The Demopædia Encyclopedia on Population is under heavy modernization and maintenance. Outputs could look bizarre, sorry for the temporary inconvenience

พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาษา ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง ภาษาไทย

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "80"

จาก Demopædia
(No NewTextTerm in Thai)
(804)
 
(ไม่แสดง 2 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้ 2 คน)
แถว 24: แถว 24:
 
=== 803 ===
 
=== 803 ===
  
ประชากรของ{{NonRefTerm|ประเทศอธิปไตย}} ({{RefNumber|30|5|3}}) อาจมี{{TextTerm|การย้ายถิ่นภายในประเทศ|1|803}}เมื่อทั้ง{{NonRefTerm|ถิ่นที่จากมา}} ({{RefNumber|80|1|4}}) และ{{NonRefTerm|ถิ่นปลายทาง}} ({{RefNumber|80|1|5}}) อยู่ภายในประเทศนั้นเอง  หรือมี{{TextTerm|การย้ายถิ่นระหว่างประเทศ|2|803}}ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อมีการ{{NoteTerm|ข้าม}}เขตแดนของชาติ  ศัพท์คำว่า{{TextTerm|การย้ายถิ่นภายนอกประเทศ|3|803}}บางครั้งใช้ในความหมายเดียวกับการย้ายถิ่นระหว่างประเทศ  การย้ายถิ่นระหว่างประเทศเรียกว่าเป็น{{TextTerm|การเข้าเมือง|4|803}} หรือ{{TextTerm|การออกเมือง|5|803}} ตามประเทศที่ศึกษาว่าเป็นประเทศปลายทางหรือประเทศต้นทาง  เมื่อประเทศแบ่งออกเป็นพื้นที่ย่อย การเคลื่อนย้ายภายในเขตแดนของพื้นที่ย่อยแต่ละแห่งจะเป็น{{TextTerm|การเคลื่อนย้ายท้องถิ่น|6|803}} และทำให้เกิดศัพท์คำว่า{{TextTerm|การเคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัย|6|803|2}}  ในขณะที่การเคลื่อนย้ายระหว่างพื้นที่ย่อยจะเรียกว่า{{TextTerm|การย้ายถิ่นเข้า|7|803}} หรือ{{TextTerm|การย้ายถิ่นออก|8|803}}ขึ้นอยู่กับพื้นที่ย่อยนั้นจะพิจารณาว่าเป็นถิ่นต้นทางหรือถิ่นปลายทางของผู้ย้ายถิ่นนั้น  {{TextTerm|กระแสการย้ายถิ่น|9|803}}เป็นกลุ่มของผู้ย้ายถิ่นที่มีถิ่นต้นทางและถิ่นปลายทางเดียวกัน  กระแสที่ใหญ่กว่าระหว่างพื้นที่ย่อยสองแห่ง เรียกว่า{{TextTerm|กระแสหลัก|10|803}} และกระแสที่เล็กกว่าเรียก{{TextTerm|กระแสทวน|11|803}}
+
ประชากรของ{{NonRefTerm|ประเทศอธิปไตย}} ({{RefNumber|30|5|3}}) อาจมี{{TextTerm|การย้ายถิ่นภายในประเทศ|1|803}}เมื่อทั้ง{{NonRefTerm|ถิ่นที่จากมา}} ({{RefNumber|80|1|4}}) และ{{NonRefTerm|ถิ่นปลายทาง}} ({{RefNumber|80|1|5}}) อยู่ภายในประเทศนั้นเอง  หรือมี{{TextTerm|การย้ายถิ่นระหว่างประเทศ|2|803}}ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อมีการ{{NonRefTerm|ข้าม}}เขตแดนของชาติ  ศัพท์คำว่า{{TextTerm|การย้ายถิ่นภายนอกประเทศ|3|803}}บางครั้งใช้ในความหมายเดียวกับการย้ายถิ่นระหว่างประเทศ  การย้ายถิ่นระหว่างประเทศเรียกว่าเป็น{{TextTerm|การเข้าเมือง|4|803}} หรือ{{TextTerm|การออกเมือง|5|803}} ตามประเทศที่ศึกษาว่าเป็นประเทศปลายทางหรือประเทศต้นทาง  เมื่อประเทศแบ่งออกเป็นพื้นที่ย่อย การเคลื่อนย้ายภายในเขตแดนของพื้นที่ย่อยแต่ละแห่งจะเป็น{{TextTerm|การเคลื่อนย้ายท้องถิ่น|6|803}} และทำให้เกิดศัพท์คำว่า{{TextTerm|การเคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัย|6|803|2}}  ในขณะที่การเคลื่อนย้ายระหว่างพื้นที่ย่อยจะเรียกว่า{{TextTerm|การย้ายถิ่นเข้า|7|803}} หรือ{{TextTerm|การย้ายถิ่นออก|8|803}}ขึ้นอยู่กับพื้นที่ย่อยนั้นจะพิจารณาว่าเป็นถิ่นต้นทางหรือถิ่นปลายทางของผู้ย้ายถิ่นนั้น  {{TextTerm|กระแสการย้ายถิ่น|9|803}}เป็นกลุ่มของผู้ย้ายถิ่นที่มีถิ่นต้นทางและถิ่นปลายทางเดียวกัน  กระแสที่ใหญ่กว่าระหว่างพื้นที่ย่อยสองแห่ง เรียกว่า{{TextTerm|กระแสหลัก|10|803}} และกระแสที่เล็กกว่าเรียก{{TextTerm|กระแสทวน|11|803}}
 
