The Demopædia Encyclopedia on Population is under heavy modernization and maintenance. Outputs could look bizarre, sorry for the temporary inconvenience

พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาษา ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง ภาษาไทย

62

จาก Demopædia


ข้อความปฏิเสธความรับผิดชอบ : ผู้สนับสนุนทั้งหลายของดีโมพีเดียไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับความหมายของศัพท์ต่างๆ ที่อยู่ในพจนานุกรมฉบับปรังปรุงนี้

พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาพ ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง ยังอยู่่ระหว่างการดำเนินงาน หากต้องการเสนอข้อคิดเห็นใดๆ กรุณาใช้พื้นที่อภิปราย


ไปยัง: คำนำสู่ดีโมพีเดีย | คำแนะนำการใช้ | ดาวน์โหลด
บทที่: อารัมภบท | 1. แนวคิดทั่วไป | 2. การจัดการและการประมวลผลสถิติประชากร | 3. การกระจายตัวและการจำแนกของประชากร | 4. ภาวะการตายและการเจ็บป่วย | 5. ภาวะสมรส | 6. ภาวะเจริญพันธุ์ | 7. การเพิ่มประชากรและการทดแทน | 8. การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่ | 9. มุมมองด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชากรศาสตร์
หน้าที่: 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 20 | 21 | 22 | 23 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 40 | 41 | 42 | 43 | 50 | 51 | 52 | 60 | 61 | 62 | 63 | 70 | 71 | 72 | 73 | 80 | 81 | 90 | 91 | 92 | 93


620

ช่วงเวลาสืบทอดพันธุ์1 (หรือ ช่วงเวลามีบุตร1ในสตรี) เริ่มที่ วัยสามารถผสมพันธุ์ได้2 การมีระดู3การปรากฏขึ้นของประจำเดือน4 หรือ เมน4ในสตรี — เริ่มที่วัยสามารถผสมพันธุ์ได้ ประจำเดือนแรกเรียก การเริ่มแรกมีระดู5 และการมีประจำเดือนหยุดลงเมื่อถึง วัยหมดระดู6 ซึ่งบางครั้งเรียกว่า ช่วงระยะหมดระดู6 ในทางปฏิบัติ ช่วงเวลาสืบทอดพันธุ์มักจะกำหนดว่าให้เริ่มที่อายุ 15 ปี หรืออายุต่ำสุดที่จะแต่งงาน (504-1) และมักจะให้สิ้นสุดลงที่อายุ 45 หรือ 50 ปี การไม่มีประจำเดือนชั่วคราวทั้งที่เป็นปรกติหรือเกิดจากความเจ็บป่วยเรียกว่า ภาวะขาดระดู7 ภาวะขาดระดูจากการตั้งครรภ์8เกิดขึ้นหลังจากการปฏิสนธิ และ ภาวะขาดระดูหลังคลอด9เกิดขึ้นหลังจากการคลอดบุตร

  • 1. ใช้ศัพท์คำว่าวัยเจริญพันธุ์ หรือวัยตั้งครรภ์ได้ด้วยเช่นกัน
  • 6. คำพูดที่ว่าการเปลี่ยนแปลงของชีวิตใช้ในความหมายเดียวกับวัยหมดระดูในภาษาพูด

621

สมรรถนะของผู้ชาย ของผู้หญิง หรือของคู่อยู่กินที่จะผลิตลูกที่มีชีวิตได้เรียก ความสามารถมีบุตร1 การขาดความสามารถเช่นนั้นเรียก ความไม่สามารถมีบุตร2หรือ การเป็นหมัน2 ความไม่สามารถตั้งครรภ์3และ ความไม่สามารถให้กำเนิด10 เป็นสาเหตุหลักแต่ไม่ใช่สาเหตุเดียวของการเป็นหมัน เมื่อใช้คำว่าการเป็นหมันคำเดียวโดดๆ จะให้ความหมายถึงการเป็นหมันถาวรที่ไม่อาจคืนกลับมาได้ แต่บ่อยครั้งที่มีการใช้คำว่า ความไม่สามารถทำให้เกิดการปฏิสนธิชั่วคราว4และ การเป็นหมันชั่วคราว5เพื่อให้แตกต่างจาก ความไม่สามารถทำให้เกิดการปฏิสนธิถาวร6และ การเป็นหมันถาวร7 ในสตรี เราแยกความแตกต่างระหว่าง การเป็นหมันปฐมภูมิ8เมื่อผู้หญิงไม่เคยสามารถมีบุตรเลย กับ การเป็นหมันทุติยภูมิ9ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากให้กำเนิดลูกหนึ่งคนหรือมากกว่านั้น

