The Demopædia Encyclopedia on Population is under heavy modernization and maintenance. Outputs could look bizarre, sorry for the temporary inconvenience

พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาษา ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง ภาษาไทย

52

จาก Demopædia


ข้อความปฏิเสธความรับผิดชอบ : ผู้สนับสนุนทั้งหลายของดีโมพีเดียไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับความหมายของศัพท์ต่างๆ ที่อยู่ในพจนานุกรมฉบับปรังปรุงนี้

พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาพ ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง ยังอยู่่ระหว่างการดำเนินงาน หากต้องการเสนอข้อคิดเห็นใดๆ กรุณาใช้พื้นที่อภิปราย


ไปยัง: คำนำสู่ดีโมพีเดีย | คำแนะนำการใช้ | ดาวน์โหลด
บทที่: อารัมภบท | 1. แนวคิดทั่วไป | 2. การจัดการและการประมวลผลสถิติประชากร | 3. การกระจายตัวและการจำแนกของประชากร | 4. ภาวะการตายและการเจ็บป่วย | 5. ภาวะสมรส | 6. ภาวะเจริญพันธุ์ | 7. การเพิ่มประชากรและการทดแทน | 8. การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่ | 9. มุมมองด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชากรศาสตร์
หน้าที่: 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 20 | 21 | 22 | 23 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 40 | 41 | 42 | 43 | 50 | 51 | 52 | 60 | 61 | 62 | 63 | 70 | 71 | 72 | 73 | 80 | 81 | 90 | 91 | 92 | 93


520

ความถี่การแต่งงานเชิงสัมพัทธ์วัดได้ด้วย อัตราการแต่งงาน1 หรือ อัตราสมรส1 ซึ่งรวม อัตราการแต่งงานอย่างหยาบ2ที่ให้อัตราส่วนของจำนวนรวมของการแต่งงานทั้งหมดต่อจำนวนประชากรทั้งหมดในช่วงเวลาหนึ่ง ภาวะสมรสชาย3และ ภาวะสมรสหญิง4มีความแตกต่างกัน และสามารถศึกษาแยกจากกัน ศัพท์คำว่า ภาวะสมรสชาย3และ ภาวะสมรสหญิง4ใช้สำหรับความถึ่การแต่งงานของเพศต่างกัน อัตราแต่งงานรายเพศ5คำนวณได้ด้วยการใช้ประชากรที่เหมาะสมของแต่ละเพศเป็นฐาน เป็นเรื่องปรกติที่จะแยกความแตกต่างระหว่าง อัตราการแต่งงานครั้งแรก6 ซึ่งโยงจำนวนของชายโสดหรือหญิงโสด (515-3 และ 4) ที่แต่งงานไปยังจำนวนรวมของชายโดและหญิงโสดตามลำดับ และ อัตราการแต่งงานใหม่7ซึ่งโยงจำนวนการแต่งงานใหม่ไปยังจำนวนรวมของคนที่เป็นม่ายหรือหย่าแล้ว อัตราคล้ายๆ กันสามารถคำนวณได้เป็นรายอายุหรือรายกลุ่มอายุของสามี หรือภรรยา เมื่อจำแนกประเภทการแต่งงานโดย อายุแต่งงาน8ของคู่ครองแต่ละคน อัตราเช่นนั้นเรียกว่า อัตราแต่งงานรายอายุ9 การทำตารางไขว้ของคู่ครองโดยอายุที่แต่งงานทำให้สามารถคำนวณ อายุแต่งงานเฉลี่ย10 หรือ อายุเฉลี่ยเมื่อแต่งงาน10สำหรับปีหนึ่งหรือช่วงเวลาหนึ่ง ความแตกต่างของอายุระหว่างคู่ครอง11สามารถวิเคราะห์ได้จากการจำแนกประเภทของ อายุรวมกัน12ของคู่ครอง

