The Demopædia Encyclopedia on Population is under heavy modernization and maintenance. Outputs could look bizarre, sorry for the temporary inconvenience

พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาษา ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง ภาษาไทย

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "35"

จาก Demopædia
(359)
(No NewTextTerm in Thai)
 
แถว 14: แถว 14:
 
=== 351 ===
 
=== 351 ===
  
{{TextTerm|คนงาน|1|351|IndexEntry=คนงาน}}ซึ่งประกอบขึ้นเป็นประชากรกำลังทำงานสามารถจำแนกออกเป็นกลุ่ม{{TextTerm|มีงานทำ|2|351}} หรือ{{TextTerm|ว่างงาน|3|351}} ภายใต้{{NonRefTerm|แนวความคิดเรื่องแรงงาน}} ({{RefNumber|35|0|1}} *) ปรกติบุคคลที่{{TextTerm|กำลังหางาน|4|351}}หรือถูกปลดออกจากงานชั่วคราวในช่วงเวลาที่ระบุไว้เท่านั้นที่จะนับว่าเป็นคนว่างงาน  มีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องแยกแยะระหว่างบุคคลผู้ซึ่งไม่เคยมีงานทำกับ{{NewTextTerm|บุคคลที่กำลังมองหางานแรกของตน|11|351}} หรือ{{NewTextTerm|ผู้หางานแรก|11|351|2}} {{TextTerm|ประชากรมีงานทำ|5|351}}ประกอบด้วยคนที่ปัจจุบันกำลังทำงานเพื่อค่าจ้างหรือผลกำไร ในกลุ่มประชากรทำงานเชิงเศรษฐกิจ จะมีคนงานจำนวนมากที่อาจถูกบังคับโดยสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศหรือของช่วงเวลานั้นให้ต้องทำงานน้อยลงกว่าที่พวกเขามีความสามารถและเต็มใจที่จะทำได้ กรณีเช่นนี้ใช้ศัพท์คำว่า{{TextTerm|การทำงานต่ำระดับ|6|351}}หรือ{{TextTerm|การว่างงานบางส่วน|6|351|2|IndexEntry=การว่างงานบางส่วน}} {{TextTerm|คนงานทางเลือกสุดท้าย|7|351}}ที่เข้าร่วมในกิจกรรมทางเศษฐกิจเพียงบางครั้งบางคราวมักจะไม่จัดอยู่ในแรงงานภายใต้{{NonRefTerm|แนวความคิดเรื่องคนงานที่เกิดผลประโยชน์}} ({{RefNumber|35|0|1}} *)  {{NewTextTerm|อัตราส่วนการทำงานต่อประชากร|8|351}}เป็นสัดส่วนของบุคคลในวัยทำงาน (ปรกติอายุ 15 ถึง 64 ปี) ที่ทำงาน {{NewTextTerm|บุคคลที่ไม่ทำงาน|9|351|IndexEntry=บุคคลที่ไม่ทำงาน}}เป็นบุคคลที่ไม่ได้ประกอบกิจกรรมวิชาชีพใดๆ สำเร็จหรือกำลังมองหาการจ้างงาน {{NewTextTerm|การไม่ทำงานแฝง|10|351}}หรือ{{NewTextTerm|การสำรองแรงงาน|10|351}} รวมถึงบุคคลผู้ซึ่งแม้ว่าไม่ลงทะเบียนเป็นผู้ว่างงานอย่างเป็นทางการ แต่กำลังหางานส่วนตัวทำ เช่นเดียวกับผู้ที่ไม่ได้หางานทำแต่มีงานเสนอมายังเขาเหล่านั้นและเขาเหล่านั้นสามารถทำได้  
+
{{TextTerm|คนงาน|1|351|IndexEntry=คนงาน}}ซึ่งประกอบขึ้นเป็นประชากรกำลังทำงานสามารถจำแนกออกเป็นกลุ่ม{{TextTerm|มีงานทำ|2|351}} หรือ{{TextTerm|ว่างงาน|3|351}} ภายใต้{{NonRefTerm|แนวความคิดเรื่องแรงงาน}} ({{RefNumber|35|0|1}} *) ปรกติบุคคลที่{{TextTerm|กำลังหางาน|4|351}}หรือถูกปลดออกจากงานชั่วคราวในช่วงเวลาที่ระบุไว้เท่านั้นที่จะนับว่าเป็นคนว่างงาน  มีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องแยกแยะระหว่างบุคคลผู้ซึ่งไม่เคยมีงานทำกับ{{TextTerm|บุคคลที่กำลังมองหางานแรกของตน|11|351}} หรือ{{TextTerm|ผู้หางานแรก|11|351|2}} {{TextTerm|ประชากรมีงานทำ|5|351}}ประกอบด้วยคนที่ปัจจุบันกำลังทำงานเพื่อค่าจ้างหรือผลกำไร ในกลุ่มประชากรทำงานเชิงเศรษฐกิจ จะมีคนงานจำนวนมากที่อาจถูกบังคับโดยสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศหรือของช่วงเวลานั้นให้ต้องทำงานน้อยลงกว่าที่พวกเขามีความสามารถและเต็มใจที่จะทำได้ กรณีเช่นนี้ใช้ศัพท์คำว่า{{TextTerm|การทำงานต่ำระดับ|6|351}}หรือ{{TextTerm|การว่างงานบางส่วน|6|351|2|IndexEntry=การว่างงานบางส่วน}} {{TextTerm|คนงานทางเลือกสุดท้าย|7|351}}ที่เข้าร่วมในกิจกรรมทางเศษฐกิจเพียงบางครั้งบางคราวมักจะไม่จัดอยู่ในแรงงานภายใต้{{NonRefTerm|แนวความคิดเรื่องคนงานที่เกิดผลประโยชน์}} ({{RefNumber|35|0|1}} *)  {{TextTerm|อัตราส่วนการทำงานต่อประชากร|8|351}}เป็นสัดส่วนของบุคคลในวัยทำงาน (ปรกติอายุ 15 ถึง 64 ปี) ที่ทำงาน {{TextTerm|บุคคลที่ไม่ทำงาน|9|351|IndexEntry=บุคคลที่ไม่ทำงาน}}เป็นบุคคลที่ไม่ได้ประกอบกิจกรรมวิชาชีพใดๆ สำเร็จหรือกำลังมองหาการจ้างงาน {{TextTerm|การไม่ทำงานแฝง|10|351}}หรือ{{TextTerm|การสำรองแรงงาน|10|351}} รวมถึงบุคคลผู้ซึ่งแม้ว่าไม่ลงทะเบียนเป็นผู้ว่างงานอย่างเป็นทางการ แต่กำลังหางานส่วนตัวทำ เช่นเดียวกับผู้ที่ไม่ได้หางานทำแต่มีงานเสนอมายังเขาเหล่านั้นและเขาเหล่านั้นสามารถทำได้  
 
