The Demopædia Encyclopedia on Population is under heavy modernization and maintenance. Outputs could look bizarre, sorry for the temporary inconvenience

พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาษา ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง ภาษาไทย

81

จาก Demopædia
รุ่นปรับปรุงเมื่อ 00:10, 15 สิงหาคม 2556 โดย Patama VAPATTANAWONG (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) (812)
(ต่าง) ←รุ่นปรับปรุงก่อนหน้า | รุ่นล่าสุด (ต่าง) | รุ่นปรับปรุงถัดไป→ (ต่าง)


ข้อความปฏิเสธความรับผิดชอบ : ผู้สนับสนุนทั้งหลายของดีโมพีเดียไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับความหมายของศัพท์ต่างๆ ที่อยู่ในพจนานุกรมฉบับปรังปรุงนี้

พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาพ ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง ยังอยู่่ระหว่างการดำเนินงาน หากต้องการเสนอข้อคิดเห็นใดๆ กรุณาใช้พื้นที่อภิปราย


ไปยัง: คำนำสู่ดีโมพีเดีย | คำแนะนำการใช้ | ดาวน์โหลด
บทที่: อารัมภบท | 1. แนวคิดทั่วไป | 2. การจัดการและการประมวลผลสถิติประชากร | 3. การกระจายตัวและการจำแนกของประชากร | 4. ภาวะการตายและการเจ็บป่วย | 5. ภาวะสมรส | 6. ภาวะเจริญพันธุ์ | 7. การเพิ่มประชากรและการทดแทน | 8. การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่ | 9. มุมมองด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชากรศาสตร์
หน้าที่: 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 20 | 21 | 22 | 23 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 40 | 41 | 42 | 43 | 50 | 51 | 52 | 60 | 61 | 62 | 63 | 70 | 71 | 72 | 73 | 80 | 81 | 90 | 91 | 92 | 93


812

สถิติการย้ายถิ่น1รวบรวมไว้เพื่อแสดงให้เห็นปริมาณของการย้ายถิ่น ทิศทางของการเคลื่อนย้ายถิ่น และลักษณะของผู้ย้ายถิ่น ความถูกต้องของข้อเท็จจริงแต่ละชนิดเหล่านี้ขึ้นอยู่กับวิธีในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งสถิติการย้ายถิ่นส่วนมากประกอบด้วยการประมาณและค่าคาดประมาณมากกว่าจะมาจากการวัดที่แม่นยำ การวัดโดยตรงของการย้ายถิ่น2ต้องการระบบบันทึกเมื่อเกิดการเคลื่อนย้ายขึ้น สถิติการย้ายถิ่นที่สมบูรณ์มากที่สุดพัฒนาจากการจดทะเบียนประชากรซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยทั้งหมดได้ถูกบันทึกไว้ ข้อมูลเหล่านี้ทำให้มีมาตรวัดของการย้ายถิ่นระหว่างประเทศและการย้ายถิ่นภายในประเทศ แต่มาตรวัดการย้ายถิ่นภายในประเทศเป็นที่น่าพอใจมากกว่า ในประเทศที่ไม่มีการจดทะเบียนประชากร ระบบบันทึกทางการบริหารซึ่งไม่ครอบคลุมประชากรทั้งหมดสามารถนำมาใช้ได้เพื่อวัตถุประสงค์บางอย่างได้บ้าง ฉะนั้น หลักฐานการจดทะเบียนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง3 หลักฐานความมั่นคงทางสังคม4 หลักฐานผู้เสียภาษี5 หรือ หลักฐานที่อยู่อาศัย6 อาจให้ข้อมูลเกี่ยวกับการย้ายถิ่นภายในประเทศ ในกรณีของการย้ายถิ่นจากต่างประเทศ สถิติอาจได้จาก บัญชีผู้โดยสาร7 หรือ รายชื่อผู้โดยสาร7ของเรือเดินสมุทรและเครื่องบิน การนับบุคคลที่ข้ามพรมแดนของประเทศให้เพียงข้อมูลหยาบมากๆ ในพื้นที่ที่มีการจราจรข้ามพรมแดน (803-2*)มาก จะต้องมีขั้นตอนเฉพาะเพื่อแยกผู้ย้ายถิ่นออกจาก ผู้เดินทาง8ที่ไม่ได้เปลี่ยนสถานที่อยู่อาศัย และบุคคลที่ย้ายผ่าน 801-11) จำนวนของ วีซ่า9 หรือ ใบอนุญาตเข้าประเทศ9 และจำนวนของ ใบอนุญาตที่อยู่อาศัย10 หรือ ใบอนุญาตแรงงาน11 ที่ออกให้อาจใช้เป็นเครื่องชี้วัดการย้ายถิ่นของชาวต่างประเทศได้ด้วยเช่นกัน

