The Demopædia Encyclopedia on Population is under heavy modernization and maintenance. Outputs could look bizarre, sorry for the temporary inconvenience

พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาษา ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง ภาษาไทย

21

จาก Demopædia


ข้อความปฏิเสธความรับผิดชอบ : ผู้สนับสนุนทั้งหลายของดีโมพีเดียไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับความหมายของศัพท์ต่างๆ ที่อยู่ในพจนานุกรมฉบับปรังปรุงนี้

พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาพ ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง ยังอยู่่ระหว่างการดำเนินงาน หากต้องการเสนอข้อคิดเห็นใดๆ กรุณาใช้พื้นที่อภิปราย


ไปยัง: คำนำสู่ดีโมพีเดีย | คำแนะนำการใช้ | ดาวน์โหลด
บทที่: อารัมภบท | 1. แนวคิดทั่วไป | 2. การจัดการและการประมวลผลสถิติประชากร | 3. การกระจายตัวและการจำแนกของประชากร | 4. ภาวะการตายและการเจ็บป่วย | 5. ภาวะสมรส | 6. ภาวะเจริญพันธุ์ | 7. การเพิ่มประชากรและการทดแทน | 8. การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่ | 9. มุมมองด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชากรศาสตร์
หน้าที่: 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 20 | 21 | 22 | 23 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 40 | 41 | 42 | 43 | 50 | 51 | 52 | 60 | 61 | 62 | 63 | 70 | 71 | 72 | 73 | 80 | 81 | 90 | 91 | 92 | 93


210

ปฏิบัติการสำมะโน1ปรกติเริ่มด้วยการกำหนด พื้นที่สำมะโน2และ เขตแจงนับ3 เขตแจงนับในเมืองและนครใหญ่อาจประกอบด้วย ชุมรุมอาคาร4หนึ่งหรือหลายแห่ง ชุมรุมอาคารนิยามได้ว่าเป็นกลุ่มของอาคารซึ่งสามารถเดินได้โดยรอบโดยไม่ต้องข้ามถนน หรือกลุ่มอาคารที่จำกัดขอบเขตโดยอุปสรรคบางประการอย่างเช่นทางรถไฟหรือแม่น้ำ มหานครใหญ่ส่วนมากของหลายประเทศแบ่งย่อยพื้นที่ออกเป็นพื้นที่ทางสถิติเรียกว่า เขตบริเวณสำมะโน5 ซึ่งอาจประกอบด้วยเขตแจงนับหนึ่งหรือหลายเขต

211

เหตุการณ์ชีพ1อาจนิยามว่าเป็นการเกิด การตาย การเกิดไร้ชีพ การตายตัวอ่อน การแต่งงาน การรับเลี้ยงดูบุตร การทำให้ชอบด้วยกฎหมาย การยอมรับ การยกเลิก การหย่า และการแยก กล่าวสั้นๆ คือหมายถึงเหตุการณ์ทั้งหมดซึ่งเกี่ยวข้องกับการเข้าสู่หรือการออกจากชีวิตของบุคคลหนึ่งพร้อมกับการเปลี่ยนแปลง สถานภาพพลเมือง2 โดยทั่วไปบันทึกของเหตุการณ์เหล่านี้เรียกว่า บันทึกชีพ3 หรือ บันทึกการทะเบียน3 ในหลายประเทศเพื่อเหตุผลทางกฎหมาย เหตุการณ์ชีพเป็นเป้าหมายของ การจดทะเบียนชีพ4 หรือ การทะเบียนราษฎร4 การจดทะเบียนเกิด5 การจดทะเบียนสมรส7 และ การจดทะเบียนตาย9 ใช้แบบฟอร์มเฉพาะเป็น บันทึกการเกิด6 บันทึกการสมรส8 และ บันทึกการตาย10 ศัพท์ที่กล่าวมานี้เป็นประเภทของเอกสารการจดทะเบียนที่ใช้กันมากที่สุด บุคคลผู้รับผิดชอบในการดูแลทะเบียนเหล่านี้เรียก นายทะเบียน11

  • 4. ระบบทะเบียนราษฎรของอังกฤษพัฒนามาจากทะเบียนแพริช (214-1) ซึ่งเก็บไว้โดยโบสถ์ ทะเบียนในสมัยเริ่แรกเป็นสมุดหุ้มปกซึ่งบันทึกเหตุการณ์ไว้เป็นบรรทัด ทุกวันนี้ข้อมูลของแต่ละบุคคลอยู่ในรูปของใบรับรอง ทะเบียนจะเป็นเอกสารแยกกันสำหรับแต่ละเหตุการณ์ชีพที่บันทึกไว้
    ระบบทะเบียนราษฎรของประเทศไทย อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ทะเบียนราษฎรของประเทศไทยเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5

212

สถิติชีพ1 หรือ สถิติการจดทะเบียน1ได้มาโดยการประมวลผลบันทึกการจดทะเบียนหรือ รายงานสถิติ2 ที่จัดให้มีขึ้น ณ ขณะเวลาที่มีการจดทะเบียน การทำตารางจำแนกตามสถานที่อยู่อาศัย3ของมารดาหรือของผู้ตายมักจะนับว่าเป็นประโยชน์ต่อวัตถุประสงค์ทางประชากรศาสตร์มากกว่าการทำตารางจำแนกตามสถานที่เกิดเหตุการณ์

