The Demopædia Encyclopedia on Population is under heavy modernization and maintenance. Outputs could look bizarre, sorry for the temporary inconvenience

พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาษา ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง ภาษาไทย

32

จาก Demopædia


ข้อความปฏิเสธความรับผิดชอบ : ผู้สนับสนุนทั้งหลายของดีโมพีเดียไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับความหมายของศัพท์ต่างๆ ที่อยู่ในพจนานุกรมฉบับปรังปรุงนี้

พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาพ ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง ยังอยู่่ระหว่างการดำเนินงาน หากต้องการเสนอข้อคิดเห็นใดๆ กรุณาใช้พื้นที่อภิปราย


ไปยัง: คำนำสู่ดีโมพีเดีย | คำแนะนำการใช้ | ดาวน์โหลด
บทที่: อารัมภบท | 1. แนวคิดทั่วไป | 2. การจัดการและการประมวลผลสถิติประชากร | 3. การกระจายตัวและการจำแนกของประชากร | 4. ภาวะการตายและการเจ็บป่วย | 5. ภาวะสมรส | 6. ภาวะเจริญพันธุ์ | 7. การเพิ่มประชากรและการทดแทน | 8. การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่ | 9. มุมมองด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชากรศาสตร์
หน้าที่: 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 20 | 21 | 22 | 23 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 40 | 41 | 42 | 43 | 50 | 51 | 52 | 60 | 61 | 62 | 63 | 70 | 71 | 72 | 73 | 80 | 81 | 90 | 91 | 92 | 93


320

โครงสร้างเพศ1หรือ การกระจายตามเพศ1ของประชากรวัดได้ด้วยอัตราส่วนของจำนวนประชากร เพศ2หนึ่งต่อจำนวนรวมของประชากร หรือที่นิยมกันมากกว่าคือต่อจำนวนประชากรอีกเพศหนึ่ง มาตรวัดที่ใช้กันอยู่ปรกติเพศชายใช้เป็นตัวตั้งและเราพูดถึง ภาวะเพศชาย3ของประชากร สัดส่วนภาวะเพศชาย4คือสัดส่วนของประชากรชายในประชากรทั้งหมด อัตราส่วนเพศ5เป็นอัตราส่วนของจำนวนประชากรชายต่อจำนวนประชากรหญิง ปรกติจะแสดงเป็นค่าดัชนี (132-7) ได้แก่จำนวนประชากรชายต่อประชากรหญิง100 คน

  • 3. บางครั้งตัวตั้งของอัตราส่วนนี้ใช้เป็นประชากรหญิง เท่ากับเป็นการวัดภาวะเพศหญิงของประชากร

321

คำว่า ประชากรชาย1 และ ประชากรหญิง2จะนิยมใช้กันในวิชาประชากรศาสตร์แทนคำว่า ผู้ชาย1 และ ผู้หญิง2 เพื่ออ้างถึงบุคคลในแต่ละเพศในทุกๆ อายุ รวมทั้งเด็ก (323-3) ในทำนองเดียวกัน ศัพท์คำว่า ประชากรเด็กชาย3และ ประชากรเด็กหญิง4ใช้แทนคำว่า เด็กชาย3และ เด็กหญิง4 ศัพท์ภาษาอังกฤษ man ยังใช้ในความหมายโดยทั่วๆ ไปของ ความเป็นมนุษย์5

322

อายุ1เป็นลักษณะพื้นฐานของโครงสร้างประชากร โดยทั่วไปจะแสดงเป็นปี หรือปีและเดือน ในกรณีของเด็กเล็กๆ อายุอาจทำให้เป็นเดือนและวัน หรือให้เป็นปีและส่วนทศนิยมของปี ปรกตินักประชากรศาสตร์จะปัดเศษให้เป็นจำนวน ปีเต็ม2ที่มีชีวิตอยู่ ซึ่งเรียกว่า อายุเมื่อวันเกิดครั้งสุดท้าย3 บางครั้ง สถิติทางประชากรอ้างถึง อายุครบในช่วงปีนั้น4 เมื่อเศษของจำนวนปีเต็มที่มีชีวิตอยู่ที่ผ่านมาถูกนับเป็นทั้งปีอย่างที่ประยุกต์ในทางการบัญชี เท่่ากับเราพูดถึง อายุเมื่อวันเกิดครั้งหน้า5 อายุที่บอก6 หรือ อายุที่รายงาน6ในสำมะโนหรือการจดทะเบียนมักจะขึ้นเป็นเป็นเลขกลมตัวต่อไปโดยเฉพาะใกล้วันเกิดครั้งหน้า ศัพท์คำว่า อายุแน่นอน7ใช้โดยเฉพาะในการคำนวณตารางชีพ เพื่อแสดงเวลาที่บุคคลหนึ่งมีอายุครบวันเกิดของเขา คำถามอายุในสำมะโนจะเป็นวันเดือนปีเกิด หรืออายุเมื่อวันเกิดครั้งสุดท้าย หรือถามเพียงแต่อายุเท่าไรโดยไม่ต้องการความแม่นยำมากนัก เมื่อครั้งที่ความรู้เกี่ยวกับอายุยังไม่แพร่หลาย ปฏิทินทางประวัติศาสตร์8อาจใช้เพื่อประมาณอายุ นั่นคือการใช้รายการเหตุการณ์ที่รู้วันเวลาที่เหตุการณ์เกิดขึ้นในช่วงชีวิตของผู้ตอบ