  • 9. ในบางประเทศราษฎรที่ต้องการจะเดินทางไปต่างประเทศต้องมีใบอนุญาตออกนอกประเทศ หรือวีซ่าขาออก ซึ่งบันทึกการออกนอกประเทศไว้เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับการย้ายถิ่น

813

ข้อมูลที่รวบรวมไว้ในสำมะโนและการสำรวจทำให้มีการพัฒนา สถิติเกี่ยวกับผู้ย้ายถิ่น1ได้ การพัฒนาเช่นนี้ขึ้นอยู่กับคำถามที่ถาม ปรกติจะรวม สถิติผู้ย้ายถิ่นเข้า2 สถิติผู้ย้ายถิ่นออก2 และ สถิติสถานที่เกิด3 วิธีการนี้มีข้อจำกัดสำหรับการศึกษาเรื่องการย้ายถิ่นระหว่างประเทศ เราไม่สามารถศึกษาผู้ย้ายถิ่นออกนอกประเทศได้ ในขณะที่เราจะทราบเกี่ยวกับผู้ย้ายถิ่นเข้าประเทศไม่ว่าเขาจะมาจากประเทศต้นทางใด

814

เมื่อเป็นไปไม่ได้ที่จะกำหนดจำนวนการย้ายถิ่นโดยตรง การประมาณทางอ้อมของการย้ายถิ่นสุทธิอาจทำได้โดย วิธีส่วนที่เหลือ1 ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในประชากรระหว่างสองเวลานำมาเปรียบเทียบกับการเปลี่ยนแปลงที่เนื่องมาจากการเพิ่มตามธรรมชาติ ความแตกต่างระหว่างตัวเลขทั้งสองจะเกิดจากการย้ายถิ่น วิธีสถิติชีพ2ประกอบด้วยการคำนวณความแตกต่างระหว่างการเปลี่ยนแปลงประชากรทั้งหมดที่คำนวณได้จากสำมะโนสองครั้งกับการเพิ่มตามธรรมชาติ (701-7) ในช่วงระยะเวลาระหว่างสำมะโนนั้น วิธีอัตราส่วนรอดชีพ3ใช้กันทั่วไปเพื่อประมาณการย้ายถิ่นสุทธิรายอายุ วิธีนี้ไม่ต้องใช้สถิติการตายจริงๆ อัตราส่วนรอดชีพอาจได้จากตารางชีพหรือจากการเปรียบเทียบสำมะโนสองครั้งติดต่อกัน และนำอัตราส่วนนี้ไปใช้กับประชากรกลุ่มย่อยในสำมะโนหนึ่งเพื่อได้จำนวนที่คาดหมายรายอายุ ณ เวลาของอีกสำมะโนหนึ่ง การเปรียบเทียบระหว่างประชากรที่สังเกตได้กับประชากรที่คาดหมายอาจใช้เพื่อประมาณความสมดุลของการย้ายถิ่นตามรายอายุสำหรับประชากรกลุ่มย่อย เมื่อมี สถิติสถานที่เกิด4 (813-3) รายอายุและที่อาศัยอยู่ปัจจุบันในสำมะโนสองครั้งติดต่อกัน จะเป็นไปได้ที่จะคาดประมาณกระแสการย้ายถิ่นทางอ้อม

