The Demopædia Encyclopedia on Population is under heavy modernization and maintenance. Outputs could look bizarre, sorry for the temporary inconvenience

พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาษา ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง ภาษาไทย

15

จาก Demopædia


ข้อความปฏิเสธความรับผิดชอบ : ผู้สนับสนุนทั้งหลายของดีโมพีเดียไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับความหมายของศัพท์ต่างๆ ที่อยู่ในพจนานุกรมฉบับปรังปรุงนี้

พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาพ ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง ยังอยู่่ระหว่างการดำเนินงาน หากต้องการเสนอข้อคิดเห็นใดๆ กรุณาใช้พื้นที่อภิปราย


ไปยัง: คำนำสู่ดีโมพีเดีย | คำแนะนำการใช้ | ดาวน์โหลด
บทที่: อารัมภบท | 1. แนวคิดทั่วไป | 2. การจัดการและการประมวลผลสถิติประชากร | 3. การกระจายตัวและการจำแนกของประชากร | 4. ภาวะการตายและการเจ็บป่วย | 5. ภาวะสมรส | 6. ภาวะเจริญพันธุ์ | 7. การเพิ่มประชากรและการทดแทน | 8. การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่ | 9. มุมมองด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชากรศาสตร์
หน้าที่: 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 20 | 21 | 22 | 23 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 40 | 41 | 42 | 43 | 50 | 51 | 52 | 60 | 61 | 62 | 63 | 70 | 71 | 72 | 73 | 80 | 81 | 90 | 91 | 92 | 93


150

เมื่อพิจารณาการเคลื่อนไหวของตัวแปรทางประชากรตามเวลาที่เปลี่ยนไป ก็จะได้ อนุกรมเวลา1ทางประชากร บางครั้งเป็นไปได้ที่จะแยกส่วนประกอบของอนุกรมเวลาออกเป็น แนวโน้ม2 ซึ่งจะมี การขึ้นๆ ลงๆ3 ความผันแปร3หรือ ความเบี่ยงเบน3 (141-2) เมื่อการขึ้นๆ ลงๆ เช่นนั้นมักจะเกิดขึ้นหลังจากระยะเลาหนึ่ง โดยปรกติเป็นเวลาหลายๆ ปีก็เรียกว่าเป็น การขึ้นๆ ลงๆ ตามรอบ4 หรือให้มีความหมายทั่วไปยิ่งขึ้น การขึ้นๆ ลงๆ ตามช่วงเวลา4 ในวิชาประชากรศาสตร์ ระยะเวลาที่ใช้กันมากที่สุดในการรวบรวมข้อมูลคือหนึ่งปี และการขึ้นๆ ลงๆ ในช่วงเวลาย่อยของปีจะเรียกว่า การขึ้นๆ ลงๆ ตามฤดูกาล5 การขึ้นๆ ลงๆ ที่ยังคงอยู่หลังจากแนวโน้มการขึ้นๆ ลงๆ ตามฤดูกาลและตามรอบได้ถูกขจัดออกไปแล้วเรียกว่า การขึ้นๆ ลงๆ ผิดปรกติ6 การขึ้นๆ ลงๆ ผิดปรกติอาจเนื่องมาจากปัจจัยที่เป็นข้อยกเว้นอย่างเช่น การเคลื่อนย้ายคนในช่วงสงคราม หรือบางครั้งอาจเป็น การขึ้นๆ ลงๆ ตามโอกาส7หรือ การขึ้นๆ ลงๆ โดยบังเอิญ7

  • 3. ในความหมายทั่วไปคำว่าความผันแปรอาจใช้เพื่ออธิบายการเปลี่ยนแปลงในค่าใดหรือชุดของค่าของตัวแปรหนึ่ง

151

บางครั้งเป็นสิ่งที่ดีกว่าที่จะแทนอนุกรมของตัวเลขชุดหนึ่งด้วยอนุกรมอีกชุดหนึ่งที่แสดงว่ามีความสม่่ำเสมอกว่า กระบวนการนี้รู้จักกันว่าเป็น การปรับให้ค่อยๆ เปลี่ยน1หรือ การปรับให้เรียบ1 และกระบวนการนี้ประกอบด้วยการพาดเส้นโค้งเรียบเส้นหนึ่งผ่านจุดต่างๆ ในอนุกรมเวลาหรืออนุกรมอื่นๆ เช่น จำนวนของบุคคลที่กระจายตามอายุที่รายงาน ถ้าเส้นโค้งเกิดจากการลากด้วยมือ กระบวนการนี้เรียกว่า การปรับให้ค่อยๆ เปลี่ยนโดยกราฟ2 เมื่อใช้วิธีการทางคณิตศาสตร์ในการปรับข้อมูล จะเรียกว่า การปรับเส้นโค้ง3 เส้นโค้งทางคณิตศาสตร์จะปรับให้สอดคล้องกับข้อมูลอาจจะด้วย วิธีกำลังสองน้อยที่สุด4ซึ่งจะทำให้ผลรวมของค่ายกกำลังสองของความแตกต่างระหว่างอนุกรมข้อมูลก่อนและหลังปรับมีค่าน้อยที่สุด วิธีการอื่นๆ เช่น การเลื่อนค่าเฉลี่ย5 หรือวิธีการที่เกี่ยวข้องกับ แคลคูลัสของค่าความแตกต่างที่ไม่เป็นศูนย์6 อาจใช้กระบวนการบางอย่างเพื่อ การประมาณค่าระหว่างช่วง7 การประมาณค่าของอนุกรมที่จุดระหว่างกลางค่าที่ให้มา หรือเพื่อ การประมาณค่านอกช่วง8 การประมาณค่าที่จุดภายนอกของพิสัยของค่าที่ให้มา

