The Demopædia Encyclopedia on Population is under heavy modernization and maintenance. Outputs could look bizarre, sorry for the temporary inconvenience

พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาษา ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง ภาษาไทย

80

จาก Demopædia
รุ่นปรับปรุงเมื่อ 05:38, 18 สิงหาคม 2556 โดย Patama VAPATTANAWONG (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) (804)
(ต่าง) ←รุ่นปรับปรุงก่อนหน้า | รุ่นล่าสุด (ต่าง) | รุ่นปรับปรุงถัดไป→ (ต่าง)


ข้อความปฏิเสธความรับผิดชอบ : ผู้สนับสนุนทั้งหลายของดีโมพีเดียไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับความหมายของศัพท์ต่างๆ ที่อยู่ในพจนานุกรมฉบับปรังปรุงนี้

พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาพ ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง ยังอยู่่ระหว่างการดำเนินงาน หากต้องการเสนอข้อคิดเห็นใดๆ กรุณาใช้พื้นที่อภิปราย


ไปยัง: คำนำสู่ดีโมพีเดีย | คำแนะนำการใช้ | ดาวน์โหลด
บทที่: อารัมภบท | 1. แนวคิดทั่วไป | 2. การจัดการและการประมวลผลสถิติประชากร | 3. การกระจายตัวและการจำแนกของประชากร | 4. ภาวะการตายและการเจ็บป่วย | 5. ภาวะสมรส | 6. ภาวะเจริญพันธุ์ | 7. การเพิ่มประชากรและการทดแทน | 8. การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่ | 9. มุมมองด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชากรศาสตร์
หน้าที่: 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 20 | 21 | 22 | 23 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 40 | 41 | 42 | 43 | 50 | 51 | 52 | 60 | 61 | 62 | 63 | 70 | 71 | 72 | 73 | 80 | 81 | 90 | 91 | 92 | 93


801

การศึกษา การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่1 หรือ การเคลื่อนย้ายเชิงภูมิศาสตร์1เกี่ยวข้องกับแง่มุมเชิงปริมาณของการ ย้าย2ของบุคคลในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ ลักษณะแตกต่างของ การย้ายถิ่น3อยู่ที่การเคลื่อนย้ายที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงในสถานที่อยู่ปรกติ (310-6*) และมีนัยยะว่าเป็นการเคลื่อนย้ายข้ามเขตการบริหาร หน่วยการบริหารที่ผู้ย้ายถิ่นจากมาเป็น ถิ่นเดิม4 หรือ ถิ่นที่จากมา4 หน่วยที่ผู้ย้ายถิ่นเคลื่อนย้ายเข้าไปเป็น ถิ่นปลายทาง5 หรือ ถิ่นที่มาถึง5 แนวความคิดเรื่องการย้ายถิ่นมักไม่ใช้กับการเคลื่อนย้ายที่ทำโดยบุคคลที่ปราศจากสถานที่อยู่อาศัยแน่นอน ตัวอย่างเช่นคนเร่ร่อน จะไม่นับว่าเป็นผู้ย้ายถิ่น ในทางปฏิบัติ บางครั้งยากที่จะแยกความแตกต่างระหว่างการย้ายถิ่น ซึ่งมีนัยความหมายว่าเป็นการเปลี่ยนที่อยู่อาศัยค่อนข้างถาวร กับ การเคลื่อนย้ายชั่วคราว6 ยกเว้นบนพื้นฐานของเกณฑ์เรื่อง ระยะเวลาของการไม่อยู่7จากถิ่นเดิมหรือ ระยะเวลาของการอยู่8ที่ถิ่นปลายทาง โดยทั่วไป การเคลื่อนย้ายเชิงภูมิศาสตร์ไม่รวมการเดินทางระยะสั้นซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนที่อยู่ปรกติ ถึงแม้ว่าการเคลื่อนย้ายเช่นนั้นอาจควรค่ากับการศึกษาเพราะว่ามีความสำคัญทางเศรษฐกิจและสังคม การเดินทางไปกลับ9เกี่ยวข้องกับการเดินทางประจำวันหรือทุกสัปดาห์จากสถานที่อยู่อาศัยไปยังสถานที่ทำงานหรือที่เรียนหนังสือ การเคลื่อนย้ายตามฤดูกาล10เป็นการเคลื่อนย้ายเป็นช่วงๆ ในแต่ละปี การย้ายผ่าน11ซึ่งเป็นการเคลื่อนย้ายข้ามเขตแดนหนึ่งเพื่อไปถึงจุดหมายปลายทางไม่เกี่ยวข้องกับการย้ายถิ่นในแง่ของเขตแดนที่ข้ามมา การเดินทางท่องเที่ยว12 หรือการ พักผ่อน12ก็ไม่รวมอยู่ในการเคลื่อนย้ายเชิงภูมิศาสตร์เช่นกัน

