The Demopædia Encyclopedia on Population is under heavy modernization and maintenance. Outputs could look bizarre, sorry for the temporary inconvenience

พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาษา ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง ภาษาไทย

เกี่ยวกับดีโมพีเดีย

จาก Demopædia



ประวัติความเป็นมา

ฉบับพิมพ์ครั้งแรก

ในปี 1953 คณะกรรมธิการประชากรแห่งสหประชาชาติได้ร้องขอให้มีการจัดทำพจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาษา ซึ่งงานนี้สหพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อการศึกษาทางวิทยาศาสตร์เรื่องประชากร (International Union for the Scientific Study of Population: IUSSP) ได้เสนอตัวรับที่จะดำเนินการ ในปี 1955 สหพันธ์ฯ ได้จัดตั้งคณะกรรมการชั่วคราวขึ้นคณะหนึ่งโดยมี P. Vincent แห่งประเทสฝรั่งเศสเป็นประธานเพื่อจัดทำพจนานุกรมประชากรศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และสเปน คณะกรรมการคณะนี้มีกรรมการคือ C.E. Dieulefait (อาร์เจนตินา) H.F. Dorn (สหรัฐอเมริกา) E. Grebenik (สหราชอาณาจักร) P. Luzzato-Fegiz (อิตาลี) M. Pascua (สวิสเซอร์แลนด์) และ J. Ros Jimeno (สเปน) พจนานุกรมฉบับภาษาฝรั่งเศสและอังกฤษได้พิมพ์เผยแพร่ในปี 1958 และฉบับภาษาสเปนในปี 1959 ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปี 1971 ได้มีฉบับภาษาอื่นอีก 10 ภาษาได้ทยอยพิมพ์ออกมา

ฉบับพิมพ์ครั้งที่สอง

เนื่องจากประชากรศาสตร์และการศึกษาด้านประชากรได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็วมากในช่วงทศวรรษที่ 1960 ในปี 1969 คณะกรรมาธิการประชากรจึงได้เสนอแนะให้มีการปรับปรุงพจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาษาให้ทันสมัยขึ้น ดดยมอบหมายให้สหพันธ์ฯ รับงานนี้ไปดำเนินการอีกครั้งหนึ่ง คณะกรรมการบัญญัติศัพท์ประชากรศาสตร์ระหว่างประเทศชุดใหม่จึงได้จัดตั้งขึ้น โดยให้ P. Paillat (ฝรั่งเศส) เป็นประธาน และเริ่มดำเนินงานในปี 1972 ด้วยความสนับสนุนทางการเงินจากสำนักงานสำมะโนแห่งสหรัฐอเมริกา (U.S. Bureau of the Census) กรรมการในคณะกรรมการชุดนี้มี A. Boyarski (รัสเซีย) E. Grebenik (สหราชอาณาจักร) K. Mayer (สวิสเซอร์แลนด์) J. Nadal (สเปน) และ S. Kono (ญี่ปุ่น) คณะกรรมการชุดนี้ได้ส่งมอบร่างพจนานุกรมที่ได้ปรับแก้แล้วให้ศูนย์/สถาบันประชากรมากกว่าร้อยแห่งพิจารณาให้ความเห็น ในปี 1976 ศาสตราจารย์ลุย อองรี (Louis Henry) ได้รับมอบหมายจากสหพันธ์ฯ ให้ทำหน้าที่บรรณาธิกรณ์และผลิตพจนานุกรมฉบับภาษาฝรั่งเศสพิมพ์ครั้งที่สอง ต่อมา สหพันธ์ฯ ได้ขอให้ศาสตราจารย์เอเตียง แวน เดอ วอลล์ (Etienne van de Walle) ปรับและแปลพจนานุกรมฉบับภาษาฝรั่งเศสให้เป็นภาษาอังกฤษ พจนานุกรมฉบับภาษาอังกฤษพิมพ์ครั้งที่สองได้พิมพ์เผยแพร่ในปี 1982 ในที่สุด ฉบับพิมพ์ครั้งที่สองนี้ได้แปลเป็นภาษาทางการของสหประชาชาติทุกภาษา

