The Demopædia Encyclopedia on Population is under heavy modernization and maintenance. Outputs could look bizarre, sorry for the temporary inconvenience

พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาษา ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง ภาษาไทย

11

จาก Demopædia


ข้อความปฏิเสธความรับผิดชอบ : ผู้สนับสนุนทั้งหลายของดีโมพีเดียไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับความหมายของศัพท์ต่างๆ ที่อยู่ในพจนานุกรมฉบับปรังปรุงนี้

พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาพ ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง ยังอยู่่ระหว่างการดำเนินงาน หากต้องการเสนอข้อคิดเห็นใดๆ กรุณาใช้พื้นที่อภิปราย


ไปยัง: คำนำสู่ดีโมพีเดีย | คำแนะนำการใช้ | ดาวน์โหลด
บทที่: อารัมภบท | 1. แนวคิดทั่วไป | 2. การจัดการและการประมวลผลสถิติประชากร | 3. การกระจายตัวและการจำแนกของประชากร | 4. ภาวะการตายและการเจ็บป่วย | 5. ภาวะสมรส | 6. ภาวะเจริญพันธุ์ | 7. การเพิ่มประชากรและการทดแทน | 8. การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่ | 9. มุมมองด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชากรศาสตร์
หน้าที่: 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 20 | 21 | 22 | 23 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 40 | 41 | 42 | 43 | 50 | 51 | 52 | 60 | 61 | 62 | 63 | 70 | 71 | 72 | 73 | 80 | 81 | 90 | 91 | 92 | 93


110

หน่วยสถิติ1 พื้นฐานที่ใช้ในวิชาประชากรศาสตร์คือ บุคคล2 หรือ คน2 คำว่า หัว2 ที่เคยใช้กันในอดีต เดี๋ยวนี้กลายเป็นคำล้าสมัยไปเสียแล้ว ครัวเรือน3 ซึ่งเป็นหน่วยเศรษฐกิจ-สังคม ประกอบด้วยบุคคลที่อาศัยอยู่ด้วยกัน มีการให้นิยามทางสถิติของคำว่าครัวเรือนต่างกันไป ตามนิยามซึ่งแนะนำให้ใช้เป็นมาตรฐานสากล คำว่าครัวเรือนจะประกอบด้วยกลุ่มของบุคคลซึ่งใช้ที่อยู่อาศัย (120-1) เดียวกันและกินอาหารมื้อหลักด้วยกัน ในอดีต เคยมีการใช้คำว่า ครัว3 ซึ่งแสดงว่าในอตีต สมาชิกของครัวเรือนเคยใช้กองไผกองเดียวกัน การจำแนกประเภทครัวเรือนก็แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศและแต่ละการศึกษา การจำแนกประเภทส่วนมากจะแยกความแตกต่างระหว่างครัวเรือนสองประเภท ครัวเรือนส่วนบุคคล4 และ ครัวเรือนกลุ่มรวม5 บุคคลเดียวอาศัยอยู่ตามลำพังเรียกว่าเป็น ครัวเรือนคนเดียว6 ผู้อาศัย7คือบุคคลที่ไม่ได้เป็นคนรับใช้ในบ้านและไม่สัมพันธ์เป็นญาติกับสมาชิกคนอื่นๆ ในครัวเรือน และกินอาหารเป็นประจำกับครัวเรือน ต่างจาก ผู้พัก8 หรือ ผู้เช่าห้อง8 ที่ไม่ได้กินอาหารมื้อประจำกับครัวเรือน ทั้งผู้อาศัยและผู้พักอาจจะรวมหรือไม่รวมไว้ในครัวเรือนเพื่อวัตถุประสงค์ทางสถิติ

111

เมื่อครัวเรือนส่วนบุคคล (110-4) มีบุคคลหลายคนอยู่ด้วยกันเรียกว่าเป็น สมาชิกของครัวเรือน1 และสมาชิกคนหนึ่งจะเป็น หัวหน้าครัวเรือน2 ยังไม่มีเกณฑ์ที่ยอมรับกันทั่วไปว่าใครจะเป็นหัวหน้าครัวเรือน ในบางกรณี หัวหน้าครัวเรือนอาจเป็น ผู้หารายได้หลัก3 ก็ได้ ในแบบสอบถามสำมะโนส่วนมาก จะมีคำถามหนึ่งที่เกี่ยวกับ ความสัมพันธ์4 (114-3*) ของสมาชิกของครัวเรือนกับหัวหน้าครัวเรือน คำถามนี้ทำให้สามารถสามารถแยกความแตกต่างระหว่างกลุ่มต่างๆ ใน ครัวเรือนประสม5 หรือ ครัวเรือนผสม5 ซึ่งมีสมาชิกที่มากกว่าครัวเรือนทางชีววิทยา หรือครัวเรือนเดี่ยว (113-1) ครัวเรือนรวมอาจแยกออกเป็น แกนเดี่ยว6 หลายครอบครัว ซึ่งรวม แกนเดี่ยวปฐมภูมิ7 และ แกนเดี่ยวทุติยภูมิ8 แกนเหล่านี้เรียกกันทั่วไปว่าครอบครัว (112-1) ครอบครัวปฐมภูมิ9 เป็นครอบครัวของหัวหน้าครัวเรือนตามนิยาม ครอบครัวอื่นๆ เรียกว่า ครอบครัวทุติยภูมิ10 ขนาดครัวเรือน11 หมายถึงจำนวนบุคคลที่รวมอยู่ในครัวเรือน

