The Demopædia Encyclopedia on Population is under heavy modernization and maintenance. Outputs could look bizarre, sorry for the temporary inconvenience

พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาษา ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง ภาษาไทย

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "81"

จาก Demopædia
(no NewTextTerm)
(812)
 
แถว 9: แถว 9:
 
=== 812 ===
 
=== 812 ===
  
{{TextTerm|สถิติการย้ายถิ่น|1|812}}รวบรวมไว้เพื่อแสดงให้เห็นปริมาณของการย้ายถิ่น ทิศทางของการเคลื่อนย้ายถิ่น และลักษณะของผู้ย้ายถิ่น  ความถูกต้องของข้อเท็จจริงแต่ละชนิดเหล่านี้ขึ้นอยู่กับวิธีในการเก็บรวบรวมข้อมูล  ซึ่งสถิติการย้ายถิ่นส่วนมากประกอบด้วยการประมาณและค่าคาดประมาณมากกว่าจะมาจากการวัดที่แม่นยำ  {{TextTerm|การวัดโดยตรงของการย้ายถิ่น|2|812}}ต้องการระบบบันทึกเมื่อเกิดการเคลื่อนย้ายขึ้น สถิติการย้ายถิ่นที่สมบูรณ์มากที่สุดพัฒนาจากการจดทะเบียนประชากรซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยทั้งหมดได้ถูกบันทึกไว้  ข้อมูลเหล่านี้ทำให้มีมาตรวัดของการย้ายถิ่นระหว่างประเทศและการย้ายถิ่นภายในประเทศ แต่มาตรวัดการย้ายถิ่นภายในประเทศเป็นที่น่าพอใจมากกว่า  ในประเทศที่ไม่มีการจดทะเบียนประชากร ระบบบันทึกทางการบริหารซึ่งไม่ครอบคลุมประชากรทั้งหมดสามารถนำมาใช้ได้เพื่อวัตถุประสงค์บางอย่างได้บ้าง ฉะนั้น{{TextTerm|หลักฐานการจดทะเบียนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง|3|812}} {{TextTerm|หลักฐานความมั่นคงทางสังคม|4|812}} หรือ{{TextTerm|หลักฐานผู้เสียภาษี|5|812}} อาจให้ข้อมูลเกี่ยวกับการย้ายถิ่นภายในประเทศ  ในกรณีของการย้ายถิ่นจากต่างประเทศ สถิติอาจได้จาก{{TextTerm|บัญชีผู้โดยสาร|7|812}} หรือ{{TextTerm|รายชื่อผู้โดยสาร|7|812|2}}ของเรือเดินสมุทรและเครื่องบิน  การนับบุคคลที่ข้ามพรมแดนของประเทศให้เพียงข้อมูลหยาบมากๆ  ในพื้นที่ที่มี{{NonRefTerm|การจราจรข้ามพรมแดน}} ({{RefNumber|80|3|2}}*)มาก จะต้องมีขั้นตอนเฉพาะเพื่อแยกผู้ย้ายถิ่นออกจาก{{TextTerm|ผู้เดินทาง|8|812}}ที่ไม่ได้เปลี่ยนสถานที่อยู่อาศัย และบุคคลที่{{NonRefTerm|ย้ายผ่าน}} {{RefNumber|80|1|11}})  จำนวนของ{{TextTerm|วีซ่า|9|812}} หรือ{{TextTerm|ใบอนุญาตเข้าประเทศ|9|812|2}} และจำนวนของ{{TextTerm|ใบอนุญาตที่อยู่อาศัย|10|812}} หรือ{{TextTerm|ใบอนุญาตแรงงาน|11|812}} ที่ออกให้อาจใช้เป็นเครื่องชี้วัดการย้ายถิ่นของชาวต่างประเทศได้ด้วยเช่นกัน