จากฉบับพิมพ์ครั้งที่สองมาเป็นดีโมพีเดีย

พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาษาฉบับต่างๆ เป็นหนึ่งในผลิตผลที่ทำกนมายาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ของวิชาประชากรศาสตร์ และเป็นเรื่องที่ต้องขอบคุณอย่างที่สุดต่อผลงานและความทุ่มเทของนักวิชาการในประเทศต่างๆ ที่ได้แปลต้นฉบับภาษาฝรั่งเศสหรือภาษาอังกฤษเป็นภาษาของตน ผลจากความพยายามเหล่านี้ ทำให้ทุกวันนี้ ชุมชนนานาชาติได้รับประโยชน์จากการได้ใช้พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาษาฉบับพิมพ์ครั้งที่สองมากถึง 14 ภาษา ซึ่งต้องขอบคุณอย่างมากต่อความริเริ่มของ Nicolas Brouard ที่ได้รวบรวมพจนานุกรมประชากรศาสตร์แบับภาษาต่างๆ ที่ได้พิมพ์มาแล้วทั้งหมด และได้พัฒนาการนำเสนอด้วยวิธีการของวิกิ (Wiki-based) ในเว็บไซต์ที่ชื่อว่า Multilingual Demographic Dictionary กองประชากรสหประชาชาติ (United Nations Population Division) IUSSP และ Comité national français ของ IUSSP ได้ให้การสนับสนุนงานนี้มาโดยตลอดเพื่อที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลความรู้ที่มีคุณค่ายิ่งแหล่งนี้

ทำไมจึงออนไลน์?

ด้วยเหตุที่ว่าพจนานุกรมประชากรศาสตร์ในภาษาต่างๆ ได้กลายเป็นเครื่องมือรับใช้ผู้คนในหลายประเทส การทำให้พจนานุกรมนี้สามารถเข้าถึงได้โดยผ่านทางอินเทอร์เน็ตจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง ต้องขอบคุณต่อโครงการที่นำโดย Nicolas Brouard ที่ทำให้ทุกวันนี้เรามีศัพท์ประชากรศาสตร์ที่เป็นมาตรฐานพร้อมกับความหมายของศัพท์เหล่านั้นอยู่ห่างไกลเพียงคลิก 2 ครั้งเท่านั้น สำหรับนักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ นักวิจัย นักหนังสือพิมพ์ องค์การพัฒนาเอกชน และสาธารณชน ที่จะได้ทำงานและรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับประชากรด้วยภาษาของตนเอง

เกี่ยวกับการทำงาน

ผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ดีโมพีเดียสามารถใช้พจนานุกรมในภาษาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการอ่านบนหน้าจอ หรือดาวน์โหลดและพิมพ์ออกมา เจ้าของลิขสิทธิ์ทุกคนได้อนุญาตแล้ว ผู้ใช้พจนานุกรมสามารถค้นหาศัพท์ประชากรศาสตร์คำหนึ่ง แล้วโยงไปสู่ศัพท์คำอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกัน หรือเปลี่ยนไปดูศัพท์คำนั้นในอีกภาษาหนึ่งหรืออีกฉบับพิมพ์หนึ่ง เนื่องจากพจนานุกรมที่พิมพ์แต่ละฉบับประกอบด้วยบทต่างๆ ตามประเด็นเรื่อง คำศัพท์ต่างๆ จึงจัดว่างไว้ตามในเนื้อความซึ่งไม่ได้ให้คำนิยามของศัพท์แต่ละคำเท่านั้น หากแต่ยังอธิบายให้ความเข้าใจหัวข้อเรื่องที่ศัพท์คำนั้นเกี่ยวข้องด้วย พจนานุกรมในแต่ละภาษาจะมีดัชนีค้นคำภายในของภาษานั้น ซึ่งจะช่วยในการค้นหาคำและอ้างอิงระหว่างกัน นอกจากนั้น วิธีการของวิกิยังเป็นเครื่องมืออันทรงพลังสำหรับการพัฒนาพจนานุกรมในขั้นต่อไป เราวาดภาพไว้ว่าขั้นตอนต่อไปของโครงการนี้จะเปิดโอกาสให้นักประชากรศาสตร์ได้ช่วยกันส่งข้อความเพิ่มเติม การปรับปรุงและการแก้ไขที่มีต่อเดโมพีเดียฉบับพิมพ์ครั้งที่สองนี้

ก้าวต่อไป?