  • 1. การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่แตกต่างกับการเคลื่อนย้ายทางสังคม (920-4) และการเคลื่อนย้ายทางอาชีพ (921-3)
  • 3. คำว่าการย้ายถิ่น หมายถึงกระบวนการที่จะอธิบายการเคลื่อนย้ายบางประเภท นักวิชาการบางท่านมองว่าการเคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัย (803-6) เป็นการย้ายถิ่น อย่างไรก็ตามการย้ายถิ่นจะต้องเกี่ยวข้องกับการข้ามพรมแดนและหน่วยการบริหารซึ่งเรียกว่าพื้นที่นิยามการย้ายถิ่น
  • 5. จะใช้คำว่าประเทศที่มาถึง และประเทศที่รองรับเมื่อการย้ายถิ่นระหว่างประเทศเป็นหัวข้อที่ศึกษา
  • 9. ผู้เดินทางไปกลับคือผู้ที่เดินทางเป็นประจำจากพื้นที่ที่อยู่อาศัยของตนไปยังพื้นที่ที่ตนทำงาน ศัพท์คำว่าการเดินทางไปทำงานก็มีการใช้กันเพื่ออธิบายการเดินทางประเภทนี้
  • 10. การเคลื่อนย้ายตามฤดูกาลมีความถูกต้องมากวาคำที่ใช้กันบ่อยๆ คือการย้ายถิ่นตามฤดูกาลเนื่องจากการเคลื่อนย้ายประเภทนี้จะไม่ค่อยเกี่ยวกับการเปลี่ยนที่อยู่อาศัยปรกติ

802

เมื่อมีข้อมูลการย้ายถิ่นในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เราจะสามารถเปรียบเทียบ สถานที่อยู่อาศัย ณ วันเวลาในอดีตที่ระบุไว้1 หรือ สถานที่อยู่อาศัยครั้งสุดท้าย2 กับ สถานที่อยู่ปัจจุบัน3 บุคคลซึ่งมีหน่วยการบริหารของที่อยู่อาศัยแตกต่างกันเมื่อเริ่มต้นและเมื่อสิ้นสุดของช่วงเวลาหนึ่ง จะเรียกว่าเป็น ผู้ย้ายถิ่น4 ผู้ย้ายถิ่นอาจจำแนกออกเป็น ผู้ย้ายถิ่นออกนอกประเทศ5 หรือ ผู้ย้ายถิ่นออก5เมื่อมองจากมุมของถิ่นเดิม และเป็น ผู้ย้ายถิ่นเข้าประเทศ6 หรือ ผู้ย้ายถิ่นเข้า6เมื่อมองจากมุมของถิ่นที่อยู่ปัจจุบัน เมื่อสำมะโนหรือการสำรวจได้รวมคำถามเกี่ยวกับ สถานที่อยู่อาศัยก่อน2 ข้อมูลจะทำให้เกิดความคิดเกี่ยวกับ การย้ายถิ่นครั้งหลังสุด7 หรือ การเปลี่ยนที่อยู่อาศัยครั้งหลังสุด7ไม่ว่าจะเมื่อใด ผู้ย้ายถิ่นคือบุคคลใดก็ตามที่มีที่อยู่อาศัยก่อนหน้าในหน่วยการบริหารที่แตกต่างจากที่อยู่อาศัยปัจจุบันของเขา อย่างเช่นบุคคลหนึ่งอาจพิจารณาได้ว่าได้ ย้ายถิ่นไปยัง8ที่อยู่ปัจจุบัน และ ย้ายถิ่นออก9จากที่อยู่ก่อน ผู้ย้ายถิ่นเกิด11คือบุคคลที่มี สถานที่เกิด10อยู่ในหน่วยการบริหารที่แตกต่างจากที่อยู่อาศัยปัจจุบันของเขา ในกรณีเฉพาะบางกรณี ผู้ย้ายถิ่นอาจมีคุณสมบัติเป็น ผู้ย้ายถิ่นออกนอกประเทศด้วยเหตุผลทางการเมือง ศาสนา หรือจริยธรรม12 หรือเป็น ผู้ย้ายถิ่นเข้าประเทศด้วยเหตุผลทางการเมือง ศาสนา หรือจริยธรรม13