  • 2. สมการที่แสดงว่าความแตกต่างระหว่างการเปลี่ยนแปลงประชากรทั้งหมดกับการเพิ่มตามธรรมชาติเท่ากับการย้ายถิ่นบางครั้งเรียกชื่อว่าสมการสมดุล ในการใช้สมการนี้เพื่อคาดประมาณการย้ายถิ่นสุทธิ เราต้องมีข้อสมมุติว่าการละเว้น (230-3) และการนับซ้ำ (230-5) เท่ากันในสำมะโนทั้งสองครั้ง
  • 3. ความแตกต่างหลักของกระบวนการนี้เรียกว่าวิธีอัตราส่วนรอดชีพตารางชีพ กับวิธีอัตราส่วนรอดชีพสำมะโนระดับประเทศ ในวิธีรอดชีพไปข้างหน้า ประชากรเมื่อเริ่มต้นของช่วงเวลาระหว่างสำมะโนจะใช้เพื่อประมาณประชากรที่คาดว่าจะมีเมื่อสิ้นสุดของช่วงเวลา และกระบวนการจะย้อนกลับหลังในวิธีอัตราส่วนรอดชีพย้อนหลัง วิธีอัตรส่วนรอดชีพเฉลี่ยจะรวมสองวิธีนี้เข้าด้วยกัน

815

ศัพท์ทั่วไปว่า อัตราการย้ายถิ่น1หมายถึงอัตราใดๆ ก็ตามที่วัดความถี่สัมพัทธ์ของการย้ายถิ่นภายในประเทศหนึ่ง นอกจากจะระบุไว้เป็นอย่างอื่น อัตราเหล่านี้จะถือเป็น อัตราการย้ายถิ่นต่อปี2 อัตราเหล่านี้อาจคำนวณได้เป็นอัตราส่วนของจำนวนเฉลี่ยในปีหนึ่งของการเคลื่อนย้ายในช่วงระยะเวลาหนึ่งต่อประชากรเฉลี่ยของระยะเวลานั้น อัตราต่อปีของการย้ายถิ่นสุทธิ3 และ อัตราต่อปีของการย้ายถิ่นรวม4คำนวณได้ด้วยวิธีเดียวกันโดยการใช้ข้อมูลที่เหมาะสมเกี่ยวกับการย้ายถิ่นสุทธิและการย้ายถิ่นรวม ดัชนีของประสิทธิภาพการย้ายถิ่น5หรือ ดัชนีประสิทธิภาพ5คำนวณเป็นอัตราส่วนของการย้ายถิ่นสุทธิต่อการย้ายถิ่นเข้าและออกทั้งหมด พิสัยของดัชนีนี้คือจากศูนย์เมื่อผู้มาถึงและผู้จากไปมีจำนวนเท่ากัน และสูงถึงหนึ่งเมื่อการย้ายถิ่นทั้งหมดเป็นไปทางเดียว

  • 2. ตัวหารอื่นๆ อาจใช้ในการคำนวณอัตรานี้ อย่างเช่นประชากรเมื่อเริ่มต้น หรือเมื่อสิ้นสุดระยะเวลา หรือจำนวนปีคนที่มีชีวิตอยู่โดยประชากรของพื้นที่นั้น
  • 5. ดัชนีประสิทธิผลการย้ายถิ่น หรือดัชนีประสิทธิผล