ความรู้ทางประชากรศาสตร์ได้ก้าวหน้าไปอย่างมากมายมหาศาลนับตั้งแต่พจนานุกรมฉบับที่แล้วได้พิมพ์ออกมา เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าโครงสร้างและเนื้อหาในพจนานุกรมฉบับนั้นจำเป็นต้องมีการปรับปรุงให้ทันสมัย การใช้วิธีการแบบเดิมที่ให้คนทำงานมาพบกันและรวมกลุ่มกันทำงานอาจเป็นไปได้ยากในยุคสมัยนี้ การพัฒนาพจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาษาฉบับปรับปรุงใหม่ด้วยวิธีออนไลน์ในอินเทอร์เน็ตน่าจะเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพที่จะทำให้เกิดความร่วมมือในหมู่นักประชากรศาสตร์อย่างกว้างขวาง ดีโมพีเดียจะเป็นเจ้าภาพโครงการนี้

ดีโมพีเดียยังมีศักยภาพที่จะเป็นเวทีสำหรับแบ่งปันและสรรค์สร้างฐานความรู้ทางประชากรศาสตร์และการศึกษาด้านประชากรให้กว้างขวางยิ่งขึ้น วิสัยทัศน์ของเรายังมองไปไกลถึงการเป็นสารานุกรมเรื่องประชากรที่วิวัฒน์ไปอย่างต่อเนื่องและกว้างขวาง ที่ช่วยรับใช้ชุมชนโลกและใช้ประโยชน์จากความคิดและสาระความรู้ที่หลั่งไหลเข้ามา

การเข้าถึงสารานุกรมเปิดทางประชากร

ศัพท์ประชากรหรือคำอธิบายทางประชากรของพจนานุกรมพหุภาษาแต่ละคำซึ่งแปลอยู่ในแต่ละภาษานั้นจะมีหน้าของมันเองในสารานุกรมเปิด

ความหมายดั้งเดิมที่อธิบายอยู่ในพจนานุกรมพหุภาษาฉบับพิมพ์ครั้งที่หนึ่งหรือครั้งที่สองนั้น (หรือเป็นย่อหน้าที่ถูกเขียนทับโดยฉบับพิมพ์ครั้งที่สอง) เป็นจุดตั้งต้นสำหรับสารานุกรมทางประชากรมัลติมีเดีย

พจนานกรมพหุภาษาเสนอข้อดีของความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่ (คณะกรรมาธิการบัญญัติศัพท์แห่งสหประชาชาติของต้นทศวรรษ 1950) และได้มีการแปลเป็นภาษาต่างๆ (ประมาณ 15 ภาษา) แต่ก็มีข้อด้อยตรงที่กำลังเก่า (ฉบับพิมพ์ครั้งที่สองในภาษาฝรั่งเศสเมื่อปี 1981) มีบางส่วนหรือแม้แต่บางบทที่ต้องเขียนหรือเขียนใหม่

สารานุกรมมีการใช้กราฟหรือรูปอยู่ด้วยเสมอ ซึ่งเป็นสิ่งที่ขาดหายไปในพจนานุกรมพหุภาษาฉบับพิมพ์ และสารานุกรมสมัยใหม่สามารถแสดงด้วยมัลติมีเดียและให้ภาพเคลื่อนไหวหรือไฟล์เสียงได้

การใช้โปรแกรมฟรีของวิกิมีเดีย (เรียกว่า MediaWiki) ดีโมพีเดียก็จะเสนอความเป็นไปได้ต่างๆ ที่มีการใช้กฎและข้อจำกัดเหมือนกับวิกิพีเดีย

ดังนั้น กฎการเขียน URL ต่างๆ จึงเหมือนกับการเขียนในวิกิพีเดีย นั่นคือ การใช้ตัวหนังสือย่อเพียง 2 ตัวเพื่อแทนภาษา โดยไม่ต้องกล่าวถึงครั้งที่พิมพ์ เช่น http://en.demopaedia.org/wiki/Fertility

เช่นเดียวกัน กฎการเขียนของดีโมพีเดียเหมือนกันทุกประการกับกฎการเขียนวิกิพีเดีย

สำหรับ พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาษา ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ที่เป็นก้าวระหว่างกลาง

นับตั้งแต่การอบรมที่เมืองมาราเกซ ได้มีการทำงานอย่างมากเพื่อปรับปรุงคุณภาพเนื้อหาสาระของพจนานุกรม ฉบับพิมพ์ครั้งที่สองที่สแกนไว้ มีการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการตรวจสอบเนื้อหาของฉบับพิมพ์ครั้งที่หนึ่งและครั้งที่สองใน 12 ถึง 13 ภาษา เพื่อตรวจสอบคำศัพท์ที่ตกหล่นไปในภาษาใดภาษาหนึ่ง