{{Note|1| คำนิยามของการย้ายถิ่นในย่อหน้านี้สามารถขยายออกไปรวมผู้ย้ายถิ่นที่เกี่ยวข้อง ความแตกต่างระหว่างการย้ายถิ่นภายในประเทศและระหว่างประเทศไม่แน่นอนตายตัวเสมอไป โดยเฉพาะเมื่ออาณาเขตภายในประเทศหนึ่งถูกกำหนดขึ้นอย่างอิสระโดยประเทศนั้นเอง}}
 
{{Note|1| คำนิยามของการย้ายถิ่นในย่อหน้านี้สามารถขยายออกไปรวมผู้ย้ายถิ่นที่เกี่ยวข้อง ความแตกต่างระหว่างการย้ายถิ่นภายในประเทศและระหว่างประเทศไม่แน่นอนตายตัวเสมอไป โดยเฉพาะเมื่ออาณาเขตภายในประเทศหนึ่งถูกกำหนดขึ้นอย่างอิสระโดยประเทศนั้นเอง}}
 
{{Note|2| การเดินทางไปกลับข้ามพรมแดนของประเทศเรียกว่าเป็น{{NoteTerm|การข้ามพรมแดน}} ซึ่งไม่ควรใช้สับสนกับการย้ายถิ่นระหว่างประเทศ}}
 
{{Note|2| การเดินทางไปกลับข้ามพรมแดนของประเทศเรียกว่าเป็น{{NoteTerm|การข้ามพรมแดน}} ซึ่งไม่ควรใช้สับสนกับการย้ายถิ่นระหว่างประเทศ}}
แถว 30: แถว 30:
 
=== 804 ===
 
=== 804 ===
  
เมื่อบุคคลหนึ่งย้ายถิ่นหลายครั้งในช่วงระยะเวลาหนึ่ง การเคลื่อนย้ายของเขาอาจแยกออกตาม{{TextTerm|ลำดับของการย้ายถิ่น|1|804}} {{TextTerm|ระยะเวลาของการอยู่อาศัย|2|804}}หรือ{{TextTerm|ระยะเวลาของการพักอาศัย|2|804|2}}หมายถึงช่วงเวลาระหว่างการมาถึงสถานที่นั้นและการจากไปในเวลาต่อมาไปยังจุดหมายปลายทางอีกแห่งหนึ่ง หรือหมายถึงช่วงเวลาตั้งแต่การเคลื่อนย้ายครั้งล่าสุด {{TextTerm|การย้ายถิ่นกลับ|3|804}}เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายกลับไปยังพื้นที่เริ่มต้นหรือไปยังสถานที่อยู่ก่อน {{TextTerm|การย้ายถิ่นซ้ำ|4|804}}หรือ{{TextTerm|การย้ายถิ่นเรื้อรัง|4|804|2}}หมายถึงแนวโน้มที่จะย้ายถิ่นหลายๆ ครั้งในช่วงเวลาค่อนข้างสั้น {{TextTerm|การย้ายถิ่นชนบทสู่เมือง|5|804}}บางครั้งมีรูปแบบเป็น{{TextTerm|การย้ายถิ่นอนุกรม|6|804}} {{TextTerm|การย้ายถิ่นเป็นขั้นตอน|6|804|2}}หรือ{{TextTerm|การย้ายถิ่นเป็นขั้น|6|804|3}} เมื่อผู้ย้ายถิ่นมีแนวโน้มที่จะเคลื่อนย้ายไปยังเมืองใหญ่เป็นถิ่นปลายทางสุดท้ายด้วยการย้ายระยะทางสั้นๆ เป็นอนุกรม ย้ายไปยังสถานที่ระหว่างกลางก่อนจะถึงเมืองใหญ่ หรือย้ายไปยังเมืองขนาดใหญ่ขึ้นๆ เป็นลำดับ
+
เมื่อบุคคลหนึ่งย้ายถิ่นหลายครั้งในช่วงระยะเวลาหนึ่ง การเคลื่อนย้ายของเขาอาจแยกออกตาม{{TextTerm|ลำดับของการย้ายถิ่น|1|804}} {{TextTerm|ระยะเวลาของการอยู่อาศัย|2|804}}หรือ{{TextTerm|ระยะเวลาของการพักอาศัย|2|804|2}}หมายถึงช่วงเวลาระหว่างการมาถึงสถานที่นั้นและการจากไปในเวลาต่อมาไปยังจุดหมายปลายทางอีกแห่งหนึ่ง หรือหมายถึงช่วงเวลาตั้งแต่การเคลื่อนย้ายครั้งล่าสุด {{TextTerm|การย้ายถิ่นกลับ|3|804}}เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายกลับไปยังพื้นที่เริ่มต้นหรือไปยังสถานที่อยู่ก่อน {{TextTerm|การย้ายถิ่นซ้ำ|4|804}}หรือ{{TextTerm|การย้ายถิ่นเรื้อรัง|4|804|2}}หมายถึงแนวโน้มที่จะย้ายถิ่นหลาย ๆ ครั้งในช่วงเวลาค่อนข้างสั้น {{TextTerm|การย้ายถิ่นชนบทสู่เมือง|5|804}}บางครั้งมีรูปแบบเป็น{{TextTerm|การย้ายถิ่นอนุกรม|6|804}} {{TextTerm|การย้ายถิ่นเป็นขั้นตอน|6|804|2}}หรือ{{TextTerm|การย้ายถิ่นเป็นขั้น|6|804|3}} เมื่อผู้ย้ายถิ่นมีแนวโน้มที่จะเคลื่อนย้ายไปยังเมืองใหญ่เป็นถิ่นปลายทางสุดท้ายด้วยการย้ายระยะทางสั้น ๆ เป็นอนุกรม ย้ายไปยังสถานที่ระหว่างกลางก่อนจะถึงเมืองใหญ่ หรือย้ายไปยังเมืองขนาดใหญ่ขึ้น ๆ เป็นลำดับ {{TextTerm|การย้ายถิ่นอนุกรมหลายครั้ง|7|804}}ระหว่างอนุกรมของเมืองที่มีขนาดแตกต่างกัน บางครั้งใช้เมื่อการย้ายถิ่นสุทธิของแต่ละเมืองมีค่าเป็นบวกและเป็นผลมาจากการย้ายถิ่นเข้าจากภาคชนบทและเมืองที่เล็กกว่าที่มีมากกว่าการย้ายถิ่นออกไปสู่เมืองที่ใหญ่กว่า
 