152

บ่อยครั้งที่เราจำเป็นต้องปรับการกระจายของข้อมูลให้ค่อยๆ เปลี่ยนเพื่อแก้ความโน้มเอียงที่ผู้คนจะให้คำตอบเป็น จำนวนกลม1 การกองข้อมูล2 หรือ การนิยมตัวเลข2เกิดขึ้นบ่อยๆ โดยเฉพาะในการกระจายอายุ และสะท้อนความโน้มเอียงของผู้คนที่จะบอกอายุของตนด้วยจำนวนที่ลงท้ายด้วย 0 5 หรือเลขอื่นๆ ที่นิยม การกองอายุ3บางครั้งวัดได้ด้วย ดัชนีการนิยมอายุ4 ข้อมูลอายุมักต้องปรับเพื่อแก้รูปแบบอื่นๆ ของ การรายงานอายุผิดพลาด5 หรือ ความลำเอียงในการรายงานอายุ5

153

ค่าตัวเลขของฟังก์ชันทางประชากรต่างๆ โดยทั่วไปจะใส่ไว้ใน ตาราง1 อย่างเช่น ตารางชีพ (431-1) ตารางภาวะเจริญพันธุ์ (634-1) หรือตารางภาวะสมรส (522-1) ปรกติจะทำให้เห็นความแตกต่างระหว่าง ตารางตามปีปฏิทิน2 หรือ ตารางตามช่วงเวลา2ซึ่งแสดงข้อมูลที่รวบรวมในช่วงเวลาที่จำกัด และ ตารางตามรุ่น3 หรือ ตารางตามรุ่นวัย3ซึ่งเกี่ยวข้องกับประสบการณ์ตลอดชั่วชีวิตของคนรุ่นหนึ่ง ตารางแบบลดลงหลายทาง4แสดงผลพร้อมๆ กันของเหตุการณ์ที่ไม่สามารถเกิดขึ้นใหม่หลายๆ อย่าง อย่างเช่นผลของการแต่งงานครั้งแรกและการตายต่อประชากรกลุ่มเดียว ตารางที่ใช้กันมากที่สุดคือ ตารางแบบลดลงสองทาง4 ตารางพยากรณ์ 5*ให้ค่าตัวเลขของฟังก์ชันทางประชากร เช่นฟังก์ชันการรอดชีพ (431-6) ซึ่งสามารถนำไปใช้เพื่อพยากรณ์ประชากร (cf. 720-2)ได้โดยตรง เมื่อประชากรถูกจำแนกออกเป็นสองหรือมากกว่าสองกลุ่มอายุ ตามสถานภาพทางเศรษฐกิจ (เช่น สตรีในหรือนอกกำลังแรงงาน) สถานภาพสมรส ภาค ฯลฯ และเมื่อมีความเป็นไปได้ของทิศทางที่ต่อเนื่องระหว่างกลุ่มเกิดขึ้นตลอดเวลาแม้ว่าสถานะแตละบุคคลสามารถวัดได้ในเวลาที่แยกๆ กันเท่านั้น (คลื่นของการศึกษาระยะยาว การสอบถามถึงการจดทะเบียนประชากร ฯลฯ) วิธีเพิ่มขึ้น-ลดลง 6* หรือวิธีหลายสถานะ 6*ถูกพัฒนาและนำมาใช้

154

Where insufficient data exist to establish the value of a given variable accurately, attempts may be made to estimate1 this value. The process is called estimation2 and the resulting value an estimate3. Where data are practically non-existent a conjecture4 may sometimes be made to establish the variable’s order of magnitude5 .

155

Methods of graphic representation1 or diagrammatic representation1 may be used to illustrate an argument. The data are represented in a figure2, graph2, statistical chart3 or map3. A schematic representation of the relationships between variables is often called a diagram4, for example the Lexis Diagram (cf. 437). A graph in which one co-ordinate axis is graduated logarithmically and the other arithmetically is called a semi-logarithmic graph5, though such graphs are often inaccurately referred to as logarithmic graphs5. A true logarithmic graph6 has both axes graduated logarithmically and is sometimes referred to as a double logarithmic graph6. A frequency distribution may be represented graphically by frequency polygons7 obtained by joining points representing class frequencies with straight lines, by a histogram8, where class frequencies are represented by the area of a rectangle with the class interval as its base, by bar charts9, in which the class frequencies are proportionate to the length of a bar or by an ogive10 representing the cumulative frequency distribution.

* * *

ไปยัง: คำนำสู่ดีโมพีเดีย | คำแนะนำการใช้ | ดาวน์โหลด
บทที่: อารัมภบท | 1. แนวคิดทั่วไป | 2. การจัดการและการประมวลผลสถิติประชากร | 3. การกระจายตัวและการจำแนกของประชากร | 4. ภาวะการตายและการเจ็บป่วย | 5. ภาวะสมรส | 6. ภาวะเจริญพันธุ์ | 7. การเพิ่มประชากรและการทดแทน | 8. การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่ | 9. มุมมองด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชากรศาสตร์
หน้าที่: 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 20 | 21 | 22 | 23 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 40 | 41 | 42 | 43 | 50 | 51 | 52 | 60 | 61 | 62 | 63 | 70 | 71 | 72 | 73 | 80 | 81 | 90 | 91 | 92 | 93

ดึงข้อมูลจาก "http://th-ii.demopaedia.org/w/index.php?title=15&oldid=150"