  • 2. ดังนั้น กลุ่มอายุ (325-2) จะเป็นปีเต็ม และกลุ่มอายุ 6-13 ปีจึงรวมบุคคลที่มีอายุแน่นอน (322-7) ระหว่าง 6 และ 14 ปี

323

ในวิชาประชากรศาสตร์ ศัพท์บางคำนำมาจากภาษาพูดในชีวิตประจำวันเพื่อแสดง ขั้นตอนของชีวิต1 หรือระยะเวลาเป็นปีโดยประมาณ ในช่วงเริ่มต้นของชีวิตอยู่ในขั้นตอนของ วัยเด็ก2 โดยทั่วไป เด็ก3คือบุคคลทั่วไปที่ยังไม่ถึงวัยที่สืบพันธุ์ได้ (620-2) ในช่วงวันแรกๆ ของชีวิต เด็กจะเรียกว่า เด็กเกิดใหม่4 เด็กวัยกินนม5คือเด็กที่ยังไม่หย่านมจากแม่ของเขา ศัพท์คำว่า ทารก6ใช้เพื่อหมายถึงเด็กที่มีชีวิตอยู่ยังไม่ครบวันเกิดแรก แม้ว่าในภาษาพูดอาจใช้คำว่าทารกในความหมายที่เด็กมีอายุเกินกว่าขวบปีเล็กน้อย เด็กๆ ที่อายุยังไม่ถึงวัยเรียนภาคบังคับเรียกว่า เด็กก่อนวัยเรียน7 เด็กวัยเรียน8คือเด็กที่อยู่ในวัยต้องไปโรงเรียน

  • 6. วัยทารก (infancy) ช่วงเวลาที่เป็นทารก

324

เด็กตามมาด้วย วัยรุ่น1หรือ เยาวชน1 ซึ่งเริ่มต้นวัยที่สืบพันธุ์ได้ (620-2) ศัพท์คำว่า วัยรุ่น2หรือ คนหนุ่มสาว3ใช้สำหรับผู้ชายและผู้หญิงอายุระหว่างวัยเด็กกับ วัยผู้ใหญ่4 คนที่อายุ่ถึง ความเป็นผู้ใหญ่4เรียกว่า ผู้ใหญ่5 วัยชรา6มักใช้เพื่อนิยามช่วงเวลาของชีวิตซึ่งบุคคลส่วนมากเกษียณจากการทำงานแล้ว บุคคลที่มีอายุมากกว่า อายุเกษียณ7นั้นเรียกว่า คนแก่8 ผู้มีอายุมาก8หรือ ผู้สูงอายุ8

  • 3. ศัพท์คำว่าเยาวชน (youth) ใช้แสดงกลุ่มรวมด้วย ในสหรัฐอเมริกาใช้คำว่า ทีนเอจ เพื่อหมายถึงบุคคลที่มีอายุระหว่าง 13 ถึง 19 ปี

325

การกระจายอายุของประชากรทำได้โดยใช้ อายุรายปี1 หรือโดย กลุ่มอายุ2ซึ่งอาจเป็น กลุ่มอายุ 5 ปี3 ซึ่งเรียกว่าเป็น กลุ่มอายุช่วง 5 ปี3 หรือกระจายเป็น กลุ่มอายุกว้างๆ4 อย่างเช่น 0-19 ปี 20-59 ปี 60 ปีขึ้นไป บางครั้ง การกระจายอายุ6ของประชากร หรือ โครงสร้างอายุ6แสดงไว้โดยการจำแนกประชากรออกตาม ปีเกิด5 การกระจายอายุของประชากรแสดงเป็นรูปกราฟโดย พีระมิดประชากร7ซึ่งเป็นฮิสโตแกรม (155-8) แสดงประชากรตามกลุ่มอายุและเพศ และที่เรียกชื่อดังนั้นเพราะทรงของกราฟนี้เป็นเหมือนพีระมิด