{{Note|3| บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการย้ายถิ่นกลับเรียกว่า{{NoteTerm|ผู้ย้ายถิ่นกลับ}}}}
 
{{Note|3| บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการย้ายถิ่นกลับเรียกว่า{{NoteTerm|ผู้ย้ายถิ่นกลับ}}}}
 
{{Note|4| เมื่อการย้ายถิ่นซ้ำเกี่ยวข้องไปยังการเคลื่อนย้ายไปยังพื้นที่ใหม่ นักวิชาการบางคนเรียกว่า{{NoteTerm|การย้ายถิ่นทุติยภูมิ}} และ{{NoteTerm|ผู้ย้ายถิ่นทุติยภูมิ}}เพื่อให้แตกต่างจากคำว่า{{NoteTerm|การย้ายถิ่นปฐมภูมิ}}ซึ่งเกี่ยวข้องกับการย้ายถิ่นลำดับแรกหรือ{{NoteTerm|ผู้ย้ายถิ่นปฐมภูมิ}}  ตรงนี้เป็นที่มาของความสับสนเนื่องจากปรกติศัพท์เหล่านี้มีความหมายเหมือนกับ {{RefNumber|80|6|4}} }}
 
{{Note|4| เมื่อการย้ายถิ่นซ้ำเกี่ยวข้องไปยังการเคลื่อนย้ายไปยังพื้นที่ใหม่ นักวิชาการบางคนเรียกว่า{{NoteTerm|การย้ายถิ่นทุติยภูมิ}} และ{{NoteTerm|ผู้ย้ายถิ่นทุติยภูมิ}}เพื่อให้แตกต่างจากคำว่า{{NoteTerm|การย้ายถิ่นปฐมภูมิ}}ซึ่งเกี่ยวข้องกับการย้ายถิ่นลำดับแรกหรือ{{NoteTerm|ผู้ย้ายถิ่นปฐมภูมิ}}  ตรงนี้เป็นที่มาของความสับสนเนื่องจากปรกติศัพท์เหล่านี้มีความหมายเหมือนกับ {{RefNumber|80|6|4}} }}

รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 05:38, 18 สิงหาคม 2556


ข้อความปฏิเสธความรับผิดชอบ : ผู้สนับสนุนทั้งหลายของดีโมพีเดียไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับความหมายของศัพท์ต่างๆ ที่อยู่ในพจนานุกรมฉบับปรังปรุงนี้

พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาพ ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง ยังอยู่่ระหว่างการดำเนินงาน หากต้องการเสนอข้อคิดเห็นใดๆ กรุณาใช้พื้นที่อภิปราย


ไปยัง: คำนำสู่ดีโมพีเดีย | คำแนะนำการใช้ | ดาวน์โหลด
บทที่: อารัมภบท | 1. แนวคิดทั่วไป | 2. การจัดการและการประมวลผลสถิติประชากร | 3. การกระจายตัวและการจำแนกของประชากร | 4. ภาวะการตายและการเจ็บป่วย | 5. ภาวะสมรส | 6. ภาวะเจริญพันธุ์ | 7. การเพิ่มประชากรและการทดแทน | 8. การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่ | 9. มุมมองด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชากรศาสตร์
หน้าที่: 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 20 | 21 | 22 | 23 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 40 | 41 | 42 | 43 | 50 | 51 | 52 | 60 | 61 | 62 | 63 | 70 | 71 | 72 | 73 | 80 | 81 | 90 | 91 | 92 | 93