{{Note|2| {{NoteTerm|การมีงานทำ}} (employment) หมายถึงสถานการณ์ที่บุคคลหนึ่งประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ {{NoteTerm|สถานภาพการทำงาน}}หมายถึงการแบ่งประเภทบุคคลออกเป็นมีงานทำหรือว่างงาน}}
 
{{Note|2| {{NoteTerm|การมีงานทำ}} (employment) หมายถึงสถานการณ์ที่บุคคลหนึ่งประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ {{NoteTerm|สถานภาพการทำงาน}}หมายถึงการแบ่งประเภทบุคคลออกเป็นมีงานทำหรือว่างงาน}}
 
{{Note|6| บางครั้งหมายถึง{{NoteTerm|การใช้ประโยชน์ต่ำระดับ}}ของแรงงาน  การทำงานต่ำระดับและการใช้ประโยชน์ต่ำระดับบางครั้งหมายถึงสถานการณ์ที่บุคคลทำงานต่ำกว่าระดับของคุณสมบัติที่เขามี}}
 
{{Note|6| บางครั้งหมายถึง{{NoteTerm|การใช้ประโยชน์ต่ำระดับ}}ของแรงงาน  การทำงานต่ำระดับและการใช้ประโยชน์ต่ำระดับบางครั้งหมายถึงสถานการณ์ที่บุคคลทำงานต่ำกว่าระดับของคุณสมบัติที่เขามี}}
แถว 37: แถว 37:
 