  • 2. บางครั้งอัตราการแต่งงานอย่างหยาบได้มาจากการเชื่อมโยงจำนวนของผู้แต่งงานใหม่ต่อจำนวนประชากรทั้งหมด
  • 9. คำว่าความถี่การแต่งงาน และความถี่การแต่งงานครั้งแรก บางครั้งนำไปใช้เพื่อเชื่อมโยงอัตราส่วนของจำนวนการแต่งงานหรือการแต่งงานครั้งแรกที่อายุใดอายุหนึ่งต่อจำนวนประชากรทั้งหมดที่อายุนั้น โดยไม่คำนึงถึงสถานภาพสมรสของเขาเหล่านั้น ความถี่การแต่งงานสะสม และความถี่การแต่งงานครั้งแรกสะสม นำมาใช้ในการศึกษาเชิงรุ่น

521

ความชุกของการแต่งงานในรุ่นผู้ชายหรือผู้หญิงรุ่นหนึ่งวัดได้จาก สัดส่วนไม่เคยแต่งงาน1 ปรกติสัดส่วนนี้เท่ากับ สัดส่วนคนที่ยังเป็นโสด2 ณ อายุหนึ่ง เช่น อายุ 50 หลังจากอายุนั้นแล้วการแต่งงานครั้งแรกจะเกิดขึ้นได้ยาก สัดส่วนคนที่ยังเป็นโสดที่แต่ละอายุในคนรุ่นหนึ่งสามารถคำนวณได้จาก ความน่าจะเป็นของการแต่งงานครั้งแรก3 นั่นคือสัดส่วนของคนโสด ณ อายุที่แน่นอน x ที่จะแต่งงานก่อนครบอายุแน่นอน x + 1 โดยสมมุติว่าไม่มีภาวะการตาย อย่างไรก็ตาม เพื่อวัตถุประสงค์ในทางปฏิบัติ ปรกติสัดส่วนคนที่ยังเป็นโสดจะได้จากข้อมูลสำมะโนที่เป็น สัดส่วนโสด4 ณ อายุนั้นในรุ่นที่สอดคล้องกัน เมื่อมีข้อมูลการจำแนกประเภทของการแต่งงานครั้งแรกโดยอายุของคู่ครอง อายุเฉลี่ยเมื่อแต่งงานครั้งแรก5 อายุมัธยฐานเมื่อแต่งงานครั้งแรก6 และ อายุฐานนิยมเมื่อแต่งงานครั้งแรก7 ก็สามารถคำนวณได้ทั้งหมด ในกรณีที่ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับเวลาของการแต่งงาน ก็ยังเป็นไปได้ที่จะคำนวณ อายุโสดเฉลี่ยเมื่อแรกสมรส8จากข้อมูลสำมะโนรายการสัดส่วนโสดตามอายุ

522

ตารางสมรส1คล้ายตารางชีพ และประกอบด้วยฟังก์ชันภาวะสมรสต่างๆ ตารางสมรสรวม1มีฟังก์ชันรายอายุ คือความน่าจะเป็นของการแต่งงานครั้งแรก (521-3) และสัดส่วนคนที่ยังเป็นโสด (521-2) เช่นเดียวกับ จำนวนของการแต่งงานครั้งแรก2ในรุ่นหนึ่งซึ่งขึ้นอยู่กับภาวะสมรสที่เป็นอยู่บนข้อสมมุติที่ว่าไม่มีภาวะการตาย ตารางสมรสให้ จำนวนคนที่ยังอยู่เป็นโสด3 ณ อายุต่างๆ ตารางสมรสสุทธิ4นำเอาภาวะการตายและภาวะสมรสมาพิจารณาด้วยกัน และนับว่าเป็นตารางแบบลดลงสองทาง (153-4) ตารางเช่นนั้นมี ผู้รอดชีพโสด5 ผู้รอดชีพเคยแต่งงาน6 ความน่าจะเป็นของการรอดชีพที่ยังโสด7 และ ความคาดหมายของชีวิตที่ไม่แต่งงาน8