  • 4. กล่าวอย่างเคร่งครัด ภายใต้แนวความคิดนี้ ผู้ย้ายถิ่นต้องเกิดก่อนขณะเริ่มต้นของช่วงเวลานิยามการย้ายถิ่นและต้องมีชีวิตอยู่จนกระทั่งสิ้นสุดช่วงเวลานั้น คำนิยามนี้บางครั้งขยายไปรวมถึงบุตรที่เกิดระหว่างช่วงเวลาที่จัดให้อยู่ในพื้นที่ที่อยู่อาศัยของแม่ ณ ขณะเริ่มต้นของช่วงเวลา จำนวนผู้ย้ายถิ่นที่บันทึกไว้ไม่จำเป็นต้องเท่ากับจำนวนของการเคลื่อนย้ายซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างช่วงเวลาสำหรับบุคคลเหล่านี้ เพราะบุคคลหนึ่งอาจเคลื่อนย้ายหลายครั้งในช่วงเวลานั้น หรือแม้กระทั่งย้ายกลับมายังที่อยู่เดิม เมื่อมีการทำสำมะโนหรือสำรวจ
  • 10. ปรกติสถานที่เกิดนิยามว่าเป็นสถานที่อยู่อาศัยของแม่ ณ ขณะเวลาของการเกิด แม้นว่าประเพณีหรือจุดที่ให้บริการการคลอดบุตรอาจทำให้การคลอดบุตรอาจไปทำ ณ สถานที่อื่นก็ตาม

803

ประชากรของประเทศอธิปไตย (305-3) อาจมี การย้ายถิ่นภายในประเทศ1เมื่อทั้งถิ่นที่จากมา (801-4) และถิ่นปลายทาง (801-5) อยู่ภายในประเทศนั้นเอง หรือมี การย้ายถิ่นระหว่างประเทศ2ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อมีการข้ามเขตแดนของชาติ ศัพท์คำว่า การย้ายถิ่นภายนอกประเทศ3บางครั้งใช้ในความหมายเดียวกับการย้ายถิ่นระหว่างประเทศ การย้ายถิ่นระหว่างประเทศเรียกว่าเป็น การเข้าเมือง4 หรือ การออกเมือง5 ตามประเทศที่ศึกษาว่าเป็นประเทศปลายทางหรือประเทศต้นทาง เมื่อประเทศแบ่งออกเป็นพื้นที่ย่อย การเคลื่อนย้ายภายในเขตแดนของพื้นที่ย่อยแต่ละแห่งจะเป็น การเคลื่อนย้ายท้องถิ่น6 และทำให้เกิดศัพท์คำว่า การเคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัย6 ในขณะที่การเคลื่อนย้ายระหว่างพื้นที่ย่อยจะเรียกว่า การย้ายถิ่นเข้า7 หรือ การย้ายถิ่นออก8ขึ้นอยู่กับพื้นที่ย่อยนั้นจะพิจารณาว่าเป็นถิ่นต้นทางหรือถิ่นปลายทางของผู้ย้ายถิ่นนั้น กระแสการย้ายถิ่น9เป็นกลุ่มของผู้ย้ายถิ่นที่มีถิ่นต้นทางและถิ่นปลายทางเดียวกัน กระแสที่ใหญ่กว่าระหว่างพื้นที่ย่อยสองแห่ง เรียกว่า กระแสหลัก10 และกระแสที่เล็กกว่าเรียก กระแสทวน11