=== 355 ===
 
=== 355 ===
  
ในกลุ่ม{{NonRefTerm|ลูกจ้าง}} ({{RefNumber|35|3|3}}) มักจะแยกความแตกต่างระหว่าง{{TextTerm|คนงานฝ่ายจัดการ|1|355}}ผู้ตัดสินใจด้านนโยบาย {{TextTerm|คนงานฝ่ายบริหาร|2|355}}ผู้นำนโยบายมาสู่การปฏิบัติ และ{{TextTerm|ผู้คุมงาน|3|355}} หรือ{{TextTerm|โฟร์แมน|3|355|2}}ผู้ปฏิบัติงานโดยตรง เจ้าหน้าที่ ({{RefNumber|35|7|5}}) แบ่งออกเป็น{{NewTextTerm|บริการระดับล่างหรืออย่างง่าย|4|355}} ซึ่งโดยส่วนใหญ่สำหรับตำแหน่งงานรับใช้ (เช่น ผู้ช่วยผู้บริหาร ผู้ช่วยทางเทคนิค) {{NewTextTerm|บริการระดับกลาง|5|355}} ซึ่งโดยส่วนใหญ่สำหรับตำแหน่งที่เทียบเท่าว่าผ่านการฝึกงานมาแล้ว (เช่น บรรณาธิการ เลขานุการผู้บริหาร) {{NewTextTerm|บริการระดับบน|6|355}} ซึ่งโดยส่วนใหญ่สำหรับตำแหน่งที่จบปริญญาตรีหรือเทียบเท่า (ผู้บริหารงานหรือช่างเทคนิค) และ{{NewTextTerm|บริการขั้นสูง|7|355}} ซึ่งจำกัดเฉพาะผู้ที่จบปริญญาโทหรือเทียบเท่า
+
ในกลุ่ม{{NonRefTerm|ลูกจ้าง}} ({{RefNumber|35|3|3}}) มักจะแยกความแตกต่างระหว่าง{{TextTerm|คนงานฝ่ายจัดการ|1|355}}ผู้ตัดสินใจด้านนโยบาย {{TextTerm|คนงานฝ่ายบริหาร|2|355}}ผู้นำนโยบายมาสู่การปฏิบัติ และ{{TextTerm|ผู้คุมงาน|3|355}} หรือ{{TextTerm|โฟร์แมน|3|355|2}}ผู้ปฏิบัติงานโดยตรง เจ้าหน้าที่ ({{RefNumber|35|7|5}}) แบ่งออกเป็น{{TextTerm|บริการระดับล่างหรืออย่างง่าย|4|355}} ซึ่งโดยส่วนใหญ่สำหรับตำแหน่งงานรับใช้ (เช่น ผู้ช่วยผู้บริหาร ผู้ช่วยทางเทคนิค) {{TextTerm|บริการระดับกลาง|5|355}} ซึ่งโดยส่วนใหญ่สำหรับตำแหน่งที่เทียบเท่าว่าผ่านการฝึกงานมาแล้ว (เช่น บรรณาธิการ เลขานุการผู้บริหาร) {{TextTerm|บริการระดับบน|6|355}} ซึ่งโดยส่วนใหญ่สำหรับตำแหน่งที่จบปริญญาตรีหรือเทียบเท่า (ผู้บริหารงานหรือช่างเทคนิค) และ{{TextTerm|บริการขั้นสูง|7|355}} ซึ่งจำกัดเฉพาะผู้ที่จบปริญญาโทหรือเทียบเท่า
 
{{Note|1| ในสหรัฐอเมริกา คำว่า {{NoteTerm|executive}} หมายถึงสมาชิกของคนงานฝ่ายจัดการ}}
 
{{Note|1| ในสหรัฐอเมริกา คำว่า {{NoteTerm|executive}} หมายถึงสมาชิกของคนงานฝ่ายจัดการ}}
  

รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 14:39, 17 สิงหาคม 2556


ข้อความปฏิเสธความรับผิดชอบ : ผู้สนับสนุนทั้งหลายของดีโมพีเดียไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับความหมายของศัพท์ต่างๆ ที่อยู่ในพจนานุกรมฉบับปรังปรุงนี้

พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาพ ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง ยังอยู่่ระหว่างการดำเนินงาน หากต้องการเสนอข้อคิดเห็นใดๆ กรุณาใช้พื้นที่อภิปราย


ไปยัง: คำนำสู่ดีโมพีเดีย | คำแนะนำการใช้ | ดาวน์โหลด
บทที่: อารัมภบท | 1. แนวคิดทั่วไป | 2. การจัดการและการประมวลผลสถิติประชากร | 3. การกระจายตัวและการจำแนกของประชากร | 4. ภาวะการตายและการเจ็บป่วย | 5. ภาวะสมรส | 6. ภาวะเจริญพันธุ์ | 7. การเพิ่มประชากรและการทดแทน | 8. การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่ | 9. มุมมองด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชากรศาสตร์
หน้าที่: 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 20 | 21 | 22 | 23 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 40 | 41 | 42 | 43 | 50 | 51 | 52 | 60 | 61 | 62 | 63 | 70 | 71 | 72 | 73 | 80 | 81 | 90 | 91 | 92 | 93