326

อายุเฉลี่ย1ของประชากรหนึ่งคืออายุเฉลี่ยของสมาชิกทุกคนในประชากรนั้น อายุมัธยฐาน2คืออายุซึ่งแบ่งประชากรออกเป็นสองกลุ่มมีจำนวนเท่าๆ กัน เมื่อสัดส่วนของคนชราเพิ่มขึ้นเราพูดถึง กระบวนการสูงวัย3ของประชากร เมื่อสัดส่วนของคนวัยเยาว์เพิ่มขึ้นก็เป็น กระบวนการเยาว์วัย4ของประชากร ประชากรวัยชรา5มีสัดส่วนของประชากรสูงวัยสูง ประชากรวัยเยาว์6มีสัดส่วนของประชากรเยาว์วัยหรือเด็กๆ สูง ศัพท์คำว่ากระบวนการสูงวัยที่ใช้ข้างต้นไม่ควรนำไปปะปนกับเทคนิคที่ใช้ในการฉายภาพประชากร ซึ่งประกอบด้วย การมีอายุสูงขึ้น7ของประชากรด้วยการใช้ความน่าจะเป็นของการรอดชีพ (431-6) ตามรายอายุเพื่อหาจำนวนผู้รอดชีพในเวลาต่อมา

  • 3. คำนี้ในภาษาอังกฤษ เขียนได้ทั้ง aging และ ageing
  • 4. คำว่าเยาว์วัยลง ใช้ในหมู่นักประชากรศาสตร์ชาวอเมริกัน

327

กระบวนการสูงวัย (326-3) ของประชากรต้องแยกออกจาก การมีอายุสูงขึ้นของบุคคล1 หรือ ชราภาพ1 และแยกจากการที่ระยะเวลาของชีวิตมนุษย์ที่ยาวนานขึ้น หรือ ความยืนยาวชีวิตที่เพิ่มขึ้น2ซึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนามาตรฐานการดำรงชีวิตและความก้าวหน้าทางการแพทย์และสาธารณสุข อายุทางสรีรวิทยา3ของบุคคลจะขึ้นอยู่กับภาวะของเนื้อเยื่อและอวัยวะในร่างกายของเขา ในกรณีของเด็กๆ เราพูดถึง อายุทางจิตใจ4ซึ่งนิยามว่าเป็นอายุที่จากการทดสอบให้เด็กแต่ละคนสามารถประกอบกิจกรรมบางอย่างที่เด็กโดยเฉลี่ยทำได้ ในากรศึกษาเกี่ยวกับอายุทางสรีรวิทยาและอายุทางจิตใจ มีการแยกความแตกต่างระหว่างอายุทั้งสองนี้กับอายุตามเวลาที่ผ่านไปที่วัดได้โดยเวลาที่ผ่านไปตั้งแต่ วันเดือนปีเกิด5ของเด็กแต่ละคน อัตราส่วนของอายุทางจิตใจต่ออายุตามเวลาที่ผ่านไปเรียกว่า อัตราส่วนเชาวน์ปัญญา6 (มักเรียย่อๆ ว่าไอคิว)

* * *

ไปยัง: คำนำสู่ดีโมพีเดีย | คำแนะนำการใช้ | ดาวน์โหลด
บทที่: อารัมภบท | 1. แนวคิดทั่วไป | 2. การจัดการและการประมวลผลสถิติประชากร | 3. การกระจายตัวและการจำแนกของประชากร | 4. ภาวะการตายและการเจ็บป่วย | 5. ภาวะสมรส | 6. ภาวะเจริญพันธุ์ | 7. การเพิ่มประชากรและการทดแทน | 8. การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่ | 9. มุมมองด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชากรศาสตร์
หน้าที่: 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 20 | 21 | 22 | 23 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 40 | 41 | 42 | 43 | 50 | 51 | 52 | 60 | 61 | 62 | 63 | 70 | 71 | 72 | 73 | 80 | 81 | 90 | 91 | 92 | 93

ดึงข้อมูลจาก "http://th-ii.demopaedia.org/w/index.php?title=32&oldid=830"