  • 1. คำนิยามของการย้ายถิ่นในย่อหน้านี้สามารถขยายออกไปรวมผู้ย้ายถิ่นที่เกี่ยวข้อง ความแตกต่างระหว่างการย้ายถิ่นภายในประเทศและระหว่างประเทศไม่แน่นอนตายตัวเสมอไป โดยเฉพาะเมื่ออาณาเขตภายในประเทศหนึ่งถูกกำหนดขึ้นอย่างอิสระโดยประเทศนั้นเอง
  • 2. การเดินทางไปกลับข้ามพรมแดนของประเทศเรียกว่าเป็นการข้ามพรมแดน ซึ่งไม่ควรใช้สับสนกับการย้ายถิ่นระหว่างประเทศ

804

เมื่อบุคคลหนึ่งย้ายถิ่นหลายครั้งในช่วงระยะเวลาหนึ่ง การเคลื่อนย้ายของเขาอาจแยกออกตาม ลำดับของการย้ายถิ่น1 ระยะเวลาของการอยู่อาศัย2หรือ ระยะเวลาของการพักอาศัย2หมายถึงช่วงเวลาระหว่างการมาถึงสถานที่นั้นและการจากไปในเวลาต่อมาไปยังจุดหมายปลายทางอีกแห่งหนึ่ง หรือหมายถึงช่วงเวลาตั้งแต่การเคลื่อนย้ายครั้งล่าสุด การย้ายถิ่นกลับ3เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายกลับไปยังพื้นที่เริ่มต้นหรือไปยังสถานที่อยู่ก่อน การย้ายถิ่นซ้ำ4หรือ การย้ายถิ่นเรื้อรัง4หมายถึงแนวโน้มที่จะย้ายถิ่นหลาย ๆ ครั้งในช่วงเวลาค่อนข้างสั้น การย้ายถิ่นชนบทสู่เมือง5บางครั้งมีรูปแบบเป็น การย้ายถิ่นอนุกรม6 การย้ายถิ่นเป็นขั้นตอน6หรือ การย้ายถิ่นเป็นขั้น6 เมื่อผู้ย้ายถิ่นมีแนวโน้มที่จะเคลื่อนย้ายไปยังเมืองใหญ่เป็นถิ่นปลายทางสุดท้ายด้วยการย้ายระยะทางสั้น ๆ เป็นอนุกรม ย้ายไปยังสถานที่ระหว่างกลางก่อนจะถึงเมืองใหญ่ หรือย้ายไปยังเมืองขนาดใหญ่ขึ้น ๆ เป็นลำดับ การย้ายถิ่นอนุกรมหลายครั้ง7ระหว่างอนุกรมของเมืองที่มีขนาดแตกต่างกัน บางครั้งใช้เมื่อการย้ายถิ่นสุทธิของแต่ละเมืองมีค่าเป็นบวกและเป็นผลมาจากการย้ายถิ่นเข้าจากภาคชนบทและเมืองที่เล็กกว่าที่มีมากกว่าการย้ายถิ่นออกไปสู่เมืองที่ใหญ่กว่า

  • 3. บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการย้ายถิ่นกลับเรียกว่าผู้ย้ายถิ่นกลับ
  • 4. เมื่อการย้ายถิ่นซ้ำเกี่ยวข้องไปยังการเคลื่อนย้ายไปยังพื้นที่ใหม่ นักวิชาการบางคนเรียกว่าการย้ายถิ่นทุติยภูมิ และผู้ย้ายถิ่นทุติยภูมิเพื่อให้แตกต่างจากคำว่าการย้ายถิ่นปฐมภูมิซึ่งเกี่ยวข้องกับการย้ายถิ่นลำดับแรกหรือผู้ย้ายถิ่นปฐมภูมิ ตรงนี้เป็นที่มาของความสับสนเนื่องจากปรกติศัพท์เหล่านี้มีความหมายเหมือนกับ 806-4