350

โดยทั่วไปมีการแสดงความแตกต่างระหว่าง ประชากรกำลังแรงงาน1 หรือ ประชากรทำงานในเชิงเศรษฐกิจ1 กับ ประชากรว่างงาน2 หรือ ประชากรที่ไม่ได้ทำงานในเชิงเศรษฐกิจ2 กล่าวโดยทั่วไป ประชากรกำลังทำงานประกอบด้วยบุคคลที่ประกอบ กิจกรรมที่มีผลประโยชน์3 กิจกรรมที่มีผลประโยชน์หรือ กิจกรรมเชิงเศรษฐกิจ3คือกิจกรรมซึ่งก่อให้เกิดผลผลิตเป็นรายได้ คนทำงานในครอบครัวที่ไม่ได้รับค่าจ้าง (353-5) ปรกติรวมอยู่ในประชากรทำงานในเชิงเศรษฐกิจ คนทำงานบ้าน4 หรือ แม่บ้าน4ที่ทำงานบ้านที่ไม่ได้รับค่าจ้าง นักเรียนนักศึกษา คนงานที่เกษียณแล้ว ฯลฯ ปรกติจะไม่ถูกรวมไว้ในประชากรกลุ่มนี้ บางครั้งสมาชิกของประชากรที่ไม่ได้ทำงานเชิงเศรษฐกิจหมายถึง ผู้พึ่งพิง5 (358-1) ในความหมายที่ว่าพวกเขาดำรงชีพอยู่ได้โดยอาศัยผลผลิตของประชากรกำลังทำงาน (อย่างไรก็ตาม ดูความหมายที่ต่างกันของศัพท์คำนี้ที่กล่าวไว้ในย่อหน้า 358) อัตราส่วนของประชากรกำลังทำงานต่อประชากรทั้งหมด ที่โดยปรกติคำนวณเฉพาะกลุ่มเพศ-อายุ หรือกลุ่มเฉพาะอื่นๆ เรียกว่าเป็น อัตราส่วนกิจกรรม6 หรือ อัตราส่วนการมีส่วนร่วมในแรงงาน6

  • 1. ศัพท์คำว่าประชากรประกอบอาชีพที่มีผลประโยชน์ คนงานที่มีผลประโยชน์ แรงงาน ใช้ในความหมายเดียวกันกับประชากรกำลังแรงงาน และประชากรทำงานในเชิงเศรษฐกิจ
    สำหรับการวัดทางสถิติของประชากรกำลังแรงงาน อาจใช้แนวคิดเรื่องคนงานที่มีผลประโยชน์หรือแรงงานได้ ตามแนวความคิดเรื่องแรงงาน ประชากรกำลังแรงงานจะนิยามว่าเป็นกลุ่มของบุคคลซึ่งกำลังทำงานในอาชีพที่มีผลประโยชน์ หรือต้องการ หรือกำลังหางานเช่นนั้นทำในช่วงระหว่างระยะเวลาที่ระบุไว้ก่อนการสำรวจ

351

คนงาน1ซึ่งประกอบขึ้นเป็นประชากรกำลังทำงานสามารถจำแนกออกเป็นกลุ่ม มีงานทำ2 หรือ ว่างงาน3 ภายใต้แนวความคิดเรื่องแรงงาน (350-1 *) ปรกติบุคคลที่ กำลังหางาน4หรือถูกปลดออกจากงานชั่วคราวในช่วงเวลาที่ระบุไว้เท่านั้นที่จะนับว่าเป็นคนว่างงาน มีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องแยกแยะระหว่างบุคคลผู้ซึ่งไม่เคยมีงานทำกับ บุคคลที่กำลังมองหางานแรกของตน11 หรือ ผู้หางานแรก11 ประชากรมีงานทำ5ประกอบด้วยคนที่ปัจจุบันกำลังทำงานเพื่อค่าจ้างหรือผลกำไร ในกลุ่มประชากรทำงานเชิงเศรษฐกิจ จะมีคนงานจำนวนมากที่อาจถูกบังคับโดยสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศหรือของช่วงเวลานั้นให้ต้องทำงานน้อยลงกว่าที่พวกเขามีความสามารถและเต็มใจที่จะทำได้ กรณีเช่นนี้ใช้ศัพท์คำว่า การทำงานต่ำระดับ6หรือ การว่างงานบางส่วน6 คนงานทางเลือกสุดท้าย7ที่เข้าร่วมในกิจกรรมทางเศษฐกิจเพียงบางครั้งบางคราวมักจะไม่จัดอยู่ในแรงงานภายใต้แนวความคิดเรื่องคนงานที่เกิดผลประโยชน์ (350-1 *) อัตราส่วนการทำงานต่อประชากร8เป็นสัดส่วนของบุคคลในวัยทำงาน (ปรกติอายุ 15 ถึง 64 ปี) ที่ทำงาน บุคคลที่ไม่ทำงาน9เป็นบุคคลที่ไม่ได้ประกอบกิจกรรมวิชาชีพใดๆ สำเร็จหรือกำลังมองหาการจ้างงาน การไม่ทำงานแฝง10หรือ การสำรองแรงงาน10 รวมถึงบุคคลผู้ซึ่งแม้ว่าไม่ลงทะเบียนเป็นผู้ว่างงานอย่างเป็นทางการ แต่กำลังหางานส่วนตัวทำ เช่นเดียวกับผู้ที่ไม่ได้หางานทำแต่มีงานเสนอมายังเขาเหล่านั้นและเขาเหล่านั้นสามารถทำได้

