ไปยัง: คำนำสู่ดีโมพีเดีย | คำแนะนำการใช้ | ดาวน์โหลด
บทที่: อารัมภบท | 1. แนวคิดทั่วไป | 2. การจัดการและการประมวลผลสถิติประชากร | 3. การกระจายตัวและการจำแนกของประชากร | 4. ภาวะการตายและการเจ็บป่วย | 5. ภาวะสมรส | 6. ภาวะเจริญพันธุ์ | 7. การเพิ่มประชากรและการทดแทน | 8. การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่ | 9. มุมมองด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชากรศาสตร์
หน้าที่: 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 20 | 21 | 22 | 23 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 40 | 41 | 42 | 43 | 50 | 51 | 52 | 60 | 61 | 62 | 63 | 70 | 71 | 72 | 73 | 80 | 81 | 90 | 91 | 92 | 93


901

ส่วนหนึ่งของทฤษฎีทางประชากร (105-1) จะเกี่ยวข้องกับตัวกำหนดและผลที่ตามมาของการเปลี่ยนแปลงประชากร ในอดีตทฤษฎีประชากรส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นที่ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนรวมประชากรกับ ทรัพยากร1 ซึ่งได้แก่ วิธีการที่จะทำให้ประชากรดำรงอยู่ได้ หรือ ผลผลิต2 หรือการสร้างสินค้าและบริการ แต่เมื่อไม่นานมานี้จุดเน้นของทฤษฎีทางประชากรได้เคลื่อนมาอยู่ที่ปฏิสัมพันธ์ระหว่างการเพิ่มประชากร (701-1) และส่วนประกอบของการเพิ่มนั้น กับความเติบโตทางเศรษฐกิจ (903-1) โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับ การบริโภค3 การออม4 การลงทุน5 และ ตลาดแรงงาน6

902

การพิจารณาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างขนาดประชากรและทรัพยากร นำไปสู่แนวความคิดเกี่ยวกับ ประชากรมากเกิน1 และ ประชากรน้อยเกิน2 คำเหล่านี้นิยามไว้ที่ ระดับของการพัฒนา3 ที่กำหนดไว้ตายตัวระดับหนึ่ง เมื่อประชากรมีขนาดไม่ใหญ่หรือไม่เล็กไปกว่าที่จะทำให้เกิดข้อได้เปรียบ ก็จะเรียกว่าเป็น ขนาดประชากรเหมาะที่สุด4 หรือบางครั้งเรียกสั้น ๆ ว่า ขนาดเหมาะที่สุด4 ข้อได้เปรียบที่เกิดขึ้นจากขนาดที่เหมาะสมที่สุดอาจมีลักษณะในเชิงเศรษฐกิจ และเมื่อเป็นเช่นนั้นจะเรียกว่าเป็น ขนาดเหมาะที่สุดทางเศรษฐกิจ5 การอภิปรายขนาดที่เหมาะที่สุดทางเศรษฐกิจ โดยทั่วไปจะกล่าวถึงในแง่ของสวัสดิการทางเศรษฐกิจ แต่ทว่าเรื่องนี้ยากที่จะวัดด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์ ดังนั้นบางครั้งจึงนำ ระดับการครองชีพ6 หรือ มาตรฐานการครองชีพ6 มาใช้แทน ระดับการครองชีพประมาณได้โดย รายได้ประชาชาติต่อหัวที่แท้จริง7 ได้แก่ ปริมาณรวมของสินค้าและบริการที่ผลิตได้ในช่วงเวลาหนึ่ง (หรือมูลค่าเงินรายได้ปรับตามอำนาจซื้อ) หารด้วยจำนวนประชากรรวมในระหว่างช่วงเวลานั้น

  • 1. Overpopulation, n. - overpopulated, adj.
  • 2. Underpopulation, n. - underpopulated, adj.
  • 5. Some writers have used the concept of a power optimum and a social optimum as well as of an economic optimum.
  • 6. The expression "standard of living" is restricted by some economists to mean an accepted goal or recognized set of needs, as constrasted with the level of living actually attained. Others use these terms interchangeably.
  • 7. Other measures such as the gross national product per capita, are also used. "Per capita", although grammatically incorrect, is used in place of the expression "per head".

903

นักเศรษฐศาสตร์ได้เน้นความสัมพันธ์ที่เป็นพลวัตระหว่าง ความเติบโตทางเศรษฐกิจ1 หรือ การพัฒนาทางเศรษฐกิจ1 กับอัตราเพิ่มประชากรและการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร ทุกวันนี้นักเศรษฐศาสตร์ให้ความสนใจแนวความคิดที่อยู่นิ่งเกี่ยวกับขนาดเหมาะที่สุด น้อยกว่าแนวความคิดที่เป็นพลวัตในเรื่อง อัตราเพิ่มที่เหมาะที่สุด2 ของประชากร ได้แก่อัตราเพิ่มประชากรซึ่งจะสอดคล้องกับอัตราเพิ่มของระดับการครองชีพสูงสุด ความสัมพันธ์เหล่านี้เป็นเรื่องที่เป็นห่วงกันมากในประเทศที่มีระดับการครองชีพต่ำ ซึ่งถูกเรียกว่าเป็น ประเทศด้อยพัฒนา3 หรือ ประเทศกำลังพัฒนา3

  • 3. Also: underdeveloped countries or low-income countries. They are commonly contrasted with the developed countries, or more developed countries.