801

การศึกษา การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่1 หรือ การเคลื่อนย้ายเชิงภูมิศาสตร์1เกี่ยวข้องกับแง่มุมเชิงปริมาณของการ ย้าย2ของบุคคลในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ ลักษณะแตกต่างของ การย้ายถิ่น3อยู่ที่การเคลื่อนย้ายที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงในสถานที่อยู่ปรกติ (310-6*) และมีนัยยะว่าเป็นการเคลื่อนย้ายข้ามเขตการบริหาร หน่วยการบริหารที่ผู้ย้ายถิ่นจากมาเป็น ถิ่นเดิม4 หรือ ถิ่นที่จากมา4 หน่วยที่ผู้ย้ายถิ่นเคลื่อนย้ายเข้าไปเป็น ถิ่นปลายทาง5 หรือ ถิ่นที่มาถึง5 แนวความคิดเรื่องการย้ายถิ่นมักไม่ใช้กับการเคลื่อนย้ายที่ทำโดยบุคคลที่ปราศจากสถานที่อยู่อาศัยแน่นอน ตัวอย่างเช่นคนเร่ร่อน จะไม่นับว่าเป็นผู้ย้ายถิ่น ในทางปฏิบัติ บางครั้งยากที่จะแยกความแตกต่างระหว่างการย้ายถิ่น ซึ่งมีนัยความหมายว่าเป็นการเปลี่ยนที่อยู่อาศัยค่อนข้างถาวร กับ การเคลื่อนย้ายชั่วคราว6 ยกเว้นบนพื้นฐานของเกณฑ์เรื่อง ระยะเวลาของการไม่อยู่7จากถิ่นเดิมหรือ ระยะเวลาของการอยู่8ที่ถิ่นปลายทาง โดยทั่วไป การเคลื่อนย้ายเชิงภูมิศาสตร์ไม่รวมการเดินทางระยะสั้นซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนที่อยู่ปรกติ ถึงแม้ว่าการเคลื่อนย้ายเช่นนั้นอาจควรค่ากับการศึกษาเพราะว่ามีความสำคัญทางเศรษฐกิจและสังคม การเดินทางไปกลับ9เกี่ยวข้องกับการเดินทางประจำวันหรือทุกสัปดาห์จากสถานที่อยู่อาศัยไปยังสถานที่ทำงานหรือที่เรียนหนังสือ การเคลื่อนย้ายตามฤดูกาล10เป็นการเคลื่อนย้ายเป็นช่วงๆ ในแต่ละปี การย้ายผ่าน11ซึ่งเป็นการเคลื่อนย้ายข้ามเขตแดนหนึ่งเพื่อไปถึงจุดหมายปลายทางไม่เกี่ยวข้องกับการย้ายถิ่นในแง่ของเขตแดนที่ข้ามมา การเดินทางท่องเที่ยว12 หรือการ พักผ่อน12ก็ไม่รวมอยู่ในการเคลื่อนย้ายเชิงภูมิศาสตร์เช่นกัน

  • 1. การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่แตกต่างกับการเคลื่อนย้ายทางสังคม (920-4) และการเคลื่อนย้ายทางอาชีพ (921-3)
  • 3. คำว่าการย้ายถิ่น หมายถึงกระบวนการที่จะอธิบายการเคลื่อนย้ายบางประเภท นักวิชาการบางท่านมองว่าการเคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัย (803-6) เป็นการย้ายถิ่น อย่างไรก็ตามการย้ายถิ่นจะต้องเกี่ยวข้องกับการข้ามพรมแดนและหน่วยการบริหารซึ่งเรียกว่าพื้นที่นิยามการย้ายถิ่น
  • 5. จะใช้คำว่าประเทศที่มาถึง และประเทศที่รองรับเมื่อการย้ายถิ่นระหว่างประเทศเป็นหัวข้อที่ศึกษา
  • 9. ผู้เดินทางไปกลับคือผู้ที่เดินทางเป็นประจำจากพื้นที่ที่อยู่อาศัยของตนไปยังพื้นที่ที่ตนทำงาน ศัพท์คำว่าการเดินทางไปทำงานก็มีการใช้กันเพื่ออธิบายการเดินทางประเภทนี้
  • 10. การเคลื่อนย้ายตามฤดูกาลมีความถูกต้องมากวาคำที่ใช้กันบ่อยๆ คือการย้ายถิ่นตามฤดูกาลเนื่องจากการเคลื่อนย้ายประเภทนี้จะไม่ค่อยเกี่ยวกับการเปลี่ยนที่อยู่อาศัยปรกติ

