The Demopædia Encyclopedia on Population is under heavy modernization and maintenance. Outputs could look bizarre, sorry for the temporary inconvenience

พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาษา ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง ภาษาไทย

10

จาก Demopædia


ข้อความปฏิเสธความรับผิดชอบ : ผู้สนับสนุนทั้งหลายของดีโมพีเดียไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับความหมายของศัพท์ต่างๆ ที่อยู่ในพจนานุกรมฉบับปรังปรุงนี้

พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาพ ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง ยังอยู่่ระหว่างการดำเนินงาน หากต้องการเสนอข้อคิดเห็นใดๆ กรุณาใช้พื้นที่อภิปราย


ไปยัง: คำนำสู่ดีโมพีเดีย | คำแนะนำการใช้ | ดาวน์โหลด
บทที่: อารัมภบท | 1. แนวคิดทั่วไป | 2. การจัดการและการประมวลผลสถิติประชากร | 3. การกระจายตัวและการจำแนกของประชากร | 4. ภาวะการตายและการเจ็บป่วย | 5. ภาวะสมรส | 6. ภาวะเจริญพันธุ์ | 7. การเพิ่มประชากรและการทดแทน | 8. การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่ | 9. มุมมองด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชากรศาสตร์
หน้าที่: 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 20 | 21 | 22 | 23 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 40 | 41 | 42 | 43 | 50 | 51 | 52 | 60 | 61 | 62 | 63 | 70 | 71 | 72 | 73 | 80 | 81 | 90 | 91 | 92 | 93


101

วิชา​ประชากรศาสตร์​1 เป็น​การ​ศึกษา​ทาง​วิทยาศาสตร์​เกี่ยวกับ​ประชากร​มนุษย์​ในเรื่องขนาด โครงสร้าง2 และพัฒนาการ โดย​พิจารณา​ในด้าน​ปริมาณ​ของลักษณะ​ทั่วไป​ของ​ประชากร​เหล่านั้น แกนของ การศึกษา​ด้านประชากร​8 ใน​ความหมาย​กว้าง​ที่สุด​จะรวม​สหสาขา​วิชา อย่างเช่น ประชากรศาสตร์​เศรษฐศาสตร์​ (104-1) ประชากรศาสตร์​สังคม​ (104-2) พันธุกรรมศาสตร์​ประชากร​ (104-4) ประชากรศาสตร์​ประวัติศาสตร์​ (102-1) ประชากรศาสตร์​คณิตศาสตร์​ (102-6) และ​รวม​ความรู้​จาก​สาขา​วิชา​กฎหมาย การแพทย์ วิทยา​การระบาด​ (423-6) สังคม​วิทยา​ จิตวิทยา ภูมิศาสตร์ และปรัชญา ในศัพท์​ของ​สถิติ การ​รวบรวม​ของ​ส่วนประกอบ​ที่​ปรากฏ​ชัด​ทั้งหมด​อาจ​เรียกว่า​ ประชากร3​ ซึ่งมี​ความหมาย​เหมือนกับ​คำว่า​ ยูนิ​เวิร์ส​3 อย่างไร​ก็ตาม​ ในทาง​ประชากรศาสตร์​ ศัพท์​คำว่า​ ประชากร4 จะใช้เพื่อ​หมายถึง​ ผู้อยู่อาศัย5​ทั้งหมด​ใน​พื้นที่​หนึ่ง​ แม้ว่า​ใน​บางโอกาส​คำนี้​อาจใช้​เพื่อ​หมายถึง​บางส่วน​ของ​ผู้อยู่อาศัย​เท่านั้น​ [ตัวอย่างเช่น ​ประชากร​วัยเรียน​ (cf.346-7) ประชากร​วัยสมรส​ (cf.514-2)] กลุ่ม​เช่นนั้น​เรียกให้​ถูกต้อง​ว่า ประชากร​ย่อย​6 ​คำว่า​ประชากร​มัก​ใช้​เพื่อ​แสดงถึง​ ขนาด7​ ได้แก่ จำนวนรวม7​ของ​กลุ่มรวม​ตามที่​ได้​อ้างถึง​ใน 101-4

