The Demopædia Encyclopedia on Population is under heavy modernization and maintenance. Outputs could look bizarre, sorry for the temporary inconvenience

พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาษา ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง ภาษาไทย

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "10"

จาก Demopædia
(103)
แถว 21: แถว 21:
  
 
{{TextTerm|การวิเคราะห์ทางประชากรศาสตร์|1|103}}เป็นสาขาของประชากรศาสตร์รูปนัยที่ควบคุมผลกระทบของขนาดและโครงสร้างประชากรที่มีต่อ{{TextTerm|ปรากฏการณ์ทางประชากร|2|103}}ด้วยการแยกผลกระทบของตัวแปรทางประชากรแต่ละตัวออกจากผลกระทบของตัวแปรอื่นๆ ปรากฏการณ์ที่เกิดจากผลกระทบของตัวแปรอื่นๆ เรียกว่า{{NewTextTerm|ปรากฏการณ์ก่อกวน|3|103|IndexEntry=ปรากฏการณ์ก่อกวน}} สาขาย่อยนี้ยังศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทางประชากรต่างๆ และปฏิสัมพันธ์ของตัวแปรเหล่านี้ที่ก่อให้เกิดรูปโครงสร้างประชากรขึ้นมา มีความแตกต่างระหว่าง{{TextTerm|การวิเคราะห์เชิงรุ่น|4|103}} หรือ{{TextTerm|การวิเคราะห์รุ่นวัย|4|103|2}} ซึ่งมุ่งเจาะจงไปที่{{NonRefTerm|รุ่น}} (cf. {{RefNumber|11|7|2}})ที่กำหนดไว้ชัดเจน ที่ติดตามศึกษารุ่นนี้ไปเรื่อยๆ กับ{{TextTerm|การวิเคราะห์แบบตัดขวาง|5|103}} หรือ{{TextTerm|การวิเคราะห์ช่วงเวลา|5|103|2}}ซึ่งมุ่งเจาะจงไปที่ปรากฏการณ์ทางประชากรที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่แน่นอน (อย่างเช่นในปีปฏิทินหนึ่ง) ในกลุ่มประชากรหลายๆ รุ่น  
 
{{TextTerm|การวิเคราะห์ทางประชากรศาสตร์|1|103}}เป็นสาขาของประชากรศาสตร์รูปนัยที่ควบคุมผลกระทบของขนาดและโครงสร้างประชากรที่มีต่อ{{TextTerm|ปรากฏการณ์ทางประชากร|2|103}}ด้วยการแยกผลกระทบของตัวแปรทางประชากรแต่ละตัวออกจากผลกระทบของตัวแปรอื่นๆ ปรากฏการณ์ที่เกิดจากผลกระทบของตัวแปรอื่นๆ เรียกว่า{{NewTextTerm|ปรากฏการณ์ก่อกวน|3|103|IndexEntry=ปรากฏการณ์ก่อกวน}} สาขาย่อยนี้ยังศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทางประชากรต่างๆ และปฏิสัมพันธ์ของตัวแปรเหล่านี้ที่ก่อให้เกิดรูปโครงสร้างประชากรขึ้นมา มีความแตกต่างระหว่าง{{TextTerm|การวิเคราะห์เชิงรุ่น|4|103}} หรือ{{TextTerm|การวิเคราะห์รุ่นวัย|4|103|2}} ซึ่งมุ่งเจาะจงไปที่{{NonRefTerm|รุ่น}} (cf. {{RefNumber|11|7|2}})ที่กำหนดไว้ชัดเจน ที่ติดตามศึกษารุ่นนี้ไปเรื่อยๆ กับ{{TextTerm|การวิเคราะห์แบบตัดขวาง|5|103}} หรือ{{TextTerm|การวิเคราะห์ช่วงเวลา|5|103|2}}ซึ่งมุ่งเจาะจงไปที่ปรากฏการณ์ทางประชากรที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่แน่นอน (อย่างเช่นในปีปฏิทินหนึ่ง) ในกลุ่มประชากรหลายๆ รุ่น  
{{Note|4| Cohort analysis is a form of {{NoteTerm|longitudinal analysis}} which deals with aggregates of persons possessing the same characteristic. {{NoteTerm|Panel analysis}} follows the same individuals case by case.}}
+
{{Note|4| การวิเคราะห์รุ่นวัยเป็นรูปแบบหนึ่งของ{{NoteTerm|การวิเคราะห์ระยะยาว}} (longitudinal analysis) ซึ่งเป็นการศึกษากลุ่มคนที่มีคุณลักษณะเหมือนกัน {{NoteTerm|การวิเคราะห์แผง}} (panel analysis) ที่ติดตามศึกษาบุคคลคนเดียวกัน}}
  