805

สิ่งที่การย้ายถิ่น (801-3) ให้แก่การเพิ่มประชากร หรือ การเพิ่มประชากรเนื่องจากการย้ายถิ่น1 (701-1) ทั้งหมดจะขึ้นอยู่กับ การย้ายถิ่นสุทธิ2 ซึ่งได้แก่ความแตกต่างระหว่างจำนวนของ ผู้มาถึง3 กับจำนวนของ ผู้จากไป4 การย้ายถิ่นสุทธิสามารถมีได้ทั้งเครื่องหมายบวกและลบ การย้ายถิ่นเข้าประเทศสุทธิ5หรือ การย้ายถิ่นเข้าสุทธิ5ใช้เมื่อผู้มาถึงมีมากกว่าผู้จากไป และ การย้ายถิ่นออกประเทศสุทธิ6หรือ การย้ายถิ่นออกสุทธิ6เมื่อเป็นกรณีตรงข้าม จำนวนรวมของผู้มาถึงและผู้จากไปในประเทศหนึ่งสามารถใช้เพื่อวัด ปริมาณของการย้ายถิ่น7 แนวความคิดที่คล้ายๆ กันที่นำไปใช้กับพื้นที่ย่อยของประเทศคือ การหมุนเวียน8ของการย้ายถิ่น กระแสสุทธิ9หรือ การแลกเปลี่ยนสุทธิ9ของการย้ายถิ่นระหว่างสองพื้นที่นิยามได้ว่าเป็นความแตกต่างระหว่างกระแสหลัก (803-9) กับกระแสทวน (803-11) ในขณะที่ การแลกเปลี่ยนการย้ายถิ่นรวม10เป็นผลรวมของกระแสและกระแสทวน

  • 2. คำนี้อาจเรียกว่าเป็นสมดุลของการย้ายถิ่น หรือสมดุลการย้ายถิ่น ควรหลีกเลี่ยงการใช้คำศัพท์อย่างเช่น "ผู้ย้ายถิ่นสุทธิ" และควรใช้วลีอย่างเช่น จำนวนสุทธิของผู้ย้ายถิ่นจะดีกว่า

806

การย้ายถิ่นตามธรรมชาติ1 การย้ายถิ่นแบบสมัครใจ1 หรือ การย้ายถิ่นเสรี1เป็นผลจากการตัดสินใจและการเลือกอย่างเสรีของผู้ย้ายถิ่น ในกรณีที่ไม่มีการย้ายถิ่นที่กระทำร่วมกัน การเคลื่อนย้ายนั้นจะหมายถึง การย้ายถิ่นส่วนบุคคล2 เมื่อทั้งครอบครัวย้ายไปด้วยกันบางครั้งใช้ศัพท์คำว่า การย้ายถิ่นครอบครัว3 การย้ายถิ่นทุติยภูมิ4หรือ การย้ายถิ่นแบบช่วยเสริม4เป็นการย้ายถิ่นที่ช่วยทำให้เกิดขึ้นโดยคนอื่น เช่นเมื่อเด็กๆ ย้ายตามหัวหน้าครอบครัวไป ตัวอย่างของการย้ายถิ่นประเภทนี้คือ การรวมสมาชิกครอบครัว9ซึ่งเป็นเรื่องการย้ายถิ่นของสมาชิกครอบครัว รวมทั้งลูกๆ ที่ไปอยู่รวมกันกับหัวหน้าครอบครัว การเคลื่อนย้ายของคนงานหรือของสมาชิกของแรงงานตามโอกาสในการจ้างงานเรียกว่าเป็น การย้ายถิ่นแรงงาน5 การเคลื่อนย้ายที่เกิดขึ้นอันเป็นผลมาจากการแต่งงานและเมื่อบุคคลเกษียณจากแรงงานเรียกว่า การย้ายถิ่นเพราะแต่งงาน6 หรือ การย้ายถิ่นเพราะออกจากการทำงาน7ตามลำดับ การย้ายถิ่นแบบลูกโซ่8หรือ การย้ายถิ่นแบบเชื่อมโยง8หมายถึงแบบแผนของการย้ายถิ่นไปยังถิ่นปลายทางเฉพาะแห่ง ที่ที่ซึ่งผู้ย้ายถิ่นมีญาติพี่น้อง (114-3*) หรือเพื่อนซึ่งอยู่อาศัยอยู่ก่อนแล้ว และเต็มใจที่จะให้ข้อมูลและความช่วยเหลือ

