The Demopædia Encyclopedia on Population is under heavy modernization and maintenance. Outputs could look bizarre, sorry for the temporary inconvenience

พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาษา ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง ภาษาไทย

35

จาก Demopædia


ข้อความปฏิเสธความรับผิดชอบ : ผู้สนับสนุนทั้งหลายของดีโมพีเดียไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับความหมายของศัพท์ต่างๆ ที่อยู่ในพจนานุกรมฉบับปรังปรุงนี้

พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาพ ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง ยังอยู่่ระหว่างการดำเนินงาน หากต้องการเสนอข้อคิดเห็นใดๆ กรุณาใช้พื้นที่อภิปราย


ไปยัง: คำนำสู่ดีโมพีเดีย | คำแนะนำการใช้ | ดาวน์โหลด
บทที่: อารัมภบท | 1. แนวคิดทั่วไป | 2. การจัดการและการประมวลผลสถิติประชากร | 3. การกระจายตัวและการจำแนกของประชากร | 4. ภาวะการตายและการเจ็บป่วย | 5. ภาวะสมรส | 6. ภาวะเจริญพันธุ์ | 7. การเพิ่มประชากรและการทดแทน | 8. การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่ | 9. มุมมองด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชากรศาสตร์
หน้าที่: 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 20 | 21 | 22 | 23 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 40 | 41 | 42 | 43 | 50 | 51 | 52 | 60 | 61 | 62 | 63 | 70 | 71 | 72 | 73 | 80 | 81 | 90 | 91 | 92 | 93


350

โดยทั่วไปมีการแสดงความแตกต่างระหว่าง ประชากรกำลังแรงงาน1 หรือ ประชากรทำงานในเชิงเศรษฐกิจ1 กับ ประชากรว่างงาน2 หรือ ประชากรที่ไม่ได้ทำงานในเชิงเศรษฐกิจ2 กล่าวโดยทั่วไป ประชากรกำลังทำงานประกอบด้วยบุคคลที่ประกอบ กิจกรรมที่มีผลประโยชน์3 กิจกรรมที่มีผลประโยชน์หรือ กิจกรรมเชิงเศรษฐกิจ3ที่ทำงานบ้านที่ไม่ได้รับค่าจ้าง นักเรียนนักศึกษา คนงานที่เกษียณแล้ว ฯลฯ ปรกติจะไม่ถูกรวมไว้ในประชากรกลุ่มนี้ บางครั้งสมาชิกของประชากรที่ไม่ได้ทำงานเชิงเศรษฐกิจหมายถึง ผู้พึ่งพิง5 (358-1) ในความหมายที่ว่าพวกเขาดำรงชีพอยู่ได้โดยอาศัยผลผลิตของประชากรกำลังทำงาน (อย่างไรก็ตาม ดูความหมายที่ต่างกันของศัพท์คำนี้ที่กล่าวไว้ในย่อหน้า 358) อัตราส่วนของประชากรกำลังทำงานต่อประชากรทั้งหมด ที่โดยปรกติคำนวณเฉพาะกลุ่มเพศ-อายุ หรือกลุ่มเฉพาะอื่นๆ เรียกว่าเป็น อัตราส่วนกิจกรรม6 หรือ อัตราส่วนการมีส่วนร่วมในแรงงาน6

  • 1. The terms gainfully occupied population, gainful workers, labor force are used as synonyms for working population and economically active population.
    For statistical measurement of the working population, the gainful worker concept or the labor force concept may be used. According to the gainful worker concept, the working population is defined as being composed of those persons who have a gainful activity which they normally exercise. According to the labor force concept, it is defined as the group of persons who were working at a gainful occupation or wanting or seeking such work during a specified period preceding the inquiry.