904

ประชากรมากที่สุด1 ของพื้นที่หนึ่งซึ่งบางครั้งเรียกว่า ความสามารถในการรองรับ1 โดยทั่วไปจะสื่อให้เข้าใจว่าหมายถึง จำนวนบุคคลมากที่สุด ที่จะดำรงชีพอยู่ได้ภายใต้เงื่อนไขเฉพาะอย่างหนึ่ง แต่บางครั้งก็ใช้คำนี้เพื่อแสดงจำนวนคนมากที่สุดที่สามารถดำรงชีพอยู่ได้ในระดับการครองชีพที่สมมุติขึ้นระดับหนึ่ง ในทางกลับกัน ประชากรน้อยที่สุด2 โดยทั่วไปจะหมายถึงจำนวนบุคคลน้อยที่สุดในพื้นที่หนึ่ง ซึ่งจะไปสอดคล้อง การรอดชีพของกลุ่ม3

905

ศัพท์คำว่า ความกดดันทางประชากร1 เชื่อมโยงกับแนวความคิดในเรื่องของขนาดประชากรและทรัพยากร (901-1) ที่มีอยู่ การที่จะพูดว่าความกดดันนี้แรงหรืออ่อนในพื้นที่หนึ่ง เท่ากับเสนอว่าประชากรของพื้นที่นั้นอยู่ใกล้หรือไกลจากจุดที่สอดคล้องมากที่สุดกับทรัพยากรที่มีอยู่ตาม ทฤษฎีประชากรแนวมัลทัส2 ที่เรียกกันต่อมาภายหลังจากผู้เริ่มแนวคิดนี้คือ โทมัส มัลทัส จะต้องเกิดแรงกดดันทางประชากรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ต่อ ปัจจัยในการดำรงชีพ3 การเปลี่ยนแปลงปริมาณปัจจัยในการดำรงชีพเมื่อใดก็ตามจะทำให้เกิดการเพิ่มประชากร (701-1) จนกระทั่ง ความสมดุลทางประชากร4 เกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อระดับการครองชีพขึ้นไปถึง ระดับการดำรงชีพ5 ซึ่งได้แก่ระดับที่เพียงพอที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้ ความสมดุลนั้นจะคงอยู่ได้ด้วยการกำจัด ประชากรส่วนเกิน10 ออกไป ไม่ว่าจะโดย การยับยั้งเชิงทำลาย6 ซึ่งบางครั้งเรียกว่า การยับยั้งแบบมัลทัส6 (ความอดอยาก โรคระบาด และสงคราม) หรือโดย การยับยั้งเชิงป้องกัน7 ด้วย การประพฤติตามหลักศีลธรรม8 ซึ่งประกอบด้วย การเลื่อนอายุแต่งงาน9 ควบคู่ไปกับการงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน

  • 6. and 7. The terms positive check and preventive check in English are generally used only with reference to the doctrines of Malthus.

906

ถึงแม้ศัพท์คำว่า คตินิยมแนวมัลทัส1 จะเริ่มจากการอ้างถึงทฤษฎีของมัลทัส แต่ทุกวันนี้คำนี้แสดงถึงแนวความเชื่อที่ว่า การควบคุมอัตราของการเพิ่มประชากรเป็นสิ่งที่จำเป็น คตินิยมแนวมัลทัสใหม่2 จะยอมรับความจำเป็นในการควบคุมการเพิ่มประชากรด้วยการใช้วิธีคุมกำเนิด (627-3)

  • 1. Malthusianism, n. - Malthusian, adj.: conforming to the doctrines of Malthus. The terms are sometimes used mistakenly to refer to the advocacy of family planning programs to solve economic problems.

907

กระบวนการเปลี่ยนผ่านจากสถานการณ์ที่ทั้งภาวะเจริญพันธุ์และภาวะการตายอยู่ในระดับสูง มาเป็นสถานการณ์ที่ภาวะทั้งสองอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งสังเกตได้ว่าเกิดขึ้นในหลายๆประเทศเรียกว่า การเปลี่ยนผ่านทางประชากร1 หรือ การเปลี่ยนผ่านประชากร1 ในกระบวนการเคลื่อนจาก ขั้นตอนก่อนการเปลี่ยนผ่าน2 ไปสู่ ขั้นตอนหลังการเปลี่ยนผ่าน3 จะเกิดช่องว่างระหว่างการลดลงของภาวะการตายกับภาวะเจริญพันธุ์ ซึ่งเป็นขั้นตอนของ การเติบโตช่วงเปลี่ยนผ่าน4 ของประชากร นักเศรษฐศาสตร์ได้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงใน ผลิตภาพ5 ซึ่งได้แก่ ผลิตผลต่อสมาชิกของกำลังแรงงาน หรือ ต่อหัวประชากร ที่สัมพันธ์กับช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านนี้

  • 1. Sometimes called the vital revolution. A further distinction is made between the fertility transition and the mortality transition. The theory of the demographic transition associates historical changes in vital rates with socio-economic transformations attending the process of industrialization and urbanization.

* * *

ไปยัง: คำนำสู่ดีโมพีเดีย | คำแนะนำการใช้ | ดาวน์โหลด
บทที่: อารัมภบท | 1. แนวคิดทั่วไป | 2. การจัดการและการประมวลผลสถิติประชากร | 3. การกระจายตัวและการจำแนกของประชากร | 4. ภาวะการตายและการเจ็บป่วย | 5. ภาวะสมรส | 6. ภาวะเจริญพันธุ์ | 7. การเพิ่มประชากรและการทดแทน | 8. การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่ | 9. มุมมองด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชากรศาสตร์
หน้าที่: 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 20 | 21 | 22 | 23 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 40 | 41 | 42 | 43 | 50 | 51 | 52 | 60 | 61 | 62 | 63 | 70 | 71 | 72 | 73 | 80 | 81 | 90 | 91 | 92 | 93

ดึงข้อมูลจาก "http://th-ii.demopaedia.org/w/index.php?title=90&oldid=435"