The Demopædia Encyclopedia on Population is under heavy modernization and maintenance. Outputs could look bizarre, sorry for the temporary inconvenience

พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาษา ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง ภาษาไทย

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "50"

จาก Demopædia
(506)
(503)
 
แถว 20: แถว 20:
  
 
ในบางประเทศการอยู่เป็นคู่ทางกฎหมายจะทำได้โดย{{TextTerm|การแต่งงานทางพลเรือน|1|503}}ที่กระทำโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐเท่านั้น ในบางประเทศ{{TextTerm|การแต่งงานทางศาสนา|2|503}}ที่เป็นไปตามกฎของศาสนาได้รับว่ามีผลในทางกฎหมาย อาจต้องมีวิธีการยอมรับทางกฎหมายและทางสังคมภายใต้เงื่อนไขต่างๆ ในแต่ละประเทศเพื่อคู่อยู่กินด้วยกันซึ่งไม่มีพิธีการทางกฎหมายหรือทางศาสนาเคร่งครัดมีความมั่นคงขึ้น ตัวอย่างเช่น {{TextTerm|การแต่งงานเชิงประเพณี|3|503|IndexEntry=การแต่งงานเชิงประเพณี}} หรือ{{TextTerm|การแต่่งงานโดยกฎที่ยอมรับ|3|503|2|IndexEntry=การแต่่งงานโดยกฎที่ยอมรับ}}ตามประเพณีท้องถิ่น ประเภทของความสัมพันธ์แบบต่างๆ และการยอมรับทางสังคมระดับต่างๆ นัยยะในศัพท์ที่ใช้กับการอยู่เป็นคู่แบบต่างๆ แต่ความสำคัญของคำเหล่านี้ผันแปรแตกต่างกันอย่างมากในแต่ละประเทศ ศัพท์คำว่า{{TextTerm|การอยู่เป็นคู่แบบสมยอม|4|503}}มีนัยยะว่าคู่อยู่กินนั้นได้รับการยอมรับทางสังคม ศัพท์คำว่า{{TextTerm|การแต่งงานฉันท์เพื่อน|4|503|2}}ก็มีความหมายคล้ายๆ กันนั้น ศัพท์คำว่า{{TextTerm|การอยู่เป็นคู่แบบเสรี|5|503}} และ{{TextTerm|การอยู่เป็นคู่ชั่วคราว|6|503}} ทั้งสองคำนี้มีนัยยะว่าคู่อยู่กินนั้นไม่เป็นการถาวร ซึ่งอาจรวมหรือไม่รวม{{TextTerm|การอยู่กินด้วยกัน|7|503}}ไว้ด้วยก็ได้ บุคคลสองคนเพศตรงข้ามกันอยู่ด้วยกันแบบเป็นคู่มั่นคง ไม่ว่าจะตามกฎหมายหรือไม่เรียกว่า{{TextTerm|คู่|8|503}} ศัพท์คำว่า{{TextTerm|การอยู่เป็นคู่เยี่ยงสามีภรรยา|8|503|2}}ใช้โดยนักประชากรศาสตร์เพื่อรวบรวมการอยู่เป็นคู่ทั้งที่ตามกฎหมายและพวกที่อยู่เป็นคู่มั่นคงที่ไม่ตามกฎหมาย
 
