The Demopædia Encyclopedia on Population is under heavy modernization and maintenance. Outputs could look bizarre, sorry for the temporary inconvenience

พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาษา ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง ภาษาไทย

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "31"

จาก Demopædia
(310)
(311)
แถว 17: แถว 17:
 
ในหลายประเทศ{{TextTerm|พื้นที่ชนบท|1|311}} นิยามว่าเป็นเขตการปกครองที่มีขนาดประชากรต่ำกว่าระดับหนึ่ง (มักจะใช้จำนวน 2,000 เป็นเกณฑ์) พื้นที่อื่นนอกจากชนบทเรียกว่า{{TextTerm|พื้นที่เมือง|2|311|IndexEntry=พื้นที่เมือง}} {{TextTerm|ประชากรชนบท|3|311}}คือประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบท {{TextTerm|ประชากรเมือง|4|311}}คือประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เมือง เกณฑ์สำหรับการจัดประชากรว่าอยู่ในพื้นที่ใด ชนบทหรือเมือง แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ คำจำกัดความของประชากรชนบทหรือเมืองอาจนำไปสู่ประชากรที่อยู่ระหว่างกลางอีกประเภทหนึ่งคือ{{TextTerm|ประชากรกึ่งเมือง|5|311}}
 
ในหลายประเทศ{{TextTerm|พื้นที่ชนบท|1|311}} นิยามว่าเป็นเขตการปกครองที่มีขนาดประชากรต่ำกว่าระดับหนึ่ง (มักจะใช้จำนวน 2,000 เป็นเกณฑ์) พื้นที่อื่นนอกจากชนบทเรียกว่า{{TextTerm|พื้นที่เมือง|2|311|IndexEntry=พื้นที่เมือง}} {{TextTerm|ประชากรชนบท|3|311}}คือประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบท {{TextTerm|ประชากรเมือง|4|311}}คือประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เมือง เกณฑ์สำหรับการจัดประชากรว่าอยู่ในพื้นที่ใด ชนบทหรือเมือง แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ คำจำกัดความของประชากรชนบทหรือเมืองอาจนำไปสู่ประชากรที่อยู่ระหว่างกลางอีกประเภทหนึ่งคือ{{TextTerm|ประชากรกึ่งเมือง|5|311}}
 
{{Note|3| {{NoteTerm|การขยายตัวของชนบท}} (ruralization) การเพิ่มขึ้นของสัดส่วนของคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบท<br />ประชากรชนบท (rural population) ไม่ควรสับสนกับ{{NonRefTerm|ประชากรเกษตร}} (agricultural population) หรือ {{NonRefTerm|เกษตรกร}} ({{RefNumber|35|9|2}})}}
 
{{Note|3| {{NoteTerm|การขยายตัวของชนบท}} (ruralization) การเพิ่มขึ้นของสัดส่วนของคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบท<br />ประชากรชนบท (rural population) ไม่ควรสับสนกับ{{NonRefTerm|ประชากรเกษตร}} (agricultural population) หรือ {{NonRefTerm|เกษตรกร}} ({{RefNumber|35|9|2}})}}
{{Note|4| {{NoteTerm|นคราภิวัตน์}} การเพิ่มขึ้นของสัดส่วนของคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เมือง <br />ในประเทศไทย เขตเมืองหมายถึง{{NoteTerm|เขตเทศบาล}} (municipality, municipal area)}}
+
{{Note|4| {{NoteTerm|นคราภิวัตน์}} การเพิ่มขึ้นของสัดส่วนของคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เมือง <br />ในประเทศไทย เขตเมืองหมายถึง{{NoteTerm|เทศบาล (municipality)}} หรือ{{NoteTerm|เขตเทศบาล (municipal area)}}
  
 
=== 312 ===
 
=== 312 ===

รุ่นปรับปรุงเมื่อ 10:34, 6 มิถุนายน 2556


ข้อความปฏิเสธความรับผิดชอบ : ผู้สนับสนุนทั้งหลายของดีโมพีเดียไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับความหมายของศัพท์ต่างๆ ที่อยู่ในพจนานุกรมฉบับปรังปรุงนี้

พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาพ ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง ยังอยู่่ระหว่างการดำเนินงาน หากต้องการเสนอข้อคิดเห็นใดๆ กรุณาใช้พื้นที่อภิปราย


