The Demopædia Encyclopedia on Population is under heavy modernization and maintenance. Outputs could look bizarre, sorry for the temporary inconvenience

พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาษา ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง ภาษาไทย

61

จาก Demopædia


ข้อความปฏิเสธความรับผิดชอบ : ผู้สนับสนุนทั้งหลายของดีโมพีเดียไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับความหมายของศัพท์ต่างๆ ที่อยู่ในพจนานุกรมฉบับปรังปรุงนี้

พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาพ ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง ยังอยู่่ระหว่างการดำเนินงาน หากต้องการเสนอข้อคิดเห็นใดๆ กรุณาใช้พื้นที่อภิปราย


ไปยัง: คำนำสู่ดีโมพีเดีย | คำแนะนำการใช้ | ดาวน์โหลด
บทที่: อารัมภบท | 1. แนวคิดทั่วไป | 2. การจัดการและการประมวลผลสถิติประชากร | 3. การกระจายตัวและการจำแนกของประชากร | 4. ภาวะการตายและการเจ็บป่วย | 5. ภาวะสมรส | 6. ภาวะเจริญพันธุ์ | 7. การเพิ่มประชากรและการทดแทน | 8. การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่ | 9. มุมมองด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชากรศาสตร์
หน้าที่: 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 20 | 21 | 22 | 23 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 40 | 41 | 42 | 43 | 50 | 51 | 52 | 60 | 61 | 62 | 63 | 70 | 71 | 72 | 73 | 80 | 81 | 90 | 91 | 92 | 93


610

การเกิดจำแนกออกตาม ความถูกต้องตามกฎหมาย1 เด็กที่ถูกต้องตามกฎหมาย2อาจนิยามอย่างเคร่งครัดว่าหมายถึงเด็กที่บิดาและมารดาแต่งงานกันในเวลาที่ปฏิสนธิ แต่ในทางปฏิบัติ การจำแนกเช่นนั้นขึ้นอยู่กับสถานภาพสมรสของมารดา ณ เวลาของการเกิด หรือ หลังจากการสูญสลายของการแต่งงาน (510-3) ก็ขึ้นอยู่กับสถานภาพสมรสของมารดา ณ เวลาของการปฏิสนธิ การเกิดที่ถูกต้องตามกฎหมาย3เป็นการคลอดของเด็กที่ถูกต้องตามกฎหมาย การเกิดอื่นนอกจากนั้นเป็น การเกิดที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย4 เป็นสิ่งที่ปฏิบัติกันทั่วไปที่จะพิจารณาว่าเด็กที่เป็นผลมาจาก การปฏิสนธิก่อนแต่งงาน5 หรือ การปฏิสนธิก่อนสมรส5 (ได้แก่การปฏิสนธิที่เกิดขึ้นก่อนการแต่งงาน) เป็นเด็กถูกต้องตามกฎหมายถ้าบิดามารดาของเด็กนั้นแต่งงานกัน ณ เวลาของการเกิด เด็กที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย6 หรือ เด็กเกิดนอกสมรส6อาจ ทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย8 หรือ ทำให้ชอบด้วยกฎหมาย8โดยการแต่งงานของบิดามารดาในเวลาต่อมา กระบวนการของ การทำให้ชอบด้วยกฎหมาย9ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ อาจให้สิทธิทางกฎหมายบางอย่างหรือสิทธิทั้งหมดซึ่งเด็กที่ถูกต้องตามกฎหมายพึงมีแก่เด็กที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ในระบบกฎหมายบางระบบ เป็นไปได้ที่บิดาจะให้ การยอมรับ7 หรือ การรับรู้7บุตรที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายของเขา กล่าวคือ ยอมรับในรูปแบบทางกฎหมายว่าตนเป็นบิดาของเด็ก

  • 5. มีการใช้คำว่าท้องก่อนแต่งด้วยเช่นกัน
  • 6. คำว่าลูกไม่มีพ่อก็มีการใช้ด้วยเช่นกัน ตามกฎหมายของบางประเทศ เด็กจะถือว่าไม่ถูกต้องตามกฎหมายถ้าเป็นผลมาจากความสัมพันธ์ที่ผิดกฎหมาย หรือ ความสัมพันธ์นอกสมรส ซึ่งได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างหญิงที่แต่งงานแล้วกับชายที่มิใช่เป็นสามี แต่การเกิดเช่นนั้นอาจไม่จดทะเบียนว่าเป็นเด็กที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายเสมอไป

611

การเกิดอาจจำแนกออกตาม ลำดับการเกิด1 เช่น การเกิดลำดับแรก การเกิดลำดับที่สอง ฯลฯ ปรกติลำดับการเกิดกำหนดได้โดยดูจาก ลูกคนก่อนๆ ที่เกิดกับแม่3 และบางครั้งดูเพียง ลูกที่เกิดในการแต่งงานครั้งปัจจุบัน2 โดยทั่วไปลำดับการเกิดจะนับเฉพาะการเกิดมีชีพเท่านั้น แต่บางครั้งก็นับการตายตัวอ่อนระยะหลังเอาไว้ด้วย การจำแนกประเภทของผู้หญิงโดย ลำดับการคลอดบุตร4ทำได้ในวิธีเดียวกันกับการเกิด โดยการนับครรภ์ทั้งหมดที่มีอายุอย่างน้อย 28 สัปดาห์ และนับการเกิดลูกแฝดเป็นการคลอดบุตร (cf. 603-4) ครั้งเดียว ในทำนองเดียวกัน การจำแนกประเภท ลำดับการตั้งครรภ์5ทำได้โดยการนับการตั้งครรภ์ที่รู้ทั้งหมด ในทางการแพทย์เรียกผู้หญิงว่า หญิงไม่เคยตั้งครรภ์6 ถ้าผู้หญิงคนนั้นไม่เคยตั้งครรภ์มาก่อน ศัพท์คำว่า ท้องแรก7 และ ตั้งครรภ์มาแล้วหลายครั้ง8 ใช้สำหรับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์เป็นครั้งแรก และเคยตั้งครรภ์มาก่อนตามลำดับ ยังมีการจำแนกประเภทผู้หญิงออกตาม จำนวนบุตร9 โดยปรกตินับจากจำนวนบุตรที่เกิดมีชีพ แม้ว่าในวรรณกรรมทางชีววิทยา ศัพท์คำนี้จะหมายถึงจำนวนของการคลอดบุตรก็ตาม และผู้หญิงที่ไม่เคยคลอดบุตรมาก่อนเลยเรียกว่า หญิงไม่เคยคลอดบุตร10 ในทำนองเดียวกัน ผู้หญิงจะเรียกเป็น หญิงคลอดบุตรครั้งแรก11 เมื่อคลอดบุตรครั้งแรก และเป็น หญิงคลอดบุตรมาแล้วหลายครั้ง12 เมื่อมีการคลอดบุตรครั้งต่อๆ มา

  • 1. การเกิดลำดับสูงกว่าเป็นการเกิดหลังจากการเกิดลำดับสุดท้ายที่ระบุ เช่น การเกิดลำดับที่ห้าและลำดับสูงกว่า
  • 9. ผู้หญิงที่ไม่เคยให้กำเนิดบุตรเลยเรียกว่า สตรีลำดับบุตรศูนย์ สตรีลำดับบุตรหนึ่งหมายถึงสตรีที่ให้กำเนิดบุตร 1 คนและไม่มีบุตรอีกเลย และต่อๆ ไป

612

การศึกษาเรื่อง เวลาการเกิด1เกี่ยวข้องกับความยาวนานของ ช่วงห่างระหว่างการเกิด2 ช่วงเวลานี้รวมถึง ช่วงห่างระหว่างการแต่งงานและการเกิดบุตรคนแรก3 และ ช่วงห่างระหว่างการเกิดบุตรคนต่อๆ มา4 ช่วงห่างระหว่างการเกิดกับวันเวลาที่กำหนดไว้อย่างเช่นวันเวลาของสำมะโน (202-1 *) หรือของการสำรวจ (203-4) เรียกว่า ช่วงห่างระหว่างการเกิดเปิด5 ช่วงห่างที่เริ่มก่อนและจบลงหลังจากวันเวลาที่กำหนดไว้เรียกว่า ช่วงคร่อม6 ช่วงห่างระหว่างการแต่งงานกับการเกิดลำดับที่ N7ก็มีการใช้ในการศึกษาเวลาของการเกิด

  • 1. การเว้นระยะการมีบุตร แม้บางครั้งจะมีความหมายของเวลาการเกิดตามที่กล่าวข้างต้น แต่จะใช้คำนี้เพื่อหมายถึงความพยายามของคู่สมรสที่จะเลื่อนเวลาของการมีบุตรออกไป
  • 3. เรียกว่าช่วงห่างของบุตรคนแรกก็ได้ ช่วงห่างของบุตรคนที่สองคือช่วงเวลาระหว่างการเกิดครั้งแรกและการเกิดครั้งที่สอง และต่อๆ ไป
  • 4. ดังจะเห็นได้จากข้อมูลของสำมะโนหรือการสำรวจ ช่วงห่างระหว่างการเกิดบุตรคนต่อๆ ไปที่บันทึกไว้จะเรียกว่าช่วงห่างการเกิดปิด

613

ในการคิดระยะเวลาของการ เปิดสู่ความเสี่ยงของการปฏิสนธิ1จำเป็นต้องพิจารณาถึง ช่วงห่างระหว่างครรภ์2 ช่วงห่างระหว่างการแต่งงานกับครรภ์แรกเป็น การยืดเวลาปฏิสนธิ3หรือ ช่วงห่างของครรภ์แรก3 ระยะเวลาระหว่างการสิ้นสุดของครรภ์หนึ่งกับการเริ่มต้นของครรภ์ต่อไปเป็น ช่วงห่างระหว่างครรภ์4 ถ้าลบเวลาเมื่อที่ผู้หญิงไม่มีกิจกรรมทางเพศออกไป ก็จะได้ ช่วงห่างระหว่างครรภ์สุทธิ5 ระยะเวลาระหว่างการสิ้นสุดของครรภ์สุดท้ายกับวันเวลาของการสำรวจเรียกว่า ช่วงห่างระหว่างครรภ์เปิด6

* * *

ไปยัง: คำนำสู่ดีโมพีเดีย | คำแนะนำการใช้ | ดาวน์โหลด
บทที่: อารัมภบท | 1. แนวคิดทั่วไป | 2. การจัดการและการประมวลผลสถิติประชากร | 3. การกระจายตัวและการจำแนกของประชากร | 4. ภาวะการตายและการเจ็บป่วย | 5. ภาวะสมรส | 6. ภาวะเจริญพันธุ์ | 7. การเพิ่มประชากรและการทดแทน | 8. การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่ | 9. มุมมองด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชากรศาสตร์
หน้าที่: 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 20 | 21 | 22 | 23 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 40 | 41 | 42 | 43 | 50 | 51 | 52 | 60 | 61 | 62 | 63 | 70 | 71 | 72 | 73 | 80 | 81 | 90 | 91 | 92 | 93

ดึงข้อมูลจาก "http://th-ii.demopaedia.org/w/index.php?title=61&oldid=411"