816

สัดส่วนของผู้ย้ายถิ่น1ได้จากการโยงจำนวนของผู้ย้ายถิ่นในช่วงระยะเวลาหนึ่งไปยังประชากรที่ผู้ย้ายถิ่นไปอยู่หรือที่จากมา สัดส่วนของผู้ย้ายถิ่นออก2ได้จากการหารจำนวนที่รายงานว่าเคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่ด้วยประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นเมื่อเริ่มต้นของช่วงเวลา และยังมีชีวิตอยู่เมื่อสิ้นสุดช่วงเวลานั้น ดัชนีนี้วัดความน่าจะเป็นของการเคลื่อนย้ายสำหรับประชากรที่เสี่ยง และยังมีประโยชน์อีกหลายอย่าง ดัชนีนี้สามารถนำไปใช้ในการฉายภาพประชากรที่การย้ายถิ่นนำมาพิจารณาแยกต่างหาก แต่ในทางปฏิบัติมักนำประชากรอื่นมาใช้เป็นตัวหารเพื่อคำนวณสัดส่วนของผู้ย้ายถิ่น ในทำนองเดียวกัน สัดส่วนของผู้ย้ายถิ่นเข้า3บางครั้งได้มาจากการหารจำนวนของผู้ย้ายถิ่นเข้าในพื้นที่หนึ่งในช่วงระยะเวลาหนึ่งด้วยประชากรของพื้นที่นั้นเมื่อสิ้นสุดของช่วงเวลานั้น แต่ตัวหารอาจเป็นประชากรเมื่อเริ่มต้นของช่วงเวลานั้น หรือค่าเฉลี่ยของประชากรเมื่อเริ่มต้นและเมื่อสิ้นสุดช่วงเวลานั้นได้ด้วยเช่นกัน สัดส่วนของผู้ย้ายถิ่นเกิดเข้า4สามารถคำนวณได้จากข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่เกิด ด้วยการหารจำนวนคนที่เกิดนอกพื้นที่นั้นด้วยประชากรที่แจงนับได้ของพื้นที่นั้น สัดส่วนของผู้ย้ายถิ่นเกิดออก5สามารถคำนวณได้โดยการหารจำนวนของคนในประเทศหนึ่งที่อาศัยอยู่นอกพื้นที่เกิดของตนด้วยจำนวนรวมของคนที่เกิดในพื้นที่นั้น หรือหารด้วยจำนวนคนที่ยังอาศัยอยู่ที่นั้น เมื่อทราบลักษณะของผู้ย้ายถิ่นอย่างเช่น อายุ (322-1) อาชีพ (352-2) หรือ ระดับการศึกษา (342-1) ดัชนีความแตกต่างของการย้ายถิ่น6ใช้เพื่อแสดงให้เห็นความแตกต่างของผู้ย้ายถิ่นกับประชากรอื่นในถิ่นปลายทาง ดัชนีนี้เท่ากับสัดส่วนของผู้ย้ายถิ่นในประชากรทั้งหมด ดัชนีความแตกต่างของการย้ายถิ่นมีค่าเท่ากับศูนย์เมื่อประชากรที่มีลักษณะอย่างหนึ่งมีพฤติกรรมการย้ายถิ่นเหมือนกับประชากรอื่นๆ ศัพท์คำว่า กระบวนการคัดสรรของการย้ายถิ่น7แสดงการเปรียบเทียบระหว่างผู้ย้ายถิ่นเข้ากับประชากรที่ผู้ย้ายถิ่นจากมาที่พื้นที่ต้นทาง (801-4) เมื่อเปรียบเทียบลักษณะของผู้ย้ายถิ่นเข้า กับลักษณะของประชากรที่ถิ่นที่มาถึง (801-5) บางที่ใช้ศัพท์ว่า ความแตกต่างของการย้ายถิ่น8 หรือ ความแตกต่างการย้ายถิ่น8

  • 7. ตัวอย่างเช่น การคัดสรรของการย้ายถิ่นจากเมกซิโกลดลงเพราะว่าความแตกต่างระหว่างคุณลักษณะระหว่างผู้ย้ายถิ่นกับผู้ไม่ย้ายถิ่นเจือจางลงเรื่อยๆ และถิ่นเดิมของชาวเมกซิกันยังหลากหลายมากขึ้น เพราะการแพร่กระจายของเครือข่ายการย้ายถิ่นของชาวเมกซิกันในประเทศสหรัฐอเมริกา

