The Demopædia Encyclopedia on Population is under heavy modernization and maintenance. Outputs could look bizarre, sorry for the temporary inconvenience

พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาษา ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง ภาษาไทย

22

จาก Demopædia


ข้อความปฏิเสธความรับผิดชอบ : ผู้สนับสนุนทั้งหลายของดีโมพีเดียไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับความหมายของศัพท์ต่างๆ ที่อยู่ในพจนานุกรมฉบับปรังปรุงนี้

พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาพ ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง ยังอยู่่ระหว่างการดำเนินงาน หากต้องการเสนอข้อคิดเห็นใดๆ กรุณาใช้พื้นที่อภิปราย


ไปยัง: คำนำสู่ดีโมพีเดีย | คำแนะนำการใช้ | ดาวน์โหลด
บทที่: อารัมภบท | 1. แนวคิดทั่วไป | 2. การจัดการและการประมวลผลสถิติประชากร | 3. การกระจายตัวและการจำแนกของประชากร | 4. ภาวะการตายและการเจ็บป่วย | 5. ภาวะสมรส | 6. ภาวะเจริญพันธุ์ | 7. การเพิ่มประชากรและการทดแทน | 8. การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่ | 9. มุมมองด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชากรศาสตร์
หน้าที่: 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 20 | 21 | 22 | 23 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 40 | 41 | 42 | 43 | 50 | 51 | 52 | 60 | 61 | 62 | 63 | 70 | 71 | 72 | 73 | 80 | 81 | 90 | 91 | 92 | 93


220

กระบวนการของการได้มาซึ่งข้อมูลสถิติจากเอกสารที่ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อวัตถุประสงค์นี้เรียกว่า การสกัด1 โดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นข้อมูลจากแหล่งใด ข้อมูลทางสถิติจะต้องมี การประมวลผล2ซึ่งอาจทำ ด้วยมือ3 ด้วย เครื่องกล4 ด้วย เครื่องอิเลคทรอนิค5 หรือวิธีการเหล่านี้ผสมกัน การประมวลผลด้วยมือไม่ต้องใช้อุปกรณ์ที่ซับซ้อนไปกว่า เครื่องคิดเลขแบบตั้งโต๊ะ6 การประมวลผลด้วยเครื่องกลใช้เครื่องทำตาราง (224-2) หรือเครื่องเจาะบัตร (224-3) การประมวลผลด้วยเครื่องอิเลคทรอนิคใช้คอมพิวเตอร์ (132-2*) ไม่ว่าจะประมวลผลข้อมูลด้วย ประเภทของปฏิบัติการ7ใด จะต้องรวม การบรรณาธิกรณ์8ข้อมูล การทำตาราง (130-6*) และการคำนวณ (132-2) และ การเตรียมตาราง9 ปฏิบัติการเหล่านี้จะเป็นไปอย่างซับซ้อนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับวิธีการประมวลผลที่เลือกใช้

  • 8. การบรรณาธิกรณ์ (editing) ในภาษาอังกฤษคำนี้หมายถึงการดำเนินการกับทั้งเอกสารพื้นฐาน หรือข้อมูลที่เครื่องจักรอ่านได้ เพื่อที่จะแก้ไขความไม่แนบนัย หรือกำจัดส่วนที่ตกหล่นไป ในภาษาฝรั่งเศส การบรรณาธิกรณ์หมายถึงขั้นตอนของการเตรียมตาราง
    ในภาษาไทย มีความหมายเหมือนในภาษาอังกฤษ

