The Demopædia Encyclopedia on Population is under heavy modernization and maintenance. Outputs could look bizarre, sorry for the temporary inconvenience

พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาษา ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง ภาษาไทย

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "34"

จาก Demopædia
(344)
(347)
แถว 46: แถว 46:
  
 
=== 347 ===
 
=== 347 ===
สถิติอย่างอื่นจะเกี่ยวข้องกับการเลื่อนชั้นทางการศึกษา ปรกติบุคคลจะเลื่อนชั้นขึ้นไปทีละชั้น จากชั้นต่ำสุดของโรงเรียนประถมศึกษาไปจนจบการศึกษา {{TextTerm|การออกจากโรงเรียน|1|347|IndexEntry=การออกจากโรงเรียน}}เมื่อมีการใช้กฎหมายการศึกษาภาคบังคับจะกระทำมิได้ในช่วงวัยเรียนเว้นแต่จะมีสาเหตุเนื่องจากการเจ็บป่วยและการตาย {{TextTerm|อัตราการหยุดพักเรียน|2|347}}คือความน่าจะเป็นของการออกจากโรงเรียนก่อนที่จะจบการศึกษาในระดับนั้นไม่ว่าจะออกในช่วงระหว่างปีหรือเมื่อจบชั้นการศึกษา อัตรานี้คำนวณได้ด้วยวิธีเดียวกันกับความน่าจะเป็นของการตายในตารางชีพ ส่วนที่ทำให้อัตรานี้เติมเต็ม 1 คือ{{TextTerm|อัตราเรียนต่อ|3|347}} อัตราเช่นนี้สามารถนำมาใช้คำนวณ{{TextTerm|ตารางของชีวิตวัยเรียน|4|347}} ซึ่งจากตารางนี้สามารถอนุมาน{{TextTerm|ระยะเวลาเฉลี่ยของการศึกษา|5|347}}ได้ เมื่อจบปีการศึกษา นักเรียนหรือนักศึกษาที่ไม่หยุดการศึกษาของตนอาจจะเรียนซ้ำชั้นหรือขึ้นชั้นที่สูงขึ้นไปโดยมีหรือไม่มี{{TextTerm|การเปลี่ยนสายวิชา|6|347}}
+
สถิติอย่างอื่นจะเกี่ยวข้องกับการเลื่อนชั้นทางการศึกษา ปรกติบุคคลจะเลื่อนชั้นขึ้นไปทีละชั้น จากชั้นต่ำสุดของโรงเรียนประถมศึกษาไปจนจบการศึกษา {{TextTerm|การออกจากโรงเรียน|1|347|IndexEntry=การออกจากโรงเรียน}}เมื่อมีการใช้กฎหมายการศึกษาภาคบังคับจะกระทำมิได้ในช่วงวัยเรียนเว้นแต่จะมีสาเหตุเนื่องจากการเจ็บป่วยและการตาย {{TextTerm|อัตราการหยุดพักเรียน|2|347}}คือความน่าจะเป็นของการออกจากโรงเรียนก่อนที่จะจบการศึกษาในระดับนั้นไม่ว่าจะออกในช่วงระหว่างปีหรือเมื่อจบชั้นการศึกษา อัตรานี้คำนวณได้ด้วยวิธีเดียวกันกับความน่าจะเป็นของการตายในตารางชีพ ส่วนที่ทำให้อัตรานี้เติมเต็ม 1 คือ{{TextTerm|อัตราเรียนต่อ|3|347}} อัตราเช่นนี้สามารถนำมาใช้คำนวณ{{TextTerm|ตารางของชีวิตวัยเรียน|4|347}} ซึ่งจากตารางนี้สามารถอนุมาน{{TextTerm|ระยะเวลาเฉลี่ยของการศึกษา|5|347}}ได้ เมื่อจบปีการศึกษา นักเรียนหรือนักศึกษาที่ไม่หยุดการศึกษาของตนอาจจะเรียนซ้ำชั้นหรือขึ้นชั้นที่สูงขึ้นไปโดยมีหรือไม่มี{{TextTerm|การเปลี่ยนสายวิชา|6|347}} {{NewTextTerm|สัดส่วนการซ้ำชั้น|7|347}}ใช้เพื่อวัดว่าเมื่อจบปีการศึกษามีนักเรียนมากน้อยเพียงใดที่ไม่สามารถเลื่อนขึ้นชั้นที่สูงขึ้น
  
 
==<center><font size=12>* * * </font></center>==
 
==<center><font size=12>* * * </font></center>==

รุ่นปรับปรุงเมื่อ 10:32, 13 สิงหาคม 2556


ข้อความปฏิเสธความรับผิดชอบ : ผู้สนับสนุนทั้งหลายของดีโมพีเดียไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับความหมายของศัพท์ต่างๆ ที่อยู่ในพจนานุกรมฉบับปรังปรุงนี้

พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาพ ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง ยังอยู่่ระหว่างการดำเนินงาน หากต้องการเสนอข้อคิดเห็นใดๆ กรุณาใช้พื้นที่อภิปราย


ไปยัง: คำนำสู่ดีโมพีเดีย | คำแนะนำการใช้ | ดาวน์โหลด
บทที่: อารัมภบท | 1. แนวคิดทั่วไป | 2. การจัดการและการประมวลผลสถิติประชากร | 3. การกระจายตัวและการจำแนกของประชากร | 4. ภาวะการตายและการเจ็บป่วย | 5. ภาวะสมรส | 6. ภาวะเจริญพันธุ์ | 7. การเพิ่มประชากรและการทดแทน | 8. การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่ | 9. มุมมองด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชากรศาสตร์
หน้าที่: 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 20 | 21 | 22 | 23 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 40 | 41 | 42 | 43 | 50 | 51 | 52 | 60 | 61 | 62 | 63 | 70 | 71 | 72 | 73 | 80 | 81 | 90 | 91 | 92 | 93


340

ประชากรอาจจำแนกออกตาม ภาษา1 หรือ ภาษาถิ่น2ที่พูดกันอยู่ประจำ มีการแยกความแตกต่างระหว่าง ภาษาแม่3 หรือ ภาษาพูดที่บ้าน3ของบุคคล ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้พูดที่บ้านในช่วงวัยเด็ก กับ ภาษาปรกติ4 ซึ่งเป็นภาษาที่เขาใช้พูดในชีวิตประจำวัน ความแตกต่างระหว่างภาษาทั้งสองแยกได้ไม่ง่ายนักในหมู่คน สองภาษา5 หรือ พหุภาษา5 สถิติที่เสนอข้อมูลในหัวข้อเหล่านี้เรียกว่า สถิติของภาษา6

  • 1. ภาษาศาสตร์ (linguistics) การศึกษาเกี่ยวกับลักษณะ โครงสร้าง กำเนิด และความหมายของภาษาและคำพูดของมนุษย์
  • 2. ภาษาท้องถิ่น (dialect) เป็นภาษาที่มีความแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่นในเรื่องแบบแผนของการออกเสียง ไวยากรณ์ และศัพท์

341

สถิติทางศาสนา1แบ่งประชากรออกตามศาสนาที่คนนับถือ โดยทั่วไปแยกความแตกต่างระหว่าง ศาสนา2หลักกับ นิกาย3 พิธีกรรม4 หรือ สำนัก5ของศาสนานั้นๆ บุคคลที่ไม่มีศาสนาอาจเรียกตนเองว่าเป็น ผู้ไม่มีศาสนา6 ผู้คิดอิสระ6 หรือ ผู้ไม่มีพระเจ้า6

  • 4. พิธีกรรม (rite) อาจใช้ในความหมายของพิธีกรรมทางศาสนา

342

ประชากรมักจำแนกออกตาม สถานภาพทางการศึกษา1 บุคคลผู้สามารถอ่านและเขียนได้เรียก ผู้รู้หนังสือ2 คนที่มีอายุถึงอายุหนึ่งและไม่สามารถอ่านและเขียนได้เรียก ผู้ไม่รู้หนังสือ3 การจบชั้นเรียนหนึ่งหรือระดับหนึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็นผู้รู้หนังสือ สถิติความสำเร็จทางการศึกษา4จำแนกบุคคลตาม ชั้นเรียนที่จบ5 จำนวนปีที่จบการศึกษา5 หรือที่ไม่ค่อยใช้กันมากนักคือจำแนกตาม อายุที่ออกจากโรงเรียน6 การจำแนกอีกประเภทหนึ่งคือ จำแนกออกตาม วุฒิบัตร7 ปริญญาบัตร7 หรือ ประกาศนียบัตร7ที่ได้รับ หรือจำแนกตามการจัดหลักสูตร การสอน8ในแต่ละประเทศ