การวิเคราะห์ครั้งแรกพบว่าฉบับพิมพ์ครั้งที่สองไม่แม่นยำเหมือนฉบับพิมพ์ครั้งแรก พจนานุกรมฉบับพิมพ์ครั้งแรกเป็นผลงานของคณะกรรมาธิการประชากรแห่งสหประชาชาติเรื่องการบัญญัติศัพท์ในช่วงกลางทศวรรษ 1950 แต่ฉบับที่สองได้รับการปรับปรุงครั้งแรกในภาษาฝรั่งเศสในปี 1981 แล้วจึงแปลและปรับให้เป็ภาษาอังกฤษในปี 1982 เป็นภาษาสเปนในปี 1985 ภาษาเยอรมันในปี 1987 ฯลฯ จนถึงสุดท้ายแปลเป็นภาษาเช็คในปี 2005

ศัพท์บางคำ บางวลี และแม้แต่บางย่อหน้าไม่ได้มีการแปลเป็นภาษาอังกฤษ แต่แปลเป็นภาษาสเปน อะราบิค เยอรมัน ฯลฯ ได้มีการเพิ่มเติมประโยคและย่อหน้าเข้าไปบ้างในฉบับภาษาอังกฤษพิมพ์ครั้งที่สอง แต่ไม่ได้แปลให้เป็นภาษาฝรั่งเศสฉบับพิมพ์ครั้งที่สองซึ่งได้พิมพ์แล้ว ฉบับภาษาสเปนพิมพ์ครั้งที่สองก็เช่นกัน ได้เพิ่มศัพท์เข้ามาบ้างแต่ไม่ได้แปลให้เป็นภาษาอื่นนอกจากภาษาอะราบิค

พจนานุกรมภาษาเยอรมันฉบับพิมพ์ครั้งที่สอง (1987) นิยามศัพท์สมัยใหม่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากซึ่งไม่ได้แปลเป็นภาษาอื่นเลย

ข้อเสนอปัจจุบัน (กุมภาพันธ์ 2010) ต่อทีมทำงานดีโมพีเดีย (Demopædia team) คือการหาทางปรับพจนานุกรมพหุภาษาฉบับพิมพ์ครั้งที่สองนี้ให้ผสานสอดคล้องกันหรือปรับให้เป็นเอกภาพก่อนที่จะเปิดเป็นสารานุกรมเปิด

พจนานุกรมฉบับต่างๆ ที่พิมพ์ออกมาหลังปี 1987 ไม่ได้เพิ่มคำศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นมาแต่อย่างใด ดังนั้นจึงมีขอบเขตอยู่เท่ากับฉบับพิมพ์ที่พิมพ์ในปี 1987 (ภาษาเยอรมัน) แต่ปรับให้สอดคล้องกันระหว่างสามภาษาของสหพันธ์ฯ ซึ่งอาจเป็นก้าวสำคัญอีกก้าวหนึ่ง

ในฉบับภาษาต่างๆ การให้หมายเลขกำกับคำศัพท์ก็ต่างกันไป (แม้กระทั่งระหว่างฉบับภาษาฝรั่งเศสกับอังกฤษ) สาเหตุส่วนใหญ่เนื่องมาจากความผิดพลาด แต่บางครั้งก็เกิดขึ้นเพราะไม่ได้แปลศัพท์บางคำไว้ ข้อดีของงานด้านเทคนิคคือการทำไฮไลท์ศัพท์ที่ตกหล่นไป เพื่อที่จะตัดสินใจได้ว่าศัพท์คำนั้นไม่ได้ใช้ในภาษานี้ หรือมันถูกละเว้นไป

ข้อดีประการหนึ่งของโครงการระยะสั้น จะเป็นว่าพจนานุกรมที่เป็นประโยชน์ทั้งหมดแต่ไม่ได้พิมพ์อีกแล้ว (ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน เยอรมัน อะราบิค ญี่ปุ่น ฯลฯ) รวมทั้งฉบับที่เพิ่งแปลใหม่ 3 ภาษา (รัสเซย จีน อิตาลี) จะรวมไว้ในพจนานุกรมพหุภาษาฉบับพิมพ์ครั้งที่สองที่ปรับให้เป็นเอกภาพแล้วในหัวข้อ printed book ซึ่งสามารถสั่งได้บนเว็บไซต์เดโมพีเดีย ตัวอย่างหนังสือที่พิมพ์อย่างสวยงามเหล่านั้นได้นำมาแสดงไว้ที่บูธของสหประชาชาติที่การประชุมเมืองมาราเกซ การพิมพ์เป็นหนังสืออาจะเป็นเป้าหมายที่ดีสำหรับพจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาษาฉบับพิมพ์ครั้งที่สาม