351

คนงาน1ซึ่งประกอบขึ้นเป็นประชากรกำลังทำงานสามารถจำแนกออกเป็นกลุ่ม มีงานทำ2 หรือ ว่างงาน3 ภายใต้แนวความคิดเรื่องแรงงาน (350-1 *) ปรกติบุคคลที่ กำลังหางาน4หรือถูกปลดออกจากงานชั่วคราวในช่วงเวลาที่ระบุไว้เท่านั้นที่จะนับว่าเป็นคนว่างงาน ประชากรมีงานทำ5ประกอบด้วยคนที่ปัจจุบันกำลังทำงานเพื่อค่าจ้างหรือผลกำไร ในกลุ่มประชากรทำงานเชิงเศรษฐกิจ จะมีคนงานจำนวนมากที่อาจถูกบังคับโดยสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศหรือของช่วงเวลานั้นให้ต้องทำงานน้อยลงกว่าที่พวกเขามีความสามารถและเต็มใจที่จะทำได้ กรณีเช่นนี้ใช้ศัพท์คำว่า การทำงานต่ำระดับ6หรือ การว่างงานบางส่วน6 คนงานทางเลือกสุดท้าย7ที่เข้าร่วมในกิจกรรมทางเศษฐกิจเพียงบางครั้งบางคราวมักจะไม่จัดอยู่ในแรงงานภายใต้แนวความคิดเรื่องคนงานที่เกิดผลประโยชน์ (350-1 *)

  • 2. Employed, n. and adj. - employment, n.: situation of an individual exercising an economic activity. Employment status refers to the classification as either employed or unemployed.
  • 3. Unemployed, n. and adj. - unemployment, n.
  • 6. One refers occasionally to underutilization of the labor force. Under-employ-ment and underutilization also sometimes refer to the situation of persons who perform below their level of qualification.

352

การจำแนกอาชีพ1ของประชากรกำลังทำงาน (350-1) แสดงสมาชิกที่จัดรวมเป็นกลุ่มโดย อาชีพ2 ความคล้ายกันของงานที่ทำโดยคนงาน รวมทั้งความคล้ายกันของทักษะความชำนาญและการฝึกอบรมที่จำเป็นสำหรับงานนั้นเป็นเกณฑ์ที่ใช้ในการจัดกลุ่มอาชีพต่างๆ ให้เป็น กลุ่มอาชีพ3 หรือ ชั้นทางอาชีพ3

  • 1. เพื่อวัตถุประสงค์ของการเปรียบเทียบ องค์การแรงงานระหว่างประเทศได้จัดเตรียม International Standard Classification of Occupations ไว้ให้

353

ปรกติ แม่แบบ:NonRefText (350-1) จะจำแนกประเภทออกตาม สถานภาพงาน1 ในการจำแนกประเภทอย่างนี้ นายจ้าง2จะแตกต่างจาก ลูกจ้าง3ในด้านหนึ่ง และแตกต่างจาก คนทำงานของตนเอง4 หรือ คนทำงานอิสระ4ในอีกด้านหนึ่ง คนทำงานอิสระไม่ใช้แรงงานที่ทำงานเพื่อค่าจ้าง หากแต่อาจได้รับการช่วยทำงานจาก คนทำงานในครอบครัว5 หรือ ผู้ช่วยในครอบครัว5โดยไม่ต้องจ่ายค่าจ้าง ปรกติแรงงานในครอบครัวเหล่านี้จะแยกออกเป็นกลุ่มต่างหาก ส่วนผสมของการจำแนกประเภทตามสถานภาพงานและอาชีพอาจใช้เพื่อสร้าง ประเภทสถานภาพทางสังคม6

  • 1. The classification by status (as employer, employee, etc.) is designated by many different terms in the censuses of various countries, including "industrial status", "states in employment", "position in industry," "class of worker," etc.
  • 2. Managers are sometimes counted with employers though they are themselves employed.