  • 4. แม้ศัพท์นี้บางครั้งจะใช้ในความหมายที่ต่างกัน (cf. 804-4*) ผู้ย้ายถิ่นปฐมภูมิคือบุคคลที่จะตัดสินใจย้ายถิ่นตัวจริงในขณะที่ผู้ย้ายถิ่นทุติยภูมิคือบุคคลเช่นเด็กอายุน้อยที่การย้ายถิ่นของเขาเป็นผลจากการตัดสินใจของบุคคลอื่น

807

เมื่อกลุ่มของบุคคลหรือครอบครัวตัดสินใจที่จะย้ายถิ่นไปด้วยกัน ก็จะเกิด การย้ายถิ่นแบบกลุ่มรวม1 หรือ การย้ายถิ่นกลุ่ม1 การย้ายถิ่นแบบมวลชน2เป็นการย้ายถิ่นที่มีผู้ย้ายถิ่นเป็นจำนวนมาก ศัพท์คำว่า การหลั่งไหลของคนหมู่มาก3อาจใช้สำหรับการย้ายถิ่นแบบมวลชนที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันโดยมีสาเหตุมาจากเหตุการณ์ฉุกเฉินหรือภัยพิบัติบางอย่าง

808

การย้ายถิ่นแบบสมัครใจ (806-1) ตรงข้ามกับ การขยายถิ่นแบบบังคับ1ซึ่งบุคคลถูกบังคับโดยผู้มีอำนวจของรัฐให้เคลื่อนย้าย การส่งกลับ2เป็นการบังคับให้บุคคลกลับคืนสู่ประเทศเดิมของตน อีกตัวอย่างหนึ่งของการย้ายถิ่นแบบบังคับคือ การขับออก3จากสถานที่พักอาศัยทั้งที่ขับออกเป็นรายบุคคลหรือกลุ่มคนหมดทั้งกลุ่ม คำว่า การอพยพ4โดยทั่วไปใช้สำหรับการเคลื่อนย้ายประชากรทั้งหมดเพื่อที่จะป้องกันภัยจากภัยพิบัติบางอย่าง เช่นแผ่นดินไหว อุทกภัย ปฏิบัติการสงคราม หรือภัยอย่างอื่น ปรกติ ผู้ลี้ภัย5จะย้ายถิ่นโดยความตั้งใจของตนเอง แม้ว่าจะมีความกดดันอย่างแรงที่ทำให้ต้องย้ายออกเพราะว่าหากยังขืนอยู่ในประเทศของเขาต่อไปก็อาจเกิดอันตรายจากการถูกข่มเหง ผู้พลัดถิ่น6คือบุคคลที่ถูกเคลื่อนย้ายโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐจากถิ่นเดิมของตน การเคลื่อนย้ายนี้อาจเกิดขึ้นโดยเป็นผลมาจาก การพลัดถิ่นของประชากร7ขนาดใหญ่ หรือ การเคลื่อนย้ายประชากร7 หรือ การแลกเปลี่ยนประชากร8

  • 3. ผู้ถูกขับไล่คือคนที่ถูกขับไล่ออกไป ศัพท์คำว่าการส่งตัวกลับใช้สำหรับการขับไล่บุคคลออกจากประเทศที่เขาอาศัยอยู่เพราะว่าการยังคงอยู่ในที่อาศัยเดิมของเขาไม่เป็นที่ต้องการของรัฐนั้น
  • 4. ผู้อพยพ คือบุคคลผู้ถูกอพยพ

