The Demopædia Encyclopedia on Population is under heavy modernization and maintenance. Outputs could look bizarre, sorry for the temporary inconvenience

พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาษา ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง ภาษาไทย

80

จาก Demopædia


ข้อความปฏิเสธความรับผิดชอบ : ผู้สนับสนุนทั้งหลายของดีโมพีเดียไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับความหมายของศัพท์ต่างๆ ที่อยู่ในพจนานุกรมฉบับปรังปรุงนี้

พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาพ ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง ยังอยู่่ระหว่างการดำเนินงาน หากต้องการเสนอข้อคิดเห็นใดๆ กรุณาใช้พื้นที่อภิปราย


ไปยัง: คำนำสู่ดีโมพีเดีย | คำแนะนำการใช้ | ดาวน์โหลด
บทที่: อารัมภบท | 1. แนวคิดทั่วไป | 2. การจัดการและการประมวลผลสถิติประชากร | 3. การกระจายตัวและการจำแนกของประชากร | 4. ภาวะการตายและการเจ็บป่วย | 5. ภาวะสมรส | 6. ภาวะเจริญพันธุ์ | 7. การเพิ่มประชากรและการทดแทน | 8. การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่ | 9. มุมมองด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชากรศาสตร์
หน้าที่: 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 20 | 21 | 22 | 23 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 40 | 41 | 42 | 43 | 50 | 51 | 52 | 60 | 61 | 62 | 63 | 70 | 71 | 72 | 73 | 80 | 81 | 90 | 91 | 92 | 93


801

การศึกษา การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่1 หรือ การเคลื่อนย้ายเชิงภูมิศาสตร์1เกี่ยวข้องกับแง่มุมเชิงปริมาณของการ ย้าย2ทำโดยบุคคลในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ ลักษณะแตกต่างของ การย้ายถิ่น3อยู่ที่การเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงในสถานที่อยู่ปรกติ (310-6*) และมีนัยยะว่าเป็นการเคลื่อนย้ายข้ามเขตการบริหาร หน่วยการบริหารที่ผู้ย้ายถิ่นจากมาเป็น ถิ่นเดิม4 หรือ ถิ่นที่จากมา4 หน่วยที่ผู้ย้ายถิ่นเคลื่อนย้ายเข้าไปเป็น ถิ่นปลายทาง5 หรือ ถิ่นที่มาถึง5 แนวความคิดเรื่องการย้ายถิ่นมักไม่ใช้กับการเคลื่อนย้ายที่ทำโดยบุคคลที่ปราศจากสถานที่อยู่อาศัยแน่นอน ตัวอย่างเช่นคนเร่ร่อน จะไม่นับว่าเป็นผู้ย้ายถิ่น ในทางปฏิบัติ บางครั้งยากที่จะแยกความแตกต่างระหว่างการย้ายถิ่น ซึ่งมีนัยความหมายว่าเป็นการเปลี่ยนที่อยู่อาศัยค่อนข้างถาวร กับ การเคลื่อนย้ายชั่วคราว6 ยกเว้นบนพื้นฐานของเกณฑ์เรื่อง ระยะเวลาของการไม่อยู่7จากถิ่นเดิมหรือ ระยะเวลาของการอยู่8ที่ถิ่นปลายทาง โดยทั่วไป การเคลื่อนย้ายเชิงภูมิศาสตร์ไม่รวมการเดินทางระยะสั้นซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนที่อยู่ปรกติ ถึงแม้ว่าการเคลื่อนย้ายเช่นนั้นอาจควรค่ากับการศึกษาเพราะว่ามีความสำคัญทางเศรษฐกิจและสังคม การเดินทางไปกลับ9เกี่ยวข้องกับการเดินทางประจำวันหรือทุกสัปดาห์จากสถานที่อยู่อาศัยไปยังสถานที่ทำงานหรือที่เรียนหนังสือ การเคลื่อนย้ายตามฤดูกาล10เป็นการเคลื่อนย้ายเป็นช่วงๆ ในแต่ละปี การย้ายผ่าน11ซึ่งเป็นการเคลื่อนย้ายข้ามเขตแดนหนึ่งเพื่อไปถึงจุดหมายปลายทางไม่เกี่ยวข้องกับการย้ายถิ่นในแง่ของเขตแดนที่ข้ามมา การเดินทางท่องเที่ยว12 หรือการ พักผ่อน12ก็ไม่รวมอยู่ในการเคลื่อนย้ายเชิงภูมิศาสตร์เช่นกัน