+
{{TextTerm|สถิติการย้ายถิ่น|1|812}}รวบรวมไว้เพื่อแสดงให้เห็นปริมาณของการย้ายถิ่น ทิศทางของการเคลื่อนย้ายถิ่น และลักษณะของผู้ย้ายถิ่น  ความถูกต้องของข้อเท็จจริงแต่ละชนิดเหล่านี้ขึ้นอยู่กับวิธีในการเก็บรวบรวมข้อมูล  ซึ่งสถิติการย้ายถิ่นส่วนมากประกอบด้วยการประมาณและค่าคาดประมาณมากกว่าจะมาจากการวัดที่แม่นยำ  {{TextTerm|การวัดโดยตรงของการย้ายถิ่น|2|812}}ต้องการระบบบันทึกเมื่อเกิดการเคลื่อนย้ายขึ้น สถิติการย้ายถิ่นที่สมบูรณ์มากที่สุดพัฒนาจากการจดทะเบียนประชากรซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยทั้งหมดได้ถูกบันทึกไว้  ข้อมูลเหล่านี้ทำให้มีมาตรวัดของการย้ายถิ่นระหว่างประเทศและการย้ายถิ่นภายในประเทศ แต่มาตรวัดการย้ายถิ่นภายในประเทศเป็นที่น่าพอใจมากกว่า  ในประเทศที่ไม่มีการจดทะเบียนประชากร ระบบบันทึกทางการบริหารซึ่งไม่ครอบคลุมประชากรทั้งหมดสามารถนำมาใช้ได้เพื่อวัตถุประสงค์บางอย่างได้บ้าง ฉะนั้น{{TextTerm|หลักฐานการจดทะเบียนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง|3|812}} {{TextTerm|หลักฐานความมั่นคงทางสังคม|4|812}} {{TextTerm|หลักฐานผู้เสียภาษี|5|812}} หรือ{{TextTerm|หลักฐานที่อยู่อาศัย|6|812}} อาจให้ข้อมูลเกี่ยวกับการย้ายถิ่นภายในประเทศ  ในกรณีของการย้ายถิ่นจากต่างประเทศ สถิติอาจได้จาก{{TextTerm|บัญชีผู้โดยสาร|7|812}} หรือ{{TextTerm|รายชื่อผู้โดยสาร|7|812|2}}ของเรือเดินสมุทรและเครื่องบิน  การนับบุคคลที่ข้ามพรมแดนของประเทศให้เพียงข้อมูลหยาบมากๆ  ในพื้นที่ที่มี{{NonRefTerm|การจราจรข้ามพรมแดน}} ({{RefNumber|80|3|2}}*)มาก จะต้องมีขั้นตอนเฉพาะเพื่อแยกผู้ย้ายถิ่นออกจาก{{TextTerm|ผู้เดินทาง|8|812}}ที่ไม่ได้เปลี่ยนสถานที่อยู่อาศัย และบุคคลที่{{NonRefTerm|ย้ายผ่าน}} {{RefNumber|80|1|11}})  จำนวนของ{{TextTerm|วีซ่า|9|812}} หรือ{{TextTerm|ใบอนุญาตเข้าประเทศ|9|812|2}} และจำนวนของ{{TextTerm|ใบอนุญาตที่อยู่อาศัย|10|812}} หรือ{{TextTerm|ใบอนุญาตแรงงาน|11|812}} ที่ออกให้อาจใช้เป็นเครื่องชี้วัดการย้ายถิ่นของชาวต่างประเทศได้ด้วยเช่นกัน
 