ในบางประเทศการอยู่เป็นคู่ทางกฎหมายจะทำได้โดย{{TextTerm|การแต่งงานทางพลเรือน|1|503}}ที่กระทำโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐเท่านั้น ในบางประเทศ{{TextTerm|การแต่งงานทางศาสนา|2|503}}ที่เป็นไปตามกฎของศาสนาได้รับว่ามีผลในทางกฎหมาย อาจต้องมีวิธีการยอมรับทางกฎหมายและทางสังคมภายใต้เงื่อนไขต่างๆ ในแต่ละประเทศเพื่อคู่อยู่กินด้วยกันซึ่งไม่มีพิธีการทางกฎหมายหรือทางศาสนาเคร่งครัดมีความมั่นคงขึ้น ตัวอย่างเช่น {{TextTerm|การแต่งงานเชิงประเพณี|3|503|IndexEntry=การแต่งงานเชิงประเพณี}} หรือ{{TextTerm|การแต่่งงานโดยกฎที่ยอมรับ|3|503|2|IndexEntry=การแต่่งงานโดยกฎที่ยอมรับ}}ตามประเพณีท้องถิ่น ประเภทของความสัมพันธ์แบบต่างๆ และการยอมรับทางสังคมระดับต่างๆ นัยยะในศัพท์ที่ใช้กับการอยู่เป็นคู่แบบต่างๆ แต่ความสำคัญของคำเหล่านี้ผันแปรแตกต่างกันอย่างมากในแต่ละประเทศ ศัพท์คำว่า{{TextTerm|การอยู่เป็นคู่แบบสมยอม|4|503}}มีนัยยะว่าคู่อยู่กินนั้นได้รับการยอมรับทางสังคม ศัพท์คำว่า{{TextTerm|การแต่งงานฉันท์เพื่อน|4|503|2}}ก็มีความหมายคล้ายๆ กันนั้น ศัพท์คำว่า{{TextTerm|การอยู่เป็นคู่แบบเสรี|5|503}} และ{{TextTerm|การอยู่เป็นคู่ชั่วคราว|6|503}} ทั้งสองคำนี้มีนัยยะว่าคู่อยู่กินนั้นไม่เป็นการถาวร ซึ่งอาจรวมหรือไม่รวม{{TextTerm|การอยู่กินด้วยกัน|7|503}}ไว้ด้วยก็ได้ บุคคลสองคนเพศตรงข้ามกันอยู่ด้วยกันแบบเป็นคู่มั่นคง ไม่ว่าจะตามกฎหมายหรือไม่เรียกว่า{{TextTerm|คู่|8|503}} ศัพท์คำว่า{{TextTerm|การอยู่เป็นคู่เยี่ยงสามีภรรยา|8|503|2}}ใช้โดยนักประชากรศาสตร์เพื่อรวบรวมการอยู่เป็นคู่ทั้งที่ตามกฎหมายและพวกที่อยู่เป็นคู่มั่นคงที่ไม่ตามกฎหมาย
{{Note|3| {{NoteTerm|การเป็นภรรยาน้อย}} (concubinage) การอยู่กินอยางไม่ถูกต้องตามกฎหมายประเภทหนึ่ง ภรรยาน้อยในความหมายที่จำกัดคือผู้หญิงที่มีสถานภาพการแต่งงานที่ยอมรับกันแล้วว่าด้อยกว่าภรรยาที่ได้รบการยอมรับตามกฎหมาย โดยเฉพาะในสังคมที่ผู้ชายสามารถมีภรรยาได้หลายคน (polygynous)  ในบางสังคม คำว่าภรรยาน้อยบางครั้งใช้อย่างหลวมๆ เพื่อหมายถึงผู้หญิงคนอื่นที่ไม่ใช่ภรรยาที่อยู่กินกับผู้ชาย  ทุกวันนี้นิยมใช้ศัพท์คำว่า{{NoteTerm|เพื่อนใจ}} หรือ{{NoteTerm|เพื่อน}}มากกว่า}}
+
{{Note|3| {{NoteTerm|การเป็นภรรยาน้อย}} (concubinage) การอยู่กินอยางไม่ถูกต้องตามกฎหมายประเภทหนึ่ง ภรรยาน้อยในความหมายที่จำกัดคือผู้หญิงที่มีสถานภาพการแต่งงานที่ยอมรับกันแล้วว่าด้อยกว่าภรรยาที่ได้รับการยอมรับตามกฎหมาย โดยเฉพาะในสังคมที่ผู้ชายสามารถมีภรรยาได้หลายคน (polygynous)  ในบางสังคม คำว่าภรรยาน้อยบางครั้งใช้อย่างหลวมๆ เพื่อหมายถึงผู้หญิงคนอื่นที่ไม่ใช่ภรรยาที่อยู่กินกับผู้ชาย  ทุกวันนี้นิยมใช้ศัพท์คำว่า{{NoteTerm|เพื่อนใจ}} หรือ{{NoteTerm|เพื่อน}}มากกว่า}}
  
