The Demopædia Encyclopedia on Population is under heavy modernization and maintenance. Outputs could look bizarre, sorry for the temporary inconvenience

พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาษา ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง ภาษาไทย

16

จาก Demopædia


ข้อความปฏิเสธความรับผิดชอบ : ผู้สนับสนุนทั้งหลายของดีโมพีเดียไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับความหมายของศัพท์ต่างๆ ที่อยู่ในพจนานุกรมฉบับปรังปรุงนี้

พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาพ ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง ยังอยู่่ระหว่างการดำเนินงาน หากต้องการเสนอข้อคิดเห็นใดๆ กรุณาใช้พื้นที่อภิปราย


ไปยัง: คำนำสู่ดีโมพีเดีย | คำแนะนำการใช้ | ดาวน์โหลด
บทที่: อารัมภบท | 1. แนวคิดทั่วไป | 2. การจัดการและการประมวลผลสถิติประชากร | 3. การกระจายตัวและการจำแนกของประชากร | 4. ภาวะการตายและการเจ็บป่วย | 5. ภาวะสมรส | 6. ภาวะเจริญพันธุ์ | 7. การเพิ่มประชากรและการทดแทน | 8. การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่ | 9. มุมมองด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชากรศาสตร์
หน้าที่: 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 20 | 21 | 22 | 23 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 40 | 41 | 42 | 43 | 50 | 51 | 52 | 60 | 61 | 62 | 63 | 70 | 71 | 72 | 73 | 80 | 81 | 90 | 91 | 92 | 93


160

วิธีการสุ่มตัวอย่าง1ใช้เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับประชากรจากเพียงบางส่วนของประชากร แทนที่จะต้องศึกษาทุกๆ คน (110-2) บางส่วนของประชากรที่ศึกษาเรียกว่า ตัวอย่าง2 ประชากรเป็นกลุ่มรวมของ องค์ประกอบ3ซึ่งเป็นเป้าหมายของการตรวจสอบศึกษา หน่วยตัวอย่าง4อาจเป็นองค์ประกอบหนึ่ง หรือกลุ่มขององค์ประกอบของประชากรและใช้สำหรับการเลือกตัวอย่าง ในตัวอย่างทางประชากรศาสตร์ โดยปรกติองค์ประกอบจะเป็นบุคคล (110-2) ครอบครัว (115-1) หรือครัวเรือน (110-3) และหน่วยตัวอย่างอาจเป็นบุคคล ครัวเรือน กลุ่มบ้าน เทศบาล หรือพื้นที่ ตัวอย่างจะประกอบด้วยจำนวนของหน่วยตัวอย่างที่เลือกให้เป็นไปตาม โครงการสุ่มตัวอย่าง5 หรือ แผนการสุ่มตัวอย่าง5

161

ตัวอย่างซึ่งองค์ประกอบถูกเลือกมาโดยกระบวนการให้โอกาสที่จะถูกเลือกเรียกว่า กลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่ม1 หรือ สุ่มตัวอย่างด้วยหลักความน่าจะเป็น1 ถ้ามีบัญชีของหน่วยตัวอย่างที่สมบูรณ์จะเรียกบัญชีนี้ว่า กรอบตัวอย่าง3 ใน การสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย4 สัดส่วนของหน่วยตัวอย่างจะถูกเลือกจากกรอบตัวอย่างด้วย การสุ่ม2 สัดส่วนนี้เรียกว่า เศษส่วนตัวอย่าง5 หรือ อัตราส่วนตัวอย่าง5 กลุ่มตัวอย่างอย่างเป็นระบบ6ถูก เลือกอย่างเป็นระบบ7จากกรอบซึ่งหน่วยตัวอย่างถูกให้หมายเลขไว้ตามลำดับ ตัวอย่างถูกเลือกโดยเลือกหน่วยที่ nth, (n + s)th, (n + 2s)th, ...., ฯลฯ เมื่อ n ไม่มากกว่า s และถูกเลือกมาโดยการสุ่ม ใน การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มรวม8 องค์ประกอบประชากรไม่ได้ถูกเลือกมาทีละหน่วย แต่เลือกมาเป็นกลุ่มซึ่งเรียกว่า กลุ่มรวม9

162

ใน การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น1 ประชากรจะถูกแบ่งออกเป็น ชั้น2 ซึ่งมีความหมายไปในเชิงว่าในชั้นนั้นมีความเหมือนกัน (134-4) มากกว่าประชากรทั้งหมดในแง่ของลักษณะที่ศึกษา และการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (161-4) จะถูกเลือกในแต่ละชั้น เศษส่วนตัวอย่าง (161-5) ที่ผันแปรไปอาจใช้ในชั้นที่ต่างกัน การสุ่มตัวอย่างหลายขั้นตอน3เป็นวิธีการที่การเลือกตัวอย่างดำเนินไปในหลายขั้นตอน ตัวอย่างของ หน่วยปฐมภูมิ4ถูกเลือกมาก่อนในขั้นแรก และหน่วยเหล่านี้จะถือเป็นประชากร (101-3) ที่จะเลือกเป็น กลุ่มตัวอย่างย่อย5ของ หน่วยทุติยภูมิ6 และกระบวนการเลือกตัวอย่างเช่นนั้นอาจทำซ้ำอีก เมื่อไม่มีกรอบตัวอย่างที่ดี อาจเลือกตัวอย่างของพื้นที่ที่กำหนดขอบเขตไว้บนแผนที่ กระบวนการนี้เรียกว่า การสุ่มตัวอย่างเชิงพื้นที่7