{{Note|9| ในบางประเทศราษฎรที่ต้องการจะเดินทางไปต่างประเทศต้องมี{{NoteTerm|ใบอนุญาตออกนอกประเทศ}} หรือ{{NoteTerm|วีซ่าขาออก}} ซึ่งบันทึกการออกนอกประเทศไว้เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับการย้ายถิ่น}}
 
{{Note|9| ในบางประเทศราษฎรที่ต้องการจะเดินทางไปต่างประเทศต้องมี{{NoteTerm|ใบอนุญาตออกนอกประเทศ}} หรือ{{NoteTerm|วีซ่าขาออก}} ซึ่งบันทึกการออกนอกประเทศไว้เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับการย้ายถิ่น}}
  

รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 00:10, 15 สิงหาคม 2556


ข้อความปฏิเสธความรับผิดชอบ : ผู้สนับสนุนทั้งหลายของดีโมพีเดียไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับความหมายของศัพท์ต่างๆ ที่อยู่ในพจนานุกรมฉบับปรังปรุงนี้

พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาพ ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง ยังอยู่่ระหว่างการดำเนินงาน หากต้องการเสนอข้อคิดเห็นใดๆ กรุณาใช้พื้นที่อภิปราย


ไปยัง: คำนำสู่ดีโมพีเดีย | คำแนะนำการใช้ | ดาวน์โหลด
บทที่: อารัมภบท | 1. แนวคิดทั่วไป | 2. การจัดการและการประมวลผลสถิติประชากร | 3. การกระจายตัวและการจำแนกของประชากร | 4. ภาวะการตายและการเจ็บป่วย | 5. ภาวะสมรส | 6. ภาวะเจริญพันธุ์ | 7. การเพิ่มประชากรและการทดแทน | 8. การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่ | 9. มุมมองด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชากรศาสตร์
หน้าที่: 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 20 | 21 | 22 | 23 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 40 | 41 | 42 | 43 | 50 | 51 | 52 | 60 | 61 | 62 | 63 | 70 | 71 | 72 | 73 | 80 | 81 | 90 | 91 | 92 | 93


812

สถิติการย้ายถิ่น1รวบรวมไว้เพื่อแสดงให้เห็นปริมาณของการย้ายถิ่น ทิศทางของการเคลื่อนย้ายถิ่น และลักษณะของผู้ย้ายถิ่น ความถูกต้องของข้อเท็จจริงแต่ละชนิดเหล่านี้ขึ้นอยู่กับวิธีในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งสถิติการย้ายถิ่นส่วนมากประกอบด้วยการประมาณและค่าคาดประมาณมากกว่าจะมาจากการวัดที่แม่นยำ การวัดโดยตรงของการย้ายถิ่น2ต้องการระบบบันทึกเมื่อเกิดการเคลื่อนย้ายขึ้น สถิติการย้ายถิ่นที่สมบูรณ์มากที่สุดพัฒนาจากการจดทะเบียนประชากรซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยทั้งหมดได้ถูกบันทึกไว้ ข้อมูลเหล่านี้ทำให้มีมาตรวัดของการย้ายถิ่นระหว่างประเทศและการย้ายถิ่นภายในประเทศ แต่มาตรวัดการย้ายถิ่นภายในประเทศเป็นที่น่าพอใจมากกว่า ในประเทศที่ไม่มีการจดทะเบียนประชากร ระบบบันทึกทางการบริหารซึ่งไม่ครอบคลุมประชากรทั้งหมดสามารถนำมาใช้ได้เพื่อวัตถุประสงค์บางอย่างได้บ้าง ฉะนั้น หลักฐานการจดทะเบียนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง3 หลักฐานความมั่นคงทางสังคม4 หลักฐานผู้เสียภาษี5 หรือ หลักฐานที่อยู่อาศัย6 อาจให้ข้อมูลเกี่ยวกับการย้ายถิ่นภายในประเทศ ในกรณีของการย้ายถิ่นจากต่างประเทศ สถิติอาจได้จาก บัญชีผู้โดยสาร7 หรือ รายชื่อผู้โดยสาร7ของเรือเดินสมุทรและเครื่องบิน การนับบุคคลที่ข้ามพรมแดนของประเทศให้เพียงข้อมูลหยาบมากๆ ในพื้นที่ที่มีการจราจรข้ามพรมแดน (803-2*)มาก จะต้องมีขั้นตอนเฉพาะเพื่อแยกผู้ย้ายถิ่นออกจาก ผู้เดินทาง8ที่ไม่ได้เปลี่ยนสถานที่อยู่อาศัย และบุคคลที่ย้ายผ่าน 801-11) จำนวนของ วีซ่า9 หรือ ใบอนุญาตเข้าประเทศ9 และจำนวนของ ใบอนุญาตที่อยู่อาศัย10 หรือ ใบอนุญาตแรงงาน11 ที่ออกให้อาจใช้เป็นเครื่องชี้วัดการย้ายถิ่นของชาวต่างประเทศได้ด้วยเช่นกัน