221

ปรกติการบรรณาธิกรณ์ข้อมูลต้องมีการ ลงรหัส1ของบันทึกจำนวนหนึ่งใน เอกสารพื้นฐาน2ก่อน แนวการลงรหัส3จะวางไว้ให้สอดคล้องกันระหว่างบันทึกและคำแปลเป็นรหัสตัวเลขหรือรหัสอักษร สมุดลงรหัส (code book) รวบรวมและอธิบายแนวการลงรหัสที่ใช้กับเอกสารพื้นฐานชุดเฉพาะนั้น ปรกติแนวการลงรหัสจะออกแบบมาเพื่อช่วยในการรวมกลุ่มข้อมูลในภายหลัง ในทางตรงกันข้าม การแยกประเภท4เป็นเพียงบัญชีรายการของรหัสแต่ละตัว ในขณะที่แต่ละ หัวข้อ5จะให้เลขจำนวนหนึ่งหรือหลายจำนวน หลังจากที่ข้อมูลได้ถูกลงรหัสแล้ว ก็จะเกิดไฟล์ (213-3*)ขึ้นมาซึ่งสามารถแปลงให้อยู่ในรูปที่เครื่องกลจะอ่านได้ ขั้นตอนที่สองในการบรรณาธิกรณ์ประกอบด้วย การชำระ6ไฟล์ข้อมูลด้วยการกำจัดข้อผิดพลาด โดยการ ตรวจสอบความถูกต้อง7 และการ ตรวจสอบความแนบนัย7 การตรวจสอบเหล่านี้สามารถทำเป็นการตรวจสอบภายในในแต่ละหน่วยสถิติ (cf. 110-1) หรืออาจเป็นผลมาจากการเปรียบเทียบของหน่วยต่างๆ กัน หลังจากที่ข้อผิดพลาดได้ถูกตรวจพบแล้ว อาจมีการแก้ไขในเอกสารเดิม หรือแก้ในไฟล์โดยกระบวนการอัตโนมัติบางอย่าง

222

ข้อมูลที่บรรณาธิกรณ์แล้วไม่ค่อยมีการนำไปใช้โดยตรง ข้อมูลเหล่านี้จะต้องมีการจัดกลุ่ม (130-7) และทำตาราง (130-6*) ที่จะนำไปสู่การนำเสนอในรูปของตารางสถิติ (131-4) สิ่งเหล่านี้อาจเป็นผลลัพธ์ของการ แยกประเภท1ไม่ว่าจะทำด้วยมือหรือด้วยเครื่องกล เป็นผลให้เกิดการจัดแบ่งกลุ่มขององค์ประกอบต่างๆ ในอนุกรมนั้นใหม่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นมา หรือเป็นเพียงการนับอย่างมีระบบขององค์ประกอบที่มีลักษณะที่เลือกไว้ การเลือกขององค์ประกอบหรือของลักษณะอาจมีพื้นฐานอยู่บนค่าของลักษณะเชิงปริมาณอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง หรือ แบบวิธี2ของลักษณะเชิงคุณภาพอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง การศึกษาบางโครงการสามารถทำได้โดยไม่ต้องมีการคิดคำนวณ ง่ายหรือซับซ้อน แยกเดี่ยวหรือทำซ้ำ และคอมพิวเตอร์ (225-2)ช่วยให้การคำนวณที่ถ้าทำด้วยมือแล้วจะใช้เวลาและยุ่งยากมากให้เป็นไปได้อย่างง่ายดาย ความสามารถของคอมพิวเตอร์เหล่านี้ได้นำไปสู่พัฒนาการของเทคนิคต่างๆ ของการ วิเคราะห์ข้อมูล3 แบบจำลอง (cf. 730) แบบตัวกำหนดหรือแบบสโตคาสติกต้องการการคำนวณที่มากมายมหาศาล เช่นเดียวกับการทำเหตุการณ์จำลอง (730-6)

223

ขั้นตอนของการเตรียมตาราง (220-9) มุ่งที่จะทำให้ผลของการประมวลผลข้อมูลนำไปใช้ได้อย่างสะดวกในรูปแบบของ บัญชีรายการ1 ตารางตัวเลข (131-4) หรือแผนภูมิ (155-2) ทั้งหมดนี้ใช้กันทั่วไปใน สถิติเชิงพรรณนา2 การใช้ การทำกราฟคอมพิวเตอร์3 และ การสร้างแผนภาพคอมพิวเตอร์3 ทำให้สามารถสร้างผลผลิตจำนวนมากๆ ของการนำเสนอเป็นกราฟฟิกตั้งแต่ยังอยู่ในขั้นตอนต้นๆ ของโครงการ