802

เมื่อมีข้อมูลการย้ายถิ่นในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เราจะสามารถเปรียบเทียบ สถานที่อยู่อาศัย ณ วันเวลาในอดีตที่ระบุไว้1 หรือ สถานที่อยู่อาศัยครั้งสุดท้าย2 กับ สถานที่อยู่ปัจจุบัน3 บุคคลซึ่งมีหน่วยการบริหารของที่อยู่อาศัยแตกต่างกันเมื่อเริ่มต้นและเมื่อสิ้นสุดของช่วงเวลาหนึ่ง จะเรียกว่าเป็น ผู้ย้ายถิ่น4 ผู้ย้ายถิ่นอาจจำแนกออกเป็น ผู้ย้ายถิ่นออกนอกประเทศ5 หรือ ผู้ย้ายถิ่นออก5เมื่อมองจากมุมของถิ่นเดิม และเป็น ผู้ย้ายถิ่นเข้าประเทศ6 หรือ ผู้ย้ายถิ่นเข้า6เมื่อมองจากมุมของถิ่นที่อยู่ปัจจุบัน เมื่อสำมะโนหรือการสำรวจได้รวมคำถามเกี่ยวกับ สถานที่อยู่อาศัยก่อน2 ข้อมูลจะทำให้เกิดความคิดเกี่ยวกับ การย้ายถิ่นครั้งหลังสุด7 หรือ การเปลี่ยนที่อยู่อาศัยครั้งหลังสุด7ไม่ว่าจะเมื่อใด ผู้ย้ายถิ่นคือบุคคลใดก็ตามที่มีที่อยู่อาศัยก่อนหน้าในหน่วยการบริหารที่แตกต่างจากที่อยู่อาศัยปัจจุบันของเขา อย่างเช่นบุคคลหนึ่งอาจพิจารณาได้ว่าได้ ย้ายถิ่นไปยัง8ที่อยู่ปัจจุบัน และ ย้ายถิ่นออก9จากที่อยู่ก่อน ผู้ย้ายถิ่นเกิด11คือบุคคลที่มี สถานที่เกิด10อยู่ในหน่วยการบริหารที่แตกต่างจากที่อยู่อาศัยปัจจุบันของเขา ในกรณีเฉพาะบางกรณี ผู้ย้ายถิ่นอาจมีคุณสมบัติเป็น ผู้ย้ายถิ่นออกนอกประเทศด้วยเหตุผลทางการเมือง ศาสนา หรือจริยธรรม12 หรือเป็น ผู้ย้ายถิ่นเข้าประเทศด้วยเหตุผลทางการเมือง ศาสนา หรือจริยธรรม13

  • 4. กล่าวอย่างเคร่งครัด ภายใต้แนวความคิดนี้ ผู้ย้ายถิ่นต้องเกิดก่อนขณะเริ่มต้นของช่วงเวลานิยามการย้ายถิ่นและต้องมีชีวิตอยู่จนกระทั่งสิ้นสุดช่วงเวลานั้น คำนิยามนี้บางครั้งขยายไปรวมถึงบุตรที่เกิดระหว่างช่วงเวลาที่จัดให้อยู่ในพื้นที่ที่อยู่อาศัยของแม่ ณ ขณะเริ่มต้นของช่วงเวลา จำนวนผู้ย้ายถิ่นที่บันทึกไว้ไม่จำเป็นต้องเท่ากับจำนวนของการเคลื่อนย้ายซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างช่วงเวลาสำหรับบุคคลเหล่านี้ เพราะบุคคลหนึ่งอาจเคลื่อนย้ายหลายครั้งในช่วงเวลานั้น หรือแม้กระทั่งย้ายกลับมายังที่อยู่เดิม เมื่อมีการทำสำมะโนหรือสำรวจ
  • 10. ปรกติสถานที่เกิดนิยามว่าเป็นสถานที่อยู่อาศัยของแม่ ณ ขณะเวลาของการเกิด แม้นว่าประเพณีหรือจุดที่ให้บริการการคลอดบุตรอาจทำให้การคลอดบุตรอาจไปทำ ณ สถานที่อื่นก็ตาม

803

ประชากรของประเทศอธิปไตย (305-3) อาจมี การย้ายถิ่นภายในประเทศ1เมื่อทั้งถิ่นที่จากมา (801-4) และถิ่นปลายทาง (801-5) อยู่ภายในประเทศนั้นเอง หรือมี การย้ายถิ่นระหว่างประเทศ2ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อมีการข้ามเขตแดนของชาติ ศัพท์คำว่า การย้ายถิ่นภายนอกประเทศ3บางครั้งใช้ในความหมายเดียวกับการย้ายถิ่นระหว่างประเทศ การย้ายถิ่นระหว่างประเทศเรียกว่าเป็น การเข้าเมือง4 หรือ การออกเมือง5 ตามประเทศที่ศึกษาว่าเป็นประเทศปลายทางหรือประเทศต้นทาง เมื่อประเทศแบ่งออกเป็นพื้นที่ย่อย การเคลื่อนย้ายภายในเขตแดนของพื้นที่ย่อยแต่ละแห่งจะเป็น การเคลื่อนย้ายท้องถิ่น6 และทำให้เกิดศัพท์คำว่า การเคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัย6 ในขณะที่การเคลื่อนย้ายระหว่างพื้นที่ย่อยจะเรียกว่า การย้ายถิ่นเข้า7 หรือ การย้ายถิ่นออก8ขึ้นอยู่กับพื้นที่ย่อยนั้นจะพิจารณาว่าเป็นถิ่นต้นทางหรือถิ่นปลายทางของผู้ย้ายถิ่นนั้น กระแสการย้ายถิ่น9เป็นกลุ่มของผู้ย้ายถิ่นที่มีถิ่นต้นทางและถิ่นปลายทางเดียวกัน กระแสที่ใหญ่กว่าระหว่างพื้นที่ย่อยสองแห่ง เรียกว่า กระแสหลัก10 และกระแสที่เล็กกว่าเรียก กระแสทวน11

