The Demopædia Encyclopedia on Population is under heavy modernization and maintenance. Outputs could look bizarre, sorry for the temporary inconvenience

พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาษา ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง ภาษาไทย

อารัมภบท

จาก Demopædia
รุ่นปรับปรุงเมื่อ 02:03, 25 พฤษภาคม 2556 โดย Patama VAPATTANAWONG (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
(ต่าง) ←รุ่นปรับปรุงก่อนหน้า | รุ่นล่าสุด (ต่าง) | รุ่นปรับปรุงถัดไป→ (ต่าง)


ไปยัง: คำนำสู่ดีโมพีเดีย | คำแนะนำการใช้ | ดาวน์โหลด
บทที่: อารัมภบท | 1. แนวคิดทั่วไป | 2. การจัดการและการประมวลผลสถิติประชากร | 3. การกระจายตัวและการจำแนกของประชากร | 4. ภาวะการตายและการเจ็บป่วย | 5. ภาวะสมรส | 6. ภาวะเจริญพันธุ์ | 7. การเพิ่มประชากรและการทดแทน | 8. การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่ | 9. มุมมองด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชากรศาสตร์
หน้าที่: 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 20 | 21 | 22 | 23 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 40 | 41 | 42 | 43 | 50 | 51 | 52 | 60 | 61 | 62 | 63 | 70 | 71 | 72 | 73 | 80 | 81 | 90 | 91 | 92 | 93

คำนำ

คณะกรรมาธิการประชากรแห่งสหประชาชาติในช่วงการประชุมที่ 4 ได้รัองขอให้เลขาธิการสหประชาชาติบรรจุแผนการจัดทำพจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาษาเข้าไว้ในแผนงานขององค์กรด้วย สหพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อการศึกษาทางวิทยาศาสตร์เรื่องประชากร (IUSSP) ได้เสนอตัวที่จะร่วมมือดำเนินการโครงการนี้ และเมื่อช่วงการประชุมที่ 5 ของคณะกรรมาธิการประชากรสิ้นสุดลง คณะกรรมการชั่วคราว*คณะหนึ่งได้จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการร่างพจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาษาเป็นภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และสเปน

แม้งานนี้จะยุ่งยากซับซ้อนเพียงใด แต่ก็สำเร็จลุล่วงไปได้ พจนานุกรมฉบับภาษาอังกฤษและฝรั่งเศสได้พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในปี 1958 ฉบับภาษาอื่นๆ ได้พิมพ์ตามต่อมา ภาษาสเปน (1959) อิตาลี (1959) เยอรมัน (1960) ฟินแลนด์ (1964) รัสเซีย (1964) เช็ค (1965) โปลิช (1966) สวีเดน (1969) ปอร์ตุเกส (1969) อะราบิค (1970) และภาษาเซอร์เบีย-โครเอเชีย (1971)

ในการประชุมสมัยที่ 15 ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองเจนีวา เมื่อเดือนพฤศจิกายน 1969 คณะกรรมาธิการประชากรแห่งสหประชาชาติได้รับข้อเสนอแนะที่ว่าเลขาธิการสหประชาชาติควรร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับสหพันธ์ฯ ในการจัดทำโครงการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน อย่างเช่น การจัดทำพจนานุกรมพหุภาษา ของศัพท์ประชากรศาสตร์

ในการประชุมของสหพันธ์ฯ ครั้งก่อนที่เมืองลีจ (Liege) เมื่อเดือนเมษายน ปี 1969 สภาของสหพันธ์ฯ ได้แสดงความพอใจอย่างยิ่งที่ผลงานพจนานุกรมของทุกภาษาออกมาสมความคาดหวังของนักประชากรศาสตร์ทั่วโลก อย่างไรก็ตาม สภาฯ คิดว่าถึงเวลาที่จะต้องปรับปรุงพจนานุกรมให้ทันสมัยขึ้น ด้วยเห็นว่าในช่วงทศวรรษหลังจากการพิมพ์เผยแพร่พจนานุกรมครั้งแรกแล้ว ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากที่มีผลกระทบต่อศาสตร์ด้านประชากร

ดังนั้น จึงได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการชุดใหม่**ขึ้น ต้องขอขอบคุณสำนักงานสำมะโนแห่งสหรัฐอเมริกาที่ได้ให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่โครงการนี้ ซึ่งได้เริ่มขึ้นในปี 1972 และสำเร็จในปี 1974

งานปรับปรุงพจนานุกรมประชากรศาสตร์ฉบับใหม่ของคณะกรรมการฯ ชุดนี้มิได้จำกัดอยู่เฉพาะกรรมการเท่านั้น หากแต่มีศูนย์/สถาบันประชากรอีกมากกว่าร้อยแห่งได้มีส่วนร่วม ด้วยการให้ความคิดเห็นต่อพจนานุกรมฉบับร่างที่ส่งให้พวกเขา คณะกรรมการจึงมีเอกสารจำนวนมากมายที่รวบรวมได้ ซึ่งไม่เพียงที่เกี่ยวข้องกับคำนิยามและแนวความคิดของศัพท์ประชากรศาสตร์เท่านั้น แต่ยังมีที่เกี่ยวกับการจัดเนื้อหา และรูปเล่มของหนังสือ งานทั้งหมดนี้ได้ตกเป็นภาระของศาสตราจารย์ ลุย อองรี (Louis Henry) ผู้ซึ่งในปี 1976 สหพันธ์ฯ ได้มอบความไว้วางใจให้ทำหน้าที่บรรณาธิกรณ์ร่างสุดท้ายของพจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาษาฉบับภาษาฝรั่งเศสพิมพ์ครั้งที่สอง ดังนั้น พจนานุกรมฉบับใหม่โดยลุย อองรี จึงเป็นการสังเคราะห์ฉบับภาษาฝรั่งเศสพิพม์ครั้งแรกที่บรรณาธิกรณ์โดย พอล แวงซอง (Paul Vincent) ผู้ล่วงลับ กับเล่มที่จัดทำขึ้นโดยคณะกรรมการบัญญัติศัพท์ประชากรศาสตร์ระหว่างประเทศ