  • 2. การมีงานทำ (employment) หมายถึงสถานการณ์ที่บุคคลหนึ่งประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ สถานภาพการทำงานหมายถึงการแบ่งประเภทบุคคลออกเป็นมีงานทำหรือว่างงาน
  • 6. บางครั้งหมายถึงการใช้ประโยชน์ต่ำระดับของแรงงาน การทำงานต่ำระดับและการใช้ประโยชน์ต่ำระดับบางครั้งหมายถึงสถานการณ์ที่บุคคลทำงานต่ำกว่าระดับของคุณสมบัติที่เขามี

352

การจำแนกอาชีพ1ของประชากรกำลังทำงาน (350-1) แสดงสมาชิกที่จัดรวมเป็นกลุ่มโดย อาชีพ2 ความคล้ายกันของงานที่ทำโดยคนงาน รวมทั้งความคล้ายกันของทักษะความชำนาญและการฝึกอบรมที่จำเป็นสำหรับงานนั้นเป็นเกณฑ์ที่ใช้ในการจัดกลุ่มอาชีพต่างๆ ให้เป็น กลุ่มอาชีพ3 หรือ ชั้นทางอาชีพ3

  • 1. เพื่อวัตถุประสงค์ของการเปรียบเทียบ องค์การแรงงานระหว่างประเทศได้จัดเตรียม International Standard Classification of Occupations ไว้ให้

353

ปรกติ ประชากรกำลังทำงาน (350-1) จะจำแนกประเภทออกตาม สถานภาพงาน1 ในการจำแนกประเภทอย่างนี้ นายจ้าง2จะแตกต่างจาก ลูกจ้าง3ในด้านหนึ่ง และแตกต่างจาก คนทำงานของตนเอง4 หรือ คนทำงานอิสระ4ในอีกด้านหนึ่ง คนทำงานอิสระไม่ใช้แรงงานที่ทำงานเพื่อค่าจ้าง หากแต่อาจได้รับการช่วยทำงานจาก คนทำงานในครอบครัว5 หรือ ผู้ช่วยในครอบครัว5โดยไม่ต้องจ่ายค่าจ้าง ปรกติแรงงานในครอบครัวเหล่านี้จะแยกออกเป็นกลุ่มต่างหาก ส่วนผสมของการจำแนกประเภทตามสถานภาพงานและอาชีพอาจใช้เพื่อสร้าง ประเภทสถานภาพทางสังคม6

  • 1. การแบ่งประเภทโดยสถานะ (เป็นนายจ้าง ลูกจ้าง ฯลฯ) มีชื่อเรียกด้วยศัพท์หลายคำในสำมะโนของประเทศต่างๆ เช่น "สถานภาพอุตสาหกรรม" "สภาพในการทำงาน" "ตำแหน่งในอุตสาหกรรม" "ชั้นของคนงาน" ฯลฯ
  • 2. ผู้จัดการ บางครั้งนับรวมกับนายจ้าง ทั้งๆ ที่ผู้จัดการก็เป็นลูกจ้างเหมือนกัน

354

กลุ่มย่อยของแรงงานประเภทลูกจ้าง (353-3) บางครั้งแยกออกให้แตกต่างกัน หนึ่งในกลุ่มย่อยเหล่านั้นคือ คนงานบ้าน1ที่ทำงานในบ้านของตนเอง บางครั้งทำงานให้กับนายจ้างหลายคน ในกลุ่มลูกจ้าง บางครั้งแยกความแตกต่างระหว่าง คนงานด้วยมือ2 และ คนงานไม่ได้ด้วยมือ3 หรือ คนงานเสมียนและสำนักงาน3 คนงานด้วยมืออาจแบ่งย่อยออกไปอีกตาม ทักษะ4ของคนงานเป็น คนงานฝีมือ5 คนงานกึ่งฝีมือ6 และ คนงานไร้ฝีมือ7 ผู้ฝึกงาน8บางครั้งจัดอยู่ในประเภทย่อยของลูกจ้าง