523

อัตราหย่า1สามารถคำนวณได้หลายทาง อัตราหย่าอย่างหยาบ2ให้อัตราส่วนของจำนวนการหย่าต่อประชากรเฉลี่ยในช่วงระยะเวลาหนึ่ง อัตราส่วนของการหย่าต่อจำนวนของคู่แต่่งงานบางครั้งคำนวณได้และอาจเรียกว่า อัตราหย่าสำหรับคนแต่งงานแล้ว3 ถ้านำการหย่ามาทำตารางไขว้กับอายุของคนที่หย่าแล้ว หรือกับระยะเวลาของการแต่งงาน ก็สามารถคำนวณ อัตราหย่ารายอายุ4 และ อัตราหย่ารายช่วงเวลา5ได้ อีกดัชนีหนึ่งของความถี่ของการหย่าได้จากการคำนวณ จำนวนของการหย่าต่อการแต่งงานใหม่6

  • 6. นี้เป็นการวัดช่วงเวลาหนึ่งซึ่งเชื่อมโยงการหย่าในหนึ่งปี ไม่ว่าจะกับการแต่งงานของปีนั้น หรือกับค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของการแต่งงานหลายๆ ปี ในการวิเคราะห์เชิงรุ่น เป็นไปได้ที่จะเชื่อมโยงการหย่าในปีที่ต่อเนื่องกันกับรุ่นแต่งงานเริ่มต้นเพื่อคำนวณสัดส่วนการหย่าสะสม

524

เมื่อมีข้อมูลพื้นฐานที่ต้องการ ความน่าจะเป็นของการสูญสลายการแต่งงาน1 ก็อาจคำนวณได้เพื่อแสดงสำหรับแต่ละอายุ ความน่าจะเป็นของการแต่งงานที่จะสลายไปโดยการตายหรือการหย่าตาม ระยะเวลาของการแต่งงาน2 ตารางการสูญสลายการแต่งงานเป็นการประยุกต์ตารางชีพแบบลดลงสองทาง ตารางการแต่งงานใหม่สำหรับคนเป็นม่ายหรือหย่าแล้วสามารถคำนวณได้ แต่ดัชนีที่ใช้กันมากที่สุดของการแต่งงานใหม่คือ ความถึ่สัมพัทธ์ของการแต่งงานใหม่3 ได้แก่ สัดส่วนของคนเป็นม่าย หรือหย่าแล้วที่แต่งงานใหม่ ซึ่งมักแสดงโดยอายุเมื่ออยู่ในสภาพม่ายหรือหย่า และโดยช่วงห่างระหว่างสภาพม่ายหรือหย่ากับการแต่งงานใหม่ ข้อมูลเกี่ยวกับการแต่งงานใหม่เหล่านี้ช่วยให้เราคำนวณ ช่วงห่างเฉลี่ยระหว่างสภาพม่ายกับการแต่งงานใหม่4 และ ช่วงห่างเฉลี่ยระหว่างการหย่ากับการแต่งงานใหม่5

* * *

ไปยัง: คำนำสู่ดีโมพีเดีย | คำแนะนำการใช้ | ดาวน์โหลด
บทที่: อารัมภบท | 1. แนวคิดทั่วไป | 2. การจัดการและการประมวลผลสถิติประชากร | 3. การกระจายตัวและการจำแนกของประชากร | 4. ภาวะการตายและการเจ็บป่วย | 5. ภาวะสมรส | 6. ภาวะเจริญพันธุ์ | 7. การเพิ่มประชากรและการทดแทน | 8. การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่ | 9. มุมมองด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชากรศาสตร์
หน้าที่: 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 20 | 21 | 22 | 23 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 40 | 41 | 42 | 43 | 50 | 51 | 52 | 60 | 61 | 62 | 63 | 70 | 71 | 72 | 73 | 80 | 81 | 90 | 91 | 92 | 93

ดึงข้อมูลจาก "http://th-ii.demopaedia.org/w/index.php?title=52&oldid=283"