  • 3. ในหลายประเทศเวลาของการจดทะเบียนการเกิดอาจจะล่าช้ากว่าเวลาที่เกิดอย่างมาก

213

การทะเบียนที่ได้อ้างถึงในย่อหน้าก่อน(cf.211-4) แตกต่างจาก ทะเบียนประชากร1ของประเทศที่มีระบบ การจดทะเบียนแบบต่อเนื่อง2 ในทะเบียนประชากร สมาชิกทุกคนของประชากรหรือทุกครอบครัวอาจแสดงตนโดย บัตร3 และทะเบียนจะ คงไว้4 หรือ ปรับให้เป็นปัจจุบัน4ผ่านข้อมูลซึ่งเข้าสู่ทะเบียนผ่านสำนักงานทะเบียนท้องถิ่น และผ่านการจดทะเบียน การเปลี่ยนที่อยู่อาศัย5 (cf.310-6) ปรกติทะเบียนประชากรจะ จับคู่6กับผลของสำมะโนและปรับให้เป็นปัจจุบันตามช่วงเวลาที่กำหนดไว้ด้วย การตรวจสอบ7พิเศษ

  • 3. ไฟล์บัตรเป็นการรวมบัตร โดยทั่วไปไฟล์เป็นการรวบรวมข้อมูลที่จัดไว้อย่างเป็นระเบียบ

214

ประชากรศาสตร์ประวัติศาสตร์ (102-1) มักใช้เอกสารซึ่งมีมาก่อนหรือใช้มาก่อนการพัฒนาการจดทะเบียนราษฎร (211-4) และบัญชีรายชื่อ (207-3)จากสำมะโน ทะเบียนแพริช1 หรือ ทะเบียนเกี่ยวกับท้องถิ่น1มีข้อมูลของเหตุการณ์ทางศาสนาที่เทียบได้กับเหตุการณ์ชีพ อย่างเช่น พิธีแบบติสม์2 พิธีแต่งงานทางศาสนา (503-2) และ พิธีฝังศพ3 สำหรับ คริซอมส์5 หรือ ทารกที่เข้าพิธีแบบติสม์ส่วนตัว4แล้วตายที่บ้านก่อนที่จะเข้าพิธีที่โบสถ์อย่างเป็นทางการ จะมีเพียงบันทึกการฝังศพเท่านั้น บัญชีรายชื่อมีข้อมูลของประชากรบางส่วนหรือข้อมูลประชากรทั้งหมดจะหาได้ยาก บัญชีรายชื่อรวม สมุดครอบครัวประจำแพริช6ซึ่งเป็นบัญชีรายชื่อของผู้อยู่ในเขตตำบลของโบสถ์ทั้งหมด บัญชีรายชื่อผู้เข้าพิธี7 และ บัญชีรายชื่อผู้รับศีลมหาสนิท8 เช่นเดียวกับเอกสารทางการคลังและการปกครอง อย่างเช่น บัญชีผู้เสียภาษีครัว9 ทะเบียนการเสียภาษี10 และ บัญชีการเกณฑ์ทหาร11

215

ข้อมูลถูกสกัดจากทะเบียนแพริชโดยอาศัย แบบฟอร์ม1 หรือ ใบสำคัญ1หลายประเภท ซึ่งรวม ใบสำคัญแบบติสม์2 ใบสำคัญแต่งงาน3 และ ใบสำคัญฝังศพ4 ชื่อของ หัวข้อของบันทึก5 (นั่นคือ บุคคลที่เข้าพิธีรับศึลจุ่ม ศพที่ถูกฝัง คู่แต่งงาน) จะถูกจารึกไว้บนแผ่นป้ายเหล่านี้ และข้อมูลจะถูกบันทึกไว้เกี่ยวกับพ่อแม่และบุคคลอื่นๆ อย่างเช่น พ่อทูนหัว6 แม่ทูนหัว7 และ พยาน8 มีการใช้ แถลงการณ์นิรนาม9 ม้วนชื่อ10 และ ฟอร์มสำเนา11อื่นๆ ทั้งที่มีและไม่มีชื่อของหัวข้อ เพื่อสกัดข้อมูลออกมาด้วย การประกอบสร้างครอบครัวขึ้นใหม่ (638-2) ใช้ประโยชน์จากแบบฟอร์มการสร้างครอบครัว (638-1) เมื่อ การลำดับวงศ์ตระกูล12สร้างสายการสืบทอดของบุคคลหรือครอบครัวขึ้นใหม่ ลำดับวงศ์ตระกูลนั้นก็อยู่ภายใต้เงื่อนไขบางอย่าง ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลที่มีคุณค่าเกี่ยวกับลักษณะทางประชากรศาสตร์ของชนชั้นสูง

* * *

ไปยัง: คำนำสู่ดีโมพีเดีย | คำแนะนำการใช้ | ดาวน์โหลด
บทที่: อารัมภบท | 1. แนวคิดทั่วไป | 2. การจัดการและการประมวลผลสถิติประชากร | 3. การกระจายตัวและการจำแนกของประชากร | 4. ภาวะการตายและการเจ็บป่วย | 5. ภาวะสมรส | 6. ภาวะเจริญพันธุ์ | 7. การเพิ่มประชากรและการทดแทน | 8. การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่ | 9. มุมมองด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชากรศาสตร์
หน้าที่: 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 20 | 21 | 22 | 23 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 40 | 41 | 42 | 43 | 50 | 51 | 52 | 60 | 61 | 62 | 63 | 70 | 71 | 72 | 73 | 80 | 81 | 90 | 91 | 92 | 93

ดึงข้อมูลจาก "http://th-ii.demopaedia.org/w/index.php?title=21&oldid=742"