  • 9. ในบางประเทศราษฎรที่ต้องการจะเดินทางไปต่างประเทศต้องมีใบอนุญาตออกนอกประเทศ หรือวีซ่าขาออก ซึ่งบันทึกการออกนอกประเทศไว้เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับการย้ายถิ่น

813

ข้อมูลที่รวบรวมไว้ในสำมะโนและการสำรวจทำให้มีการพัฒนา สถิติเกี่ยวกับผู้ย้ายถิ่น1ได้ การพัฒนาเช่นนี้ขึ้นอยู่กับคำถามที่ถาม ปรกติจะรวม สถิติผู้ย้ายถิ่นเข้า2 สถิติผู้ย้ายถิ่นออก2 และ สถิติสถานที่เกิด3 วิธีการนี้มีข้อจำกัดสำหรับการศึกษาเรื่องการย้ายถิ่นระหว่างประเทศ เราไม่สามารถศึกษาผู้ย้ายถิ่นออกนอกประเทศได้ ในขณะที่เราจะทราบเกี่ยวกับผู้ย้ายถิ่นเข้าประเทศไม่ว่าเขาจะมาจากประเทศต้นทางใด

814

เมื่อเป็นไปไม่ได้ที่จะกำหนดจำนวนการย้ายถิ่นโดยตรง การประมาณทางอ้อมของการย้ายถิ่นสุทธิอาจทำได้โดย วิธีส่วนที่เหลือ1 ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในประชากรระหว่างสองเวลานำมาเปรียบเทียบกับการเปลี่ยนแปลงที่เนื่องมาจากการเพิ่มตามธรรมชาติ ความแตกต่างระหว่างตัวเลขทั้งสองจะเกิดจากการย้ายถิ่น วิธีสถิติชีพ2ประกอบด้วยการคำนวณความแตกต่างระหว่างการเปลี่ยนแปลงประชากรทั้งหมดที่คำนวณได้จากสำมะโนสองครั้งกับการเพิ่มตามธรรมชาติ (701-7) ในช่วงระยะเวลาระหว่างสำมะโนนั้น วิธีอัตราส่วนรอดชีพ3ใช้กันทั่วไปเพื่อประมาณการย้ายถิ่นสุทธิรายอายุ วิธีนี้ไม่ต้องใช้สถิติการตายจริงๆ อัตราส่วนรอดชีพอาจได้จากตารางชีพหรือจากการเปรียบเทียบสำมะโนสองครั้งติดต่อกัน และนำอัตราส่วนนี้ไปใช้กับประชากรกลุ่มย่อยในสำมะโนหนึ่งเพื่อได้จำนวนที่คาดหมายรายอายุ ณ เวลาของอีกสำมะโนหนึ่ง การเปรียบเทียบระหว่างประชากรที่สังเกตได้กับประชากรที่คาดหมายอาจใช้เพื่อประมาณความสมดุลของการย้ายถิ่นตามรายอายุสำหรับประชากรกลุ่มย่อย เมื่อมี สถิติสถานที่เกิด4 (813-3) รายอายุและที่อาศัยอยู่ปัจจุบันในสำมะโนสองครั้งติดต่อกัน จะเป็นไปได้ที่จะคาดประมาณกระแสการย้ายถิ่นทางอ้อม