112

ครอบครัว1 (cf. § 113 and § 115) เป็นหน่วยที่ต่างออกไป ซึ่งต้องแยกความแตกต่างจากครัวเรือน (110-3) ด้วยความระมัดระวัง นิยามเบื้องต้นของคำว่าครอบครัวจะอ้างถึงความสัมพันธ์ซึ่งมีอยู่หรือเกิดขึ้นจากการแต่งงาน การสืบทอดพันธุ์ หรือการรับเลี้ยงดูบุตร ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้จะกำหนดโดยกฎหมายหรือประเพณี ความสัมพันธ์พื้นฐาน ได้แก่ ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างคู่โดยการแต่งงาน—และความสัมพันธ์ที่มีอยู่ระหว่างคู่สมรสเช่น พ่อแม่2 ได้แก่ พ่อ3 และ แม่4 และ ลูกๆ 5 ได้แก่ ลูกชาย6 และ ลูกสาว7

113

พ่อแม่และลูกๆ บางครั้งจะอ้างอิงถึง ครอบครัวทางชีววิทยา1 หรือ ครอบครัวเดี่ยว1 พี่น้องชาย2 และ พี่น้องหญิง3 ที่ไม่แยกว่าเป็นเพศใด เรียก พี่น้อง4 พี่น้องที่ร่วมพ่อหรือแม่เดียวกันเท่านั้นเรียก กึ่งพี่น้องชาย5 หรือ กึ่งพี่น้องหญิง6 ครอบครัวขยาย7 เป็นหน่วยครอบครัวใหญ่ขึ้น โดยทั่วไปประกอบด้วยครอบครัวเดี่ยวหลายครอบครัว ครอบครัวขยายแนวตั้ง8 ประกอบด้วยคนสามรุ่นขึ้นไปอาศัยอยู่ด้วยกันในครัวเรือนเดียวกันหรืออยู่ใกล้กันมากๆ ครอบครัวขยายแนวนอน9 จะรวมพี่น้องกับคู่แต่งงานและลูกๆ ที่อาศัยอยู่ด้วยกัน ครอบครัวขยายแนวตั้งสามารถผลิตครอบครัวพิเศษขึ้นมาอย่างเช่น ครอบครัวแขนง10 ซึ่งทายาทและครอบครัวอาจอาศัยอยู่กับพ่อแม่ของเขาต่อไปได้

114

บุคคลที่สัมพันธ์ผ่าน ผู้สืบทอด1 จาก ต้นตระกูล2 หรือ บรรพบุรุษ2 เดียวกันเรียกว่า ญาติทางสายเลือด3 หรือ ญาติทางพันธุกรรม3 ศัพท์คำว่า วงศ์ญาติ3 และในความหมายของกลุ่มรวมว่า กลุ่มวงศาคณาญาติ3 ก็มีการใช้เช่นเดียวกัน ขนาดของความสัมพันธ์4 โดยทั่วไปคำนวณได้โดยอ้างถึงจำนวนขั้นตอนที่จำเป็นก่อนที่จะถึงบรรพบุรุษคนเดียวกัน แต่มีวิธีการคำนวณแตกต่างกันหลายวิธี ความสัมพันธ์พื้นฐานในแต่ละขั้นตอนเหล่านี้เป็น ความสัมพันธ์ระหว่างลูกกับพ่อแม่5 (cf. 112-6* and 112-7*) ซึ่งกลับกันกับ ความเป็นพ่อแม่6 (112-2*) ได้แก่ ความสัมพันธ์ของคู่แต่งงาน หรือของบิดา หรือของมารดาต่อ ลูก7 ความสัมพันธ์ทางสายเลือดต้องแยกออกจาก ความสัมพันธ์โดยการแต่งงาน8 ซึ่งการแต่งงานทำให้เกิดขึ้นระหว่างคู่สมรสฝ่ายหนึ่งกับญาติของอีกฝ่ายหนึ่ง

ดึงข้อมูลจาก "http://th-ii.demopaedia.org/w/index.php?title=11&oldid=94"