  • 1. คำนิยามของการย้ายถิ่นในย่อหน้านี้สามารถขยายออกไปรวมผู้ย้ายถิ่นที่เกี่ยวข้อง ความแตกต่างระหว่างการย้ายถิ่นภายในประเทศและระหว่างประเทศไม่แน่นอนตายตัวเสมอไป โดยเฉพาะเมื่ออาณาเขตภายในประเทศหนึ่งถูกกำหนดขึ้นอย่างอิสระโดยประเทศนั้นเอง
  • 2. การเดินทางไปกลับข้ามพรมแดนของประเทศเรียกว่าเป็นการข้ามพรมแดน ซึ่งไม่ควรใช้สับสนกับการย้ายถิ่นระหว่างประเทศ

804

เมื่อบุคคลหนึ่งย้ายถิ่นหลายครั้งในช่วงระยะเวลาหนึ่ง การเคลื่อนย้ายของเขาอาจแยกออกตาม ลำดับของการย้ายถิ่น1 ระยะเวลาของการอยู่อาศัย2หรือ ระยะเวลาของการพักอาศัย2หมายถึงช่วงเวลาระหว่างการมาถึงสถานที่นั้นและการจากไปในเวลาต่อมาไปยังจุดหมายปลายทางอีกแห่งหนึ่ง หรือหมายถึงช่วงเวลาตั้งแต่การเคลื่อนย้ายครั้งล่าสุด การย้ายถิ่นกลับ3เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายกลับไปยังพื้นที่เริ่มต้นหรือไปยังสถานที่อยู่ก่อน การย้ายถิ่นซ้ำ4หรือ การย้ายถิ่นเรื้อรัง4หมายถึงแนวโน้มที่จะย้ายถิ่นหลาย ๆ ครั้งในช่วงเวลาค่อนข้างสั้น การย้ายถิ่นชนบทสู่เมือง5บางครั้งมีรูปแบบเป็น การย้ายถิ่นอนุกรม6 การย้ายถิ่นเป็นขั้นตอน6หรือ การย้ายถิ่นเป็นขั้น6 เมื่อผู้ย้ายถิ่นมีแนวโน้มที่จะเคลื่อนย้ายไปยังเมืองใหญ่เป็นถิ่นปลายทางสุดท้ายด้วยการย้ายระยะทางสั้น ๆ เป็นอนุกรม ย้ายไปยังสถานที่ระหว่างกลางก่อนจะถึงเมืองใหญ่ หรือย้ายไปยังเมืองขนาดใหญ่ขึ้น ๆ เป็นลำดับ การย้ายถิ่นอนุกรมหลายครั้ง7ระหว่างอนุกรมของเมืองที่มีขนาดแตกต่างกัน บางครั้งใช้เมื่อการย้ายถิ่นสุทธิของแต่ละเมืองมีค่าเป็นบวกและเป็นผลมาจากการย้ายถิ่นเข้าจากภาคชนบทและเมืองที่เล็กกว่าที่มีมากกว่าการย้ายถิ่นออกไปสู่เมืองที่ใหญ่กว่า

  • 3. บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการย้ายถิ่นกลับเรียกว่าผู้ย้ายถิ่นกลับ
  • 4. เมื่อการย้ายถิ่นซ้ำเกี่ยวข้องไปยังการเคลื่อนย้ายไปยังพื้นที่ใหม่ นักวิชาการบางคนเรียกว่าการย้ายถิ่นทุติยภูมิ และผู้ย้ายถิ่นทุติยภูมิเพื่อให้แตกต่างจากคำว่าการย้ายถิ่นปฐมภูมิซึ่งเกี่ยวข้องกับการย้ายถิ่นลำดับแรกหรือผู้ย้ายถิ่นปฐมภูมิ ตรงนี้เป็นที่มาของความสับสนเนื่องจากปรกติศัพท์เหล่านี้มีความหมายเหมือนกับ 806-4

805

สิ่งที่การย้ายถิ่น (801-3) ให้แก่การเพิ่มประชากร หรือ การเพิ่มประชากรเนื่องจากการย้ายถิ่น1 (701-1) ทั้งหมดจะขึ้นอยู่กับ การย้ายถิ่นสุทธิ2 ซึ่งได้แก่ความแตกต่างระหว่างจำนวนของ ผู้มาถึง3 กับจำนวนของ ผู้จากไป4 การย้ายถิ่นสุทธิสามารถมีได้ทั้งเครื่องหมายบวกและลบ การย้ายถิ่นเข้าประเทศสุทธิ5หรือ การย้ายถิ่นเข้าสุทธิ5ใช้เมื่อผู้มาถึงมีมากกว่าผู้จากไป และ การย้ายถิ่นออกประเทศสุทธิ6หรือ การย้ายถิ่นออกสุทธิ6เมื่อเป็นกรณีตรงข้าม จำนวนรวมของผู้มาถึงและผู้จากไปในประเทศหนึ่งสามารถใช้เพื่อวัด ปริมาณของการย้ายถิ่น7 แนวความคิดที่คล้ายๆ กันที่นำไปใช้กับพื้นที่ย่อยของประเทศคือ การหมุนเวียน8ของการย้ายถิ่น กระแสสุทธิ9หรือ การแลกเปลี่ยนสุทธิ9ของการย้ายถิ่นระหว่างสองพื้นที่นิยามได้ว่าเป็นความแตกต่างระหว่างกระแสหลัก (803-9) กับกระแสทวน (803-11) ในขณะที่ การแลกเปลี่ยนการย้ายถิ่นรวม10เป็นผลรวมของกระแสและกระแสทวน