วิดีโอสำหรับกระบวนการปรับให้ผสานสอดคล้องกัน

กระบวนการปรับให้ผสานสอดคล้องกันเกี่ยวข้องกับพจนานุกรมทุกภาษาที่พิมพ์ออกมาในอดีต (จนถึงฉบับภาษาเช็คที่พิมพ์ในปี 2005) แต่งานที่เร่งด่วนที่สุด (เมื่อตุลาคม 2012) คือการปรับฉบับภาษาอังกฤษให้ผสานสอดคล้องกัน เพราะว่าฉบับภาษาใหม่ของประเทศในเอเซีย (อินโดนีเซีย เกาหลี มาเลย์ เนปาล ไทย และเวียดนาม) จำเป็นต้องใช้ฉบับภาษาอังกฤษที่ปรับให้ผสานสอดคล้องกันเสร็จสมบูรณ์แล้ว ซึ่งการแปลของทั้ง 6 ภาษาใหม่เหล่านี้ทั้งหมดจะแปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ

ในการประชุมเชิงปฏิบัติการดีโมพีเดียครั้งที่สามที่เชียงใหม่ (30 สิงหาคม-1 กันยายน) ทีมประเทศเอเซีย 6 ทีม (นักประชากรศาสตร์ 13 คน) ได้รับการอบรมเรื่องเทคโนโลยีของ Wiki และเรื่องระบบการสร้างพจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาษาให้เป็นเดโมพีเดียในอินเทอร์เน็ต

วิดีโอที่ท่านสามารถหาได้จากหน้าย่อยของดีโมพีเดียคือ Demopaedia:Videos/Harmonization ซึ่งแสดงสรุปย่ออย่างสั้นๆ ของการอบรมบางช่วง การสร้างวิดีโอก็เป็นกระบวนการที่กำลังดำเนินการอย่างหนึ่งด้วย คาดว่าจะมีการนำเสนอด้วยวิดีโอเพิ่มมากขึ้นในอนาคต

วิดีโอชุดแรกอธิบายวิธีการล็อคอินในกรณีที่ท่านเป็นนักประชากรศาสตร์ (ขั้นตอนที่สำคัญที่สุด) และวิธีการเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการปรับให้ผสานสอดคล้องกันด้วยขั้นตอนและวิธีการต่างๆ ถ้าท่านต้องการที่จะมีส่วนร่วม หรือต้องการส่งความคิดเห็นมายังเรา ท่านสามารถติดต่อเราได้ที่ http://tools.demopaedia.org/brd-bin/mel?contact

เว็บไซต์ “สารานุกรมเปิด” จะเปิดเมื่อไร?

เว็บไซต์ดีโมพีเดียได้เปิดตัวครั้งแรกในการประชุมระหว่างประเทศเรื่องประชากรที่เมืองมาราเกซ International Conference on Population in Marrakesh เมื่อต้นเดือนตุลาคม 2009 ซึ่งได้มีการเสนอต่อผู้เข้าร่วมประชุมให้มีการประชุมครั้งแรกที่จัดร่วมกันระหว่างกองประชากรของสหประชาชาติกับคณะกรรมการชาวฝรั่งเศสของสหพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อการศึกษาทางวิทยาศาสตร์เรื่องประชากร (IUSSP)

สารานุกรมเปิดจะเปิดหลังจากกระบวนการผสานสอดคล้องกันเสร็จแล้ว

สารานุกรมนี้จะเปิดให้เพียงสมาชิกของ IUSSP (IUSSP association) เท่านั้น และเมื่อเครื่องมือต่างๆ ที่จะป้องกันผู้ไม่ประสงค์ดีเข้ามาก่อกวนเว็บไซต์ได้ติดตั้งเรียบร้อยแล้ว เว็บไซต์นี้ก็หวังว่าจะเปิดให้ผู้สนใจการศึกษาประชากรทุกคน