809

กระบวนการซึ่งผู้ย้ายถิ่นเข้าประเทศปรับตัวให้เข้ากับเงื่อนไขต่างๆ ในพื้นที่ปลายทางจัดอยู่ในหลายประเภท การโอนสัญชาติ (331-1) คือการร้องขอให้ตนได้เป็นราษฎรตามกฎหมาย การซึมซับ1คือการเข้าสู่กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีผลผลิต การกลมกลืน3คือการบูรณาการเข้าสู่โครงสร้างทางสังคมในแง่ของความเสมอภาค และ การดูดซึมทางวัฒนธรรม2คือการรับเอาประเพณีและค่านิยมของประชากรในถิ่นปลายทาง

810

เมื่อผู้ย้ายถิ่นเข้าประเทศจากเขตแดนหนึ่งไม่ผสานกลมกลืนในประเทศที่เข้าไปอยู่ใหม่ หากแต่ยังคงประเพณีของถิ่นเดิม (801-3) ของตนไว้ จะเรียกว่า พวกอาณานิคม1 เมื่อประเทศปลายทางมีคนอาศัยอยู่ก่อนแล้ว ก็จะเกิดปัญหาของการ อยู่ร่วมกัน2ระหว่างประชากรต่างกลุ่มกัน ปัญหาเหล่านี้อาจแก้โดย การหลอมรวม3ของประชากรเหล่านั้น ได้แก่ด้วยการทำให้ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดหายไป หรือด้วยการ บูรณาการ4ของประชากรกลุ่มหนึ่งเข้าไปสู่ประชากรกลุ่มอื่นๆ การแบ่งเขต5มีอยู่ในดินแดนที่ประชากรสองกลุ่มหรือมากกว่านั้นอาศัยอยู่แต่แยกจากกันโดยอุปสรรคขัดขวางที่เกิดขึ้นโดยประเพณีหรือโดยอำนาจของกฎหมาย

  • 1. การจัดตั้งอาณานิคมใช้ในความหมายในการจัดตั้งดินแดนใหม่ด้วย
  • 5. ในกรณีสุดโต่ง ความขัดแย้งอาจส่งผลให้เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ คือความพยายามโดยประชากรกลุ่มหนึ่งที่จะทำลายล้างประชากรกลุ่มอื่น

811

นโยบายการย้ายถิ่น1เป็นด้านหนึ่งของนโยบายประชากร (105-2) ประเทศส่วนมากใช้ กฎหมายตรวจคนเข้าประเทศ2จำกัดการเข้ามาของคนต่างชาติ กฎหมายเหล่านี้มักมีช่องว่างไว้สำหรับ การเข้าประเทศที่คัดสรร3ของบุคคลที่มีคุณลักษณะเฉพาะบางอย่าง บางประเทศวาง ระบบโควต้า4ซึ่งกำหนดจำนวนคนเข้าประเทศตาม ชาติกำเนิด5 มาตรการที่ออกแบบให้มีอิทธิพลต่อ การกระจายตัวใหม่ของประชากร6ภายในประเทศหนึ่งโดยผ่านทางการย้ายถิ่นภายในประเทศ (803-1) ปรกติจะมีลักษณะค่อนไปทางอ้อม

* * *

ไปยัง: คำนำสู่ดีโมพีเดีย | คำแนะนำการใช้ | ดาวน์โหลด
บทที่: อารัมภบท | 1. แนวคิดทั่วไป | 2. การจัดการและการประมวลผลสถิติประชากร | 3. การกระจายตัวและการจำแนกของประชากร | 4. ภาวะการตายและการเจ็บป่วย | 5. ภาวะสมรส | 6. ภาวะเจริญพันธุ์ | 7. การเพิ่มประชากรและการทดแทน | 8. การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่ | 9. มุมมองด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชากรศาสตร์
หน้าที่: 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 20 | 21 | 22 | 23 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 40 | 41 | 42 | 43 | 50 | 51 | 52 | 60 | 61 | 62 | 63 | 70 | 71 | 72 | 73 | 80 | 81 | 90 | 91 | 92 | 93

ดึงข้อมูลจาก "http://th-ii.demopaedia.org/w/index.php?title=80&oldid=770"