  • 2. สถิติการรู้หนังสือ (literacy statistics) เป็นส่วนหนึ่งของสถิติการศึกษา ซึ่งหมายถึงความสามารถที่อ่านและเขียน อัตราส่วนการรู้หนังสือเป็นสัดส่วนของประชากรที่รู้หนังสือ อีกด้านของอัตราส่วนนี้คืออัตราส่วนการไม่รู้หนังสือ
  • 3. การไม่รู้หนังสือ (illiterate) บุคคลที่สามารถอ่านออกแต่เขียนไม่ได้อาจเรียกว่าเป็นผู้กึ่งรู้หนังสือ และบุคคลนั้นบางครั้งก็อาจจัดอยู่ในประเภทผู้รู้หนังสือ และบางครั้งอาจจัดเป็นผู้ไม่รู้หนังสือได้เช่นกัน
  • 4. ประชากรวัยเรียน (346-7) มักแยกประเภทโดยชั้นเรียนหรือระดับชั้นที่ลงทะเบียน และข้อมูลการศึกษาที่สำเร็จจึงนำเสนอเฉพาะประชากรที่อายุเลยวัยเรียนตามปรกติมาแล้ว

343

ระบบการศึกษา1หมายรวมสถาบันทั้งหมดทั้งของรัฐและเอกชนที่ทำการสอนอยู่ในประเทศ เมื่อสถาบันการศึกษาทั้งสองประเภทมีอยู่ในประเทศหนึ่ง จะแยกความแตกต่างระหว่าง การศึกษาของรัฐ2 กับ การศึกษาของเอกชน3 หลังจาก การศึกษาก่อนวัยเรียน4แล้ว ปรกติจะแยกระหว่าง ระดับการศึกษา5สามระดับซึ่งเรียงลำดับขึ้นไปดังนี้ ประถมศึกษา6 มัธยมศึกษา7ซึ่งมักแยกออกเป็นหลาย รอบ8 หรือหลาย สาขาวิชา8 กับ การศึกษาสูงขึ้นไป9 ในการศึกษาสูงขึ้นไปรวมถึงหลักสูตรการศึกษาซึ่งนำไปสู่ ปริญญามหาวิทยาลัย11 การศึกษาวิชาชีพ12 หรือ อาชีวศึกษา12อาจให้ได้ในระดับมัธยมศึกษาหรือระดับการศึกษาสูงขึ้นไป

344

ประเภทของ สถาบันทางการศึกษา1 และชื่อของสถาบันเหล่านั้นขึ้นอยู่กับระบบการศึกษาเฉพาะของแต่ละประเทศ การศึกษาก่อนวัยเรียน (343-4) มีอยู่ใน โรงเรียนเด็กเล็ก2 หรือ โรงเรียนอนุบาล2 สถาบันที่ให้ทั้งสามระดับการศึกษา (343-5) ดังที่ได้เอ่ยถึงข้างต้นปรกติจะเรียกตามลำดับดังนี้ โรงเรียนประถมศึกษา3 หรือ โรงเรียนชั้นประถม3 โรงเรียนมัธยมศึกษา4 และ วิทยาลัย5 หรือ มหาวิทยาลัย5 สถาบันการศึกษาระดับสูงขึ้นไปอาจมี โรงเรียนอาชีวะ6อีกหลายชนิด การศึกษาวิชาชีพ (343-12) จัดให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ 7* โรงเรียนวิชาชีพ 8* วิทยาลัยวิชาชีพ 9* สถาบันทางวิชาชีพ 10* และสถาบันการศึกษา 11*

  • 5. คำว่าวิทยาลัย (college) มีหลายความหมาย วิทยาลัย (university college) อาจเป็นสถาบันการเรียนขั้นสูงขึ้นไปแต่ยังไม่มีสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยโดยสมบูรณ์ หรืออาจเป็นส่วนประกอบของมหาวิทยาลัย

345

ชั้นเรียน1 (cf. 130-8) หมายถึงกลุ่มของ นักเรียน2ที่มี ครู3คนเดียวกันและพบกันใน ห้องเรียน4เดียวกัน และโดยทั่วไปจะได้รับการสอนพร้อมๆ กัน กลุ่มของนักเรียนซึ่งเรียนอยู่ในระดับการศึกษาเดียวกันกล่าวได้ว่าอยู่ใน เกรด5เดียวกัน ในสหรัฐอเมริกา หรือใน ชั้น5 หรือ ฟอร์ม5 (cf. 206-1)เดียวกันในประเทศอังกฤษ ศัพท์คำว่า นักศึกษา6 โดยทั่วไปใช้สำหรับนักเรียนที่ได้รับการศึกษาขั้นสูงขึ้นไป แต่ก็ใช้แทนกันได้กับคำว่า "นักเรียน" (pupil) ในระดับชั้นมัธยมศึกษา