ไปยัง: คำนำสู่ดีโมพีเดีย | คำแนะนำการใช้ | ดาวน์โหลด
บทที่: อารัมภบท | 1. แนวคิดทั่วไป | 2. การจัดการและการประมวลผลสถิติประชากร | 3. การกระจายตัวและการจำแนกของประชากร | 4. ภาวะการตายและการเจ็บป่วย | 5. ภาวะสมรส | 6. ภาวะเจริญพันธุ์ | 7. การเพิ่มประชากรและการทดแทน | 8. การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่ | 9. มุมมองด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชากรศาสตร์
หน้าที่: 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 20 | 21 | 22 | 23 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 40 | 41 | 42 | 43 | 50 | 51 | 52 | 60 | 61 | 62 | 63 | 70 | 71 | 72 | 73 | 80 | 81 | 90 | 91 | 92 | 93


310

ในการทำสำมะโนจะแยกความแตกต่างระหว่าง ประชากรตามที่อยู่อาศัย1หรือ ประชากรตามนิตินัย1ของพื้นที่หนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยผู้คนที่มีที่อยู่อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้น กับ ประชากรที่อยู่จริง2หรือ ประชากรตามพฤตินัย2 ซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในพื้นที่นั้นในวันสำมะโน ในประชากรตามที่อยู่อาศัย ผู้ไม่อยู่ชั่วคราว4จะรวมอยู่ด้วยกันกับ ผู้อยู่อาศัยถาวร3ซึ่งอยู่ในพื้นที่นั้นในวันสำมะโน ประชากรที่อยู่จริงประกอบด้วยผู้อยู่อาศัยรวมกับ ผู้มาเยี่ยม5หรือ ผู้อยู่ชั่วคราว5 การแจงนับประชากรตามนิตินัยและพฤตินัยทั้งสองวิธีนี้ให้ผลแตกต่างกันแม้จะเป็นประชากรรวมของประเทศ สถานที่ซึ่งบุคคลหนึ่งอาศัยอยู่เรียกว่า สถานที่อยู่อาศัย6 เพื่อเหตุผลทางการบริหาร บุคคลผู้อาศัยอยู่รวมกันในชุมชนใหญ่ (อย่างเช่นโรงเรียนประจำ ทหารในค่าย นักโทษ ฯลฯ (cf. 110-5*) มักจะแจงนับแยกต่างหาก บุคคลเหล่านี้ก่อให้เกิด ประชากรเชิงสถาบัน7 สำมะโนจะใช้กฎเกณฑ์พิเศษในการแจงนับ คนเร่ร่อน8หรือ บุคคลที่ไม่มีที่อยู่อาศัยแน่นอน8

  • 6. ศัพท์คำว่าภูมิลำเนาเป็นศัพท์วิชาการเพื่อหมายถึงที่อยู่อาศัยตามกฎหมาย ซึ่งหมายถึงสถานที่ที่บุคคลหนึ่งอาศัยอยู่ตามกฎหมาย ที่อยู่นี้แตกต่างจากที่อยู่อาศัยจริง ในสหรัฐอเมริกา ประชากรนิตินัยเป็นประชากรตามที่อยู่อาศัยปรกติ
  • 7. ในสหรัฐอเมริกา ศัพท์คำว่าผู้ถูกกักในสถาบันสงวนไว้สำหรับบุคคลที่อาศัยอยู่ภายใต้การดูแลหรือการควบคุมในเรือนจำ โรงพยาบาลสำหรับผู้เป็นโรคจิตและวัณโรค บ้านสำหรับผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ต้องพึ่งพิและผู้ถูกทอดทิ้ง รวมทั้งที่อยู่อาศัยสำหรับกลุ่มคนประเภทอื่นๆ อย่างเช่น นักเรียนในหอพัก ทหารในค่าย

311

ในหลายประเทศ พื้นที่ชนบท1 นิยามว่าเป็นเขตการปกครองที่มีขนาดประชากรต่ำกว่าระดับหนึ่ง (มักจะใช้จำนวน 2,000 เป็นเกณฑ์) พื้นที่อื่นนอกจากชนบทเรียกว่า พื้นที่เมือง2 ประชากรชนบท3คือประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบท ประชากรเมือง4คือประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เมือง เกณฑ์สำหรับการจัดประชากรว่าอยู่ในพื้นที่ใด ชนบทหรือเมือง แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ คำจำกัดความของประชากรชนบทหรือเมืองอาจนำไปสู่ประชากรที่อยู่ระหว่างกลางอีกประเภทหนึ่งคือ ประชากรกึ่งเมือง5