817

การวิเคราะห์การย้ายถิ่นระยะยาว1ต้องการข้อมูลการเคลื่อนย้ายติดต่อกันของบุคคลหนึ่งในเวลาที่ผ่านไป ปรกติข้อมูลเช่นนี้จะได้จากการจดทะเบียนประชากร (213-1) หรือ การสำรวจย้อนเวลา (203-8)เท่านั้น มาตรวัดการย้ายถิ่นอย่างละเอียดหลายอย่างได้จากข้อมูลประเภทนี้ อย่างเช่น ความน่าจะเป็นของการย้ายถิ่นครั้งแรก2ซึ่งนิยามว่าเป็นความน่าจะเป็นที่กลุ่มของ ผู้ไม่ย้ายถิ่น3อายุ x ปี จะไปเกี่ยวข้องกับการย้ายถิ่นเป็นครั้งแรกก่อนที่จะมีอายุ x+n ปี ความน่าจะเป็นเหล่านี้สามารถใช้เพื่อคำนวณ ตารางผู้ไม่ย้ายถิ่น4 ตารางนี้เมื่อรวมกับตารางชีพ (432-3) จะนำไปสู่ อัตราของผู้ไม่ย้ายถิ่น5ในตารางชีพแบบลดลงสองทาง ในทำนองเดียวกัน ความน่าจะเป็นของการย้ายถิ่นโดยลำดับของการเคลื่อนย้าย6อาจคำนวณได้เช่นเดียวกับสัดส่วนของผู้ย้ายถิ่นของลำดับที่ซึ่งไม่มีการเคลื่อนย้ายในลำดับต่อไปภายในช่วงเวลาการย้ายถิ่นที่นิยามไว้ อัตราการย้ายถิ่นทุกลำดับ7เป็นอัตราส่วนของการเคลื่อนย้ายของทุกลำดับในปีหนึ่งต่อขนาดประชากรเฉลี่ยของรุ่น (117-2) ในปีนั้น ค่าสะสมของอัตราเหล่านี้สำหรับคนรุ่นหนึ่งขึ้นไปถึงเวลาหนึ่งให้ค่าประมาณของ จำนวนเฉลี่ยของการเคลื่อนย้าย8เมื่อไม่มีภาวะการตาย อัตราการรอดชีพสามารถนำไปรวมกับ ตารางการย้ายถิ่นทุกลำดับ9รายอายุ เพื่อประมาณจำนวนเฉลี่ยของการเคลื่อนย้ายที่ยังคงอยู่สำหรับบุคคลอายุหนึ่ง เมื่อมีภาวะการตายอย่างที่เป็นอยู่

818

ในการศึกษาผู้ย้ายถิ่นระหว่างสองพื้นที่ในช่วงเวลาหนึ่ง มาตรวัดที่ใช้กันมากคือ ดัชนีความเข้มของการย้ายถิ่น1ที่ได้จากการหารจำนวนของผู้ย้ายถิ่นจากพื้นที่ A ไปยังพื้นที่ B ด้วยผลคูณของจำนวนผู้อยู่อาศัยใน B เมื่อสิ้นสุดช่วงเวลานั้น และจำนวนผู้อยู่อาศัยของ A เมื่อเริ่มต้นของช่วงเวลาที่ยังมีชีวิตอยู่เมื่อสิ้นสุดของช่วงเวลานั้น ดัชนีนี้หารด้วยอัตราส่วนของจำนวนรวมของผู้ย้ายถิ่นต่อรากที่สองของประชากรของประเทศ จะได้ ดัชนีนิยมการย้ายถิ่น2 เมื่อตัวตั้งจำกัดอยู่ที่กระแสการย้ายถิ่นสุทธิ มาตรวัดที่คำนวณได้เรียกว่า ดัชนีความเร็วสุทธิ3 ประสิทธิภาพของกระแสการย้ายถิ่น4วัดได้ด้วยการโยงค่าสัมบูรณ์ของกระแสการย้ายถิ่นสุทธิไปยังการแลกเปลี่ยนการย้ายถิ่นรวม (805-10).