 
=== 504 ===
 
=== 504 ===

รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 16:21, 13 มกราคม 2557


ข้อความปฏิเสธความรับผิดชอบ : ผู้สนับสนุนทั้งหลายของดีโมพีเดียไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับความหมายของศัพท์ต่างๆ ที่อยู่ในพจนานุกรมฉบับปรังปรุงนี้

พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาพ ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง ยังอยู่่ระหว่างการดำเนินงาน หากต้องการเสนอข้อคิดเห็นใดๆ กรุณาใช้พื้นที่อภิปราย


ไปยัง: คำนำสู่ดีโมพีเดีย | คำแนะนำการใช้ | ดาวน์โหลด
บทที่: อารัมภบท | 1. แนวคิดทั่วไป | 2. การจัดการและการประมวลผลสถิติประชากร | 3. การกระจายตัวและการจำแนกของประชากร | 4. ภาวะการตายและการเจ็บป่วย | 5. ภาวะสมรส | 6. ภาวะเจริญพันธุ์ | 7. การเพิ่มประชากรและการทดแทน | 8. การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่ | 9. มุมมองด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชากรศาสตร์
หน้าที่: 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 20 | 21 | 22 | 23 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 40 | 41 | 42 | 43 | 50 | 51 | 52 | 60 | 61 | 62 | 63 | 70 | 71 | 72 | 73 | 80 | 81 | 90 | 91 | 92 | 93


501

การศึกษาเกี่ยวกับ ภาวะสมรส1จะเกี่ยวกับความถึ่ของ การแต่งงาน2 นั่นคือ การอยู่เป็นคู่3ระหว่างเพศตรงข้ามกันซึ่งเกี่ยวข้องกับสิทธิและข้อผูกพันที่กำหนดไว้โดยกฎหมายหรือประเพณี เกี่ยวกับลักษณะของบุคคลอยู่รวมกันในการแต่งงาน และเกี่ยวกับการแยกกันของคู่เช่นนั้น การศึกษาเรื่องนี้อาจขยายต่อไปให้รวมถึงการศึกษาเกี่ยวกับการอยู่เป็นคู่ฉันท์สามีภรรยา (503-8) รูปแบบอื่นๆ เมื่อความถี่ของการอยู่เป็นคู่เช่นนั้นทำให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องรวมไว้ด้วย การแต่งงาน4 หรือ การสมรส4เป็นพิธีการที่กำหนดขึ้นโดยกฎหมายหรือประเพณีซึ่งทำให้การอยู่เป็นคู่ระหว่างผู้ชายกับผู้หญิงเช่นนั้นเรียกว่า คู่ครอง5 ได้แก่ สามี6และ ภรรยา7 คู่ครองที่อยู่ด้วยกันเรียกว่า คู่แต่งงาน8

  • 6. ผู้ชายเมื่อขณะการแต่งงานเรียกเจ้าบ่าว
  • 7. ผู้หญิงเมื่อขณะการแต่งงานเรียกเจ้าสาว

502

กฎหมายแต่งงาน1 หรือ ประเพณีแต่งงาน2แตกต่างกันไปในแต่ละสังคม สังคมที่บุคคลหนึ่งอาจแต่งงานกับบุคคลเพศตรงข้ามได้เพียงคนเดียวเรียกว่า การมีคู่ครองคนเดียว3 สังคมที่บุคคลหนึ่งอาจแต่งงานกับหลายคนพร้อมๆ กันเรียกว่า การมีคู่ครองหลายคน4 มีความแตกต่างระหว่างสังคม การมีสามีหลายคน5ซึ่งผู้หญิคนหนึ่งอาจมีสามีหลายคน กับสังคม การมีภรรยาหลายคน6ซึ่งผู้ชายคนหนึ่งอาจมีภรรยาหลายคน ศัพท์คำว่า"การมีคู่ครองหลายคน"มักใช้ในความหมายของการมีภรรยาหลายคน