  • 2. สมการที่แสดงว่าความแตกต่างระหว่างการเปลี่ยนแปลงประชากรทั้งหมดกับการเพิ่มตามธรรมชาติเท่ากับการย้ายถิ่นบางครั้งเรียกชื่อว่าสมการสมดุล ในการใช้สมการนี้เพื่อคาดประมาณการย้ายถิ่นสุทธิ เราต้องมีข้อสมมุติว่าการละเว้น (230-3) และการนับซ้ำ (230-5) เท่ากันในสำมะโนทั้งสองครั้ง
  • 3. ความแตกต่างหลักของกระบวนการนี้เรียกว่าวิธีอัตราส่วนรอดชีพตารางชีพ กับวิธีอัตราส่วนรอดชีพสำมะโนระดับประเทศ ในวิธีรอดชีพไปข้างหน้า ประชากรเมื่อเริ่มต้นของช่วงเวลาระหว่างสำมะโนจะใช้เพื่อประมาณประชากรที่คาดว่าจะมีเมื่อสิ้นสุดของช่วงเวลา และกระบวนการจะย้อนกลับหลังในวิธีอัตราส่วนรอดชีพย้อนหลัง วิธีอัตรส่วนรอดชีพเฉลี่ยจะรวมสองวิธีนี้เข้าด้วยกัน

815

ศัพท์ทั่วไปว่า อัตราการย้ายถิ่น1หมายถึงอัตราใดๆ ก็ตามที่วัดความถี่สัมพัทธ์ของการย้ายถิ่นภายในประเทศหนึ่ง นอกจากจะระบุไว้เป็นอย่างอื่น อัตราเหล่านี้จะถือเป็น อัตราการย้ายถิ่นต่อปี2 อัตราเหล่านี้อาจคำนวณได้เป็นอัตราส่วนของจำนวนเฉลี่ยในปีหนึ่งของการเคลื่อนย้ายในช่วงระยะเวลาหนึ่งต่อประชากรเฉลี่ยของระยะเวลานั้น อัตราต่อปีของการย้ายถิ่นสุทธิ3 และ อัตราต่อปีของการย้ายถิ่นรวม4คำนวณได้ด้วยวิธีเดียวกันโดยการใช้ข้อมูลที่เหมาะสมเกี่ยวกับการย้ายถิ่นสุทธิและการย้ายถิ่นรวม ดัชนีของประสิทธิภาพการย้ายถิ่น5หรือ ดัชนีประสิทธิภาพ5คำนวณเป็นอัตราส่วนของการย้ายถิ่นสุทธิต่อการย้ายถิ่นเข้าและออกทั้งหมด พิสัยของดัชนีนี้คือจากศูนย์เมื่อผู้มาถึงและผู้จากไปมีจำนวนเท่ากัน และสูงถึงหนึ่งเมื่อการย้ายถิ่นทั้งหมดเป็นไปทางเดียว

  • 2. ตัวหารอื่นๆ อาจใช้ในการคำนวณอัตรานี้ อย่างเช่นประชากรเมื่อเริ่มต้น หรือเมื่อสิ้นสุดระยะเวลา หรือจำนวนปีคนที่มีชีวิตอยู่โดยประชากรของพื้นที่นั้น
  • 5. ดัชนีประสิทธิผลการย้ายถิ่น หรือดัชนีประสิทธิผล