354

กลุ่มย่อยของแรงงานประเภทลูกจ้าง (353-3) บางครั้งแยกออกให้แตกต่างกัน หนึ่งในกลุ่มย่อยเหล่านั้นคือ คนงานบ้าน1ที่ทำงานในบ้านของตนเอง บางครั้งทำงานให้กับนายจ้างหลายคน ในกลุ่มลูกจ้าง บางครั้งแยกความแตกต่างระหว่าง คนงานด้วยมือ2 และ คนงานไม่ได้ด้วยมือ3 หรือ คนงานเสมียนและสำนักงาน3 คนงานด้วยมืออาจแบ่งย่อยออกไปอีกตาม ทักษะ4ของคนงานเป็น คนงานฝีมือ5 คนงานกึ่งฝีมือ6 และ คนงานไร้ฝีมือ7 ผู้ฝึกงาน8บางครั้งจัดอยู่ในประเภทย่อยของลูกจ้าง

  • 2. Another type of classification of employees is that which distinguishes between wage earners who are paid daily or weekly and salaried employees who are paid monthly or at even less frequent intervals. The statistics of the United States distinguish four broad occupational categories: white collar workers; blue collar workers, including craftsmen, operatives and non-farm laborers; service workers; and farm workers (cf. 356).
  • 7. A laborer is an unskilled worker, who does very heavy physical work.

355

ในกลุ่มลูกจ้าง (353-3) มักจะแยกความแตกต่างระหว่าง คนงานฝ่ายจัดการ1ผู้ตัดสินใจด้านนโยบาย คนงานฝ่ายบริหาร2ผู้นำนโยบายมาสู่การปฏิบัติ และ ผู้คุมงาน3 หรือ โฟร์แมน3ผู้ปฏิบัติงานโดยตรง

  • 1. The term executive in the United States of America refers to a member of the managerial staff.

356

ใช้การจัดประเภทพิเศษในสาขาการเกษตร ชาวนา1 หรือ คนทำนา1 คือคนที่ทำงานในนาเพื่อผลกำไร ในกลุ่มชาวนา เราแยกระหว่าง เจ้าของที่นา2ผู้เป็นเจ้าของที่ดิน และ ผู้เช่านา3ผู้เช่าที่ดินจากเจ้าของที่ดินนั้น และ เกษตรกรผู้แบ่งผลผลิต3ผู้ให้ส่วนหนึ่งของผลผลิตทางการเกษตรเพื่อตอบแทนการใช้ที่ดินและปศุสัตว์ แรงงานทางการเกษตร4คือบุคคลที่กำลังทำงานที่ชาวนาเป็นผู้จ้าง

  • 2. A farm manager who is salaried is generally classed as a farmer.
  • 3. In Scotland a small farmer is sometimes called a crofter. A farmer with a very small farm is also known as a smallholder.
  • 4. Agricultural laborers are of three general types: fulltime agricultural laborers, day laborers, and seasonal agricultural laborers. This last category often consists of migrant laborers.

357

ประชากรกำลังทำงานอาจจำแนกประเภทตาม อุตสาหกรรม1 หรือ สาขาของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ1 การจำแนกประเภทอย่างนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของ ธุรกิจ2 หรือ องค์กร2ซึ่งบุคคลทำงานอยู่ ความสำคัญจะอยู่ที่การแบ่งประชากรออกเป็น คนงานทางการเกษตร3 และ คนงานไม่ใช่ทางการเกษตร4 บางครั้ง ลูกจ้างรัฐบาล5และ บุคคลากรทางการทหาร6 หรือ สมาชิกของกองทัพ6 โดยทั่วไปจะแสดงแยกต่างหาก แต่ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจมีกฎนับให้อยู่ในประชากรเชิงอุตสาหกรรมที่เหลือ โดยทั่วไป อุตสาหกรรมจำแนกออกเป้น 3 ภาค ภาคปฐมภูมิ7 (เกษตรกรรม ล่าสัตว์ ประมง และทำเหมืองแร่) ภาคทุติยภูมิ8 (หัตถกรรม ก่อสร้าง และบริการ) และ ภาคตติยภูมิ9 (การพาณิชย์ การคลัง อุตสาหกรรมการขนส่ง และอุตสาหกรรมการบริการ) ในประเทศกำลังพัฒนา ภาคอุตสาหกรรมดั้งเดิม10มักใส่ไว้ในรายการแยกต่างหาก และอยู่ตรงข้ามกับภาคสมัยใหม่ของเศรษฐกิจ