503

ในบางประเทศการอยู่เป็นคู่ทางกฎหมายจะทำได้โดย การแต่งงานทางพลเรือน1ที่กระทำโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐเท่านั้น ในบางประเทศ การแต่งงานทางศาสนา2ที่เป็นไปตามกฎของศาสนาได้รับว่ามีผลในทางกฎหมาย อาจต้องมีวิธีการยอมรับทางกฎหมายและทางสังคมภายใต้เงื่อนไขต่างๆ ในแต่ละประเทศเพื่อคู่อยู่กินด้วยกันซึ่งไม่มีพิธีการทางกฎหมายหรือทางศาสนาเคร่งครัดมีความมั่นคงขึ้น ตัวอย่างเช่น การแต่งงานเชิงประเพณี3 หรือ การแต่่งงานโดยกฎที่ยอมรับ3ตามประเพณีท้องถิ่น ประเภทของความสัมพันธ์แบบต่างๆ และการยอมรับทางสังคมระดับต่างๆ นัยยะในศัพท์ที่ใช้กับการอยู่เป็นคู่แบบต่างๆ แต่ความสำคัญของคำเหล่านี้ผันแปรแตกต่างกันอย่างมากในแต่ละประเทศ ศัพท์คำว่า การอยู่เป็นคู่แบบสมยอม4มีนัยยะว่าคู่อยู่กินนั้นได้รับการยอมรับทางสังคม ศัพท์คำว่า การแต่งงานฉันท์เพื่อน4ก็มีความหมายคล้ายๆ กันนั้น ศัพท์คำว่า การอยู่เป็นคู่แบบเสรี5 และ การอยู่เป็นคู่ชั่วคราว6 ทั้งสองคำนี้มีนัยยะว่าคู่อยู่กินนั้นไม่เป็นการถาวร ซึ่งอาจรวมหรือไม่รวม การอยู่กินด้วยกัน7ไว้ด้วยก็ได้ บุคคลสองคนเพศตรงข้ามกันอยู่ด้วยกันแบบเป็นคู่มั่นคง ไม่ว่าจะตามกฎหมายหรือไม่เรียกว่า คู่8 ศัพท์คำว่า การอยู่เป็นคู่เยี่ยงสามีภรรยา8ใช้โดยนักประชากรศาสตร์เพื่อรวบรวมการอยู่เป็นคู่ทั้งที่ตามกฎหมายและพวกที่อยู่เป็นคู่มั่นคงที่ไม่ตามกฎหมาย

  • 3. การเป็นภรรยาน้อย (concubinage) การอยู่กินอยางไม่ถูกต้องตามกฎหมายประเภทหนึ่ง ภรรยาน้อยในความหมายที่จำกัดคือผู้หญิงที่มีสถานภาพการแต่งงานที่ยอมรับกันแล้วว่าด้อยกว่าภรรยาที่ได้รับการยอมรับตามกฎหมาย โดยเฉพาะในสังคมที่ผู้ชายสามารถมีภรรยาได้หลายคน (polygynous) ในบางสังคม คำว่าภรรยาน้อยบางครั้งใช้อย่างหลวมๆ เพื่อหมายถึงผู้หญิงคนอื่นที่ไม่ใช่ภรรยาที่อยู่กินกับผู้ชาย ทุกวันนี้นิยมใช้ศัพท์คำว่าเพื่อนใจ หรือเพื่อนมากกว่า

504

ในหลายประเทศ อายุแต่งงานต่ำสุด1กำหนดไว้โดยกฎหมาย อายุขั้นต่ำแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศและอาจแตกต่างกันระหวางเพศทั้งสอง การแต่งงานในกลุ่มคนที่มีสายเลือดใกล้ชิดกันเรียกว่าเป็น การแต่งงานแบบร่วมสายโลหิตเดียวกัน2 และโดยทั่วไปจะถูกห้ามโดยกฎหมายหรือโดยประเพณี บุคคลผู้ถูกห้ามมิให้แต่งงานกันด้วยเหตุผลนี้กล่าวได้ว่าอยู่ภายใน ระดับของการร่วมสายโลหิต3ที่ถูกห้าม