816

สัดส่วนของผู้ย้ายถิ่น1ได้จากการโยงจำนวนของผู้ย้ายถิ่นในช่วงระยะเวลาหนึ่งไปยังประชากรที่ผู้ย้ายถิ่นไปอยู่หรือที่จากมา สัดส่วนของผู้ย้ายถิ่นออก2ได้จากการหารจำนวนที่รายงานว่าเคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่ด้วยประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นเมื่อเริ่มต้นของช่วงเวลา และยังมีชีวิตอยู่เมื่อสิ้นสุดช่วงเวลานั้น ดัชนีนี้วัดความน่าจะเป็นของการเคลื่อนย้ายสำหรับประชากรที่เสี่ยง และยังมีประโยชน์อีกหลายอย่าง ดัชนีนี้สามารถนำไปใช้ในการฉายภาพประชากรที่การย้ายถิ่นนำมาพิจารณาแยกต่างหาก แต่ในทางปฏิบัติมักนำประชากรอื่นมาใช้เป็นตัวหารเพื่อคำนวณสัดส่วนของผู้ย้ายถิ่น ในทำนองเดียวกัน สัดส่วนของผู้ย้ายถิ่นเข้า3บางครั้งได้มาจากการหารจำนวนของผู้ย้ายถิ่นเข้าในพื้นที่หนึ่งในช่วงระยะเวลาหนึ่งด้วยประชากรของพื้นที่นั้นเมื่อสิ้นสุดของช่วงเวลานั้น แต่ตัวหารอาจเป็นประชากรเมื่อเริ่มต้นของช่วงเวลานั้น หรือค่าเฉลี่ยของประชากรเมื่อเริ่มต้นและเมื่อสิ้นสุดช่วงเวลานั้นได้ด้วยเช่นกัน สัดส่วนของผู้ย้ายถิ่นเกิดเข้า4สามารถคำนวณได้จากข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่เกิด ด้วยการหารจำนวนคนที่เกิดนอกพื้นที่นั้นด้วยประชากรที่แจงนับได้ของพื้นที่นั้น สัดส่วนของผู้ย้ายถิ่นเกิดออก5สามารถคำนวณได้โดยการหารจำนวนของคนในประเทศหนึ่งที่อาศัยอยู่นอกพื้นที่เกิดของตนด้วยจำนวนรวมของคนที่เกิดในพื้นที่นั้น หรือหารด้วยจำนวนคนที่ยังอาศัยอยู่ที่นั้น เมื่อทราบลักษณะของผู้ย้ายถิ่นอย่างเช่น อายุ (322-1) อาชีพ (352-2) หรือ ระดับการศึกษา (342-1) ดัชนีความแตกต่างของการย้ายถิ่น6ใช้เพื่อแสดงให้เห็นความแตกต่างของผู้ย้ายถิ่นกับประชากรอื่นในถิ่นปลายทาง ดัชนีนี้เท่ากับสัดส่วนของผู้ย้ายถิ่นในประชากรทั้งหมด ดัชนีความแตกต่างของการย้ายถิ่นมีค่าเท่ากับศูนย์เมื่อประชากรที่มีลักษณะอย่างหนึ่งมีพฤติกรรมการย้ายถิ่นเหมือนกับประชากรอื่นๆ ศัพท์คำว่า กระบวนการคัดสรรของการย้ายถิ่น7แสดงการเปรียบเทียบระหว่างผู้ย้ายถิ่นเข้ากับประชากรที่ผู้ย้ายถิ่นจากมาที่พื้นที่ต้นทาง (801-4) เมื่อเปรียบเทียบลักษณะของผู้ย้ายถิ่นเข้า กับลักษณะของประชากรที่ถิ่นที่มาถึง (801-5) บางที่ใช้ศัพท์ว่า ความแตกต่างของการย้ายถิ่น8 หรือ ความแตกต่างการย้ายถิ่น8

  • 7. ตัวอย่างเช่น การคัดสรรของการย้ายถิ่นจากเมกซิโกลดลงเพราะว่าความแตกต่างระหว่างคุณลักษณะระหว่างผู้ย้ายถิ่นกับผู้ไม่ย้ายถิ่นเจือจางลงเรื่อยๆ และถิ่นเดิมของชาวเมกซิกันยังหลากหลายมากขึ้น เพราะการแพร่กระจายของเครือข่ายการย้ายถิ่นของชาวเมกซิกันในประเทศสหรัฐอเมริกา