 
=== 104 ===
 
=== 104 ===

รุ่นปรับปรุงเมื่อ 02:07, 15 พฤษภาคม 2556


ข้อความปฏิเสธความรับผิดชอบ : ผู้สนับสนุนทั้งหลายของดีโมพีเดียไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับความหมายของศัพท์ต่างๆ ที่อยู่ในพจนานุกรมฉบับปรังปรุงนี้

พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาพ ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ ปรับปรุงครั้งที่สอง ยังอยู่่ระหว่างการดำเนินงาน หากต้องการเสนอข้อคิดเห็นใดๆ กรุณาใช้พื้นที่อภิปราย


ไปยัง: คำนำสู่ดีโมพีเดีย | คำแนะนำการใช้ | ดาวน์โหลด
บทที่: อารัมภบท | 1. แนวคิดทั่วไป | 2. การจัดการและการประมวลผลสถิติประชากร | 3. การกระจายตัวและการจำแนกของประชากร | 4. ภาวะการตายและการเจ็บป่วย | 5. ภาวะสมรส | 6. ภาวะเจริญพันธุ์ | 7. การเพิ่มประชากรและการทดแทน | 8. การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่ | 9. มุมมองด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชากรศาสตร์
หน้าที่: 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 20 | 21 | 22 | 23 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 40 | 41 | 42 | 43 | 50 | 51 | 52 | 60 | 61 | 62 | 63 | 70 | 71 | 72 | 73 | 80 | 81 | 90 | 91 | 92 | 93


101

วิชาประชากรศาสตร์1 เป็นการศึกษาทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับประชากรมนุษย์ในเรื่องขนาด โครงสร้าง2 และพัฒนาการ โดยพิจารณาในด้านปริมาณของลักษณะทั่วไปของประชากรเหล่านั้น แกนของ การศึกษาด้านประชากร8 ในความหมายกว้างที่สุดจะรวมสหสาขาวิชา อย่างเช่น ประชากรศาสตร์เศรษฐศาสตร์ (104-1) ประชากรศาสตร์สังคม (104-2) พันธุกรรมศาสตร์ประชากร (104-4) ประชากรศาสตร์ประวัติศาสตร์ (102-1) ประชากรศาสตร์คณิตศาสตร์ (102-6) และรวมความรู้จากสาขาวิชากฎหมาย การแพทย์ วิทยาการระบาด (423-6) สังคมวิทยา จิตวิทยา ภูมิศาสตร์ และปรัชญา ในศัพท์ของสถิติ การรวบรวมของส่วนประกอบที่ปรากฏชัดทั้งหมดอาจเรียกว่า ประชากร3 ซึ่งมีความหมายเหมือนกับคำว่า ยูนิเวิร์ส3 อย่างไรก็ตาม ในทางประชากรศาสตร์ ศัพท์คำว่า ประชากร4 จะใช้เพื่อหมายถึง ผู้อยู่อาศัย5 ทั้งหมดในพื้นที่หนึ่ง แม้ว่าในบางโอกาสคำนี้อาจใช้เพื่อหมายถึงบางส่วนของผู้อยู่อาศัยเท่านั้น [ตัวอย่างเช่น ประชากรวัยเรียน (cf. 346-7) ประชากรวัยสมรส (cf. 514-2)] กลุ่มเช่นนั้นเรียกให้ถูกต้องว่า ประชากรย่อย6 คำว่าประชากรมักใช้เพื่อแสดงถึง ขนาด7 ได้แก่ จำนวนรวม7 ชองกลุ่มรวมตามที่ได้อ้างถึงใน 101-4

  • 1. Demography, n. - demographic, adj. - demographer, n.: a specialist in demography.
  • 4. Population, n. - Note that this term may also be used adjectivally as a synonym for demographic, e.g., in population problems, population analysis, population studies.
  • 5. Inhabitant, n. - inhabit, v.: to occupy as a place of settled residence.