  • 3. การขยายตัวของชนบท (ruralization) การเพิ่มขึ้นของสัดส่วนของคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบท
    ประชากรชนบท (rural population) ไม่ควรสับสนกับประชากรเกษตร (agricultural population) หรือ เกษตรกร (359-2)

{{Note|4| นคราภิวัตน์ การเพิ่มขึ้นของสัดส่วนของคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เมือง
ในประเทศไทย เขตเมืองหมายถึงเทศบาล (municipality) หรือเขตเทศบาล (municipal area)

312

ความหนาแน่นของประชากร1 หรือ ความหนาแน่นประชากร1เป็นดัชนีแสดงความสัมพันธ์ระหว่างประชากรกับพื้นที่ที่ประชากรนั้นอาศัยอยู่ ดัชนีความหนาแน่น2ธรรมดาที่สุดนี้ คำนวณได้ด้วยการหารจำนวนรวมประชากรด้วยพื้นที่ของเขตแดนนั้น และโดยทั่วไปจะเสนอเป็นจำนวนคนต่อเอเคอร์ ต่อตารางกิโลเมตร หรือต่อตารางไมล์ การกระจายของประชากร3ขึ้นอยู่กับประเภทของ การตั้งถิ่นฐาน4 การตั้งถิ่นฐานแบบรวมกลุ่ม5 หรือ การตั้งถิ่นฐานแบบกระจาย6 นักวิชาการบางคนคำนวณ ศูนย์กลางประชากร7ของพื้นที่หนึ่งด้วยวิธีที่ใช้หาศูนย์กลางของแรงโน้มถ่วงในคณิตศาสตร์ประยุกต์ แต่ละคนในประชากรจะได้รับน้ำหนักเท่ากัน

313

เมื่อแบบแผนของการตั้งถิ่นฐานของประชากรต่างกันจะนำมาเปรียบเทียบกัน และจะนำปัจจัยอื่นๆ นอกจากผิวพื้นที่มาพิจารณาด้วย จะมีการคำนวณหา ดัชนีความหนาแน่นเชิงเปรียบเทียบ1 ดัชนีเปรียบเทียบมีมากมาย อย่างเช่น ความหนาแน่นของประชากรต่อหน่วยของพื้นที่เพาะปลูก2 และ ความหนาแน่นของประชากรเกษตรกรต่อหน่วยของพื้นที่เพาะปลูก3 บางครั้ง ดัชนีเหล่านี้จะมีฐานอยู่บน พื้นที่เพาะปลูก4มากกว่า พื้นที่เพาะปลูกได้5 ความหนาแน่นอาจแสดงในรูปความสัมพันธ์ระหว่างประชากรกับทรัพยากรทางเศรษฐกิจรวม ความหนาแน่นศักยภาพสูงสุด6 หรือ ความสามารถในการรองรับประชากร6แสดงความสัมพันธ์ระหว่างทรัพยากรกับจำนวนประชากรสูงสุดที่ทรัพยากรที่มีอยู่เหล่านี้จะรองรับได้ แนวความคิดที่มีการนำไปใช้ในทฤษฎีประชากรได้แก่เรื่อง ความหนาแน่นเหมาะสมที่สุด7 ได้แก่ความหนาแน่นซึ่งจะให้รายได้แท้จริงมากที่สุดต่อหัวตามทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในขณะนั้น

* * *

ไปยัง: คำนำสู่ดีโมพีเดีย | คำแนะนำการใช้ | ดาวน์โหลด
บทที่: อารัมภบท | 1. แนวคิดทั่วไป | 2. การจัดการและการประมวลผลสถิติประชากร | 3. การกระจายตัวและการจำแนกของประชากร | 4. ภาวะการตายและการเจ็บป่วย | 5. ภาวะสมรส | 6. ภาวะเจริญพันธุ์ | 7. การเพิ่มประชากรและการทดแทน | 8. การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่ | 9. มุมมองด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชากรศาสตร์
หน้าที่: 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 20 | 21 | 22 | 23 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 40 | 41 | 42 | 43 | 50 | 51 | 52 | 60 | 61 | 62 | 63 | 70 | 71 | 72 | 73 | 80 | 81 | 90 | 91 | 92 | 93

ดึงข้อมูลจาก "http://th-ii.demopaedia.org/w/index.php?title=31&oldid=573"