The Demopædia Encyclopedia on Population is under heavy modernization and maintenance. Outputs could look bizarre, sorry for the temporary inconvenience

พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาษา ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง ภาษาไทย

43

จาก Demopædia
รุ่นปรับปรุงเมื่อ 16:22, 18 สิงหาคม 2556 โดย Patama VAPATTANAWONG (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) (431)
(ต่าง) ←รุ่นปรับปรุงก่อนหน้า | รุ่นล่าสุด (ต่าง) | รุ่นปรับปรุงถัดไป→ (ต่าง)


ข้อความปฏิเสธความรับผิดชอบ : ผู้สนับสนุนทั้งหลายของดีโมพีเดียไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับความหมายของศัพท์ต่างๆ ที่อยู่ในพจนานุกรมฉบับปรังปรุงนี้

พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาพ ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง ยังอยู่่ระหว่างการดำเนินงาน หากต้องการเสนอข้อคิดเห็นใดๆ กรุณาใช้พื้นที่อภิปราย


ไปยัง: คำนำสู่ดีโมพีเดีย | คำแนะนำการใช้ | ดาวน์โหลด
บทที่: อารัมภบท | 1. แนวคิดทั่วไป | 2. การจัดการและการประมวลผลสถิติประชากร | 3. การกระจายตัวและการจำแนกของประชากร | 4. ภาวะการตายและการเจ็บป่วย | 5. ภาวะสมรส | 6. ภาวะเจริญพันธุ์ | 7. การเพิ่มประชากรและการทดแทน | 8. การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่ | 9. มุมมองด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชากรศาสตร์
หน้าที่: 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 20 | 21 | 22 | 23 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 40 | 41 | 42 | 43 | 50 | 51 | 52 | 60 | 61 | 62 | 63 | 70 | 71 | 72 | 73 | 80 | 81 | 90 | 91 | 92 | 93


430

โดยทั่วไปสถิติภาวะการตายรวบรวมมาจากการจดทะเบียนการตาย (cf. 211) เมื่อการตายเกิดขึ้นจะมีการออก มรณบัตร1 สถิติจะรวบรวมจากข้อมูลที่ให้ไว้ในมรณบัตร ในบางประเทศแยกความแตกต่างระหว่าง ใบรับรองทางการแพทย์ของการตาย2ที่ออกโดยบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลผู้เสียชีวิตในระหว่างการเจ็บป่วยครั้งสุดท้าย และมรณบัตรปรกติที่ออกโดยนายทะเบียนเพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมาย

  • 1. สถิติการตายแรกๆ ในอังกฤษและเวลส์รวบรวมจากกฎหมายของการตาย ซึ่งโดยทั่วไปดึงข้อมูลมาจากทะเบียนการฝังศพ ในประเทศที่ไม่มีการจดทะเบียนชีพ จะสามารถรวบรมสถิติได้โดยใช้วิธีการสำรวจ คำถามอาจถามเกี่ยวกับการตายในช่วงระยะเวลาที่ระบุไว้ โดยทั่วไปใช้เวลาในช่วงปีก่อน การประมาณทางอ้อมของภาวะการตายต้องใช้คำถามต่อคำถาม อย่างเช่นจำนวนบุตรที่ยังมีชีวิตอยู่ในจำนวนบุตรเกิดรอด (637-2) สถานภาพความเป็นกำพร้า หรือสถานภาพความเป็นหม้าย

431

ความน่าจะเป็นของการตาย1ใช้เพื่อศึกษาในรายละเอียดเรื่องภาวะการตายของช่วงเวลาหนึ่งหรือของรุ่นหนึ่ง หมายถึงความน่าจะเป็นที่บุคคลหนึ่งเมื่อมีอายุแน่นอน x ปีพอดีจะตายก่อนที่จะมีอายุแน่นอน x + n และจะแทนด้วยสัญลักษณ์ nqx ถ้า n = 1 เท่ากับเราพูดถึง ความน่าจะเป็นของการตายรายปี2 ถ้า n = 5 เท่ากับ ความน่าจะเป็นของการตายช่วงห้าปี3 อัตราตายฉับพลัน4 หรือบางครั้งเรียกว่า แรงของภาวะการตาย4เป็นขีดจำกัดของค่า nqx เมื่อ n เข้าใกล้ศูนย์ ความน่าจะเป็นของการตายที่ฉายภาพ5เป็นความน่าจะเป็นที่บุคคลรุ่นเดียวกันหรือกลุ่มของรุ่น ตายระหว่างวันที่ 1 มกราคมของปีหนึ่งและ 1 มกราคมของอีกปีหนึ่ง ความน่าจะเป็นคำนี้มาจากการที่มันถูกนำไปใช้ในการคำนวณของการฉายภาพประชากร ส่วนที่เติมเต็มให้เป็น 1 ของความน่าจะเป็นของการตายจากอายุแน่นอน x ไปถึงอายุแน่นอน x + n คือ ความน่าจะเป็นของการรอดชีพ6ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น ในการฉายภาพประชากร เราใช้ อัตราส่วนรอดชีพ7 ซึ่งเป็นความน่าจะเป็นที่คนในรุ่นเกิดเดียวกันหรือกลุ่มของรุ่นต่างๆ จะมีชีวิตอยู่ n ปีต่อมา