163

ในการสุ่มตัวอย่างด้วยหลักความน่าจะเป็น (161-1) วิธีการที่ให้โอกาสในการถูกเลือกถูกใช้เพื่อให้ได้ กลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทน1 ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างซึ่งสะท้อนภาพจริงๆ ของประชากรในแง่ของลักษณะทั้งหมดที่กำลังศึกษายกเว้นการผันแปรขึ้นๆ ลงๆ อย่างไม่จงใจ ต่างจาก การสุ่มตัวอย่างแบบโควต้า2 กลุ่มตัวอย่างถูกเลือกโดยจงใจเพื่อสะท้อนภาพประชากรที่มีลักษณะเฉพาะบางอย่าง และพนักงานสัมภาษณ์ (204-2) แต่ละคนจะได้รับจำนวน โควต้า3ของประเภทต่างๆ ของหน่วยตัวอย่างที่จะนำไปรวมไว้ในกลุ่มตัวอย่างของเขา ภายในขอบเขตจำกัดของจำนวนในโควต้านั้น พนักงานสัมภาษณ์จะเลือกหน่วยตัวอย่างใดก็ได้

164

พารามิเตอร์ประชากร1เป็นค่าตัวเลขที่บอกลักษณะประชากรกลุ่มหนึ่ง การคาดประมาณทางสถิติ2เป็นชื่อที่ให้แก่กระบวนการซึ่งค่าของพารามิเตอร์นั้นได้ถูกประมาณจากกลุ่มตัวอย่าง ค่าประมาณเหล่านั้นอาจมี ความคลาดเคลื่อนของการสุ่มตัวอย่าง3 และมาตรวัดของขนาดของความคลาดเคลื่อนของการสุ่มตัวอย่างโดยทั่วไปได้จาก ค่าคลาดเคลื่อนมาตรฐาน4 บางครั้ง ช่วงความเชื่อมั่น5ถูกโยงไปสัมพันธ์กับค่าคาดประมาณเพื่อแสดงขอบเขตซึ่งจำนวนที่คาดประมาณคาดว่าจะอยู่ในขอบเขตนั้นด้วยความน่าจะเป็นที่กำหนดไว้ก่อน ความแตกต่างระหว่างสองค่าเรียกว่า ความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ6เมื่อความน่าจะเป็นที่เกิดจากโอกาสมีน้อยกว่าค่าที่กำหนดไว้ซึ่งเรียกว่า ระดับนัยสำคัญ7 ฉะนั้น ความแตกต่างจะมีนัยสำคัญที่ระดับร้อยละ 5 ถ้าความน่าจะเป็นที่มันจะเกิดขึ้นโดยโอกาสน้อยกว่า 0.05 นอกจากความคลาดเคลื่อนของการสุ่มตัวอย่างแล้ว ความคลาดเคลื่อนของข้อมูล8 หรือ ความคลาดเคลื่อนของการตอบคำถาม8 ก็มีผลต่อค่าประมาณด้วย ปรกติความคลาดเคลื่อนเหล่านี้รวม ความลำเอียงของพนักงานสัมภาษณ์9 ซึ่งเป็นความคลาดเคลื่อนอย่างเป็นระบบที่เกิดจากตัวพนักงานสัมภาษณ์ในขณะที่ทำการรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น

* * *

ไปยัง: คำนำสู่ดีโมพีเดีย | คำแนะนำการใช้ | ดาวน์โหลด
บทที่: อารัมภบท | 1. แนวคิดทั่วไป | 2. การจัดการและการประมวลผลสถิติประชากร | 3. การกระจายตัวและการจำแนกของประชากร | 4. ภาวะการตายและการเจ็บป่วย | 5. ภาวะสมรส | 6. ภาวะเจริญพันธุ์ | 7. การเพิ่มประชากรและการทดแทน | 8. การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่ | 9. มุมมองด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชากรศาสตร์
หน้าที่: 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 20 | 21 | 22 | 23 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 40 | 41 | 42 | 43 | 50 | 51 | 52 | 60 | 61 | 62 | 63 | 70 | 71 | 72 | 73 | 80 | 81 | 90 | 91 | 92 | 93

ดึงข้อมูลจาก "http://th-ii.demopaedia.org/w/index.php?title=16&oldid=741"