224

การประมวลผลด้วยเครื่องกล (220-4) ล้วนๆ ไม่เกี่ยวข้องกับการใช้ อุปกรณ์อิเลคทรอนิค1 ซึ่งได้เข้ามาแทนที่ เครื่องทำตาราง2 หรือ เครื่องบันทึกหน่วย2ยุคก่อนและมีความสามารถรอบด้านมากกว่า ส่วนมากข้อมูลจะถูกลงรหัส (221-1*) ก่อนแล้วจึงถ่ายลงไปสู่ บัตรเจาะ3โดยการใช้ เครื่องเจาะบัตร4 เครื่องตรวจบัตร5เป็นเครื่องมือที่ใช้เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของการเจาะบัตร เครื่องบันทึกหน่วยทั้งสองประเภทนี้ยังคงมีใช้กันอยู่เนื่องจากบัตรเจาะยังเป็นวิธีนำข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ทั่วไป อุปกรณ์บันทึกหน่วยประเภทอื่น อย่างเช่น เครื่องแยกบัตร6 และ เครื่องทำตาราง7มีการใช้น้อยลงแล้ว ที่มีการใช้เพิ่มขึ้นคือการใส่ข้อมูลโดยตรงเข้าไปสู่แถบแม่เหล็ก (cf. 226-4) หรือ แผ่นดิสก์ (cf. 226-5) โดยไม่ต้องใช้บัตรเจาะ

225

การวิจัยทางประชากรศาสตร์ขึ้นอยู่อย่างมากกับ การประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเลคทรอนิค1โดยใช้ คอมพิวเตอร์2 ศัพท์คำว่า ฮาร์ดแวร์3หมายถึงส่วนประกอบทางกายภาพ ในขณะที่ ซอฟท์แวร์4จะช่วย ผู้ใช้5ด้วยวิธีเข้าถึงคอมพิวเตอร์ ผู้เชี่ยวชาญคอมพิวเตอร์6 มี โปรแกรมเมอร์7 คือคนที่เขียน โปรแกรม8ที่คิดขึ้นโดย นักวิเคราะห์ระบบ9

226

ส่วนประกอบฮาร์ดแวร์ (225-3) ของคอมพิวเตอร์ (225-2)รวม หน่วยประมวลผลกลาง1หนึ่งหรือหลายตัว หน่วยความจำกลาง2 อุปกรณ์เก็บมวลข้อมูล3หนึ่งหรือหลายตัว ซึ่งใช้ แถบแม่เหล็ก4 หรือ แผ่นดิสก์5 และชุดของ อุปกรณ์นำเข้า-นำออก6 ส่วนประกอบซอฟท์แวร์ (225-4) มี ระบบปฏิบัติการ7ซึ่งทำงานจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็น สิ่งอำนวยความสะดวก8สำหรับผู้ใช้ (225-5) ในการวิ่ง โปรแกรมของผู้ใช้9 และ โปรแกรมประมวลผล10 ซึ่งเป็นโปรแกรม (225-8) ที่ติดตั้งไว้แล้วที่ออกแบบมาเพื่อแก้ไขปัญหามาตรฐาน

227

ผู้ใช้ (225-5) สามารถจัดการกับปัญหาของเขาโดยการเขียนโปรแกรม (225-8) ใน ภาษาโปรแกรม1ทั่วไป อย่างเช่น Fortran, Cobol, Basic หรือ Algol หรือภาษาเฉพาะที่ออกแบบที่จะใช้โปรแกรมประมวลผล (226-9) ที่เก็บไว้ในหน่วยความจำกลาง (226-2) ของคอมพิวเตอร์อย่างเช่น ระบบจัดการฐานข้อมูล2ที่ใช้เพื่อสร้างและคง คลังข้อมูล2 โปรแกรมประมวลผลการสำรวจ3 หรือ ชุดโปรแกรมสถิติ4 อุปกรณ์ซึ่งใช้เพื่อนำเข้าและได้รับข้อมูลจากคอมพิวเตอร์แตกต่างกันไปตามวิธีประมวลผลใน กลุ่มคำสั่งประมวลผล7 หน่วยนำเข้าและนำออกปรกติเป็น เครื่องอ่านบัตร5 และ เครื่องพิมพ์เส้น6 คอนโซล8คือหน่วยนำเข้าและนำออกปรกติสำหรับการประมวผลใน วิธีแบ่งเวลา9 ไม่ว่าในกรณีใด หน่วยใส่ข้อมูลเข้าอาจแยกอยู่คนละที่กับคอมพิวเตอร์และประมวลผลเมื่อเครื่องอยู่แยกกันเช่นนี้โดย สถานีทางไกล10