817

การวิเคราะห์การย้ายถิ่นระยะยาว1ต้องการข้อมูลการเคลื่อนย้ายติดต่อกันของบุคคลหนึ่งในเวลาที่ผ่านไป ปรกติข้อมูลเช่นนี้จะได้จากการจดทะเบียนประชากร (213-1) หรือ การสำรวจย้อนเวลา (203-8)เท่านั้น มาตรวัดการย้ายถิ่นอย่างละเอียดหลายอย่างได้จากข้อมูลประเภทนี้ อย่างเช่น ความน่าจะเป็นของการย้ายถิ่นครั้งแรก2ซึ่งนิยามว่าเป็นความน่าจะเป็นที่กลุ่มของ ผู้ไม่ย้ายถิ่น3อายุ x ปี จะไปเกี่ยวข้องกับการย้ายถิ่นเป็นครั้งแรกก่อนที่จะมีอายุ x+n ปี ความน่าจะเป็นเหล่านี้สามารถใช้เพื่อคำนวณ ตารางผู้ไม่ย้ายถิ่น4 ตารางนี้เมื่อรวมกับตารางชีพ (432-3) จะนำไปสู่ อัตราของผู้ไม่ย้ายถิ่น5ในตารางชีพแบบลดลงสองทาง ในทำนองเดียวกัน ความน่าจะเป็นของการย้ายถิ่นโดยลำดับของการเคลื่อนย้าย6อาจคำนวณได้เช่นเดียวกับสัดส่วนของผู้ย้ายถิ่นของลำดับที่ซึ่งไม่มีการเคลื่อนย้ายในลำดับต่อไปภายในช่วงเวลาการย้ายถิ่นที่นิยามไว้ อัตราการย้ายถิ่นทุกลำดับ7เป็นอัตราส่วนของการเคลื่อนย้ายของทุกลำดับในปีหนึ่งต่อขนาดประชากรเฉลี่ยของรุ่น (117-2) ในปีนั้น ค่าสะสมของอัตราเหล่านี้สำหรับคนรุ่นหนึ่งขึ้นไปถึงเวลาหนึ่งให้ค่าประมาณของ จำนวนเฉลี่ยของการเคลื่อนย้าย8เมื่อไม่มีภาวะการตาย อัตราการรอดชีพสามารถนำไปรวมกับ ตารางการย้ายถิ่นทุกลำดับ9รายอายุ เพื่อประมาณจำนวนเฉลี่ยของการเคลื่อนย้ายที่ยังคงอยู่สำหรับบุคคลอายุหนึ่ง เมื่อมีภาวะการตายอย่างที่เป็นอยู่

818

ในการศึกษาผู้ย้ายถิ่นระหว่างสองพื้นที่ในช่วงเวลาหนึ่ง มาตรวัดที่ใช้กันมากคือ ดัชนีความเข้มของการย้ายถิ่น1ที่ได้จากการหารจำนวนของผู้ย้ายถิ่นจากพื้นที่ A ไปยังพื้นที่ B ด้วยผลคูณของจำนวนผู้อยู่อาศัยใน B เมื่อสิ้นสุดช่วงเวลานั้น และจำนวนผู้อยู่อาศัยของ A เมื่อเริ่มต้นของช่วงเวลาที่ยังมีชีวิตอยู่เมื่อสิ้นสุดของช่วงเวลานั้น ดัชนีนี้หารด้วยอัตราส่วนของจำนวนรวมของผู้ย้ายถิ่นต่อรากที่สองของประชากรของประเทศ จะได้ ดัชนีนิยมการย้ายถิ่น2 เมื่อตัวตั้งจำกัดอยู่ที่กระแสการย้ายถิ่นสุทธิ มาตรวัดที่คำนวณได้เรียกว่า ดัชนีความเร็วสุทธิ3 ประสิทธิภาพของกระแสการย้ายถิ่น4วัดได้ด้วยการโยงค่าสัมบูรณ์ของกระแสการย้ายถิ่นสุทธิไปยังการแลกเปลี่ยนการย้ายถิ่นรวม (805-10).