  • 2. คำว่า scholar ในอังกฤษหมายถึงนักเรียนหรือนักศึกษาที่ได้รับทุนจากแหล่งทุนของรัฐหรือเอกชน คำนี้เป็นศัพท์โบราณที่หมายถึงนักเรียน ในสหรัฐอเมริกา นักศึกษาผู้ได้รับทุนเรียนเรียกว่าผู้ได้รับทุนการศึกษา หรือนักเรียนทุน
  • 6. นักศึกษามหาวิทยาลัยที่ยังไม่ได้รับปริญญาตรีเรียก undergraduate graduate (cf. 151-1*) ในอังกฤษคือผู้ที่ได้ปริญญาจากมหาวิทยาลัยแล้ว ในสหรัฐอเมริกา ศัพท์คำนี้อาจใช้สำหรับใครก็ได้ที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัย โรงเรียนมัธยม หรือแม้กระทั่งโรงเรียนประถม ในสหรัฐอเมริกา graduate student ได้แก่ผู้กำลังเรียนเพื่อปริญญาที่สอง ซึ่งเทียบเท่ากับ post-graduate student ในอังกฤษ

346

สถิติโรงเรียนปัจจุบัน1อาจแยกระหว่างจำนวนของ นักเรียนที่ลงทะเบียน2 กับจำนวน นักเรียนที่เข้าเรียน3 การเปรียบเทียบตัวเลขสองจำนวนนี้ให้ค่าของ อัตราส่วนการเข้าเรียน4 การศึกษาภาคบังคับ5แสดงว่ามีพิสัยของอายุที่ต้องเข้าเรียนซึ่งบังคับโดยกฎหมาย การศึกษาภาคบังคับทำให้ระบุจำนวน เด็กในวัยเรียน6หรือ ประชากรวัยเรียน7ได้ด้วยเกณฑ์ทางกฎหมาย

  • 4. อัตราส่วนการเข้าเรียนเป็นอัตราส่วนของนักเรียนที่เข้าเรียนต่อนักเรียนที่ลงทะเบียน ในขณะที่อัตราส่วนการลงทะเบียนเป็นอัตราส่วนของนักเรียนที่ลงทะเบียนต่อประชากรวัยเรียน

347

สถิติอย่างอื่นจะเกี่ยวข้องกับการเลื่อนชั้นทางการศึกษา ปรกติบุคคลจะเลื่อนชั้นขึ้นไปทีละชั้น จากชั้นต่ำสุดของโรงเรียนประถมศึกษาไปจนจบการศึกษา การออกจากโรงเรียน1เมื่อมีการใช้กฎหมายการศึกษาภาคบังคับจะกระทำมิได้ในช่วงวัยเรียนเว้นแต่จะมีสาเหตุเนื่องจากการเจ็บป่วยและการตาย อัตราการหยุดพักเรียน2คือความน่าจะเป็นของการออกจากโรงเรียนก่อนที่จะจบการศึกษาในระดับนั้นไม่ว่าจะออกในช่วงระหว่างปีหรือเมื่อจบชั้นการศึกษา อัตรานี้คำนวณได้ด้วยวิธีเดียวกันกับความน่าจะเป็นของการตายในตารางชีพ ส่วนที่ทำให้อัตรานี้เติมเต็ม 1 คือ อัตราเรียนต่อ3 อัตราเช่นนี้สามารถนำมาใช้คำนวณ ตารางของชีวิตวัยเรียน4 ซึ่งจากตารางนี้สามารถอนุมาน ระยะเวลาเฉลี่ยของการศึกษา5ได้ เมื่อจบปีการศึกษา นักเรียนหรือนักศึกษาที่ไม่หยุดการศึกษาของตนอาจจะเรียนซ้ำชั้นหรือขึ้นชั้นที่สูงขึ้นไปโดยมีหรือไม่มี การเปลี่ยนสายวิชา6 สัดส่วนการซ้ำชั้น 7*ใช้เพื่อวัดว่าเมื่อจบปีการศึกษามีนักเรียนมากน้อยเพียงใดที่ไม่สามารถเลื่อนขึ้นชั้นที่สูงขึ้น

* * *

ไปยัง: คำนำสู่ดีโมพีเดีย | คำแนะนำการใช้ | ดาวน์โหลด
บทที่: อารัมภบท | 1. แนวคิดทั่วไป | 2. การจัดการและการประมวลผลสถิติประชากร | 3. การกระจายตัวและการจำแนกของประชากร | 4. ภาวะการตายและการเจ็บป่วย | 5. ภาวะสมรส | 6. ภาวะเจริญพันธุ์ | 7. การเพิ่มประชากรและการทดแทน | 8. การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่ | 9. มุมมองด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชากรศาสตร์
หน้าที่: 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 20 | 21 | 22 | 23 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 40 | 41 | 42 | 43 | 50 | 51 | 52 | 60 | 61 | 62 | 63 | 70 | 71 | 72 | 73 | 80 | 81 | 90 | 91 | 92 | 93

ดึงข้อมูลจาก "http://th-ii.demopaedia.org/w/index.php?title=34&oldid=656"