  • 1. ความหมายอีกอย่างหนึ่งของศัพท์คำนี้ แสดงถึงความสามารถที่จะมีบุตรมากกว่าความสามารถที่จะผลิตบุตรที่มีชีพ คำว่าด้อยความสามารถมีบุตรมีความหมายว่าความสามารถที่จะผลิตบุตรมีชีพมีต่ำกว่าปรกติหรือมีความเป็นไปได้ต่ำที่จะเกิดการปฏิสนธิ

622

คำว่าการเป็นหมันชั่วคราว (621-5) ใช้แม้กระทั่งในกรณีที่ความไม่สามารถตั้งครรภ์ของผู้หญิงไม่ได้เป็นผลมาจากสภาพความเจ็บป่วย กล่าวได้ว่าผู้หญิงมี ช่วงเวลาเป็นหมัน1ในแต่ละ รอบประจำเดือน2 เพราะโดยทั่วไปการปฏิสนธิจะเกิดขึ้นได้ในช่วงเวลาสองสามวันใกล้ๆ เวลาของ การตกไข่3เท่านั้น ช่วงเวลาของการเป็นหมันที่ขยายต่อจากการปฏิสนธิ (602-1) ไปจนถึงการกลับมาของการตกไข่อีกครั้งหลังจากการคลอดซึ่งนับรวมเวลาของการตั้งครรภ์ (602-5) และผลของระยะเวลาใน การให้นมบุตร4เรียกว่า ช่วงเวลาที่ไม่ไวรับ5 โดยเฉพาะใช้ในแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของการสืบทอดพันธุ์ การเป็นหมันชั่วคราวใช้เพื่อหมายถึงการเกิดขึ้นของ รอบเวลาที่ไม่มีการตกไข่6 (ได้แก่รอบประจำเดือนซึ่งการตกไข่ไม่เกิดขึ้น) หรือช่วงเวลาผิดปรกติของภาวะขาดระดู ความด้อยความสามารถมีบุตร7ของผู้หญิงอายุน้อยมากๆ เรียกกันว่า การเป็นหมันวัยรุ่น8 น่าจะดีกว่าถ้าจะพูดว่า ความด้อยความสามารถมีบุตรของวัยรุ่น8

  • 5. ระยะเวลาระหว่างการคลอดกับการตกไข่อีกครั้งมักเรียกว่าระยะเวลาเป็นหมันหลังคลอด
  • 6. เรียกว่ารอบไม่ตกไข่ด้วย

623

ภาวะเจริญพันธุ์1 และ ภาวะไม่เจริญพันธุ์2หมายถึงพฤติกรรมสืบทอดพันธุ์มากกว่าสมรรถนะ และคำทั้งสองนี้ใช้เพื่อแสดงว่ามีบุตรเกิดขึ้นมาจริงๆ หรือไม่ในช่วงเวลาที่ศึกษา เมื่อคำนึงถึงช่วงเวลาสืบทอดพันธุ์สมบูรณ์ คำว่า ภาวะไม่เจริญพันธุ์รวม3อาจนำมาใช้ในขณะที่ ภาวะไม่เจริญพันธุ์ถาวร4อาจขยายจากอายุหนึ่งหรือจากช่วงเวลาการแต่งงานไปถึงจุดสิ้นสุดของช่วงเวลาของการมีบุตร ภาวะไม่เจริญพันธุ์โดยสมัครใจ5ใช้เมื่อไม่มีการสืบทอดพันธุ์ที่สอดคล้องเป็นไปตามการตัดสินใจของคู่อยู่กิน (503-8) ขอให้สังเกตว่าในประเทศที่พูดภาษาละติน คำว่าภาวะเจริญพันธุ์และความสามารถมีบุตรใช้ในความหมายที่ตรงข้ามกับคำในภาษาอังกฤษ ฉะนั้นคำว่า fécondité ในภาษาฝรั่งเศส และ fecundidad ในภาษาสเปนจะแปลว่า fertility และคำว่า fertilité และ fertilidad แปลว่า fecundity