102

สาขา​ย่อย​ภายใน​วิชา​ประชากรศาสตร์​มี​ชื่อ​เรียก​พิเศษ​เฉพาะ​สะท้อน​วัตถุประสงค์​หรือ​ระเบียบ​วิธีของสาขาย่อย​เหล่านั้น​ ประชากรศาสตร์​ประวัติศาสตร์​1ศึกษา​เรื่อง​ประชากร​ใน​อดีต​เมื่อ​มี​บันทึก​ที่เขียนไว้ ใน​กรณี​ที่​ไม่มี​แหล่งข้อมูล​เป็น​บันทึก​ การศึกษา​ประชากร​สมัย​โบราณ​มีชื่อ​เรียกว่า​ ประชากรศาสตร์​โบราณคดี​2 ใน ประชากรศาสตร์​เชิงพรรณนา​3 ​จำนวน​ การกระจายตัว​ทางภูมิศาสตร์​ โครงสร้าง ​และ​การเปลี่ยนแปลง​ของ​ประชากรมนุษย์จะถูกอธิบายด้วยการใช้ สถิติประชากร4 หรือ สถิติ​ทางประชากรศาสตร์​4 การศึกษา​ความสัมพันธ์​เชิงปริมาณ​ในกลุ่ม​ปรากฏการณ์​ทาง​ประชากร​ด้วยกัน แยกออกจากความสัมพันธ์กับปรากฏการณ์​อย่างอื่น​เรียกว่า ประชากรศาสตร์​เชิงทฤษฎี​5 หรือ ประชากรศาสตร์​พิสุทธิ์​5 เพราะ​มี​การใช้​วิธี​ทาง​คณิตศาสตร์​ต่างๆ ในทางปฏิบัติ​วิชา​นี้​มี​เอกลักษณ์​ว่าเป็น ประชากรศาสตร์​คณิตศาสตร์​6 งานวิจัย​ที่​ประยุกต์​ใช้​เครื่องมือ​ของการวิเคราะห์​ทาง​ประชากรศาสตร์​ (103-1) กับ​ประชากร​จริง​มักเรียกว่า การศึกษา​ทาง​ประชากรศาสตร์7 การศึกษา​นี้​สามารถ​เจาะจง​ไปที่ สถานการณ์​ทาง​ประชากร​ปัจจุบัน8 หรือ เงื่อนไข​ทาง​ประชากร​ปัจจุบัน8 ได้แก่ การ​เปลี่ยนแปลง​ทาง​ประชากร​และ​ตัวชี้วัด​การเปลี่ยนแปลง​นั้นใน​ระหว่าง​ระยะ​เวลา​สั้นๆ และเมื่อ​ไม่นาน​มานี้ สาขา​วิชา​ที่ได้กล่าว​มาแล้ว​ทั้งหมด​เน้นหนัก​อยู่ที่​ด้านตัวเลข​ของ​ปรากฏการณ์​และ​บางครั้ง​จะ​อ้างถึง​ในชื่อว่า ประชากรศาสตร์​รูปนัย​9 เมื่อ​ประยุกต์​เข้ากับ​เพียง​เรื่อง​ขนาด​และ​โครงสร้าง​ของ​ประชากร​เท่านั้น​ ตรงข้าม​กับ​ศัพท์​ที่​กว้างกว่า​ การศึกษา​ประชากร​10 ที่รวม​การศึกษา​ความสัมพันธ์​ระหว่าง​เหตุการณ์​ทาง​ประชากร​และ​ปรากฏการณ์​ทาง​สังคม เศรษฐกิจ หรือ​อย่างอื่น​เข้าไว้ด้วย

103

การ​วิเคราะห์​ทาง​ประชากรศาสตร์​1เป็น​สาขา​ของ​ประชากรศาสตร์​รูปนัย ที่​ควบคุม​ผลกระทบ​ของ​ขนาด​และ​โครงสร้าง​ประชากร​ที่มีต่อ ปรากฏการณ์​ทาง​ประชากร​2 ​ด้วยการ​แยก​ผลกระทบ​ของ​ตัวแปร​ทาง​ประชากร​แต่ละตัว​ออกจาก​ผลกระทบ​ของ​ตัวแปร​อื่น ๆ​ ปรากฏการณ์​ที่​เกิดจาก​ผลกระทบ​ของ​ตัวแปร​อื่น ๆ​ เรียกว่า ปรากฏการณ์​ก่อกวน​3 สาขาย่อย​นี้​ยังศึกษา​ความสัมพันธ์​ระหว่าง​ตัวแปร​ทาง​ประชากร​ต่าง ๆ​ และ​ปฏิสัมพันธ์​ของ​ตัวแปร​เหล่านี้​ที่​ก่อให้เกิด​รูป​โครงสร้าง​ประชากร​ขึ้นมา มี​ความแตกต่าง​ระหว่าง การ​วิเคราะห์​เชิงรุ่น4 หรือ การ​วิเคราะห์​รุ่นวัย4 ซึ่ง​มุ่ง​เจาะจง​ไปที่รุ่น (cf.117-2) ที่​กำหนด​ไว้​ชัดเจน ที่​ติดตาม​ศึกษา​รุ่นนี้​ไปเรื่อย ๆ​ กับ การ​วิเคราะห์​แบบ​ตัดขวาง5 หรือ การ​วิเคราะห์​ช่วงเวลา5 ซึ่ง​มุ่ง​เจาะจง​ไปที่​ปรากฏการณ์​ทาง​ประชากร​ที่​เกิดขึ้น​ใน​ช่วงเวลา​ที่​แน่นอน ​(อย่างเช่น​ใน​ปีปฏิทิน​หนึ่ง) ใน​กลุ่ม​ประชากร​หลาย ๆ​ รุ่น