505

ในบางประเทศ หมายแจ้งการแต่งงาน1 หรือ เจตนาแต่งงาน1เป็นสิ่งจำเป็นก่อนที่จะมีการแต่งงาน (501-4) เป็นการแจ้งต่อสาธารณะให้บุคคลที่สนใจซึ่งอาจคัดค้านการแต่งงานนั้นถ้ามีเหตุผลที่จะทำเช่นนั้น ในหลายประเทศ ใบอนุญาตแต่งงาน2ต้องได้รับก่อนที่จะมีพิธีแต่งงาน ปรกติ ใบทะเบียนสมรส3จะนำส่งให้แก่ คู่แต่งงานใหม่4หลังจากพิธีกรรม ความสมบูรณ์ของการแต่งงาน5เกิดขึ้น หรือการแต่งงานได้สำเร็จบริบูรณ์เมื่อคู่แต่งงานได้มีความสัมพันธ์ทางเพศกันแล้ว

  • 1. ก่อนที่จะมีพิธีแต่งงาน คู่สมรสในอนาคตจะหมั้น หรือทำสัญญา (betrothed) กันไว้ก่อน ศัพท์คำนี้มาจากประเพณีที่มีการหมั้น หรือการทำสัญญาว่าจะแต่งงาน (betrothal) ซึ่งจะมีการแลกเปลี่ยนอย่างเป็นทางการในเรื่องสัญญาที่จะแต่งงานกัน

506

การแต่งงานในกลุ่ม1คงอยู่ในที่ทั้งคู่แต่งงานอยู่ในกลุ่มเดียวกัน (เช่น เผ่า วงศ์ตระกูล) ศัพท์คำนี้ใช้เพื่อหมายถึงความโน้มเอียงที่คู่แต่งงานจะเป็นสมาชิกของกลุ่มพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ หรือกลุ่มสังคมเดียวกัน หรือ กลุ่มคนที่แยกออกต่างหาก2 ซึ่งโดยทั่วไปจะมีขนาดจำกัด ลักษณะหรือความโน้มเอียงในทางตรงข้ามเรียกว่า การแต่งงานนอกกลุ่ม3 การแต่งงานผสม4คือการแต่งงานระหว่างบุคคลที่มีสัญชาติต่างกัน เชื้อชาติต่างกัน ศาสนาต่างกัน ฯลฯ เมื่อการแต่งงานเป็นการจับคู่ระหว่างบุคคลที่มีลักษณะเหมือนกันทางสังคม ทางกายภาพ หรือทางจิตใจ จะเรียกว่า การแต่งงานสมลักษณ์5 ตรงข้ามกับคำนี้เรียกว่า การแต่งงานต่างลักษณ์6

* * *

ไปยัง: คำนำสู่ดีโมพีเดีย | คำแนะนำการใช้ | ดาวน์โหลด
บทที่: อารัมภบท | 1. แนวคิดทั่วไป | 2. การจัดการและการประมวลผลสถิติประชากร | 3. การกระจายตัวและการจำแนกของประชากร | 4. ภาวะการตายและการเจ็บป่วย | 5. ภาวะสมรส | 6. ภาวะเจริญพันธุ์ | 7. การเพิ่มประชากรและการทดแทน | 8. การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่ | 9. มุมมองด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชากรศาสตร์
หน้าที่: 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 20 | 21 | 22 | 23 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 40 | 41 | 42 | 43 | 50 | 51 | 52 | 60 | 61 | 62 | 63 | 70 | 71 | 72 | 73 | 80 | 81 | 90 | 91 | 92 | 93

ดึงข้อมูลจาก "http://th-ii.demopaedia.org/w/index.php?title=50&oldid=829"