  • 1. Spatial mobility is distinguished from social mobility (920-4) and occupational mobility (921-3).
  • 3. Migration, n. - migrate, v. - migrant, n.: one who migrates, also used as adj. - migratory, adj.: pertaining to migration. The term migration refers to a process and cannot serve in English (in contrast to French) to describe a particular move; it is rarely used in the plural. Some authors view all residential mobility (803-6) as migration. For most, however, migratory moves involve the crossing of a boundary, and the administrative unit selected is called the migration defining area.
  • 5. The terms country of arrival and country of reception are appropriate when international migration is the subject of interest.
  • 9. Commute, v. - commuter, n.: one who regularly travels from his place of residence to his place of work. The expression journey to work is also used to describe this type of movement.
  • 10. Seasonal movement is more accurate than the frequently used term seasonal migration since these moves rarely involve a change of usual residence.

802

เมื่อมีข้อมูลการย้ายถิ่นในช่วงระยะเวลาหนึ่งจะสามารถเปรียบเทียบ สถานที่อยู่อาศัย ณ วันเวลาในอดีตที่กำหนดแน่นอน1 หรือ สถานที่อยู่อาศัยครั้งสุดท้าย2 กับ สถานที่อยู่ปัจจุบัน3 บุคคลซึ่งมีหน่วยการบริหารของที่อยู่อาศัยแตกต่างกันเมื่อเริ่มต้นและเมื่อสิ้นสุดของช่วงเวลาหนึ่ง จะเรียกว่าเป็น ผู้ย้ายถิ่น4 ผู้ย้ายถิ่นอาจจำแนกออกเป็น ผู้ย้ายถิ่นออกนอกประเทศ5 หรือ ผู้ย้ายถิ่นออก5เมื่อมองจากมุมของถิ่นเดิม และเป็น ผู้ย้ายถิ่นเข้าประเทศ6 หรือ ผู้ย้ายถิ่นเข้า6เมื่อมองจากมุมของถิ่นที่อยู่ปัจจุบัน เมื่อสำมะโนหรือการสำรวจได้รวมคำถามเกี่ยวกับ สถานที่อยู่อาศัยก่อน2 ข้อมูลจะทำให้เกิดความคิดเกี่ยวกับ การย้ายถิ่นครั้งหลังสุด7 หรือ การเปลี่ยนที่อยู่อาศัยครั้งหลังสุด7ไม่ว่าจะเมื่อใด ผู้ย้ายถิ่นคือบุคคลใดก็ตามที่มีที่อยู่อาศัยก่อนหน้าในหน่วยการบริหารที่แตกต่างจากที่อยู่อาศัยปัจจุบันของเขา อย่างเช่นบุคคลหนึ่งอาจพิจารณาได้ว่าได้ ย้ายถิ่นไปยัง8ที่อยู่ปัจจุบัน และ ย้ายถิ่นออก9จากที่อยู่ก่อน ผู้ย้ายถิ่นเกิด11คือบุคคลที่มี สถานที่เกิด10อยู่ในหน่วยการบริหารที่แตกต่างจากที่อยู่อาศัยปัจจุบันของเขา ในกรณีเฉพาะบางกรณี ผู้ย้ายถิ่นอาจมีคุณสมบัติเป็นผู้ย้ายถิ่นออกนอกประเทศด้วยเหตุผลทางการเมือง ศาสนา หรือจริยธรรม 12* หรือเป็นผู้ย้ายถิ่นเข้าประเทศด้วยเหตุผลทางการเมือง ศาสนา หรือจริยธรรม 13*

  • 4. Strictly speaking, under this concept a migrant must have been born before the beginning of the migration defining interval and must survive until the end. This definition is sometimes extended to include children born during the interval who are allocated to the place of residence of their mother at the beginning of the interval. The number of recorded migrants is not necessarily equal to the number of moves which occurred during the interval for these individuals, as any one may have moved several times in the interval, or even have returned to his previous place of residence by the time of the census or survey.
  • 10. Usually the place of birth is defined as the place of usual residence of the mother at the time of the birth even though custom or the location of medical facilities may have resulted in the birth occurring elsewhere.