102

สาขาย่อยภายในวิชาประชากรศาสตร์มีชื่อเรียกพิเศษเฉพาะสะท้อนวัตถุประสงค์หรือระเบียบวิธีของสาขาย่อยเหล่านั้น ประชากรศาสตร์ประวัติศาสตร์1ศึกษาเรื่องประชากรในอดีตเมื่อมีบันทึกที่เขียนไว้ ในกรณีที่ไม่มีแหล่งข้อมูลเป็นบันทึก การศึกษาประชากรสมัยโบราณมีชื่อเรียกว่า ประชากรศาสตร์โบราณคดี2 ใน ประชากรศาสตร์เชิงพรรณนา3 จำนวน การกระจายตัวทางภูมิศาสตร์ โครงสร้าง และการเปลี่ยนแปลงของประชากรมนุษย์จะถูกอธิบายด้วยการใช้ สถิติประชากร4 หรือ สถิติทางประชากรศาสตร์4 การศึกษาความสัมพันธ์เชิงปริมาณในกลุ่มปรากฏการณ์ทางประชากรด้วยกัน แยกออกจากความสัมพันธ์กับปรากฏการณ์อย่างอื่นเรียกว่า ประชากรศาสตร์เชิงทฤษฎี5 หรือ ประชากรศาสตร์พิสุทธิ์5 เพราะมีการใช้วิธีทางคณิตศาสตร์ต่างๆ ในทางปฏิบัติวิชานี้มีเอกลักษณ์ว่าเป็น ประชากรศาสตร์คณิตศาสตร์6 งานวิจัยที่ประยุกต์ใช้เครื่องมือของการวิเคราะห์ทางประชากรศาสตร์ (103-1) กับประชากรจริงมักเรียกว่า การศึกษาทางประชากรศาสตร์7 การศึกษานี้สามารถเจาะจงไปที่สถานการณ์ทางประชากรปัจจุบัน 8* หรือเงื่อนไขทางประชากรปัจจุบัน 8* ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงทางประชากรและตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลงนั้นในระหว่างระยะเวลาสั้นๆ และเมื่อไม่นานมานี้ สาขาวิชาที่ได้กล่าวมาแล้วทั้งหมดเน้นหนักอยู่ที่ด้านตัวเลขของปรากฏการณ์และบางครั้งจะอ้างถึงในชื่อว่า ประชากรศาสตร์รูปนัย9 เมื่อประยุกต์เข้ากับเพียงเรื่องขนาดและโครงสร้างของประชากรเท่านั้น ตรงข้ามกับศัพท์ที่กว้างกว่า การศึกษาประชากร10ที่รวมการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ทางประชากรและปรากฏการณ์ทางสังคม เศรษฐกิจ หรืออย่างอื่นเข้าไว้ด้วย

103

การวิเคราะห์ทางประชากรศาสตร์1เป็นสาขาของประชากรศาสตร์รูปนัยที่ควบคุมผลกระทบของขนาดและโครงสร้างประชากรที่มีต่อ ปรากฏการณ์ทางประชากร2ด้วยการแยกผลกระทบของตัวแปรทางประชากรแต่ละตัวออกจากผลกระทบของตัวแปรอื่นๆ ปรากฏการณ์ที่เกิดจากผลกระทบของตัวแปรอื่นๆ เรียกว่าปรากฏการณ์ก่อกวน 3* สาขาย่อยนี้ยังศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทางประชากรต่างๆ และปฏิสัมพันธ์ของตัวแปรเหล่านี้ที่ก่อให้เกิดรูปโครงสร้างประชากรขึ้นมา มีความแตกต่างระหว่าง การวิเคราะห์เชิงรุ่น4 หรือ การวิเคราะห์รุ่นวัย4 ซึ่งมุ่งเจาะจงไปที่รุ่น (cf. 117-2)ที่กำหนดไว้ชัดเจน ที่ติดตามศึกษารุ่นนี้ไปเรื่อยๆ กับ การวิเคราะห์แบบตัดขวาง5 หรือ การวิเคราะห์ช่วงเวลา5ซึ่งมุ่งเจาะจงไปที่ปรากฏการณ์ทางประชากรที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่แน่นอน (อย่างเช่นในปีปฏิทินหนึ่ง) ในกลุ่มประชากรหลายๆ รุ่น