  • 1. นอกจากภาษาโปรแกรมตามที่ให้ตัวอย่างไว้ข้างต้นแล้ว ภาษาประเภทอื่นอาจใช้เพื่อจัดการระบบปฏิบัติการ ภาษาเหล่านี้ปรกติจะเรียกว่าภาษาควบคุมงาน

228

ข้อมูลที่ประมวลผลอยู่ในคอมพิวเตอร์ (225-2) ดำเนินไปตาม 3 ขั้นตอนหลัก ขั้นแรกสุด การนำเข้าข้อมูล1 หรือ การป้อนเข้า1 ซึ่งอาจทำโดยการใช้บัตรเจาะ (224-3*) หรือโดยใช้อุปกรณ์ ออนไลน์2 อย่างเช่นคอนโซลคีย์บอร์ด (227-8) ข้อมูลที่เก็บไว้แล้วในคอมพิวเตอร์อาจเข้าถึงได้จากหน่วยความจำกลาง (226-2) หรือจากอุปกรณ์เก็บมวลข้อมูล (226-3) และใช้เป็นข้อมูลนำเข้า นี้เป็นส่วนหนึ่งของ การเก็บรวบรวมข้อมูล3 ซึ่งเริ่มจากการสกัด (220-1) ไปสู่การถ่ายข้อมูลให้อยู่ในสื่ออิเล็คทรอนิก ผ่านกระบวนการการตรวจสอบความถูกต้อง (221-7) และการตรวจสอบความแนบนัย (221-18) ซึ่งสามารถทำได้ระหว่างการนำเข้าข้อมูลเมื่อทำงานแบบออนไลน์ ขั้นตอนที่สอง การประมวลผล (220-2) แบ่งเป็นประเภทหลักสองประเภท การประมวลผลที่เป็นตัวเลข4 และ การประมวลผลที่ไม่ใช่ตัวเลข5 การคำนวณทางคณิตศาสตร์หรือทางสถิติโดยปรกติเป็นปฏิบัติการในการประมวลผลที่เป็นตัวเลข ในขณะที่ปฏิบัติการจัดการต่างๆ เป็นเรื่องของการประมวลผลที่ไม่ใช่ตัวเลข ในขั้นตอนที่สาม บางครั้งเรียกว่าขั้นตอนของผลผลิต ผลที่ประมวลแล้ว6 หรือ ผลผลิต6อาจพิมพ์ออกมาโดยเครื่องพิมพ์เส้น (227-6) หรือเก็บไว้เป็นไฟล์ในอุปกรณ์เก็บมวลข้อมูล (226-3) เพื่อการประมวลผลต่อไป ผลที่ได้อาจส่งไปเข้า พล็อตเตอร์7เพื่อให้ได้ผลที่ประมวลแล้วในแบบของกราฟหรือรูป

* * *

ไปยัง: คำนำสู่ดีโมพีเดีย | คำแนะนำการใช้ | ดาวน์โหลด
บทที่: อารัมภบท | 1. แนวคิดทั่วไป | 2. การจัดการและการประมวลผลสถิติประชากร | 3. การกระจายตัวและการจำแนกของประชากร | 4. ภาวะการตายและการเจ็บป่วย | 5. ภาวะสมรส | 6. ภาวะเจริญพันธุ์ | 7. การเพิ่มประชากรและการทดแทน | 8. การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่ | 9. มุมมองด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชากรศาสตร์
หน้าที่: 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 20 | 21 | 22 | 23 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 40 | 41 | 42 | 43 | 50 | 51 | 52 | 60 | 61 | 62 | 63 | 70 | 71 | 72 | 73 | 80 | 81 | 90 | 91 | 92 | 93

ดึงข้อมูลจาก "http://th-ii.demopaedia.org/w/index.php?title=22&oldid=743"