  • 1. ดัชนีนี้อาจแปลความว่าเป็นความน่าจะเป็นที่เหมือนกันที่บุคคลสองคนที่มีชีวิตอยู่เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาจะถูกเลือกขึ้นมาโดยการสุ่ม คนหนึ่งในหมู่คนที่อาศัยในพื้นที่ A เมื่อเริ่มต้นของระยะเวลา และอีกคนหนึ่งในหมู่คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ B เมื่อสิ้นสุดของระยะเวลา ข้อมูลที่หาได้อาจเป็นตัวบังคับให้เลือกตัวหารต่างๆ

819

แบบจำลองการย้ายถิ่น1มีสองประเภทใหญ่ ประเภทแรกโยงกระแสการย้ายถิ่น (803-9) ระหว่างสองพื้นที่ไปยังตัวแปรทางสังคม เศรษฐกิจ หรือประชากร ตัวแปรเหล่านี้มักจะจัดประเภทเป็น ปัจจัยผลัก2ที่มีลักษณะ การผลักออก2จากถิ่นเดิม และจัดประเภทเป็น ปัจจัยดึง3ที่มีผลใน การดึงดูด3ให้เข้าสู่ถิ่นปลายทาง และจัดเป็น อุปสรรคแทรกกลาง4ระหว่างพื้นที่ทั้งสอง แบบจำลองที่ธรรมดาที่สุดในหมู่แบบจำลองเหล่านี้คือ แบบจำลองแรงดึงดูด5 กระแสระหว่างสองพื้นที่เป็นสัดส่วนโดยตรงกับขนาดของประชากรของพื้นที่ทั้งสอง และเป็นสัดส่วนผกผันกับ ระยะทาง6ระหว่างพื้นที่ทั้งสองยกกำลังขึ้นไประดับหนึ่ง แบบจำลองอื่นพิจารณาว่ากระแสการย้ายถิ่นเป็นสัดส่วนกับโอกาสในพื้นที่ปลายทางและเป็นสัดส่วนผกผันกับ โอกาสแทรกกลาง7ระหวางถิ่นเดิมและถิ่นปลายทาง แบบจำลองในประเภทกว้างๆ ประเภทที่สองคือแบบจำลองสโตคาสติค (730-5) และอ้างถึงตัวบุคคลมากกว่าประชากร แบบจำลองประเภทนี้เชื่อมความน่าจะเป็นของการย้ายถิ่นไปยังลักษณะส่วนตัวบางอย่าง อย่างเช่น อายุ หรือประวัติการย้ายถิ่นก่อนหน้านั้น

  • 5. หรือแบบจำลองประเภทพาเรโต
  • 6. ระยะทางอาจวัดด้วยวิธีหลากหลาย เช่น ด้วยเส้นตรง ระยะทางถนน จำนวนพื้นที่ที่อยู่ระหว่างกลาง ฯลฯ

* * *

ไปยัง: คำนำสู่ดีโมพีเดีย | คำแนะนำการใช้ | ดาวน์โหลด
บทที่: อารัมภบท | 1. แนวคิดทั่วไป | 2. การจัดการและการประมวลผลสถิติประชากร | 3. การกระจายตัวและการจำแนกของประชากร | 4. ภาวะการตายและการเจ็บป่วย | 5. ภาวะสมรส | 6. ภาวะเจริญพันธุ์ | 7. การเพิ่มประชากรและการทดแทน | 8. การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่ | 9. มุมมองด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชากรศาสตร์
หน้าที่: 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 20 | 21 | 22 | 23 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 40 | 41 | 42 | 43 | 50 | 51 | 52 | 60 | 61 | 62 | 63 | 70 | 71 | 72 | 73 | 80 | 81 | 90 | 91 | 92 | 93

ดึงข้อมูลจาก "http://th-ii.demopaedia.org/w/index.php?title=81&oldid=684"