  • 1. For purposes of international comparability, the United Nations have prepared an International Standard Industrial Classification of All Economic Activities.
  • 5. A civil servant is an employee (353-3) of the central government An official is an employee of a public body but the term is occasionally used for salaried employees of large companies. A distinction is often drawn between government employees and private workers.

358

ประชากรที่ไม่ทำงานเชิงเศรษฐกิจอาจแบ่งออกเป็น ผู้พึ่งพิง1 (350-5) และ บุคคลที่พึ่งตนเอง2 ผู้พึ่งพิงต้องอาศัยการสนับสนุนช่วยเหลือจาก ผู้หาเงิน3 หรือ ผู้หาเลี้ยงครอบครัว3 ตัวอย่างเช่นในกรณีของแม่บ้าน (350-4) และ เด็กๆ ที่ต้องพึ่งพิง4 บุคคลที่พึ่งตนเองมีวิธีการเพียงพอที่จะหาเลี้ยงชีพของตนได้ เขาอาจเป็น ผู้ให้เช่า5 หรือ บุคคลผู้มีวิธีการอิสระ5 ผู้เกษียณหรือ ผู้ได้รับบำนาญ6 ประเภทพิเศษของผู้พึ่งพิงได้แก่ บุคคลที่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ7 หรือ ผู้รับสวัสดิการ7 บุคคลที่ไม่สามารถทำงานได้เรียก ผู้ไม่สามารถทำงาน8 อัตราส่วนของประชากรที่ทำงานต่อประชากรที่ไม่ทำงานเรียกว่า อัตราส่วนพึ่งพิงทางเศรษฐกิจ9

  • 9. อัตราส่วนของประชากรเด็กและผู้สูงอายุต่อผู้ใหญ่เรียกว่าอัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุ

359

อาจแบ่งประเภทประชากรตามภาคของกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ประชากรทำอยู่เพื่อการดำรงชีวิต ผู้พึ่งพิงจัดไว้ในประเภทเดียวกันกับผู้หาเลี้ยงครอบครัว เราพูดถึง ประชากรพึ่งพิงต่อ1สาขากิจกรรมเฉพาะ และโดยเฉพาะของ ประชากรพึ่งพิงต่อการเกษตร2 คำว่า ประชากรทางการเกษตร2บางครั้งใช้ให้มีความหมายเดียวกันกับ ประชากรไร่นา2ซึ่งอาศัยอยู่ในไร่นา หรือพึ่งพิงการเกษตร และซึ่งแตกต่างจาก ประชากรนอกไร่นา3 หรือ ประชากรนอกการเกษตร3

360

คนอ่อนแอ1 หรือ คนพิการ1มักแสดงในสำมะโนแยกต่างหาก ประชากรเหล่านี้จะถูกจัดประเภทตามลักษณะของ ความอ่อนแอ2 หรือ ความพิการ2 ความอ่อนแอทางกาย3 หรือ ความพิการทางกาย3อย่างเช่นตาบอด หรือหูหนวก-เป็นใบ้ โดยทั่วไปจะแยกออกจาก ความอ่อนแอทางจิต4 หรือ ความพิการทางจิต4อย่างเช่นปัญญาอ่อน หรือความจำเสื่อม