  • 1. ความน่าจะเป็นของการตายระหว่างอายุ x และ x + n นิยามได้ว่าเป็นอัตราส่วนของการตายระหว่างอายุ x และ x + n ต่อจำนวนของผู้รอดชีพที่อายุแน่นอน x ปี ต้องไม่ไปสับสนกับอัตราตายกึ่งกลางซึ่งเป็นอัตราส่วนของการตายระหว่างอายุ x และ x + n ต่อจำนวนประชากรเฉลี่ยที่มีชีวิตอยู่ ณ อายุนั้น อัตราตายกึ่งกลางเขียนเป็นสัญญลักษณ์ว่า nmx
  • 6. ความน่าจะเป็นของการรอดชีพจากอายุ x ถึงอายุ x + n เขียนเป็นสัญญลักษณ์ว่า npx

432

การเกิดขึ้นของภาวะการตายตลอดช่วงวงจรชีวิตอาจอธิบายด้วย ตารางชีพ1 ตารางชีพประกอบด้วย ฟังก์ชันตารางชีพ2หลายฟังก์ชัน ซึ่งทั้งหมดจะเกี่ยวโยงกันทางคณิตศาสตร์ และสามารถคำนวณได้เมื่อทราบค่าของฟังก์ชันหนึ่ง ฟังก์ชันการรอดชีพ3แสดงจำนวนของ ผู้รอดชีพ4ของรุ่น (116-2) หนึ่งที่เกิดมาพร้อมกันที่อายุแน่นอน (322-7) ต่างๆ โดยมีข้อสมมุติว่าคนรุ่นเกิดนั้นมีอัตราของภาวะการตายดังแสดงไว้ จำนวนการเกิดในรุ่นตั้งต้นเรียกว่า ราก5ของตารางชีพ และกระบวนการที่จำนวนคนของรุ่นตั้งต้นค่อยๆ ลดลงเรียกว่า การลดลง6

  • 4. จำนวนผู้รอดชีพที่อายุแน่นอน x แสดงโดย lx
  • 5. รากปรกติเท่ากับค่ายกกำลังของ 10 เช่น 10,000 หรือ 100,000

433

ความแตกต่างของจำนวนผู้รอดชีพ (432-4) ที่อายุต่างๆ ให้จำนวนของการตายในช่วงอายุของ ฟังก์ชันการตาย1 และมีชื่อว่า การกระจายของการตายตารางชีพ2 เพื่อที่จะแยกความแตกต่างจากการกระจายอย่างหยาบของการตาย ปรกติตารางชีพจะให้ค่าของ ความคาดหมายของชีวิต3 หรือ อายุคาดเฉลี่ย3ที่อายุ x ซึ่งหมายถึงจำนวนเฉลี่ยของปีที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไปโดยคนที่มีชีวิตอยู่จนถึงอายุแน่นอน x โดยมีเงื่อนไขภาวะการตายของตารางที่ให้ไว้ อายุคาดเฉลี่ยเมื่อเกิด4เป็นกรณีพิเศษหนึ่งของความคาดหมายของชีวิตที่แสดง ความยืนยาวของชีวิตเฉลี่ย4ของคนตั้งแต่เกิดเมื่อมีภาวะการตายของตารางชีพนั้น ในทางกลับกันของความคาดหมายของชีวิตเมื่อเกิดเป็น อัตราตายตารางชีพ5หรือ อัตราตายของประชากรคงที่5

  • 3. ด้วยการอินทีเกรตฟังก์ชันการรอดชีพ (432-3) ระหว่างอายุแน่นอนสองอายุ เราจะได้จำนวนรวมของปีที่มีชีวิตอยู่โดนคนรุ่นวัยระหว่างสองอายุนี้ สัญญลักษณ์สำหรับจำนวนรวมของปีที่มีชีวิตอยู่ระหว่างอายุx และx + n คือ nLx ฟังก์ชันนี้มักเรียกว่าประชากรคงที่ในหัวสดมภ์ตารางชีพ ด้วยการรวมค่าจากอายุ x ไปจนสิ้นสุดชีวิต เราจะได้จำนวนรวมของปีที่จะมีชีวิตอยู่หลังจากอายุ x โดยคนที่มีอายุถึงอายุนั้น สัญญลักษณ์ที่ใช้ของสดมภ์นี้คือ T x
  • 4. สัญญลักษณ์สำหรับอายุคาดเฉลี่ยเมื่ออายุ x คือ ex