  • 2. อีกแบบหนึ่งของการแบ่งประเภทลูกจ้างคือการแยกความแตกต่างระหว่างคนทำงานเพื่อค่าจ้าง ผู้ได้รับค่าจ้างเป็นรายวันหรือรายอาทิตย์ กับลูกจ้างเงินเดือน ผู้ได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือนหรือช่วงเวลานานกว่านั้น สถิติของสหรัฐอเมริกาแยกประเภทอาชีพกว้างๆ ออกเป็น 4 ประเภท (1) คนงานคอปกขาว (2) คนงานคอปกน้ำเงิน ซึ่งรวมช่างฝีมือ ผู้ปฏิบัติการ และคนงานนอกฟาร์ม (3) คนทำงานบริการ และ (4) คนงานในฟาร์ม (cf. 356)
  • 7. แรงงาน หมายถึงคนงานไร้ฝีมือ ซึ่งทำงานโดยใช้แรงงานหนักมาก

355

ในกลุ่มลูกจ้าง (353-3) มักจะแยกความแตกต่างระหว่าง คนงานฝ่ายจัดการ1ผู้ตัดสินใจด้านนโยบาย คนงานฝ่ายบริหาร2ผู้นำนโยบายมาสู่การปฏิบัติ และ ผู้คุมงาน3 หรือ โฟร์แมน3ผู้ปฏิบัติงานโดยตรง เจ้าหน้าที่ (357-5) แบ่งออกเป็น บริการระดับล่างหรืออย่างง่าย4 ซึ่งโดยส่วนใหญ่สำหรับตำแหน่งงานรับใช้ (เช่น ผู้ช่วยผู้บริหาร ผู้ช่วยทางเทคนิค) บริการระดับกลาง5 ซึ่งโดยส่วนใหญ่สำหรับตำแหน่งที่เทียบเท่าว่าผ่านการฝึกงานมาแล้ว (เช่น บรรณาธิการ เลขานุการผู้บริหาร) บริการระดับบน6 ซึ่งโดยส่วนใหญ่สำหรับตำแหน่งที่จบปริญญาตรีหรือเทียบเท่า (ผู้บริหารงานหรือช่างเทคนิค) และ บริการขั้นสูง7 ซึ่งจำกัดเฉพาะผู้ที่จบปริญญาโทหรือเทียบเท่า

  • 1. ในสหรัฐอเมริกา คำว่า executive หมายถึงสมาชิกของคนงานฝ่ายจัดการ

356

ใช้การจัดประเภทพิเศษในสาขาการเกษตร ชาวนา1 หรือ คนทำนา1 คือคนที่ทำงานในนาเพื่อผลกำไร ในกลุ่มชาวนา เราแยกระหว่าง เจ้าของที่นา2ผู้เป็นเจ้าของที่ดิน และ ผู้เช่านา3ผู้เช่าที่ดินจากเจ้าของที่ดินนั้น และ เกษตรกรผู้แบ่งผลผลิต3ผู้ให้ส่วนหนึ่งของผลผลิตทางการเกษตรเพื่อตอบแทนการใช้ที่ดินและปศุสัตว์ แรงงานทางการเกษตร4คือบุคคลที่กำลังทำงานที่ชาวนาเป็นผู้จ้าง

  • 2. ผู้จัดการฟาร์ม ผู้ได้รับเงินเดือน โดยทั่วไปจัดอยู่ในประเภทชาวนา
  • 3. ในสก๊อตแลนด์ ชาวนาขนาดเล็กบางครั้งเรียกว่า crofter ชาวนาที่มีฟาร์มขนาดเล็กเรียกว่าผู้ถือครองรายย่อย
  • 4. แรงงานการเกษตรแบ่งเป็นประเภททั่วไป 3 ประเภท แรงงานการเกษตรเต็มเวลา แรงงานรายวัน และแรงงานการเกษตรตามฤดูกาล ประเภทสุดท้ายนี้มักเป็นแรงงานผู้ย้ายถิ่น