  • 2.
    ไร้บุตร หมายถึงสภาวะที่ผู้หญิง ผู้ชาย หรือคู่อยู่กินยังไม่มีบุตรเลย

624

ภาวะเจริญพันธุ์ (623-1) ของคู่อยู่กินจะขึ้นอยู่กับ พฤติกรรมการสืบทอดพันธุ์1ของเขา มีความแตกต่างระหว่าง ผู้วางแผน2ซึ่งหมายถึงคู่อยู่กินที่พยายามกำหนดจำนวนหรือเว้นระยะ (612-1*) ของการเกิด กับ ผู้ไม่วางแผน3ซึ่งหมายถึงคู่อยู่กินที่ไม่มีความพยายามดังกล่าวเลย การวางแผนครอบครัว4มีความหมายกว้างกว่า การจำกัดขนาดครอบครัว4ซึ่งหมายถึงความพยายามที่จะมีลูกไม่เกิน จำนวนบุตรที่ต้องการ5 ศัพท์คำว่า การคุมกำเนิด6หรือ การกำหนดภาวะเจริญพันธุ์6ไม่่จำกัดอยู่กับกิจกรรมของคนที่แต่งงานแล้วเท่านั้น

  • 4. การจำแนกประเภทตามสถานภาพตามการวางแผนครอบครัวแยกคู่อยู่กินที่ไม่พยายามกำหนดหรือเว้นระยะการมีบุตรของตนออกจากคู่อยู่กินที่พยายามกระทำการดังกล่าว
  • 5. การเกิดที่ไม่ต้องการ หรือการเกิดที่ไม่ตั้งใจคือการเกิดที่เกิดขึ้นหลังจากคู่อยู่กินมีบุตรตามจำนวนที่ปรารถนาแล้ว ศัพท์คำนี้ต่างจากคำว่าการเกิดที่ไม่วางแผนซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจและบางทีเป็นการเกิดนอกสมรส

625

การวางแผนครอบครัวมีความเกี่ยวโยงถึง พ่อแม่ที่วางแผน1 หรือ พ่อแม่ที่รับผิดชอบ1 ได้แก่ ความปรารถนาที่จะกำหนดจำนวนและเว้นระยะของการเกิดให้เป็นเป็นประโยชน์มากที่สุดของคู่อยู่กินหรือของสังคม จำนวนบุตรที่คู่อยู่กินคาดว่าจะมีอาจแตกต่างจาก จำนวนบุตรที่ปรารถนา2 หรือ จำนวนบุตรที่ตั้งใจ2 ที่คู่อยู่กินให้ข้อมูลในการสำรวจ แม้ว่าจำนวนบุตรที่เป็นเป้าหมายเหล่านี้จะไม่เปลี่ยนแปลง คู่อยู่กินก็อาจมีบุตรเกินกว่าจำนวนเหล่านั้นอันเป็นผลมาจาก ความล้มเหลวของการคุมกำเนิด3 ความถี่ของความล้มเหลวที่ขึ้นอยู่กับ ประสิทธิภาพของการคุมกำเนิด4ซึ่งมีอยู่สองลักษณะ ประสิทธิภาพเชิงทฤษฎี5หรือ ประสิทธิภาพเชิงสรีรวิทยา5 ชี้ให้เห็นว่าวิธีคุมกำเนิดเชื่อถือได้อย่างไรเมื่อใช้ตลอดเวลาตามคำแนะนำในการใช้ ประสิทธิภาพในการใช้6วัดความเชื่อถือได้เมื่อใช้ในสถานการณ์ประจำวันโดยประชากรหนึ่ง เพื่อเป็นเหตุผลอธิบายศัพท์คำว่าภาวะความสามารถในการมีครรภ์ส่วนที่เหลือ (638-7) ประสิทธิภาพในการใช้ปรกติวัดได้ด้วย อัตราความล้มเหลวของการคุมกำเนิด7ซึ่งโยงจำนวนการปฏิสนธิที่ไม่ตั้งใจไปยังระยะเวลาที่เสี่ยงต่อการปฏิสนธิ

  • 2. ในศัพท์คำอื่นๆ การเกิดที่คาดหวังแตกต่างจากการเกิดที่ตั้งใจ มีความแตกต่างระหว่างคำว่าขนาดครอบครัวที่ปรารถนาซึ่งหมายถึงจำนวนบุตรที่ผู้หญิงคนหนึ่ง ผู้ชายคนหนึ่ง หรือคู่อยู่กินคู่หนึ่งที่ต้องการที่จะมี กับขนาดครอบครัวในอุดมคติซึ่งผู้หญิง ผู้ชาย หรือคู่อยู่กินมองในมุมว่าควรเป็นขนาดครอบครัวที่เหมาะสมสำหรับคนในสังคม ขนาดครอบครัวที่ตั้งใจอาจต่ำกว่าขนาดครอบครัวที่ปรารถนา
  • 3. การเกิดที่ไม่ได้วางแผนตรงข้ามกับการเกิดที่วางแผน
  • 4. 5. และ 6. ในศัพท์คำนี้ ประสิทธิผลมีความหมายเหมือนกับประสิทธิภาพ
  • 4. อย่าสับสนกับคำว่าประสิทธิภาพทางประชากรของโครงการวางแผนครอบครัว (ดู 626-7) หรือของวิธีคุมกำเนิดที่ใช้อยู่ในประชากรหนึ่ง