803

ประชากรของประเทศอธิปไตย (305-3) อาจเกี่ยวข้องใน การย้ายถิ่นภายในประเทศ1เมื่อทั้งถิ่นที่จากมา (801-4) และถิ่นปลายทาง (801-5) อยู่ภายในประเทศนั้น หรือใน การย้ายถิ่นระหว่างประเทศ2ซึ่งเกิดขึ้นข้ามเขตแดนของชาติ ศัพท์คำว่า การย้ายถิ่นภายนอกประเทศ3บางครั้งใช้ในความหมายเดียวกับการย้ายถิ่นระหว่างประเทศ การย้ายถิ่นระหว่างประเทศเรียกว่าเป็น การเข้าเมือง4 หรือ การออกเมือง5 ตามประเทศที่ศึกษาว่าเป็นประเทศปลายทางหรือประเทศต้นทาง เมื่อประเทศแบ่งออกเป็นพื้นที่ย่อย การเคลื่อนย้ายภายในเขตแดนของพื้นที่ย่อยแต่ละแห่งจะเป็น การเคลื่อนย้ายท้องถิ่น6 และทำให้เกิดศัพท์คำว่า การเคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัย6 ในขณะที่การเคลื่อนย้ายระหว่างพื้นที่ย่อยจะเรียกว่า การย้ายถิ่นเข้า7 หรือ การย้ายถิ่นออก8ขึ้นอยู่กับพื้นที่ย่อยนั้นจะพิจารณาว่าเป็นถิ่นต้นทางหรือถิ่นปลายทางของผู้ย้ายถิ่นนั้น กระแสการย้ายถิ่น9เป็นกลุ่มของผู้ย้ายถิ่นที่มีถิ่นต้นทางและถิ่นปลายทางเดียวกัน กระแสที่ใหญ่กว่าระหว่างพื้นที่ย่อยสองแห่ง เรียกว่า{TextTerm|กระแสหลัก|10|803}} และกระแสที่เล็กกว่าเรียก กระแสทวน11

  • 1. The definitions of migration in this paragraph can be extended to the migrants involved. The distinction between internal and international migration is not always precise when territories within a country are more or less autonomous.
  • 2. Simple commuting across a national border receives the name of border traffic, and should not be mistaken for international migration.
  • 4. Immigration, n. - immigrate, v. - immigrant, n. and adj.
  • 5. Emigration, n. - emigrate, v. - emigrant, n. and adj.

804

เมื่อบุคคลหนึ่งย้ายถิ่นหลายครั้งในช่วงระยะเวลาหนึ่ง การเคลื่อนย้ายของเขาอาจแยกออกตาม ลำดับของการย้ายถิ่น1 ระยะเวลาของการอยู่อาศัย2หรือ ระยะเวลาของการพักอาศัย2หมายถึงช่วงเวลาระหว่างการมาถึงสถานที่นั้นและการจากไปในเวลาต่อมาไปยังจุดหมายปลายทางอีกแห่งหนึ่ง หรือหมายถึงช่วงเวลาตั้งแต่การเคลื่อนย้ายครั้งล่าสุด การย้ายถิ่นกลับ3เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายกลับไปยังพื้นที่เริ่มต้นหรือืไปยังสถานที่อยู่ก่อน การย้ายถิ่นซ้ำ4หรือ การย้ายถิ่นเรื้อรัง4หมายถึงแนวโน้มที่จะย้ายถิ่นหลายๆ ครั้งในช่วงเวลาค่อนข้างสั้น การย้ายถิ่นชนบทสู่เมือง5บางครั้งมีรูปแบบเป็น การย้ายถิ่นอนุกรม6 การย้ายถิ่นเป็นขั้นตอน6หรือ การย้ายถิ่นเป็นขั้น6 เมื่อผู้ย้ายถิ่นมีแนวโน้มที่จะเคลื่อนย้ายไปยังเมืองใหญ่เป็นถิ่นปลายทางสุดท้ายด้วยการย้ายระยะทางสั้นๆ เป็นอนุกรม ย้ายไปยังสถานที่ระหว่างกลางก่อนจะถึงเมืองใหญ่ หรือย้ายไปยังเมืองขนาดใหญ่ขึ้นๆ เป็นลำดับ

  • 3. Individuals involved in return migration are called return migrants.
  • 4. When repeat migration involves moving to new areas, some authors talk of secondary migration and of secondary migrants, in contrast to primary migration which involves first order or primary migrants. This is a source of confusion, since these terms usually take the meaning of 806-4.