  • 1. ดัชนีนี้อาจแปลความว่าเป็นความน่าจะเป็นที่เหมือนกันที่บุคคลสองคนที่มีชีวิตอยู่เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาจะถูกเลือกขึ้นมาโดยการสุ่ม คนหนึ่งในหมู่คนที่อาศัยในพื้นที่ A เมื่อเริ่มต้นของระยะเวลา และอีกคนหนึ่งในหมู่คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ B เมื่อสิ้นสุดของระยะเวลา ข้อมูลที่หาได้อาจเป็นตัวบังคับให้เลือกตัวหารต่างๆ

819

แบบจำลองการย้ายถิ่น1มีสองประเภทใหญ่ ประเภทแรกโยงกระแสการย้ายถิ่น (803-9) ระหว่างสองพื้นที่ไปยังตัวแปรทางสังคม เศรษฐกิจ หรือประชากร ตัวแปรเหล่านี้มักจะจัดประเภทเป็น ปัจจัยผลัก2ที่มีลักษณะ การผลักออก2จากถิ่นเดิม และจัดประเภทเป็น ปัจจัยดึง3ที่มีผลใน การดึงดูด3ให้เข้าสู่ถิ่นปลายทาง และจัดเป็น อุปสรรคแทรกกลาง4ระหว่างพื้นที่ทั้งสอง แบบจำลองที่ธรรมดาที่สุดในหมู่แบบจำลองเหล่านี้คือ แบบจำลองแรงดึงดูด5 กระแสระหว่างสองพื้นที่เป็นสัดส่วนโดยตรงกับขนาดของประชากรของพื้นที่ทั้งสอง และเป็นสัดส่วนผกผันกับ ระยะทาง6ระหว่างพื้นที่ทั้งสองยกกำลังขึ้นไประดับหนึ่ง แบบจำลองอื่นพิจารณาว่ากระแสการย้ายถิ่นเป็นสัดส่วนกับโอกาสในพื้นที่ปลายทางและเป็นสัดส่วนผกผันกับ โอกาสแทรกกลาง7ระหวางถิ่นเดิมและถิ่นปลายทาง แบบจำลองในประเภทกว้างๆ ประเภทที่สองคือแบบจำลองสโตคาสติค (730-5) และอ้างถึงตัวบุคคลมากกว่าประชากร แบบจำลองประเภทนี้เชื่อมความน่าจะเป็นของการย้ายถิ่นไปยังลักษณะส่วนตัวบางอย่าง อย่างเช่น อายุ หรือประวัติการย้ายถิ่นก่อนหน้านั้น

  • 5. หรือแบบจำลองประเภทพาเรโต
  • 6. ระยะทางอาจวัดด้วยวิธีหลากหลาย เช่น ด้วยเส้นตรง ระยะทางถนน จำนวนพื้นที่ที่อยู่ระหว่างกลาง ฯลฯ

* * *

ไปยัง: คำนำสู่ดีโมพีเดีย | คำแนะนำการใช้ | ดาวน์โหลด
บทที่: อารัมภบท | 1. แนวคิดทั่วไป | 2. การจัดการและการประมวลผลสถิติประชากร | 3. การกระจายตัวและการจำแนกของประชากร | 4. ภาวะการตายและการเจ็บป่วย | 5. ภาวะสมรส | 6. ภาวะเจริญพันธุ์ | 7. การเพิ่มประชากรและการทดแทน | 8. การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่ | 9. มุมมองด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชากรศาสตร์
หน้าที่: 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 20 | 21 | 22 | 23 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 40 | 41 | 42 | 43 | 50 | 51 | 52 | 60 | 61 | 62 | 63 | 70 | 71 | 72 | 73 | 80 | 81 | 90 | 91 | 92 | 93

ดึงข้อมูลจาก "http://th-ii.demopaedia.org/w/index.php?title=81&oldid=684"