434

ความยืนยาวของชีวิตมัธยฐาน1บางครั้งเรียกว่า ความยืนยาวของชีวิตที่น่าจะเป็นไปได้1 คืออายุที่ครึ่งหนึ่งของรุ่นเริ่มต้นที่เกิดพร้อมกันจะตายไป หลังจากพ้นสภาพความเป็นทารก การกระจายการตายตามอายุในตารางชีพปรกติจะมีฐานนิยมและอายุที่เกิดฐานนิยมนั้นจะเรียกว่า อายุฐานนิยมเมื่อตาย2 หรือบางครั้งเรียก อายุปรกติเมื่อตาย2 ตัวชี้วัดที่น่าสนใจของ ความยืนยาวชีวิตมนุษย์3 หรือ ความยืนยาวของชีวิต3ที่มีความหมายใกล้เคียงกับศัพท์ที่ใช้กันทั่วไปในภาษาประจำวันมากกว่าคำว่าความยืนยาวชีวิตฐานนิยมหรือความยืนยาวชีวิตเฉลี่ย ศัพท์คำว่า อายุขัย4ใช้เพื่อหมายถึงความยืนยาวสูงสุดที่จะเป็นไปได้ของชีวิตมนุษย์

435

ตารางชีพสมบูรณ์1ปรกติเป็นตารางที่ให้ค่าฟังก์ชันตารางชีพ (432-2) เป็นอายุรายปี ตารางชีพย่อ2เป็นตารางที่ฟังก์ชันส่วนมากจะแสดงค่าเป็นกลุ่มอายุเท่านั้น โดยมากมักจะแบ่งเป็นช่วงห้าปีหรือสิบปีหลังจากพ้นวัยทารกแล้ว ค่าที่อยู่ระหว่างกลางของฟังก์ชันเหล่านี้จะได้มาจากวิธีการประมาณค่าระหว่างช่วง (151-7) ศัพท์คำว่า ตารางชีพสำหรับกลุ่มที่เลือก3ใช้เพื่อหมายถึงตารางชีพที่เชื่อมโยงไปถึงประสบการณ์ของกลุ่มบุคคลที่เลือกมาศึกษาจำนวนหนึ่ง อย่างเช่น ลูกค้าของบริษัทประกันชีวิต ตรงข้ามกับ ตารางชีพทั่วไป4ซึ่งเชื่อมโยงประสบการณ์ของประชากร (101-4) ทั้งหมด โดยทั่วไปตารางชีพจะนำเสนอแยกเพศชายหญิง แม้ว่าบางครั้งจะนำเสนอตารางชีพของทั้งสองเพศก็ตาม ตารางชีพซึ่งสร้างขึ้นโดยอาศัยข้อสรุปของความสัมพันธ์เชิงประจักษ์เรียกว่า ตารางชีพตัวแบบ5

436

ตารางชีพปีปฏิทิน1 หรือ ตารางชีพช่วงเวลา1 (cf. 153-2 ; 432-1) เป็นตารางชีพซึ่งอัตราภาวะการตายที่ใช้เชื่อมโยงช่วงเวลาที่ระบุไว้กับรุ่น (116-2) จึงเป็นตารางสมมุติ ในอีกด้านหนึ่ง ตารางชีพชั่วคน2 หรือ ตารางชีพรุ่นอายุ2เป็นการติดตามประสบการณ์ของรุ่นเกิดจริงๆ รุ่นหนึ่งและอัตราภาวะการตายที่อยู่ในตารางชีพนั้นจึงกระจายไปตามระยะเวลาที่ยาวนาน ปรกติเป็นเวลาราวๆ 100 ปี พื้นผิวภาวะการตาย3วาดขึ้นโดยเมื่อลงจุดความน่าจะเป็นของการตาย (431-1) กับอายุและช่วงเวลาไปพร้อมๆ กันในไดอะแกรมสามมิติ

437

เล็กซิสไดอะแกรม1ใช้กันมากในการแสดงภาพวิธีการสำหรับคำนวณความน่าจะเป็นของการตายและมาตรวัดทางประชากรศาสตร์อื่นๆ ในไดอะแกรมนี้บุคคลทุกคนจะแสดงโดย เส้นชีวิต2ซึ่งเริ่มเมื่อเกิดและสิ้นสุดที่ จุดของการตาย3 วิธีการสำหรับการศึกษาเรื่องภาวะการตายเมื่ออายุมากๆ เรียกว่า วิธีการของรุ่นที่หมดไปแล้ว4 เพราะวิธีนี้ใช้ข้อมูลการตายสำหรับรุ่นซึ่งถูกขจัดให้หมดไปแล้วด้วยภาวะการตาย

* * *

ไปยัง: คำนำสู่ดีโมพีเดีย | คำแนะนำการใช้ | ดาวน์โหลด
บทที่: อารัมภบท | 1. แนวคิดทั่วไป | 2. การจัดการและการประมวลผลสถิติประชากร | 3. การกระจายตัวและการจำแนกของประชากร | 4. ภาวะการตายและการเจ็บป่วย | 5. ภาวะสมรส | 6. ภาวะเจริญพันธุ์ | 7. การเพิ่มประชากรและการทดแทน | 8. การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่ | 9. มุมมองด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชากรศาสตร์
หน้าที่: 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 20 | 21 | 22 | 23 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 40 | 41 | 42 | 43 | 50 | 51 | 52 | 60 | 61 | 62 | 63 | 70 | 71 | 72 | 73 | 80 | 81 | 90 | 91 | 92 | 93

ดึงข้อมูลจาก "http://th-ii.demopaedia.org/w/index.php?title=43&oldid=781"