  • 4. การ​วิเคราะห์​รุ่นวัย​เป็น​รูปแบบ​หนึ่ง​ของการ​วิเคราะห์​ระยะยาว (longitudinal analysis) ซึ่งเป็น​การศึกษา​กลุ่มคน​ที่​มี​คุณลักษณะ​เหมือนกัน​ การ​วิเคราะห์​แผง​ (panel analysis) ที่​ติดตาม​ศึกษา​บุคคล​คน​เดียวกัน​

104

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์ทางประชากรในฝั่งหนึ่งกับปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจสังคมอีกฝั่งหนึ่งก่อรูปวิชานี้อีกสาขาหนึ่ง ศัพท์คำว่า ประชากรศาสตร์เศรษฐกิจ1และ ประชากรศาสตร์สังคม2ได้ถูกใช้โดยนักวิชาการหลายคน ประชากรศาสตร์ยังเกี่ยวข้องกับการศึกษาเรื่อง คุณภาพประชากร3 คำว่าคุณภาพประชากรอาจใช้ด้วยการอ้างอิงถึงลักษณะส่วนตัวและลักษณะทางสังคมทุกชนิด ในความหมายที่แตกต่างออกไปเล็กน้อย คำนี้หมายถึงการกระจายและการถ่ายทอดของลักษณะทางกรรมพันธุ์ (910-3)ซึ่งขึ้นอยู่กับ พันธุกรรมประชากร4 นิเวศวิทยามนุษย์5คือการศึกษาการกระจายและการจัดองค์กรของชุมชนด้วยความสนใจต่อปฏิบัติการของกระบวนการร่วมมือและแข่งขันกัน และมีบางส่วนในเนื้อหาวิชาเหมือนกับวิชาประชากรศาสตร์ ในสาขาการวิจัยและระเบียบวิธีวิจัยยิ่งสานพันกันในกรณีของประชากรศาสตร์กับ ภูมิศาสตร์มนุษย์7 เช่นเดียวกับวิชา ชีวมาตร6 หรือ ชีวเมตริกซ์6 และ วิทยาการระบาด8ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้วิธีการทางสถิติกับรูปแบบต่างๆ ของการวิจัยทางการแพทย์และชีววิทยา

  • 4. พันธุกรรมประชากรต่างจากพันธุกรรมมนุษย์ซึ่งเกี่ยวกับการถ่ายทอดคุณลักษณะที่สืบทอดกันได้ในคน พันธุกรรมประชากรเป็นการศึกษาเรื่องการกระจายและการถ่ายทอดลักษณะที่สืบทอดกันได้ในพืช สัตว์ และประชากรมนุษย์
  • 6. ศัพท์คำว่าชีวสถิติ (biostatistics) จะเห็นได้บ่อยๆ และมีความหมายเหมือนกับคำว่าชีวมาตร (biometry)

105

ในสุดท้ายนี้ ยังมีการศึกษา ทฤษฎีประชากร1 คำนี้ต้องไม่สับสนกับคำว่าประชากรศาสตร์เชิงทฤษฎี (102-5) ทฤษฎีประชากรประสงค์ที่จะอธิบายหรือทำนายปฏิกิริยาระหว่างการเปลี่ยนแปลงในประชากรกับปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม จิตวิทยา และอื่นๆ ทฤษฎีประชากรรวมการอธิบายเชิงแนวความคิดล้วนๆ ทฤษฎีประชากรบางครั้งก่อรูปเป็นฐานของ นโยบายประชากร2 (cf. §930) ซึ่งเกี่ยวข้องกับมาตรการที่ออกแบบมาเพื่อให้มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงประชากร

* * *

ไปยัง: คำนำสู่ดีโมพีเดีย | คำแนะนำการใช้ | ดาวน์โหลด
บทที่: อารัมภบท | 1. แนวคิดทั่วไป | 2. การจัดการและการประมวลผลสถิติประชากร | 3. การกระจายตัวและการจำแนกของประชากร | 4. ภาวะการตายและการเจ็บป่วย | 5. ภาวะสมรส | 6. ภาวะเจริญพันธุ์ | 7. การเพิ่มประชากรและการทดแทน | 8. การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่ | 9. มุมมองด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชากรศาสตร์
หน้าที่: 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 20 | 21 | 22 | 23 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 40 | 41 | 42 | 43 | 50 | 51 | 52 | 60 | 61 | 62 | 63 | 70 | 71 | 72 | 73 | 80 | 81 | 90 | 91 | 92 | 93

ดึงข้อมูลจาก "http://th-ii.demopaedia.org/w/index.php?title=10&oldid=816"