626

โครงการวางแผนครอบครัว1ดำเนินการให้ความรู้และกระจายการคุมกำเนิดในกลุ่ม ผู้อาจเป็นผู้ใช้2 หรือใน ประชากรเป้าหมาย2 ทีมของ พนักงานภาคสนาม3ซึ่งรวม พนักงานสอบถาม3 พนักงานชักจูงใจ3 และ พนักงานจ่ายเครื่องมือคุมกำเนิด3 พยายามเข้าถึงและชักชวนประชากรให้ใช้วิธีคุมกำเนิดหรือการแท้ง ความสำเร็จของโครงการวัดได้ด้วย สัดส่วนของผู้รับบริการรายใหม่4ในประชากรเป้าหมาย หรือวัดโดย อัตรารับบริการ4 สำหรับผู้รับบริการคุมกำเนิด มีการคำนวณ อัตราคงใช้5หลังจากช่วงเวลาหนึ่ง อัตราการหยุดใช้6หรือ อัตราเลิกใช้6 การคาดประมาณจำนวนและสัดส่วนของ การเกิดที่ป้องกันได้7สะท้อนให้เห็นประสิทธิภาพทางประชากร (625-4*) ของโครงการ ความชุกของการคุมกำเนิดในประชากรประมาณได้โดย สัดส่วนของผู้กำลังใช้8ของการคุมกำเนิดจากประชากรที่เกี่ยวข้อง อย่างเช่นสตรีที่แต่งงานแล้วในวัยสืบทอดพันธุ์

  • 8. การสำรวจความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติการคุมกำเนิด เรียกโดยใช้อักษรย่อว่า KAP อัตราคุมกำเนิด (contraceptive prevalence rate) หมายถึงร้อยละของสตรีวัยมีบุตรที่แต่งงานแล้วและยังอยู่กินกับสามีที่กำลังใช้วิธีคุมกำเนิดชนิดใดชนิดหนึ่งอยู่ เป็นดัชนีที่ชี้ความสำเร็จของโครงการวางแผนครอบครัวอีกดัชนีหนึ่ง

627

การป้องกันการปฏิสนธิ1หมายถึงมาตรการซึ่งใช้เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้เกิดผลการปฏิสนธิจาก การมีเพศสัมพันธ์2หรือ การร่วมประเวณี2 ศัพท์คำนี้ครอบคลุมการทำหมัน (631-1)เพื่อคุมกำเนิด วิธีคุมกำเนิด3ใช้ในความหมายที่กว้างกว่า วิธีป้องกันการปฏิสนธิ3 เพื่อรวมการทำแท้ง (604-2) การงดเว้น4จากการมีเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะการงดเว้นร่วมเพศเป็นระยะ ๆ (628-4) มักจะรวมอยู่ในวิธีป้องกันการปฏิสนธิหรือวิธีคุมกำเนิด

628

มักแยกความแตกต่างระหว่าง วิธีที่ใช้อุปกรณ์1ของการป้องกันการปฏิสนธิ กับ วิธีที่ไม่ใช้อุปกรณ์2 วิธีที่ไม่ใช้อุปกรณ์ในการป้องกันการปฏิสนธิหลักวิธีหนึ่งคือ การหลั่งภายนอก3 หรือ การถอนออก3 วิธีที่ไม่ใช้อุปกรณ์ในการป้องกันการปฏิสนธิอีกวิธีหนึ่งคือ การงดเว้นร่วมเพศเป็นระยะ ๆ4หรือ วิธีการนับระยะปลอดภัย4ซึ่งเป็นการหลีกเลี่ยงการร่วมเพศในช่วงที่เชื่อว่าผู้หญิงมีโอกาสตั้งครรภ์ได้ และจะร่วมเพศในช่วงที่เรียกว่า ระยะปลอดภัย5ของรอบประจำเดือนเท่านั้น วิธีการวัดอุณหภูมิร่างกาย6หมายถึงวิธีที่ผู้หญิงคอยติดตามวัดอุณหภูมิร่างกายของตนเองเพื่อหาระยะปลอดภัย