357

ประชากรกำลังทำงานอาจจำแนกประเภทตาม อุตสาหกรรม1 หรือ สาขาของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ1 การจำแนกประเภทอย่างนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของ ธุรกิจ2 หรือ องค์กร2ซึ่งบุคคลทำงานอยู่ ความสำคัญจะอยู่ที่การแบ่งประชากรออกเป็น คนงานทางการเกษตร3 และ คนงานไม่ใช่ทางการเกษตร4 บางครั้ง ลูกจ้างรัฐบาล5และ บุคคลากรทางการทหาร6 หรือ สมาชิกของกองทัพ6 โดยทั่วไปจะแสดงแยกต่างหาก แต่ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจมีกฎนับให้อยู่ในประชากรเชิงอุตสาหกรรมที่เหลือ โดยทั่วไป อุตสาหกรรมจำแนกออกเป้น 3 ภาค ภาคปฐมภูมิ7 (เกษตรกรรม ล่าสัตว์ ประมง และทำเหมืองแร่) ภาคทุติยภูมิ8 (หัตถกรรม ก่อสร้าง และบริการ) และ ภาคตติยภูมิ9 (การพาณิชย์ การคลัง อุตสาหกรรมการขนส่ง และอุตสาหกรรมการบริการ) ในประเทศกำลังพัฒนา ภาคอุตสาหกรรมดั้งเดิม10มักใส่ไว้ในรายการแยกต่างหาก และอยู่ตรงข้ามกับภาคสมัยใหม่ของเศรษฐกิจ

  • 1. เพื่อวัตถุประสงค์ในการเปรียบเทียบระหว่างประเทศ สหประชาชาติได้จัดพิมพ์การจำแนกประเภทอุตสาหกรรมมาตรฐานสากลของกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งหมด (International Standard Industrial Classification of All Economic Activities)
  • 5. ข้าราชการพลเรือนเป็นลูกจ้าง (353-3) ของรัฐบาล ข้าราชการ (official) เป็นลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ แต่ศัพท์คำนี้บางครั้งใช้สำหรับลูกจ้างเงินเดือนของบริษัทใหญ่ มักแสดงความแตกต่างระหว่างลูกจ้างรัฐบาลกับลูกจ้างเอกชน

358

ประชากรที่ไม่ทำงานเชิงเศรษฐกิจอาจแบ่งออกเป็น ผู้พึ่งพิง1 (350-5) และ บุคคลที่พึ่งตนเอง2 ผู้พึ่งพิงต้องอาศัยการสนับสนุนช่วยเหลือจาก ผู้หาเงิน3 หรือ ผู้หาเลี้ยงครอบครัว3 ตัวอย่างเช่นในกรณีของแม่บ้าน (350-4) และ เด็กๆ ที่ต้องพึ่งพิง4 บุคคลที่พึ่งตนเองมีวิธีการเพียงพอที่จะหาเลี้ยงชีพของตนได้ เขาอาจเป็น ผู้ให้เช่า5 หรือ บุคคลผู้มีวิธีการอิสระ5 ผู้เกษียณหรือ ผู้ได้รับบำนาญ6 ประเภทพิเศษของผู้พึ่งพิงได้แก่ บุคคลที่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ7 หรือ ผู้รับสวัสดิการ7 บุคคลที่ไม่สามารถทำงานได้เรียก ผู้ไม่สามารถทำงาน8 อัตราส่วนของประชากรที่ทำงานต่อประชากรที่ไม่ทำงานเรียกว่า อัตราส่วนพึ่งพิงทางเศรษฐกิจ9

  • 9. อัตราส่วนของประชากรเด็กและผู้สูงอายุต่อผู้ใหญ่เรียกว่าอัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุ

359

อาจแบ่งประเภทประชากรตามภาคของกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ประชากรทำอยู่เพื่อการดำรงชีวิต ผู้พึ่งพิงจัดไว้ในประเภทเดียวกันกับผู้หาเลี้ยงครอบครัว เราพูดถึง ประชากรพึ่งพิงต่อ1สาขากิจกรรมเฉพาะ และโดยเฉพาะของ ประชากรพึ่งพิงต่อการเกษตร2 คำว่า ประชากรทางการเกษตร2บางครั้งใช้ให้มีความหมายเดียวกันกับ ประชากรไร่นา2ซึ่งอาศัยอยู่ในไร่นา หรือพึ่งพิงการเกษตร และซึ่งแตกต่างจาก ประชากรนอกไร่นา3 หรือ ประชากรนอกการเกษตร3

360

คนอ่อนแอ1 หรือ คนพิการ1มักแสดงในสำมะโนแยกต่างหาก ประชากรเหล่านี้จะถูกจัดประเภทตามลักษณะของ ความอ่อนแอ2 หรือ ความพิการ2 ความอ่อนแอทางกาย3 หรือ ความพิการทางกาย3อย่างเช่นตาบอด หรือหูหนวก-เป็นใบ้ โดยทั่วไปจะแยกออกจาก ความอ่อนแอทางจิต4 หรือ ความพิการทางจิต4อย่างเช่นปัญญาอ่อน หรือความจำเสื่อม