  • 2. คำนี้อาจเรียกว่าเป็นสมดุลของการย้ายถิ่น หรือสมดุลการย้ายถิ่น ควรหลีกเลี่ยงการใช้คำศัพท์อย่างเช่น "ผู้ย้ายถิ่นสุทธิ" และควรใช้วลีอย่างเช่น จำนวนสุทธิของผู้ย้ายถิ่นจะดีกว่า

806

การย้ายถิ่นตามธรรมชาติ1 การย้ายถิ่นแบบสมัครใจ1 หรือ การย้ายถิ่นเสรี1เป็นผลจากการตัดสินใจและการเลือกอย่างเสรีของผู้ย้ายถิ่น ในกรณีที่ไม่มีการย้ายถิ่นที่กระทำร่วมกัน การเคลื่อนย้ายนั้นจะหมายถึง การย้ายถิ่นส่วนบุคคล2 เมื่อทั้งครอบครัวย้ายไปด้วยกันบางครั้งใช้ศัพท์คำว่า การย้ายถิ่นครอบครัว3 การย้ายถิ่นทุติยภูมิ4หรือ การย้ายถิ่นแบบช่วยเสริม4เป็นการย้ายถิ่นที่ช่วยทำให้เกิดขึ้นโดยคนอื่น เช่นเมื่อเด็กๆ ย้ายตามหัวหน้าครอบครัวไป ตัวอย่างของการย้ายถิ่นประเภทนี้คือ การรวมสมาชิกครอบครัว9ซึ่งเป็นเรื่องการย้ายถิ่นของสมาชิกครอบครัว รวมทั้งลูกๆ ที่ไปอยู่รวมกันกับหัวหน้าครอบครัว การเคลื่อนย้ายของคนงานหรือของสมาชิกของแรงงานตามโอกาสในการจ้างงานเรียกว่าเป็น การย้ายถิ่นแรงงาน5 การเคลื่อนย้ายที่เกิดขึ้นอันเป็นผลมาจากการแต่งงานและเมื่อบุคคลเกษียณจากแรงงานเรียกว่า การย้ายถิ่นเพราะแต่งงาน6 หรือ การย้ายถิ่นเพราะออกจากการทำงาน7ตามลำดับ การย้ายถิ่นแบบลูกโซ่8หรือ การย้ายถิ่นแบบเชื่อมโยง8หมายถึงแบบแผนของการย้ายถิ่นไปยังถิ่นปลายทางเฉพาะแห่ง ที่ที่ซึ่งผู้ย้ายถิ่นมีญาติพี่น้อง (114-3*) หรือเพื่อนซึ่งอยู่อาศัยอยู่ก่อนแล้ว และเต็มใจที่จะให้ข้อมูลและความช่วยเหลือ

  • 4. แม้ศัพท์นี้บางครั้งจะใช้ในความหมายที่ต่างกัน (cf. 804-4*) ผู้ย้ายถิ่นปฐมภูมิคือบุคคลที่จะตัดสินใจย้ายถิ่นตัวจริงในขณะที่ผู้ย้ายถิ่นทุติยภูมิคือบุคคลเช่นเด็กอายุน้อยที่การย้ายถิ่นของเขาเป็นผลจากการตัดสินใจของบุคคลอื่น

807

เมื่อกลุ่มของบุคคลหรือครอบครัวตัดสินใจที่จะย้ายถิ่นไปด้วยกัน ก็จะเกิด การย้ายถิ่นแบบกลุ่มรวม1 หรือ การย้ายถิ่นกลุ่ม1 การย้ายถิ่นแบบมวลชน2เป็นการย้ายถิ่นที่มีผู้ย้ายถิ่นเป็นจำนวนมาก ศัพท์คำว่า การหลั่งไหลของคนหมู่มาก3อาจใช้สำหรับการย้ายถิ่นแบบมวลชนที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันโดยมีสาเหตุมาจากเหตุการณ์ฉุกเฉินหรือภัยพิบัติบางอย่าง

808

การย้ายถิ่นแบบสมัครใจ (806-1) ตรงข้ามกับ การขยายถิ่นแบบบังคับ1ซึ่งบุคคลถูกบังคับโดยผู้มีอำนวจของรัฐให้เคลื่อนย้าย การส่งกลับ2เป็นการบังคับให้บุคคลกลับคืนสู่ประเทศเดิมของตน อีกตัวอย่างหนึ่งของการย้ายถิ่นแบบบังคับคือ การขับออก3จากสถานที่พักอาศัยทั้งที่ขับออกเป็นรายบุคคลหรือกลุ่มคนหมดทั้งกลุ่ม คำว่า การอพยพ4โดยทั่วไปใช้สำหรับการเคลื่อนย้ายประชากรทั้งหมดเพื่อที่จะป้องกันภัยจากภัยพิบัติบางอย่าง เช่นแผ่นดินไหว อุทกภัย ปฏิบัติการสงคราม หรือภัยอย่างอื่น ปรกติ ผู้ลี้ภัย5จะย้ายถิ่นโดยความตั้งใจของตนเอง แม้ว่าจะมีความกดดันอย่างแรงที่ทำให้ต้องย้ายออกเพราะว่าหากยังขืนอยู่ในประเทศของเขาต่อไปก็อาจเกิดอันตรายจากการถูกข่มเหง ผู้พลัดถิ่น6คือบุคคลที่ถูกเคลื่อนย้ายโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐจากถิ่นเดิมของตน การเคลื่อนย้ายนี้อาจเกิดขึ้นโดยเป็นผลมาจาก การพลัดถิ่นของประชากร7ขนาดใหญ่ หรือ การเคลื่อนย้ายประชากร7 หรือ การแลกเปลี่ยนประชากร8