361

การศึกษาเกี่ยวกับ ชีวิตการทำงาน1ของบุคคลรวมการศึกษาเกี่ยวกับ การเข้าสู่กำลังแรงงาน2 และเกี่ยวกับ การออกจากกำลังแรงงาน3 ในเรื่องการเข้าสู่แรงงาน เป็นไปได้ที่จะแยกคนที่ไม่เคยทำงานออกจากคนที่เคยเป็นกำลังแรงงานในเวลาก่อนหน้านั้น ในเรื่องการแยกออกจากแรงงานอาจทำเป็นรายการตามสาเหตุ เช่น การตาย การปลดเกษียณ4 การถอนตัวออกจากแรงงานชั่วคราว อาจทำการวิเคราะห์ตามรุ่นหรือระยะเวลา และจะเกี่ยวข้องกับ อัตราการเข้าสู่แรงงาน5 หรือ ความน่าจะเป็นของการเข้าสู่แรงงาน6 อัตราการออกจากแรงงาน7 หรือ ความน่าจะเป็นของการออกจากแรงงาน8ตามสาเหตุครั้งสุดท้าย ดัชนีเหล่านี้คำนวณตามรายอายุหรือกลุ่มอายุ

362

ดัชนีเหล่านี้ใช้ในการคิดคำนวณ ตารางของชีวิตการทำงาน1ตามรุ่นหรือตามระยะเวลา เสริมต่อความน่าจะเป็นที่ได้อธิบายไว้ในย่อหน้าก่อน ตารางนี้แสดงการกระจายตามราย อายุที่เข้าสู่แรงงาน2 และการกระจายตามราย อายุที่ออกจากแรงงาน3 (ตามสาเหตุครั้งสุดท้าย ก่อนและหลังจากดูเรื่องการตาย) อายุเฉลี่ยที่เข้าสู่แรงงาน4 และ อายุเฉลี่ยเมื่อออกจากแรงงาน5 ความคาดหวังของชีวิตการทำงาน6 ความคาดหวังรวมของชีวิตการทำงาน7 (ซึ่งไม่รวมผลกระทบของภาวะการตาย) และ ความคาดหวังสุทธิของชีวิตการทำงาน8 (ซึ่งรวมผลกระทบของภาวะการตาย) ดัชนีทั้งหมดนี้แสดงจำนวนปีเฉลี่ยของชีวิตการทำงานที่เหลืออยู่ที่ประชากรทำงานแต่ละอายุจะมี สำหรับคนที่เข้าสู่แรงงานที่อายุนั้น ความคาดหวังนี้จะให้ค่า ระยะเวลาเฉลี่ยของชีวิตการทำงาน9 ดัชนีคล้ายๆ กันนี้อาจคำนวณสำหรับทุกอายุที่เข้าสู่แรงงานรวมด้วยกัน

  • 1. Such tables are computed when temporary withdrawals from the labor force are a negligible proportion of the total, and this condition is approximately realized for males. For females, it is necessary to distinguish first accession to the labor force, or entry into the labor force, from re-entry into the labor force.

ไปยัง: คำนำสู่ดีโมพีเดีย | คำแนะนำการใช้ | ดาวน์โหลด
บทที่: อารัมภบท | 1. แนวคิดทั่วไป | 2. การจัดการและการประมวลผลสถิติประชากร | 3. การกระจายตัวและการจำแนกของประชากร | 4. ภาวะการตายและการเจ็บป่วย | 5. ภาวะสมรส | 6. ภาวะเจริญพันธุ์ | 7. การเพิ่มประชากรและการทดแทน | 8. การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่ | 9. มุมมองด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชากรศาสตร์
หน้าที่: 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 20 | 21 | 22 | 23 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 40 | 41 | 42 | 43 | 50 | 51 | 52 | 60 | 61 | 62 | 63 | 70 | 71 | 72 | 73 | 80 | 81 | 90 | 91 | 92 | 93

ดึงข้อมูลจาก "http://th-ii.demopaedia.org/w/index.php?title=35&oldid=322"