361

การศึกษาเกี่ยวกับ ชีวิตการทำงาน1ของบุคคลรวมการศึกษาเกี่ยวกับ การเข้าสู่กำลังแรงงาน2 และเกี่ยวกับ การออกจากกำลังแรงงาน3 ในเรื่องการเข้าสู่แรงงาน เป็นไปได้ที่จะแยกคนที่ไม่เคยทำงานออกจากคนที่เคยเป็นกำลังแรงงานในเวลาก่อนหน้านั้น ในเรื่องการแยกออกจากแรงงานอาจทำเป็นรายการตามสาเหตุ เช่น การตาย การปลดเกษียณ4 การถอนตัวออกจากแรงงานชั่วคราว อาจทำการวิเคราะห์ตามรุ่นหรือระยะเวลา และจะเกี่ยวข้องกับ อัตราการเข้าสู่แรงงาน5 หรือ ความน่าจะเป็นของการเข้าสู่แรงงาน6 อัตราการออกจากแรงงาน7 หรือ ความน่าจะเป็นของการออกจากแรงงาน8ตามสาเหตุครั้งสุดท้าย ดัชนีเหล่านี้คำนวณตามรายอายุหรือกลุ่มอายุ

362

ดัชนีเหล่านี้ใช้ในการคิดคำนวณ ตารางของชีวิตการทำงาน1ตามรุ่นหรือตามระยะเวลา เสริมต่อความน่าจะเป็นที่ได้อธิบายไว้ในย่อหน้าก่อน ตารางนี้แสดงการกระจายตามราย อายุที่เข้าสู่แรงงาน2 และการกระจายตามราย อายุที่ออกจากแรงงาน3 (ตามสาเหตุครั้งสุดท้าย ก่อนและหลังจากดูเรื่องการตาย) อายุเฉลี่ยที่เข้าสู่แรงงาน4 และ อายุเฉลี่ยเมื่อออกจากแรงงาน5 ความคาดหวังของชีวิตการทำงาน6 ความคาดหวังรวมของชีวิตการทำงาน7 (ซึ่งไม่รวมผลกระทบของภาวะการตาย) และ ความคาดหวังสุทธิของชีวิตการทำงาน8 (ซึ่งรวมผลกระทบของภาวะการตาย) ดัชนีทั้งหมดนี้แสดงจำนวนปีเฉลี่ยของชีวิตการทำงานที่เหลืออยู่ที่ประชากรทำงานแต่ละอายุจะมี สำหรับคนที่เข้าสู่แรงงานที่อายุนั้น ความคาดหวังนี้จะให้ค่า ระยะเวลาเฉลี่ยของชีวิตการทำงาน9 ดัชนีคล้ายๆ กันนี้อาจคำนวณสำหรับทุกอายุที่เข้าสู่แรงงานรวมด้วยกัน

  • 1. ตารางอย่างนี้คำนวณเมื่อการถอนตัวชั่วคราวจากแรงงานคิดเป็นสัดส่วนของทั้งหมดที่น้อยมากจนตัดทิ้งได้ และเงื่อนไขเป็นอยู่ประมาณนั้นสำหรับผู้ขาย สำหรับผู้หญิง จำเป็นที่ต้องแยกความแตกต่างระหว่างการเข้าสู่แรงงานครั้งแรก หรือการเข้าสู่แรงงาน ออกจากการเข้าสู่แรงงานอีกครั้ง

***

ไปยัง: คำนำสู่ดีโมพีเดีย | คำแนะนำการใช้ | ดาวน์โหลด
บทที่: อารัมภบท | 1. แนวคิดทั่วไป | 2. การจัดการและการประมวลผลสถิติประชากร | 3. การกระจายตัวและการจำแนกของประชากร | 4. ภาวะการตายและการเจ็บป่วย | 5. ภาวะสมรส | 6. ภาวะเจริญพันธุ์ | 7. การเพิ่มประชากรและการทดแทน | 8. การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่ | 9. มุมมองด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชากรศาสตร์
หน้าที่: 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 20 | 21 | 22 | 23 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 40 | 41 | 42 | 43 | 50 | 51 | 52 | 60 | 61 | 62 | 63 | 70 | 71 | 72 | 73 | 80 | 81 | 90 | 91 | 92 | 93

ดึงข้อมูลจาก "http://th-ii.demopaedia.org/w/index.php?title=35&oldid=750"