805

สิ่งที่การย้ายถิ่น (801-3) ให้แก่การเพิ่มประชากร (701-1) ทั้งหมดจะขึ้นอยู่กับ การย้ายถิ่นสุทธิ2 ซึ่งได้แก่ความแตกต่างระหว่างจำนวนของ ผู้มาถึง3 กับจำนวนของ ผู้จากไป4 การย้ายถิ่นสุทธิสามารถมีได้ทั้งเครื่องหมายบวกและลบ การย้ายถิ่นเข้าประเทศสุทธิ5หรือ การย้ายถิ่นเข้าสุทธิ5ใช้เมื่อผู้มาถึงมีมากกว่าผู้จากไป และ การย้ายถิ่นออกประเทศสุทธิ6หรือ การย้ายถิ่นออกสุทธิ6เมื่อเป็นกรณีตรงข้าม จำนวนรวมของผู้มาถึงและผู้จากไปในประเทศหนึ่งสามารถใช้เพื่อวัด ปริมาณของการย้ายถิ่น7 แนวความคิดที่คล้ายๆ กันที่นำไปใช้กับพื้นที่ย่อยของประเทศคือ การหมุนเวียน8ของการย้ายถิ่น กระแสสุทธิ9หรือ การแลกเปลี่ยนสุทธิ9ของการย้ายถิ่นระหว่างสองพื้นที่นิยามได้ว่าเป้นความแตกต่างระหว่างกระแส (803-9) กับกระแสทวน (803-11) ในขณะที่ การแลกเปลี่ยนรวม10เป็นผลรวมของกระแสและกระแสทวน

  • 2. This may also be called the balance of migration or the migration balance. Terms such as "net migrant" should be avoided, and phrases such as the net number of migrants should be preferred.

806

การย้ายถิ่นตามธรรมชาติ1 การย้ายถิ่นแบบสมัครใจ1 หรือ การย้ายถิ่นเสรี1เป็นผลของความคิดริเริ่มและการเลือกเสรีของผู้ย้ายถิ่น ในกรณีที่ไม่มีการย้ายถิ่นที่กระทำร่วมกัน การเคลื่อนย้ายนั้นจะหมายถึง การย้ายถิ่นส่วนบุคคล2 เมื่อทั้งครอบครัวย้ายไปด้วยกันบางครั้งใช้ศัพท์คำว่า การย้ายถิ่นครอบครัว3 การย้ายถิ่นทุติยภูมิ4หรือ การย้ายถิ่นแบบช่วยเสริม4เป็นการย้ายถิ่นที่ช่วยทำให้เกิดขึ้นโดยคนอื่น เช่นเมื่อเด็กๆ ย้ายตามหัวหน้าครอบครัวไป ตัวอย่างของการย้ายถิ่นประเภทนี้คือการรวมกันของครอบครัว 9*ซึ่งเป็นเรื่องการย้ายถิ่นของสมาชิกครอบครัว รวมทั้งลูกๆ ที่ไปอยู่รวมกันกับหัวหน้าครอบครัว การเคลื่อนย้ายของคนงานหรือของสมาชิกของแรงงานตามโอกาสในการจ้างงานเรียกว่าเป็น การย้ายถิ่นแรงงาน5 การเคลื่อนย้ายที่เกิดขึ้นอันเป็นผลมาจากการแต่งงานและเมื่อบุคคลเกษียณจากแรงงานเรียกว่า การย้ายถิ่นเพราะแต่งงาน6 หรือ การย้ายถิ่นเพราะออกจากการทำงาน7ตามลำดับ การย้ายถิ่นแบบลูกโซ่ 8*หรือการย้ายถิ่นแบบเชื่อมโยง 8*หมายถึงแบบแผนของการย้ายถิ่นไปยังถิ่นปลายทางเฉพาะแห่ง ที่ที่ซึ่งผู้ย้ายถิ่นมีญาติพี่น้อง (114-3*) หรือเพื่อนซึ่งมีที่อยู่อาศัยอยู่ก่อนแล้ว และเต็มใจที่จะให้ข้อมูลและความช่วยเหลือ

  • 4. Although the terms are sometimes used in a different sense (cf. 804-4*), a primary migrant is the person who makes the actual migration decision while a secondary migrant is an individual such as a young child whose migration is the result of another person’s decision.