  • 1. วิธีที่ใช้อุปกรณ์มีทั้งที่เป็นวิธีใช้สิ่งกั้นขวางซึ่งใช้เพื่อป้องกันการพบกันของสเปิร์มและไข่ และวิธีที่ใช้อุปกรณ์คุมกำเนิดอื่นๆ อย่างเช่น ห่วงอนามัย (629-10) และการคุมกำเนิดประเภทอื่น เช่นยาเม็ด (630-4)
  • 4. ศัพท์คำว่าวิธีวางแผนครอบครัวตามธรรมชาติหมายรวมถึงวิธีนับระยะปลอดภัย วิธีวัดอุณหภูมิร่างกาย และเทคนิคอื่นๆ ที่พยายามระบุขั้นตอนของรอบการตกไข่ของสตรี

629

วิธีการใช้สิ่งกั้นขวางซึ่งใช้กันมากทั้งใช้วิธีเดียวโดดๆ หรือผสมกับวิธีอื่นมี ถุงยาง1หรือ ปลอก1ที่ใช้โดยผู้ชาย และ หมวกครอบปากมดลูก2 หรือ อุปกรณ์ยันมดลูก2 ไดอะแฟรม3 แทมปอน4หรือ ฟองน้ำ4 เจลลี่คุมกำเนิด5 ยาเหน็บช่องคลอด6 ยาเม็ดฟองฟู่7 และ น้ำยาฉีดล้าง8 ทั้งที่มีและไม่มี ยาฆ่าสเปิร์ม9ที่ใช้โดยผู้หญิง นอกจากนั้นยังมี ห่วงอนามัย10 (เรียกย่อๆ ว่า ไอยูดี10) (IUD) อีกหลายประเภท เช่นแบบ ขมวด10 ขดลวด10 ขดทองแดงรูปตัวที10 ฯลฯ

630

การป้องกันการปฏิสนธิทางปาก1เป็นวิธี การป้องกันการปฏิสนธิด้วยฮอร์โมน2 หรือ การป้องกันการปฏิสนธิด้วยสเตอรอยด์3 วิธีเหล่านี้ป้องกันไม่ให้ไข่สุกโดยนำเข้าสู่ร่างกายทางปากของ เม็ดยาคุม4 หรือโดยการฉีดยา หรือโดยการฝังใต้ผิวหนัง

631

การทำหมัน1เป็นผลจากการผ่าตัดวิธีต่างๆ การทำหมันชายคือมีการ ตัดท่อน้ำเชื้อ2 หรือ การปิดท่อน้ำเชื้อ3 ซึ่งเป็นการผูกและตัดท่อนำเชื้ออสุจิ การทำหมันหญิงมี การผูกท่อนำไข่4 และ การตัดท่อนำไข่5 ซึ่งเป็นการขัดขวางการทำงานของท่อนำไข่ การตัดมดลูก6 หรือการตัดมดลูกทิ้งก็นับเป็นการทำให้ผู้หญิงเป็นหมันด้วยเช่นกัน

  • 4. และ 5. มีการใช้วิธีการหลายอย่างที่จะเข้าถึงท่อนำไข่ อย่างเช่น การผ่าท้อง (laparotomy) การผ่าช่องคลอด (colpotomy) หรือการใช้กล้องส่องช่องท้อง (laparoscopy)

* * *

ไปยัง: คำนำสู่ดีโมพีเดีย | คำแนะนำการใช้ | ดาวน์โหลด
บทที่: อารัมภบท | 1. แนวคิดทั่วไป | 2. การจัดการและการประมวลผลสถิติประชากร | 3. การกระจายตัวและการจำแนกของประชากร | 4. ภาวะการตายและการเจ็บป่วย | 5. ภาวะสมรส | 6. ภาวะเจริญพันธุ์ | 7. การเพิ่มประชากรและการทดแทน | 8. การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่ | 9. มุมมองด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชากรศาสตร์
หน้าที่: 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 20 | 21 | 22 | 23 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 40 | 41 | 42 | 43 | 50 | 51 | 52 | 60 | 61 | 62 | 63 | 70 | 71 | 72 | 73 | 80 | 81 | 90 | 91 | 92 | 93

ดึงข้อมูลจาก "http://th-ii.demopaedia.org/w/index.php?title=62&oldid=799"