  • 3. ผู้ถูกขับไล่คือคนที่ถูกขับไล่ออกไป ศัพท์คำว่าการส่งตัวกลับใช้สำหรับการขับไล่บุคคลออกจากประเทศที่เขาอาศัยอยู่เพราะว่าการยังคงอยู่ในที่อาศัยเดิมของเขาไม่เป็นที่ต้องการของรัฐนั้น
  • 4. ผู้อพยพ คือบุคคลผู้ถูกอพยพ

809

กระบวนการซึ่งผู้ย้ายถิ่นเข้าประเทศปรับตัวให้เข้ากับเงื่อนไขต่างๆ ในพื้นที่ปลายทางจัดอยู่ในหลายประเภท การโอนสัญชาติ (331-1) คือการร้องขอให้ตนได้เป็นราษฎรตามกฎหมาย การซึมซับ1คือการเข้าสู่กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีผลผลิต การกลมกลืน3คือการบูรณาการเข้าสู่โครงสร้างทางสังคมในแง่ของความเสมอภาค และ การดูดซึมทางวัฒนธรรม2คือการรับเอาประเพณีและค่านิยมของประชากรในถิ่นปลายทาง

810

เมื่อผู้ย้ายถิ่นเข้าประเทศจากเขตแดนหนึ่งไม่ผสานกลมกลืนในประเทศที่เข้าไปอยู่ใหม่ หากแต่ยังคงประเพณีของถิ่นเดิม (801-3) ของตนไว้ จะเรียกว่า พวกอาณานิคม1 เมื่อประเทศปลายทางมีคนอาศัยอยู่ก่อนแล้ว ก็จะเกิดปัญหาของการ อยู่ร่วมกัน2ระหว่างประชากรต่างกลุ่มกัน ปัญหาเหล่านี้อาจแก้โดย การหลอมรวม3ของประชากรเหล่านั้น ได้แก่ด้วยการทำให้ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดหายไป หรือด้วยการ บูรณาการ4ของประชากรกลุ่มหนึ่งเข้าไปสู่ประชากรกลุ่มอื่นๆ การแบ่งเขต5มีอยู่ในดินแดนที่ประชากรสองกลุ่มหรือมากกว่านั้นอาศัยอยู่แต่แยกจากกันโดยอุปสรรคขัดขวางที่เกิดขึ้นโดยประเพณีหรือโดยอำนาจของกฎหมาย

  • 1. การจัดตั้งอาณานิคมใช้ในความหมายในการจัดตั้งดินแดนใหม่ด้วย
  • 5. ในกรณีสุดโต่ง ความขัดแย้งอาจส่งผลให้เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ คือความพยายามโดยประชากรกลุ่มหนึ่งที่จะทำลายล้างประชากรกลุ่มอื่น

811

นโยบายการย้ายถิ่น1เป็นด้านหนึ่งของนโยบายประชากร (105-2) ประเทศส่วนมากใช้ กฎหมายตรวจคนเข้าประเทศ2จำกัดการเข้ามาของคนต่างชาติ กฎหมายเหล่านี้มักมีช่องว่างไว้สำหรับ การเข้าประเทศที่คัดสรร3ของบุคคลที่มีคุณลักษณะเฉพาะบางอย่าง บางประเทศวาง ระบบโควต้า4ซึ่งกำหนดจำนวนคนเข้าประเทศตาม ชาติกำเนิด5 มาตรการที่ออกแบบให้มีอิทธิพลต่อ การกระจายตัวใหม่ของประชากร6ภายในประเทศหนึ่งโดยผ่านทางการย้ายถิ่นภายในประเทศ (803-1) ปรกติจะมีลักษณะค่อนไปทางอ้อม

* * *

ไปยัง: คำนำสู่ดีโมพีเดีย | คำแนะนำการใช้ | ดาวน์โหลด
บทที่: อารัมภบท | 1. แนวคิดทั่วไป | 2. การจัดการและการประมวลผลสถิติประชากร | 3. การกระจายตัวและการจำแนกของประชากร | 4. ภาวะการตายและการเจ็บป่วย | 5. ภาวะสมรส | 6. ภาวะเจริญพันธุ์ | 7. การเพิ่มประชากรและการทดแทน | 8. การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่ | 9. มุมมองด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชากรศาสตร์
หน้าที่: 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 20 | 21 | 22 | 23 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 40 | 41 | 42 | 43 | 50 | 51 | 52 | 60 | 61 | 62 | 63 | 70 | 71 | 72 | 73 | 80 | 81 | 90 | 91 | 92 | 93

ดึงข้อมูลจาก "http://th-ii.demopaedia.org/w/index.php?title=80&oldid=770"