  • 4. การวิเคราะห์รุ่นวัยเป็นรูปแบบหนึ่งของการวิเคราะห์ระยะยาว (longitudinal analysis) ซึ่งเป็นการศึกษากลุ่มคนที่มีคุณลักษณะเหมือนกัน การวิเคราะห์แผง (panel analysis) ที่ติดตามศึกษาบุคคลคนเดียวกัน

104

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์ทางประชากรในฝั่งหนึ่งกับปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจสังคมอีกฝั่งหนึ่งก่อรูปวิชานี้อีกสาขาหนึ่ง ศัพท์คำว่า ประชากรศาสตร์เศรษฐกิจ1และ ประชากรศาสตร์สังคม2ได้ถูกใช้โดยนักวิชาการหลายคน ประชากรศาสตร์ยังเกี่ยวข้องกับการศึกษาเรื่อง คุณภาพประชากร3 คำว่าคุณภาพประชากรอาจใช้ด้วยการอ้างอิงถึงลักษณะส่วนตัวและลักษณะทางสังคมทุกชนิด ในความหมายที่แตกต่างออกไปเล็กน้อย คำนี้หมายถึงการกระจายและการถ่ายทอดของลักษณะทางกรรมพันธุ์ (910-3)ซึ่งขึ้นอยู่กับ พันธุกรรมประชากร4 นิเวศวิทยามนุษย์5คือการศึกษาการกระจายและการจัดองค์กรของชุมชนด้วยความสนใจต่อปฏิบัติการของกระบวนการร่วมมือและแข่งขันกัน และมีบางส่วนในเนื้อหาวิชาเหมือนกับวิชาประชากรศาสตร์ ในสาขาการวิจัยและระเบียบวิธีวิจัยยิ่งสานพันกันในกรณีของประชากรศาสตร์กับภูมิศาสตร์มนุษย์ 7* เช่นเดียวกับวิชา ชีวมาตร6 หรือ ชีวเมตริกซ์6 และวิทยาการระบาด 8*ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้วิธีการทางสถิติกับรูปแบบต่างๆ ของการวิจัยทางการแพทย์และชีววิทยา

  • 4. Population genetics is distinct from human genetics, which deals with the transmission of inheritable characteristics in man: population genetics includes the study of the distribution and transmission of hereditary traits in plant, animal and human populations.
  • 5. Ecology, n. - ecological, adj. - ecologist, n.: a specialist in ecology.
  • 6. Biometry, n. - biometrics, n. - biometric, adj. - biometrician, n.: a specialist in biometry. The terms biostatistics, n. - biostatistical, adj. - and biostatistician, n. are frequently encountered and are synonymous with the terms given for biometry.

105

ในสุดท้ายนี้ ยังมีการศึกษา ทฤษฎีประชากร1 คำนี้ต้องไม่สับสนกับคำว่าประชากรศาสตร์เชิงทฤษฎี (102-5) ทฤษฎีประชากรประสงค์ที่จะอธิบายหรือทำนายปฏิกิริยาระหว่างการเปลี่ยนแปลงในประชากรกับปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม จิตวิทยา และอื่นๆ ทฤษฎีประชากรรวมการอธิบายเชิงแนวความคิดล้วนๆ ทฤษฎีประชากรบางครั้งก่อรูปเป็นฐานของ นโยบายประชากร2 (cf. §930) ซึ่งเกี่ยวข้องกับมาตรการที่ออกแบบมาเพื่อให้มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงประชากร

* * *

ไปยัง: คำนำสู่ดีโมพีเดีย | คำแนะนำการใช้ | ดาวน์โหลด
บทที่: อารัมภบท | 1. แนวคิดทั่วไป | 2. การจัดการและการประมวลผลสถิติประชากร | 3. การกระจายตัวและการจำแนกของประชากร | 4. ภาวะการตายและการเจ็บป่วย | 5. ภาวะสมรส | 6. ภาวะเจริญพันธุ์ | 7. การเพิ่มประชากรและการทดแทน | 8. การเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่ | 9. มุมมองด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชากรศาสตร์
หน้าที่: 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 20 | 21 | 22 | 23 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 40 | 41 | 42 | 43 | 50 | 51 | 52 | 60 | 61 | 62 | 63 | 70 | 71 | 72 | 73 | 80 | 81 | 90 | 91 | 92 | 93

ดึงข้อมูลจาก "http://th-ii.demopaedia.org/w/index.php?title=10&oldid=445"