ต่อมา สหพันธ์ฯ ได้ขอให้ศาสตราจารย์ เอเตียง แวน เดอ วอลล์ (Etienne van de Walle) ปรับและแปลพจนานุกรมฉบับภาษาฝรั่งเศสให้เป็นภาษาอังกฤษ ข้าพเจ้าใคร่ขอถือโอกาสนี้ขอบคุณศาสตราจารย์ เอเตียง แวน เดอ วอลล์ อย่างจริงใจที่ได้ทำงานยากมากๆ นี้จนสำเร็จเรียบร้อย

ข้าพเจ้าขอแสดงความขอบพระคุณอย่างสูงต่ออาจารย์ของข้าพเจ้า ศาสตราจารย์ แมสสิโม ลิวิ แบคซี (Massimo Livi Bacci) ผู้เป็นผู้สนับสนุนหลักคนหนึ่งในการจัดทำพจนานุกรมชุดใหม่นี้

พจนานุกรมฉบับภาษาอังกฤษซึ่งพิมพ์เผยแพร่ตามต่อมาจากภาษาฝรั่งเศสนี้ จึงเป็นครั้งที่สองในการรวบรวมศัพท์ซึ่งจะมีเพิ่มขึ้นอีกเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป และจะช่วยส่งเสริมทางวิชาการให้แก่ชุมชนนักประชากรศาสตร์ระหว่างประเทศสืบต่อไป

จอร์จ ทาปิโนส, เลขาธิการ
Georges Tapinos, Secretary-General

* Multilingual Demographic Dictionary Committee : Chairman : P. Vincent (France), Members: C.E. Dieulefait (Argentina), H.F. Dorn (U.S.A.), E.Grebenik (Great Britain), P. Luzzato-Fegiz (Italy), M. Pascua (Switzerland), J. Ros Jimeno(Spain).

** Committee on International Demographic Terminology: Chairman: P. Paillat (France); Members: A. Boyarski (U.S,S.R.), E. Grebenik (Great Britain), K. Mayer (Switzerland), J. Nadal (Spain), S. Kono (United Nations-Japan); Observers: S. Baum and J. Siegel (U.S. Bureau of the Census — U.S.A.); Research Assistants: A. Hill (Great Britain), A. Lifshitz (France) and A. Saez (Spain).

เกี่ยวกับพจนานุกรมและวิธีการใช้

The dictionary consists of a text supplemented by notes in small type and an alphabetical index. All terms which are printed in bold face in the text and the notes are listed in the index. Where an expression consisting of several words is printed in bold face it will appear in the index under each of the principal constituent words, e.g., "density of population" is indexed under D as "DENSITY population", and under P as "POPULATION density".

Each term has a reference number which is composed of the number of the paragraph in which it appears and an identification number. For terms appearing in the body of the text the identification number is printed immediately after the term, and for those in the notes it is the number of the note; the latter also relates the note to the corresponding term in the text. Terms occurring in the notes which are not in the text are starred in the index and reference numbers.

Text terms with the same reference numbers in the various sections of the dictionary correspond to one another. For instance, the translator who wishes to find the equivalent French term for a given expression in English should look up the English expression in the alphabetical index of the English section and find the correspondingly numbered paragraph in the French section. It is strongly recommended that the whole paragraph in which the expression occurs in both sections should be read in order to guard against faulty translation due to slight differences in usage; this will also be useful if, in one of the languages, no term exists to express a particular concept.

Different terms which are used to express the same concept have the same reference number. Any term which is susceptible of different interpretations may have two or more reference numbers which refer to the appropriate contexts.

คำประกาศเกียรติคุณ

Although many persons have contributed to various stages of the preparation of this dictionary, Etienne van de Walle would like to acknowledge the assistance of Alex Mogielnicki in translating the French version, and the advice of his colleagues, Ann R.Miller, Samuel H. Preston, Norman Ryder and Christopher Tietze who were kind enough to comment on initial versions of the English text. It owes of course a great deal to the First Edition, and to the preliminary texts prepared by the committee of the Union.


ไปยัง: คำนำสู่ดีโมพีเดีย | คำแนะนำการใช้ | ดาวน์โหลด
บทที่: อารัมภบท | 1. แนวคิดทั่วไป | 2. การจัดการและการประมวลผลสถิติประชากร | 3. การกระจายตัวและการจำแนกของประชากร | 4. ภาวะการตายและการเจ็บป่วย | 5. ภาวะสมรส | 6. ภาวะเจริญพันธุ์ | 7. การเพิ่มประชากรและการทดแทน | 8. การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่ | 9. มุมมองด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชากรศาสตร์
หน้าที่: 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 20 | 21 | 22 | 23 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 40 | 41 | 42 | 43 | 50 | 51 | 52 | 60 | 61 | 62 | 63 | 70 | 71 | 72 | 73 | 80 | 81 | 90 | 91 | 92 | 93