807

เมื่อกลุ่มของบุคคลหรือครอบครัวตัดสินใจที่จะย้ายถิ่นไปด้วยกัน ก็จะเกิด การย้ายถิ่นแบบกลุ่มรวม1 หรือ การย้ายถิ่นกลุ่ม1 การย้ายถิ่นแบบมวลชน2เป็นการย้ายถิ่นที่มีผู้ย้ายถิ่นเป็นจำนวนมาก ศัพท์คำว่า การหลั่งไหลของคนหมู่มาก3อาจใช้สำหรับการย้ายถิ่นแบบมวลชนที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันโดยมีสาเหตุมาจากเหตุการณ์ฉุกเฉินหรือภัยพิบัติบางอย่าง

808

Voluntary migration (806-1) contrasts with forced migration1, in which individuals are compelled by public authorities to move. Repatriation2 applies to forced return of individuals to their country of origin. Another example of forced migration is the expulsion3 from their places of abode either of individuals or of whole groups of people. The term evacuation4 is generally reserved for the movement of whole populations in order to safeguard them from some catastrophe, such as earthquakes, floods, operations of war or the like. A refugee5 has usually migrated on his own volition, though there may have been strong pressure on him to migrate because his continued stay in his country of origin may have exposed him to danger of persecution. A displaced person6 is a person who has been moved by a public authority from his place of origin. This move may have taken place as a result of large-scale displacement of population7 or population transfer7, or population exchange8.

  • 2. Repatriation, n. - repatriate, v.
  • 3. Expulsion, n. - expel, v - expellee, n., one who has been expelled. The term deportation is used for expulsion of an individual person from his country of residence because his continued residence is considered undesirable by the authorities. Deportation, n. - deport, v. - deportee, n.
  • 4. Evacuation, n. evacuate, v, - evacuee, n., a person who has been evacuated.

809

The process by which immigrants adjust themselves to conditions in the area of destination falls into several categories: naturalization (331-1), the acquisition of legal citizenship; absorption1 the entry into productive economic activity; assimilation3, integration into the social structure on terms of equality; and acculturation2 the adoption of the customs and values of the population in the place of destination.

810

When immigrants from a particular territory do not assimilate in their new country but retain the customs of their place of origin (801-3), they are called a colony1. When the receiving country is already inhabited, this raises problems of coexistence2 between different populations. These may be solved by the fusion3 of the populations, i.e. by the disappearance of recognizable differences, or by the integration4 of one of the populations into the other. Segregation5 exists in a territory where two or more populations live but remain separated by barriers imposed by custom or by the force of law.

  • 1. Colony, n. colonize, v., to found a colony, also used in the sense of settling a new territory - colonist, n., member of a colony.
  • 2. Coexistence, n.-coexist, v.
  • 5. Segregation, n. - segregate, v.
    In extreme cases, the conflict may result in genocide, i.e. an attempt by one population to exterminate the other. Exterminate, v. - extermination, n.

811

Migration policy1 is one aspect of population policy (105-2). Most countries through their immigration laws2, restrict the admittance of foreign nationals. These laws frequently provide for selective immigration3 of persons with certain specified characteristics. Some countries have established quota systems4 whereby the number of immigrants is fixed in relation to the national origin5. Measures designed to influence the redistribution of population6 within a country through internal migration (803-1) are usually more indirect in character.

* * *

ไปยัง: คำนำสู่ดีโมพีเดีย | คำแนะนำการใช้ | ดาวน์โหลด
บทที่: อารัมภบท | 1. แนวคิดทั่วไป | 2. การจัดการและการประมวลผลสถิติประชากร | 3. การกระจายตัวและการจำแนกของประชากร | 4. ภาวะการตายและการเจ็บป่วย | 5. ภาวะสมรส | 6. ภาวะเจริญพันธุ์ | 7. การเพิ่มประชากรและการทดแทน | 8. การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่ | 9. มุมมองด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชากรศาสตร์
หน้าที่: 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 20 | 21 | 22 | 23 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 40 | 41 | 42 | 43 | 50 | 51 | 52 | 60 | 61 | 62 | 63 | 70 | 71 | 72 | 73 | 80 | 81 | 90 | 91 | 92 | 93

ดึงข้อมูลจาก "http://th-ii.demopaedia.org/w/index.php?title=80&oldid=382"